ถวายผ้าไตรจีวร แก้กรรม  อุทิศเจ้ากรรมนายเวร จิตเป็นสุขอภัยทาน

ถวายผ้าไตรจีวร แก้กรรม อุทิศเจ้ากรรมนายเวร จิตเป็นสุขอภัยทาน

หลายท่านประสบความยากลำบากต่อการดำเนินชีวิตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นโควิด หรือ ภาวะการเปลี่ยนแปลง  แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องสร้างความเข้มเเข็งคือ จิต(ใจ) เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาตลอดปี ที่มีทั้งดีและร้าย สิ่งเหล่านี้เรามักจะนึกถึงเจ้ากรรมนายเวรที่เราล่วงเกินแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ  การ ถวายผ้าไตรจีวร แก้กรรม เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แนะนำ สำหรับครอบครัวชาวไทยที่นิยมทำบุญในวันสำคัญ ช่วงสิ้นปี และ เข้าปีใหม่พร้อมกับคนรักหรือครอบครัว  และมักจะชวนกันไปทำบุญที่วัด ถวายสังฆทาน ถวายผ้าไตรจีวร และปล่อยสัตว์ทำทาน เพื่อสร้างกำลังใจ ให้รู้สึกสดชื่น และที่สำคัญคือ การขออโหสิกรรมกับเจ้ากรรมนายเวร เพื่อการเร่ิมต้นปีใหม่ให้มีความราบรื่นผ่านอุปสรรคไปได้ด้วยดี

ขออโหสิกรรม เจ้ากรรมนายเวร คืออะไร

อโหสิกรรม นั้นเป็นผลสะท้อนทางจิตใจที่ต้องการให้ผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นได้รับรู้ถึงจิตใจที่ไม่ต้องการผูกพยาบาทซึ่งกันและกัน นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการให้อภัยทานซึ่งนับได้ว่าเป็นทานอันยิ่งใหญ่ เพื่อให้กรรมที่ได้ทำไว้ลดความผูกพยาบาท จึงมักจะเร่ิมจากการขออโหสิกรรมซึ่งกันและกัน และลำดับต่อมาได้แก่ การเข้าสู่การปฏิบัติ ตามหลัก ศีล สมาธิ และปัญญา หรือองค์มรรคแปด โดยมีหลักอิทธิบาทสี่ เป็นกำลังใจ เพื่อนำพาไปสู่หนทางของนิพพาน

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง อโหสิกรรม เพื่อขอขมาผู้ล่วงลับ ลดกรรมได้จริงหรือไม่

คำอธิษฐานอโหสิกรรม
ข้าพเจ้า…..(บอกชื่อ)…ขออโหสิกรรม กรรมใดที่ทำแก่ผู้ใด ในชาติใดๆ ก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมและนายเวร จงอโหสิกรรมให้กับข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย แม้แต่กรรมที่ใครๆ ได้ทำกับข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น และขอยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงศาคณาญาติ และผู้มีอุปการคุณของข้าพเจ้า จงมีความสุข ความเจริญ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี และสิ่งที่ชอบด้วยเทอญ

คำขอขมาโทษ (กรรมชั่ว)
กรรมชั่วอันใดที่ข้าพเจ้า…..(บอกชื่อ)…ทำไว้ ด้วยกาย วาจา ใจ ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ เพราะความไม่รู้ เพราะความหลง เพราะความงมงาย เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอจงโปรดยกโทษ ให้ข้าพเจ้าพ้นจากความทุกข์ยาก ลำบากเข็ญใจ อันตรายทั้งหลาย จงเสื่อมสูญสิ้นไป ข้าพเจ้าปรารถนาสิ่งใดที่ดี ขอให้สมปรารถนา นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ. (อธิษฐานตามที่ปรารถนา)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินบิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วยกาย วาจา ใจ

 

ถวายผ้าไตรจีวร แก้กรรม มีอานิสงส์อย่างไร

เพราะเหตุใด ถวายผ้าไตรแก้กรรม จึงได้อานิสงส์

การนำ ผ้าไตร มาถวายพระในทางพระพุทธศาสนานั้น มองว่าเป็นการช่วยให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย และคลายความอันตรายต่างๆได้ ดังนั้นผู้ให้จึงได้รับบุญกุศลอย่างเต็มที่ เกิดในภพหน้าจะมีหน้าตารูปร่างสวยงาม และมีผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส เป็นผู้อิ่มเอมใจ อันเกิดจากการอิ่มบุญ ขจัดพ้นจากความยากลำบาก และความยากจนแสนเข็ญ

ผู้ที่ทำบุญด้วยการถวาย ผ้าไตร แด่พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ จะเป็นผู้ที่พร้อมด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ และเครื่องประดับ มีแต่ผู้คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทุกหมู่เหล่า หากเมื่อใดก็ตามจะต้องพบกับความมีอุปสรรค อุปสรรคนั้นจะผ่านพ้นไปด้วยดี ภัยอันตรายอื่นๆ อย่างสัตว์มีพิษและของมีคมต่างๆ ก็ทำร้ายไม่ได้

อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นในชาติหน้า จะเกิดมาเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมด้วยหน้าตาที่งดงาม และสติปัญญาที่น่านับถืออย่างยิ่ง

 

 

แนะนำเพิ่มเติม วิธีทำบุญให้แก่เจ้ากรรมนายเวรให้ได้ผลเร็ว ได้แก่

  1. ถวายสังฆทาน มีข้าว น้ำ อาหารต่างๆ หรือจะเป็นยารักษาโรคก็ได้ การถวายสังฆทานมีผลมากมีอานิสงส์มาก ผลบุญกุศลจะทำให้เจ้ากรรมนายเวรพ้นจากความทุกข์ต่างๆเมื่อเขาได้รับบุญแล้วเขาจะได้อโหสิกรรมให้แก่เรา
  2. การถวายผ้าไตรจีวร เป็นอีกบุญกุศลอย่างหนึ่งที่ทำให้ เกิดอานิสงส์ยิ่งใหญ่ การถวายผ้าไตรจีวรนั้นมีอานิสงส์ทำให้เกิดความอิ่มเอิบบริบูรณ์ด้วยผิวพรรณวรรณะที่ดี หรือมีเสื้อผ้าอาภรณ์เครื่องนุ่งห่มที่สวยงาม ดังนั้นเมื่อถวายผ้าไตรจีวรแล้วจะทำให้เจ้ากรรมนายเวรคนจากความทุกข์ทั้งปวง
  3. การถวายพระพุทธรูป ก็จัดว่าการสร้างพระพุทธรูปนั้น เปรียบเสมือนตัวแทนพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องสักการะบูชาดังนั้นบุญการถวายพระพุทธรูปจึงให้ผลมากมีอานิสงส์มากเช่นกัน ทำให้เคราะห์กรรมบางอย่างที่นอกจากเกี่ยวกับเจ้ากรรมนายเวร พลอยหมดไปสิ้นไปได้อีกด้วย
  4. การไถ่ชีวิตโคกระบือ หรือการปล่อยชีวิตสัตว์ให้เป็นทานเช่นปลาหน้าเขียง ในบุญข้อนี้เหมือนให้ชีวิตสัตว์ให้เขาได้มีอายุยืนต่อไป รอดพ้นจากความตาย วันนี้ก็มีอานิสงส์มากเป็นบุญอันยิ่งใหญ่เช่นกัน มีผลทำให้เจ้ากรรมนายเวรหรือโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างค่อยๆหมดไปจากตัวเรา
    ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ https://www.sanook.com/horoscope/249699/

 

 

โคตรภูญาณ ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร

โคตรภูญาณ ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร

โคตรภูญาณ ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร  คือ การเห็นทุกข์ที่มันเกิด และทำอย่างไรที่จะทำให้ออกจากวัฏสงสารได้   คนที่ได้โครตภูญาณ คือ คนที่ได้ พระรัตน เป็นที่พึ่งเท่านั้น ไม่พึ่งอย่างอื่นใดอีกเลย  ไม่มีความเห็นว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมาดลบรรดาลใจสิ่งใด ๆ มาให้มีเงินทองไม่สนใจ  ไม่มีฤกษ์งามยามดีใด  เห็นชัดในภัยวัฏสงสาร และ มีแต่พึ่งตนเองในการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ลักษณะของจิตที่เกิดกับ โคตรภูญาณ

จิตนี้พยายามดิ้นรน หาทางออกจากทางโลก ที่เห็นความเกิดมาเพื่อมารองรับโรคต่าง ๆ มีความหิวโหย ดิ้นรนความอยากคือ ตัณหา  แต่ยังมีความอาลัยกับสิ่งหนึ่งที่ยังผูกพัน  เหมือนคนยืน เท้าหนึ่งยืนบนบก เท้าหนึ่งยืนในน้ำ   จะออกจากโลกก็ห่วงบุคคลที่รัก  แต่ก็อยากออกจากวัฏสงสาร

โครตภูญาณ จะเห็นภัยต่าง ๆ

  • ร่างกายเป็นที่รองรับโรคต่าง ๆ

โคตรญาณ

เรื่อง​ “โคตรภูญาณ​ จุดระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ”

(คติธรรม​ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)​

อธิบาย โคตรภูญาณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

โครตภูญาณ จิตมันอยู่ระหว่าง โลกีย์ กับ โลกุตตระ คือ ความเป็นคนกับความเป็นพระอริยเจ้า ท่านเปรียบเหมือนกับ ลำรางเล็ก ๆ น่ะ คือ ขาหนึ่งยืนอยู่นี่ อีกขาหนึ่งฝ่ายโลกีย์ ยังยกไม่ขึ้น ทีนี้อารมณ์ของโคตรภู เราต้องรู้ว่า ขณะใด เราเข้าถึงโคตรภู ไอ้พูด ตามตำรานี่ มันพูดได้ ไม่ยากหรอก แต่ตัวเข้าถึงนี่ซี ถ้าเราเป็นฝ่ายวิชชาสามนะ มันเห็นชัด คือ เวลาที่เราถอดจิตขึ้นไป ตามปกติเราจะท่อง เที่ยวแต่เฉพาะในส่วนของโลกีย์ใช่ไหม จะเป็นเมืองมนุษย์ก็ดี​ อบายภูมิก็ดี เทวดา พรหมก็ดี แต่ส่วนโลกุตตระเราจะเข้าไม่ได้ ไม่สามารถจะเห็น แต่ถ้าอารมณ์ของจิตเข้าถึงโคตรภู เราจะเห็นพระนิพพานชัด

ถ้าพูดถึงอารมณ์ อันดับแรก อารมณ์มันจะยึดตัว “ธรรมดา” คือ ใครด่า เขาด่าก็ว่าเป็นธรรมดา เกิดมาต้องมีคนเขาด่าว่า อันที่จริงก็โมโหเหมือนกันนะ แต่โมโหแล้วมันปล่อยไม่เกาะอยู่ ถ้ายังไม่ได้ อนาคามี อย่านึกว่า ไม่มีโมโห โทโส มีโกรธ เหมือนกัน โกรธเดี๋ยวเดียว แต่ไม่ไปอาฆาต ไม่ไปทำร้ายเขาแล้วมัน ก็หายไป เห็นอะไรๆ มันก็ธรรมดา ถ้าไปเจอะคน ตายมันก็วาบหวิวไปนิดหนึ่ง ประเดี๋ยวตัว “ธรรมดา” มันก็ปรากฏ

ถ้าอารมณ์เข้มขึ้น มันก็ยัน “ธรรมดา” อยู่เสมอ แต่ก็ยังมีสะท้านอยู่บ้าง ในขณะเดียวกัน ก็มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นที่สุด ใครจะพูดเรื่องอะไร ก็ฟังได้ แต่ฉันไม่เอาด้วย ฉันจะไปนิพพาน นี่สำหรับพวกมี วิชชาสาม ส่วนพวกสุกขวิปัสสโก ก็ต้องสังเกตอารมณ์ เอาว่ายึด “ธรรมดา” และรักพระนิพพานเพียงใด ถ้ารักมากก็ชื่อว่าเข้าถึง โคตรภู ต้องสังเกตตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเราไปแกล้ง “ธรรมดา” นะ ต้อง “ธรรมดา” นะ ของมันเป็นปกติ จิตจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์จริง ๆ แต่ถ้าไปนิพพานไม่ได้อย่างอื่นก็ต้องการ คือ จะไปพักสวรรค์พักพรหมโลก พักเพื่อหวังนิพพาน จะทำอะไรก็ตามไม่หวังผลตอบแทนฉันหวังจะไปนิพพาน นี่คือ อารณ์โคตรภู ถึงโคตรภูแล้วสงสัยว่าเราจะเป็น พระโสดาบัน ก็มานั่งไล่เบี้ย สังโยชน์สาม ดูว่า สักกายทิฏฐิ เราเป็นอย่างไร เรารู้หรือเปล่าว่า ร่างกายมันจะพัง ตัวของเรา ตัวของคนอื่นน่ะ รู้หรือเปล่าว่ามันจะพัง มันจะตาย รู้ว่าจะตาย ความจริงก็มีจิตห่วงนั่นห่วงนี่บ้าง พระโสดาบันนี่ยังห่วง แต่ว่าห่วงไม่มาก ถ้ามันจะตายจริงๆก็ เอวังกิ่ม ฉันจะไปนิพพานนะ

สังโยชน์ที่สอง วิจิกิจฉา เราไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า “ไม่สงสัย” นี่ไม่ใช่ว่านึกเอา นะต้องปฏิบัติด้วย ต้องแน่ใจว่า เกิดแก่เจ็บตายนี่เป็นของมีจริงใช่ไหม เชื่อเหลือเกินว่า เราเกิดมานี่ต้องแก่ ไอ้การป่วยไข้ไม่สบายนี่ มันต้องมีแน่ ถ้ามันมีขึ้นมา เราก็ไม่ตกใจ การรักษาพยาบาล ถือเป็นของธรรมดา เพราะถือเป็นการระงับเวทนา แม้พระพุทธเจ้า แม้พระอรหันต์ทุกองค์ท่านก็ต้องรักษา แต่ในระหว่างรักษาตัว ก็นึกว่า จะระงับได้หรือไม่ได้ จะทรงอยู่ได้ หรือไม่ได้ก็ตามใจมัน ถ้าเกิดทุกเวทนามาก รักษาพยาบาลแล้ว อาการมันไม่ลด ก็ตามใจมันซี ฉันจะทนให้แกทรมาน ประเดี๋ยวเดียว แล้วฉันก็จะไปนิพพาน อารมณ์มันตัดตรงนี้นะ

ขอน้อมกราบพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน​ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ​ แห่งวัดท่าซุง

เครดิตจากเพจ https://www.facebook.com/238296179593402/photos/a.595817270507956/2252804728142527/?type=3

 

สาธุ  กับ อนุโมธนา มีความหมายต่างกันอย่างไร

สาธุ กับ อนุโมธนา มีความหมายต่างกันอย่างไร

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “สาธุ” เวลาที่พระให้พร หรือ ร่วมกันทำบุญ  และบางครั้งก็จะได้ยินคำว่า อนุโมธาบุญด้วย  ทำให้เริ่มสับสนว่าความแตกต่างสองคำนี้มีความหมายอย่างไร และใช้ตอนไหน  เพราะบางครั้งอาจจะทำให้ไม่แน่ใจว่าใช้ถูกต้องหรือไม่

แต่ส่วนมากที่แน่ใจเห็นบ่อยก็คือ ที่เวลาเพื่อนมาบอกเราหรือคนในครอบครัวมาบอกเราว่าไปทำบุญด้วยกันไหม เราก็จะร่วมอนุโมธนาบุญด้วย  เพื่อความเข้าใจให้มากขึ้นจึงได้รวบรวมความหมาย ระหว่าง สาธุ และ อนุโมธนาสาธุ

สาธุ แปลว่าอะไร

แปลว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว มาจากรากศัพท์ว่า สาธฺ (หรือ สธฺ) ในความหมายว่า สำเร็จ เมื่อเวลาที่เราได้ทำบุญใดๆ แล้วหากมีคนเห็นการกระทำดีของเราแล้วเขากล่าว “สาธุ” ด้วยความศรัทธาด้วยความปีติยินดีที่ได้เห็นเราทำบุญ เขาคนนั้นก็ได้บุญไปด้วยอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนการจุดเทียนแล้วมีคนมาขอต่อเทียนฉันใดฉันนั้น

สาธุ กับ อนุโมธนา

อนุโมทนา แปลว่าอะไร

อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีตาม, ความพลอยยินดี หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/

การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ การอนุโมทนานั้นอาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่น เมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้ เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญ แล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วยเรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า “อนุโมทนากถา” เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า “อนุโมทนาบัตร หรือใบอนุโมทนา” เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า “อนุโมทนามัยบุญ” และการที่ภิกษุกล่าว สัมโมทนียกถา อันแปลว่า ถ้อย คำอันเป็นที่บันเทิงใจ ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของ ความดี ของบุญกุศล ที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆัง เป็นต้น ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บางทีเรียกว่า อนุโมทนากถา

ส่วนพิธีอย่างอื่นนอกจากนี้ควรจะอนุโมทนาต่อหน้าเสมอไปจึงจะสมควร พิธีอนุโมทนาแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ 2 หัวข้อคือ
1. สามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ไม่จำกัดงานหนึ่งงานใด ก็คงใช้คำอนุโมทนาแบบเดียวกัน
2. วิสามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาด้วยบทสวดพิเศษคือ อนุโมทนาเฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง

เครดิตเพจจาก https://dharayath.com/

แนะนำอ่านความรู้น่าสนใจสำหรับทำบุญเกี่ยวกับการเลือก ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ 9 ขันธ์ ต่างกันอย่างไร และเลือกสำหรับงานบวชอย่างไร

ตักบาตรเทโว คืออะไร ประวัติและความสำคัญ ออกพรรษานี้จิตใจผ่องใส

ตักบาตรเทโว คืออะไร ประวัติและความสำคัญ ออกพรรษานี้จิตใจผ่องใส

ตักบาตรเทโว จะมีขึ้นหลังจากออกพรรษา  หรือ สิ้นสุด ฤดูจำพรรษาเข้าพรรษา 3 เดือน หรือเรียกอีกอย่างว่า ” วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา” มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน

เมื่อถัดมาจากวันออกพรรษา จะมีประเพณีที่สำคัญและจัดได้ว่าเป็นการทำบุญที่สำคัญสำหรับชาวพุทธนั่นคือ ตักบารใหญ่ หรือตักบาตรเทโวหรือตักบาตรเทโวโรหณะ

ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า “สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ”

อ่านต่อเพิ่มเติม เกี่ยวกับวันออกพรรษา 

ตักบาตรเทโว หมายถึงอะไร และตรงกับวันที่เท่าไหร่

ตักบาตรเทโว หมายถึง การทำบุญตักบาตร ปรารภเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ในวันมหาปวารณา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และเสด็จถึงโลกมนุษย์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11  ซึ่งในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ 4)

ความหมาย ตักบาตรเทโว

คำว่า เทโว เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก

ตักบาตรเทโว

ประวัติที่มาตักบาตรเทโว

ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ 4) โดยลงมาฟังธรรมที่ชั้นดาวดึงส์ (สวรรค์ชั้นที่ 2) จนบรรลุโสดาปัตติผล (สาเหตุที่พระศาสดาไม่เสด็จไปแสดงธรรมในชั้นดุสิต เพราะเทวดาที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ไม่สามารถขึ้นไปในชั้นดุสิตได้ ด้วยศักดานุภาพที่น้อยกว่า เพื่อให้โอกาสฟังธรรมแก่เทวดาเหล่านั้น)

ครั้นถึงวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้ทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหารย์ หรือเปิดโลกทั้งสาม คือ สวรรค์ มนุษย์ นรก ให้เห็นกันและกันได้ ได้มีเนินเป็นอันเดียวกัน ตั้งแต่อเวจีนรกจนถึงพรหมโลก แลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี ขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ดังนั้น วันนี้ (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก

รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่ เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาถึง 3 เดือน การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ ต่อมามีการเรียกกร่อนไปเหลือเพียงตักบาตรเทโวเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น

เครดิตจากเพจ https://th.wikipedia.org/wiki/

กิจกรรมในวันออกพรรษา

  • ทำบุญตักบาตรเทโว
  • เข้าวัดทำบุญถวายสังฆทานและอุทิศส่วนกุศลให้แด่เจ้ากรรมนายเวร
  • เข้าวัดฟังธรรมและสวดมนต์

 

เหตุการณ์ที่สำคัญอีกอันหลังจากออกพรรษา คือ บั้งไฟพญานาค บริเวณลำนำ้โขง

“บั้งไฟพญานาค” เป็นปรากฎการณ์ของการเกิดลูกไฟสีชมพูพวยพุ่งขึ้นจากกลางลำน้ำโขงสู่อากาศ โดยลูกไฟนั้นไม่มีควัน ไม่มีกลิ่น ไม่มีเสียง พุ่งสูงประมาณ 20-30 เมตร แล้วหายไปโดยไม่มีการโค้งลงมา เช่น บั้งไฟทั่วไป ขนาดของลูกไฟมีตั้งแต่ขนาดเท่าหัวแม่มือ กระทั่งขนาดเท่าฟองไข่ไก่ เกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่แน่นอน ตั้งแต่ 6 โมงเย็นจนถึง 2-3 ทุ่ม สถานที่เกิดมักเป็นลำน้ำโขง ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอปากคาด อำเภอสังคม อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย และบริเวณอื่นๆ บ้าง เช่น ตามห้วยหนองที่อยู่ใกล้แม่น้ำโขง

เครดิต https://guru.sanook.com/4487/

 

 

 

 

ข่าวอาการอาพาธ หลวงปู่อุทัย สิริธโร เมื่อวันนี้ 13 กันยายน 2567

ข่าวอาการอาพาธ หลวงปู่อุทัย สิริธโร เมื่อวันนี้ 13 กันยายน 2567

วันนี้ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๖.๒๕ น. หลวงปู่ฯนั่งเก้าอี้ ได้ดูคลิปภาพในสมัยที่ธาตุขันธ์ขององค์ท่านยังแข็งแรง นำคณะศรัทธาญาติโยมกล่าวถวายพระพรฯ ซึ่งคณะศิษย์(ที่วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน) ได้เห็นหลวงปู่มีความสดใส มีสีหน้าแววตารับรู้ ยิ้มแย้ม และมีปฏิกริยาขยับแขนขา ชี้นิ้วให้คณะศิษย์ได้เห็นและรู้สึกดีใจ

เครดิตจาก เพจ https://www.facebook.com/watkhaoyaiyannasampanno

คลิกดูวีดีโอหลวงปู่

https://fb.watch/v37M5OCCni/

คณะศิษย์ทั้งหลาย ขออธิษฐานจิตถวายบุญกุศลทั้งหลายให้เป็นพลวปัจจัยมาบำบัดพยาบาล รักษาธาตุขันธ์ของหลวงปู่อุทัย สิริธโร ให้มีธาตุขันธ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์ยิ่งๆขึ้นด้วยเทอญฯ”
🙏🙏🙏

 

ฌาณ คืออะไร และ ฌาณสมาบัติ คืออะไร  สภาวะแห่งจิตเข้าสู่อัปปณาสมาธิ

ฌาณ คืออะไร และ ฌาณสมาบัติ คืออะไร สภาวะแห่งจิตเข้าสู่อัปปณาสมาธิ

ฌาณ คืออะไร และ ฌาณสมาบัติ(สมาบัติ เป็นภาวะสงบประณีต)นั้นคืออะไร สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนานั้น จะได้ยินคำนี้บ่อยและเร่ิมสงสัยว่าแท้จริงนั้นคืออะไร และ แตกต่างจาก คำว่า ญาณ อย่างไร ผู้ภาวนาที่ปฏิบัติใหม่ ๆ มักจะเกิดความสับสนสองคำนี้บ่อยมา และอาการที่เกิดขึ้นกับจิตนั้น ก็จะทำให้เกิดความสงสัยค้นหาคำตอบจาก ครูอาจารย์  เพื่อให้คลายข้อสงสัยเหล่านั้น แต่ความสงสัยนี้ก็เป็นอันตราย เพราะมาจากหนึ่งใน นิวรณ์ 5 คือ ความสงสัย การที่เราปฏิบัติแล้วควบคู่กับความสงสัยแล้วจะทำให้ติดอยู่ตรงนั้น วนกับไปกับมา จึงต้องหาทางแก้ไข โดยการ ปล่อย นั้นคือ ให้รู้ว่า เราเกิดความสงสัย เกิดขึ้นมาอย่างไร แล้วหายสงสัยอย่างไร หายไปตอนไหน  นั่นแหละเมื่อเราเพิ่งจิตจนนิ่งสงบและเพียงแค่ดูอาการเหล่านั้นแล้วปล่อยไป เท่านั้น เราก็จะพบว่า ไม่มีความสงสัย พบแต่ “สิ่งที่ถูกรู้ และมีผู้รู้(จิต)อยู่ต่างหาก”

ญาณ คืออะไร   คลิกอ่านความรู้นี้เพิ่มเติม

ญาณ คืออะไร อำนาจแห่งผลจากการทำสมาธิและวิปัสนา

ฌาณ คืออะไร

ลักษณะภาวะของจิต ที่สงบจากการปฏิบัติสมาธิ ภาวนา เพ่งจิตสมาธิจนเป็น อัปปณาสมาธิ

อัปปนาสมาธิ คือ คลิกอ่านเพิ่มเติม

อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

 

ฌาณ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 

แต่โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

ประเภทที่ 1  รูปฌาณ

ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

ประเภทที่ 2 อรูปฌาน

ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาสไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)

เครดิตจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99

ฌาณสมาบัติ คืออะไร

แท้จริงแล้วจะกล่าวได้ว่า  ฌานกับสมาบัติ คือสิ่งเดียวกัน

คำว่า ฌาน คือ จิตหรือเรานั่งปฏิบัติสมาธิภาวนา  การเพ่ง คือเพ่งรูปนาม ที่เราทั้งหลายปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ เราเพ่งรูปนาม ขันธ์ห้า คืออาการพองอาการยุบเป็นต้น การเพ่งอย่างนี้เรียกว่า ฌาน

คำว่า สมาบัติ แปลว่า สมบัติของผู้ได้ฌาน ซึ่งหมายถึง ท่านผู้ได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน การได้ฌานอย่างนี้เขาเรียกว่า สมาบัติ คือสมบัติของผู้ได้ฌาน

ฌาณสมาบัติมี ๒ ประเภท คือ

๑. กุศลฌานสมาบัติ เป็นการเข้าฌานของปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ผู้ได้ฌาน

๒. กิริยาสมาบัติ เป็นการเข้าฌานของ พระอรหันต์ผู้ได้ฌาน

ฌานสมาบัติยังแยกอีกเป็น ๒ ประเภทตามขั้น คือ รูปฌานสมาบัติ ๔ และอรูปฌานสมาบัติ ๔ เรียกว่า สมาบัติ ๘

เครดิต

logo dhamma

สรุปเรื่องฌานได้ดังนี้ 

ฌาณ เป็นการเข้าถึงความสงบจากการปฏิบัติสมาธิ จากตั้งแต่ สมาธิขั้นต้น ได้แก่ ขณิกสมาธิ จนไปถึง อัปปมาสมาธิ  ซึ่งการเข้าสู่ความสงบที่เกิดจากการเพิ่งจิตนี้ เรียกว่า ฌาณ  ซึ่งสมบัติจากได้ปฏิบัตินี้ จะเรียกว่า ฌาณสมาบัติ  แต่ถ้าผลที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนา จะเรียกว่า ญาณ

 

ญาณ คืออะไร อำนาจแห่งผลจากการทำสมาธิและวิปัสนา

ญาณ คืออะไร อำนาจแห่งผลจากการทำสมาธิและวิปัสนา

ญาณ คืออะไร ซึ่งความหยั่งรู้นั้นสำหรับ ผู้ที่ฝึกภาวนาและสมาธิ จะเป็นที่กล่าวถึงสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะความรู้ของผู้ที่ฝึกภาวนา จะเร่ิมมีความสนใจในความหมาย เพราะอยากรู้ว่า ในสิ่งที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัตินั้น คืออะไร และ ลักษณะของญาณ นั้นเป็น อย่างไร  ทำให้เกิดความสงสัยในคำนี้อีกทั้งยังมีคำว่า ฌาน อีกคำถ้าอ่านผิวเผินสำหรับผู้ที่ศึกษาใหม่ ๆ มักจะแยกไม่ออก  เพราะเขียนคล้าย ๆกัน

ญาณ และ ฌาน นั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่   คำตอบคือ แตกต่าง

ฌาน คือ การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก  หรือ เข้าใจง่าย ๆ คือ การที่เพ่งจิตจนนิ่งในสมาธิ

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93

แต่ ญาณ เป็นตัวความหยั่งรู้ที่ปฏิบัติจากภาวนา   

เพราะฉะนั้น จึงทำให้ต้องเข้าใจถึงความแตกต่าง เพราะอาจจะสับสน  แต่สำหรับผู้ปฏิบัติไปถึงความเข้าใจ นั้นก็จะไม่กกังวลในความหมายหรือคำไหนกก็ตาม เพราะ จิต นั้นเป็นตัวรู้ว่า คืออะไร แตกต่างกกันอย่างไร เพียงแค่หาคำมาใส่ ให้เราได้เรียนรู้ ว่า ญาณ หรือ ฌาณ

ญาณ คืออะไร

แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง

ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง

ดังนั้น ทำความเข้าใจ ง่าย ๆ  ญาณ นั้นคือ ความรู้ที่เกิดจากกการภาวนา (ในกรณีที่เราอธิบายเบื้องต้น เพราะ ความรู้ที่แท้จริง หรือ วิชชา นั้น จะเป็นความหยั่งรู้ที่ทำให้เห็นธรรมะ  ดังนั้น บางท่านอาจจะตีความผิดไป เพราะอาจถูกกิเลสพาหลงผิดว่า ตัวเองนั้นได้ ญาณหยั่งรู้  ดังนั้นต้องระวังให้ดีในการปฏิบัติ)

เพราะ การที่เราอาจจะได้ญาณที่เป็นอวิชชานั้น ทำให้หลงผิดมามากมายหลายท่าน แล้วนำไปอวดกัน ไม่ได้เป็นการนำไปสู่ทางออกจากทุกข์ ติดอยู่ในฤิทธิเดชก็มี หลงอยู่ในความรู้นั้น จนเข้าใจว่าบรรลุ

ญาณ คืออะไร อำนาจแห่งผลจากการทำสมาธิและวิปัสนา

ผลแห่งการปฏิบัตินั้นทำให้เกิด ญาณ 3 ได้แก่ วิชชา 3

1.บุพเพนิวาสานุสสติญาณ

กล่าวเข้าใจง่าย ๆ คือ การระลึกชาติได้  สามารถระลึกถึง อดีตชาติได้

เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้างยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง

(พระไตรปิฎก ไทย เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๕-๖)

2.จุตูปปาตญาณ

ในข้อนี้จะกล่าวให้เข้าใจถึงการเปรียบเหมือนมี ตาทิพย์ ที่เห็นเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ภัยพิบัติ เหตุการณ์ล่วงหน้าที่จะเกิด การเกิดดับของสัตว์โลก ที่เป็นไปตามกรรม

ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ บ้าง

3.อาสวักขยญาณ

ความรู้ในการกำจัดอาสวะให้สิ้นไป เห็นว่าจิตหลุดพ้นจากวัฏสงสาร เห็นการดำเนินของ ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ทางดับทุกข์ ปฏิบัติแห่งการดับทุกข์ อยู่เพื่อเสร็จสิ้นกิจทางขันธ์ และไม่มีหน้าที่อะไรที่จะต้องนำมาเกิดบนโลกนี้อีก

ดังนั้น สรุปได้ดังนี้ ความหยั่งรู้ที่เกิดความรู้เห็นแจ้งจริงจนเป็น วิชชา คือ เห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรม ความหยั่งรู้ที่ได้จากการปฏิบัติสมาธิและภาวนะ  จนส่งผลให้เกิดความหยั่งรู้  ก็คือ ญาณ

แต่สิ่งที่สำคัญนั้นก็คือ  ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เฉพาะตนที่รู้ วิญญูหิติ และไม่ใช่สิ่งที่โอ้อวด เพราะจุดมุ่งหมายของศาสนาและพระพุทธองค์นั้น คือ การขนทุกข์ออกจากใจของสัตว์โลก

อ่านบทความแนะนำ สมาธิ คืออะไร ฝึกนั่งมีวิธีใดบ้าง และ สมาธิมีกี่ประเภท

 

 

 

 

 

 

 

เทศกาลกินเจ 2567 ประวัติที่มาและต้องปฏิบัติอย่างไร อิ่มใจอิ่มบุญ

เทศกาลกินเจ 2567 ประวัติที่มาและต้องปฏิบัติอย่างไร อิ่มใจอิ่มบุญ

เทศกาลกินเจ 2567 ปีนี้จะตรงกับวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 จะเป็นเวลา 9 วัน ถ้าต้องรวมล้างท้องก่อนล่วงหน้า อย่างน้อย 1-2 วัน ก็จะรวมประมาณ 11 วัน ในปีนี้ จะมีประเพณีสำคัญ ๆ ต่อเนื่องด้วย ดังน้ี วันที่ 17 ตุลาคม ซึ่งจะเป็นวันออกพรรษา ที่จะมีกิจกรรมสำคัญคือ ตักบาตรเทโว และ ต่อด้วย การทอดกฐิน ซึ่ง 1 ปีจะมีได้เพียงครั้ง ซึ่งจะทอดกฐินได้ก็ต่อเมื่อออกพรรษาแล้วเท่านั้น นับได้ว่าเดือนตุลาคมปีนี้เป็นเดือนแห่งบุญ

timeline เดือนตุลาคม กินเจ ,ออกพรรษา , กฐิน

การล้างท้องก่อนวันจริง  เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับสภาพ และทำให้ร่างกายนั้นมีความคุ้นเคยกับการกินอาหารเจ

ความหมาย คำว่า เจ คืออะไร

เจ มีความความหมายอย่างไร ซึ่งคำว่า เจ นั้น ตามภาษาจีนในทางศาสนาพุทธนิกายจีน(มหายาน) มีความหมายเดียวกันกับคำว่า อุโบสถ การกินเจ จึงเปรียบเสมือนว่า ถือศีลแปด รักษาศีลแปด เหมือนกับทางไทยเรา คือ หลังเที่ยงไปแล้ว จะงดเว้นการทานข้าว

เทศกาลกินเจ มีประวัติอย่างไรบ้าง

เทศกาลเจ เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้ว ตามตำนานเล่าว่า เกิดมาในสมัยที่ชาวจีนถูกรุกรานโดยชนชาติแมนจู ซึ่งเข้าปกครองประเทศจีน และบังคับให้ชนชาติจีนยอมรับวัฒนธรรมของตน อาทิ การไว้ทรงผมเยี่ยงแมนจู คือ โกนศีรษะโล้นทางด้านหน้าและไว้ผมยาวทางด้านหลัง ซึ่งหลายคนคงจะชินตาในภาพยนตร์จีนที่นำมาฉายทางทีวี

ในสมัยนั้น มีคนจีนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันต่อต้านชาวแมนจู โดยใช้หลักทางธรรมเข้ามาร่วมด้วย ชาวจีนกลุ่มนี้ นุ่งขาว ห่มขาวและไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ซึ่งมีความเชื่อว่า การประพฤติปฏิบัติตามแนวทางนี้จะช่วยสร้างความเข้มแข็ง ให้กับกลุ่มของตนจนสามารถต้านทานชาวแมนจูได้ คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “หงี่หั่วท้วง” ซึ่งแม้จะได้ต่อสู้อย่างอาจหาญ แต่ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถต้านทานการรุกรานของชาวแมนจูได้

เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ชาวจีนที่ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของชาวแมนจู จึงพากันถือศีลกินเจ เพื่อรำลึกถึงเหล่านักสู้ “หงี่หั่วท้วง” ที่ได้ต่อสู้พลีชีพในครั้งนั้น

ความเชื่อถืออีกกระแสหนึ่งของตำนานการกินเจนั้น เชื่อกันว่าเป็นการสักการะพระพุทธเจ้าในอดีต 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 ในพิธีกรรมนี้ สาธุชนจึงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต หันมาบำเพ็ญศีล โดยการตั้งปณิธานในการกินเจ งดเว้นอาหารคาว เพื่อเป็นการสมาทานศีล

สำหรับเมืองไทยความเชื่อเรื่องการกินเจ เป็นไปในแนวทางของการละเว้นการเอาชีวิตของสัตว์ เพื่อเป็นสักการะบูชาแก่ พระพุทธเจ้า และมหาโพธิสัตว์กวนอิม อาจเนื่องจากการแพร่หลายของกการละเว้นการกินเนื้อวัว ในกลุ่มคนที่นับถือ “เจ้าแม่กวนอิม” การกินเจ จึงเป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมเพื่อสักการะ

เครดิดจากเพจ https://www.sanook.com/health/1429/

 

ข้อห้ามและข้อปฏฏิบัติ หรือ ต้องทำอะไรบ้างในเทศกาลกินเจ

  • ห้ามกินผักที่มีกลิ่นฉุนและห้ามกินเนื้อสัตว์  ได้แก่ หัวหอม ต้นหอม ใบหอม หลักเกียว กุ้ยช่าย กระเทียม
  • ห้ามดื่มเหล้า ของมึนเมา และสูบบุหรี่
  • ห้ามกินอาหารที่มีรสจัด เช่น เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด
  • ถ้วยชามในช่วงเทศกาลกินเจ จะเเยกออกจาก จานชามที่ใช้ในทั่วไป รวมถึง กระทะเเครื่องครัวที่ใช้ทำอาหารเจ จะห้ามใช้ซ้ำกับที่ทำกับข้าวชนิดอื่น
  • ห้ามดื่มกาแฟ หรือ ชา ที่มีการใส่นม หรือครีมเทียม แต่เป็นกาแฟดำล้วนได้

บทสวดมนต์สำหรับผู้ที่ปฏิบัติอยู่บ้านหรือไม่ได้เเวะไปที่โรงเจ หรือสถานที่ปฏิบัติธรรม

บทสวดไต๋ซือ ไต๋ปุย ขอพรพระแม่กวนอิม

นำโม ไต่ชือ ไต่ปุย กิวโคว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก๊ำ กวงสีอิมผู่สัก ( กราบ )
นำโม ไต่ชือ ไต่ปุย กิวโคว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก๊ำ กวงสีอิมผู่สัก ( กราบ )
นำโม ไต่ชือ ไต่ปุย กิวโคว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก๊ำ กวงสีอิมผู่สัก ( กราบ )

นำโมฮุ๊ก นำโมฮวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโค่ว กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก
ถั่งจี้โต โอม เกียล้อฮวดโต เกียลอฮวดโต เกียลอฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ล้อเกียฮวดโต ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี้ซิ้ง
เจ็กเฉียก ไจเอียงฮวยอุ่ยติ้ง นำโม ม่อออ ปวกเยี่ยะ ปอล่อบิ๊ก ( กราบ )

 

จุดมุ่งหมายของการกินเจ คือ ชำระจิตใจให้มีความผ่องใส เพราะในแต่ละวันหรือในระหว่างปีนั้น เราจะทำอะไรมากมายในชีวิต อาจจะไม่มีเวลาบ้าง หรือ ทำธุระอื่น ๆ บ้าง จึงอยากให้มีเวลาที่ได้ทำให้ใจนั้นมีความมุ่งมั่นที่จะได้อยู่กับ ความตั้งใจที่จะชำระให้จิตมีความสะอาดและเมตตา ดังพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม

 

 

 

 

วิธีถวายสังฆทาน มีขั้นตอนและต้องทำอย่างไรบ้าง

วิธีถวายสังฆทาน มีขั้นตอนและต้องทำอย่างไรบ้าง

วิธีถวายสังฆทาน หรือ การทำสังฆทาน เป็นพิธีหนึ่งที่ชาวพุทธไปทำบุญที่วัดที่นิยมทำมากที่สุดอย่างหนึ่ง โดยจุดมุ่งหมายเพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญให้กับผู้ล่วงลับ , เพื่อผลบุญให้มีการดำเนินชีวิตมีความราบรื่นปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ และยังทำให้จิตใจมีความสบายใจ เนื่องจากการขออโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวร ซึ่งโดยส่วนมากจะนำผ้าไตรจีวรเป็นสิ่งของในการถวายสังฆทานเพราะมีความเชื่อในเรื่องอานิสงส์ที่มาก

เกร็ดเล็กน้อยแนะนำในเรื่องการนำผ้าไตรไปถวายสังฆทาน

การนำผ้าไตรจีวรไปถวายสังฆทานนั้นอาจจะต้องทำความเข้าใจด้วยว่าเป็นวัดนิกายใด มหานิกายหรือ ธรรมยุต เพราะสีผ้าไตรจีวรจะแตกต่างกัน

แนะนำอ่านบทความน้ี

สีผ้าไตรจีวรมีกี่สีเราจะรู้ได้อย่างไรถวายผ้าไตรวัดไหนใช้สีอะไร

วิธีถวายสังฆทาน มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนการถวายสังฆทาน ในพิธีการถวาย ต้องจุดธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม (ด้านซ้ายและขวาของ พระพุทธรูป หรือด้านขวาและซ้ายมือของเรา)

เร่ิมจาก จุดธูปบูชาพระรัตนตรัย

กล่าวคำบูชาพระรัตนะตรัยพร้อมกัน และกราบพระอีกครั้งว่า
“อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวังตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมังนะมะสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ” (กราบ)

จากนั้น…..แล้วอาราธนาศีล ว่า
“มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ”

เสร็จแล้ว พระจะให้ศีล เราพนมมือกล่าวรับศีลจากพระ รับศีลจบแล้วตั้งนะโม…เพื่อเป็นการเคารพนบนอบต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า

“นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ” 3 จบ

จากนั้น…..กล่าวคำถวายสังฆทานโดยกล่าวดังนี้

“อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุ สังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”

โดยกล่าวคำแปลต่อ โดยกล่าวว่า

“ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ”

เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จ พระจะกล่าวพร้อมกันว่า “สาธุ” แล้วเราเข้าไปถวายสังฆทาน ซึ่งจะนำมาวางอยู่ต่อหน้าพระสงฆ์ก่อนแล้ว เวลาประเคนถ้าประเคน 2 คน ก็จับเครื่องไทยธรรมนั้น ๆ ทั้ง 2 คน ยกให้สูงจากพื้นที่วางของ แล้วประเคนให้พระสงฆ์รับ หลังจากนั้นพระสงฆ์จะอนุโมทนา ตอนนี้เป็นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำบุญเพื่ออุทิศให้กับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต้องมีสมาธิมีเจตนาแน่วแน่ในการทำบุญอุทิศ ซึ่งจะทำให้ได้อานิสงส์แรง พระจะสวดเป็นภาษาบาลีว่า

“ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา”

พอพระเริ่มกล่าวคำว่า ยะถา วะริวะหา… เราก็เริ่มกรวดน้ำทันที (ให้รินน้ำลงในที่รองรับช้า ๆ เป็นสายน้ำอย่าให้ขาดสายจะดี) พร้อมกับกล่าวคำอุทิศส่วนบุญที่เราได้ทำในครั้งนี้ไปให้กับ บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา ครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่ทุกข์ก็ให้พ้นทุกข์ ที่มีสุข ก็ให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น หรือกล่าวคำกรวดน้ำเป็นภาษาบาลีอย่างย่อก็ได้ว่า

“อิทังเม ญาติณังโหตุ สุขิตาโหตุ ญาตะโญ”

แปลว่า “ขอให้บุญนี้จงสำเร็จแก่บิดามารดา และญาติพี่น้องของข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอให้มีความสุขกายสุขใจ” ถ้าว่าไม่ได้หรือจำไม่ได้ ก็ให้กล่าวเป็นภาษาไทยอย่างเดียวก็ได้ แต่ต้องตั้งจิตอธิษฐานด้วยใจ อย่ากล่าวแต่ปากโดยใจมิได้จดจ่อกับสิ่งที่กล่าว

เมื่อพระสวดคำว่า “จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา” ก็ให้รินน้ำลงให้หมด ขณะนี้พระยังสวดต่ออีก เป็นการสวดให้พรแก่ตัวเราแล้ว ไม่ใช่การอุทิศส่วนบุญให้ผู้อื่น/สัตว์อื่น) เราก็นั่งพนมมือทำจิตใจให้อิ่มเอิบเบิกบานรับพรจากพระ เมื่อพระสวดจบก็เป็นอันเสร็จ พิธีถวายสังฆทาน อย่างสมบูรณ์
การถวายสังฆทานอุทิศให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว
การถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่ออุทิศแก่ผู้ตาย หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า มะตะกะภัต พิธีการต่าง ๆ ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการถวายสังฆทาน ผ้าไตรทั่วไป แต่จะมีความแตกต่างกัน ตรงที่ คำกล่าวถวายมีการเปลี่ยนคำบางคำไป เพื่อให้เหมาะสมและถูกต้อง ตามความตั้งใจที่ต้องการถวายสังฆทานแด่ผู้ล่วงลับไปแล้ว

เครดิตจาก https://dharayath.com/

 การถวายสังฆทาน ทำได้ตอนไหนบ้างหรือเวลาใดบ้าง

ในการทำบุญถวายสังฆทานน้ัน สามารถทำได้ทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับตามความเชื่อในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรหรือญาติที่เสียชีวิต  เช่น ทำบุญคตรบ 100 วัน หรือ ทำบุญครบรอบ 1 ปี , วันพระ หรือวันสำคัญทางศาสนา

แนะนำอ่านเพิ่มเติม ทำบุญ 100 วัน หรือ ครบ 1 ปี เตรียมอะไรบ้าง มีขั้นตอนและความสำคัญอย่างไร

 

1. วันพระ เฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ: เป็นวันที่ยมโลกนรกหยุดทัณฑ์ทรมานให้สัตว์นรก 1 วันโลกมนุษย์ สัตว์นรกมีทุกขเวทนาเบาบางลง จึงมีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลที่ตนทำและอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ได้เต็มที่ ส่วนญาติที่เกิดเป็นเทวดาก็จะนิยมมาฟังธรรมในวันพระและตรวจดูการทำบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับผู้ที่ทำความดีในโลกนี้ เราจึงควรทำบุญตักบาตร และ ถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่ออุทิศบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ

2. วันครบรอบวันตาย 7 วัน: ในกรณีที่ผู้ตายไปแล้วเป็นผู้ที่ทำกรรมดีและชั่วไม่มากพอ บุญบาปที่ตนทำในโลกนี้ยังไม่ส่งผลในทันที ผู้ตายจะวนเวียนอยู่ 7 วันเพื่อให้มีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลได้ หากผู้ตายระลึกถึงบุญกุศลที่ตนเคยทำได้ หรือ หากญาติมิตรทำบุญอุทิศให้อย่างถูกวิธี และอนุโมทนาบุญ ผลบุญนั้นก็จะพาไปเกิดในที่ดี เราจึงควรทำบุญตักบาตร และ ถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่ออุทิศบุญแก่ผู้ล่วงลับในวันนี้แช่นกัน

3. วันครบรอบวันตาย 50 วัน: ในกรณีที่ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ยมโลกพาไปยมโลกแล้ว ช่วงระหว่างเวลา 50 วันหลังตาย คือช่วงเวลาที่ผู้ตายกำลังรอคอยลำดับคิวการพิพากษาตั้งแต่ถูกลากตัวไปจากมนุษย์โลก ผ่านประตูยมโลก อยู่หน้าลานรอขานชื่อเพื่อเข้าพบพระยายมราช

*พระยายมราช คือ เทพชั้นจาตุมหาราชิกาประเภทหนึ่งที่มีกรรมเกี่ยวพันด้านกฎหมาย ชอบตัดสินคดีความด้วยความซื่อสัตย์ตอนสมัยเป็นมนุษย์และทำบุญ หรือเมื่อทำบุญก็ตั้งความปรารถนาไว้

4. วันครบรอบวันตาย 100 วัน: ช่วงเวลาระหว่าง 51 ถึง 100 วัน คือช่วงกำลังถูกพิพากษา พระยายมราชจะซักถามความประพฤติตอนสมัยเป็นมนุษย์ และจะส่งไปเกิดเป็นอะไรต่ออะไร ช่วงนี้ถ้าญาติทำบุญตักบาตร หรือถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร และอุทิศบุญไปให้ก็ยังรับบุญได้

ขั้นตอนการ วิธีถวายสังฆทาน

จัดเตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ หรือจตุปัจจัยที่จะนำไปถวายตามสมควร โดยไม่ลืมที่จะคำนึงถึง การถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร ที่จะต้องเป็นไปเพื่อหมู่สงฆ์ ตามความหมายของคำว่า “สังฆทาน” และตามข้อกำหนด ของพระวินัย ว่าด้วยสิ่งของต้องห้ามต่าง อาทิเช่น สุรา หรือสิ่งเสพติด ในการถวายสังฆทาน ถ้าเป็นอาหาร หรือที่เรียกว่าสังฆทานสด ต้องนึงถึงประเภทของอาหารตามพระวินัยเช่นกัน และ เลือกให้เหมาะสมกับกาลเวลา คือควรถวายก่อนเพล สังฆทานทั่วไปควรจัด สังฆทานด้วยตนเอง ไม่สมควร ถวายสังฆทานที่จัดสำเร็จรูป เพราะอาจไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพของสิ่งของต่างๆนั้นได้ครบถ้วน ซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายในหลายๆด้านตามมา จากสิ่งของที่ไม่ได้คุณภาพ

นำสังฆทานที่จัดเตรียมแล้วไปยังวัดที่ต้องการถวาย จากนั้นให้แจ้งเจ้าหน้าที่หรือผู้รับผิดชอบของทางวัด ว่าต้องการมาถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร แจ้งความประสงค์หรือไปยัง จุดที่ ได้มีการกำหนดไว้แล้วเพื่อการถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร ของวัดนั้น ซึ่งมีการกำหนดสถานที่ไว้แล้ว

แจ้งต่อท่านถึงความตั้งใจ ที่จะมาถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร แก่ผู้ล่วงลับ โดยอาจเขียนชื่อและนามสกุลของ พูดล่วงลับ แจ้งกับพระสงฆ์ผู้มารับสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่อให้ท่านรับทราบถึงจุดประสงฆ์ของการทำสังฆทานในครั้งนี้ จากนั้นท่านอาจกล่าว ขึ้น เพื่อเรียกขาน วิญญาณผู้ล่วงลับให้มารับทราบ มาเตรียมรับบุญนี้

เริ่มด้วยการ จุดธูปเทียนบูชา กราบพระรัตนตรัย ที่อยู่ในบริเวณที่จะถวายสังฆทานนั้น จากนั้น พระท่านจะให้กล่าวคำอาราธนาศีลและรับศีล โดยว่าตามนี้

คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
สมาทาน ศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ตั้งนะโม 3 จบ
กล่าวคำถวายสังฆทานอุทิศให้ผู้ล่วงลับ
อิมานิ มะยัง ภันเต มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ที่เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งมะตะกะภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ โปรดรับ ซึ่งมะตะกะภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายและญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า มีบิดา มารดาเป็นต้น และขออุทิศให้ (ชื่อของผู้ที่จะอุทิศกุศลให้) สิ้นกาลนานเทอญ
เมื่อกล่าวคำถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร จบแล้ว ให้ยกของทั้งหมดที่เตรียมมาประเคนกับภิกษุสงฆ์
อาจนำชื่อ นามสกุลของผู้เสียชีวิต เผาลงในภาชนะ รองรับ หรือในภาชนะที่จะกรวดน้ำ จากนั้น พระท่านจะสวดบทกรวดน้ำให้เราตั้งใจกรวดน้ำ และส่งผลบุญให้ถึงแก่ผู้ล่วงลับที่เราตั้งใจมาทำสังฆทานให้ในวันนี้
เมื่อกรวดน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กราบ 3 ครั้ง ลุกขึ้นนำน้ำที่กรวด ไปเทรดลงบนดินหรือต้นไม้ เลือกเทที่ต้นใหญ่จะยิ่งดี พร้อมทั้งกล่าวอัญเชิญพระแม่ธรณี ,ท่านท้าวเวสสุวรรโณ และปวงเทพเทวา ให้มาเป็นสักขีพยานรับรู้ในการ สร้างและอุทิศบุญครั้งนี้แก่ผู้ล่วงลับ โดยกล่าวหรือละลึกถึงชื่อผู้ล่วงลับที่เราต้องการส่งบุญนี้ให้
นำภาชนะกรวดน้ำเก็บเข้าที่ และกราบลาพระ เป็นอันเสร็จพิธี

สิ่งของที่นิยมถวายสังฆทาน

สิ่งของที่ใช้ถวายสังฆทานไม่ได้มีเฉพาะเจาะจง ส่วนมากจะเป็นอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว นอกจากนี้ยังมีสิ่งของต่าง ๆ ที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อพระสงฆ์ เช่น

  • ข้าวสารอาหารแห้ง: ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม อาหารกึ่งสำเร็จรูป ผลไม้แห้ง นม
  • ยาสามัญประจำบ้าน: ยาแก้ปวด ยาแก้แพ้ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ไอ และยาสามัญประจำบ้านอื่น ๆ
  • ของใช้จำเป็น: สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ทิชชูเปียก ทิชชูแห้ง
  • เครื่องอัฐบริขาร: บาตร จีวร สังฆาฏิ ไตรจีวร เข็มขัด บาตรน้ำ ร่ม
  • อื่นๆ: หนังสือธรรมะ อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์ทำความสะอาด เงินปัจจัย

เครดิตจากเพจ https://www.lotuss.com/th/blog/offering-dedicated-to-monks?sort=relevance:DESC

อริยสัจ 4 คืออะไร ความจริงอันประเสริฐ หลักธรรมแห่งการพ้นทุกข์

อริยสัจ 4 คืออะไร ความจริงอันประเสริฐ หลักธรรมแห่งการพ้นทุกข์

หลักธรรมแห่งการพ้นทุกข์ ที่จะทำให้ทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลก คือ อริยสัจ 4 แก่นธรรมะที่ทำให้เห็นทางพ้นทุกข์ โดยผู้ผฏิบัติธรรมจะต้องมีอยู่ในใจทุกท่าน หลักความจริงอันประเสริฐที่เป็นทางที่นำพาไปสู่การพบทุกข์ และการดับทุกข์

ซึ่งหลักธรรมนี้ เป็นทางสายกลางแห่งการฏิบัติ “เพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์หลัก คือ ขนทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลก นั้นคือ นิพพาน”

หลักธรรมนี้ เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ เมื่อครั้นหลังจากที่บรรลุธรรมใต้ต้นโพธิและได้มาแสดงธรรมให้แก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่เราเรียกว่าวันอาสาฬหบูชา ซึ่งเป็นหลักธรรมไว้ในบทสวดมนต์ ธัมมจักกัปวัตนสูตร ทำให้กงล้อแห่งธรรมหมุนเป็นครั้งแรก เพราะมี พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์

และยังนับได้ว่าเป็นปฐมเทศนาครั้งแรก คือ เทศนากัณฑ์แรก พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่พระปัญจวัคคีย์  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี

 

อริยสัจ 4 คืออะไร

หลักธรรมนี้ พระพุทธเจ้าที่มาทรงค้นพบด้วยพระองค์ โดยเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะต้องบรระลุและเข้าถึงในอริยสัจ ถึงจะบรรุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ดังนั้น หลักธรรมนี่จึงเป็นที่นับได้ว่าเป็นแก่นของคำสั่งสอนอย่างแท้จริง

อริยสัจ คือ หลักธรรมที่สำคัญจัดได้ได้เป็นแก่นธรรมของหลักคำสอน และ ถือเป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

(เครดิต https://www.mcot.net/view/IJvzfpTd)

ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ และ เพื่อนิพพาน เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ

ขอบคุณเครดิตเพจ https://th.wikipedia.org/

ประกอบไปด้วย สี่ ประการดังนี้
1. ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
สภาวทุกข์ หมายถึง ทุกข์ประจำ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ปกิณณกทุกข์ หมายถึง ทุกข์จร การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และความไม่สมปรารถนา

2. สมุทัย สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความอยาก คือ
กามตัณหา คือ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น
ภวตัณหา คือ ความอยากให้คงอยู่
วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น

3. นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์
คือ การละตัณหา 3 ประการดังกล่าว

4. มรรค หมายถึง วิธีดับทุกข์ เป็นแนวทางปฏิบัติต้นเหตุของทุกข์
มี 8 ประการดังนี้

องค์มรรค 8
สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ

สัมมาวาจา คือ วาจาชอบ
เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูด เพ้อเจ้อ ไร้สาระ

สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ
การงดเว้นจากกายทุจริต คือ
การไม่ฆ่าสัตว์
ไม่ลักทรัพย์
ไม่ประพฤติผิดในกาม

สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีวิตชอบ ได้แก่
การประกอบอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น

สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ ได้แก่
เพียรขจัดความชั่ว
เพียรสร้างความดี
เพียรรักษาความดี

สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ
การกำหนดรู้จิต ระลึกได้ตลอดเวลาว่า ตนเองกำลังคิดอะไร ทำอะไร

สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจชอบ
การตั้งจิตให้ควบคุมอารมณ์ได้

(เครดิตเพจ https://dharayath.com/)

Pin It on Pinterest

Share This