สมถะ คืออะไร สมาธิเพื่อความสงบแห่งจิต

สมถะ คืออะไร สมาธิเพื่อความสงบแห่งจิต

สมถะ เป็นอีกการปฏิบัติสมาธิเพื่อโน้มจิคเพื่อเข้าสู่ความสงบ หรือกล่าวง่าย ๆ คือ ทำจิตใจ ให้เป็นสมาธิหรือสงบเสียก่อน ก่อนที่จะไปคิดถึงว่าเรานั่งไปขั้นไหนแล้วนั่งแล้วเห็นอะไร จึงทำให้เกิดความสงสัยมากมายกับผู้ปฏิบัติว่า จะต้องทำอะไรก่อน สำหรับการนั่งสมาธิ บางคนอ่านหรือสอนมาว่า ทำสมถะก่อน หรือ ทำวิปัสนากรรมฐาน ทำให้เกิดนิวรณ์ได้โดยง่าย คือ มีความสงสัยลังเล ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการนั่งสมาธิได้ เพราะติดอยู่กับการค้นหาว่านั่งไปแล้วจะทำให้เป็นอย่างโน้น อย่างนี้ จึงทำให้สงบไม่ได้   จึงต้องย้อนกลับมานั่งกันเริ่มต้นใหม่่  ง่าย  ๆ และเหมาะกับทุกคนคือ ทำให้จิตสงบเสียก่อนแล้วค่อยปฏิบัติวิปีสนากรรมฐาน จะทำให้ง่ายต่อการนั่งสมาธิ

สมาธิ เป็นการรวบรวมสภาวะจิตใจให้แน่วแน่ และเป็นหนึ่งในวิธีฝึกจิตให้นำไปสู่ความสงบ ที่เรียกว่าสมถะ คือทำใจห้สงบก่อนแล้วจิตจะพัฒนาสู่การเห็นความเป็นจริงตามวิปัสนา
หลายท่านกำลังฝึกการนั่งสมาธิ และฝึกมาหลายที่ จนทำให้งง ว่าตกลงแล้วต้องเร่ิมตรงไหนทำอย่างไรก่อน  แล้วดูลมหายใจ พุทโธ จะเร่ิมอย่างไรกับสมาธิ บทความนี้มีมาฝากรับรอง ไม่หลงเพราะทำตาม ครูอาจารย์ที่ท่านได้ปฏิบัติดี
หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง ท่านได้ให้ไว้ คือ ทำจิตให้สงบเสียก่อน ที่เราเรียกว่า สมถะ ความสงบอยู่ที่เรา ไม่ได้อยู่ที่สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ควบไปกับ ลมหายใจ อานาปณสติ ไม่ต้องสนใจใด ๆ ให้รู้อย่างเดียว ไม่ต้องไปบังคับ ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ทำไปเรื่อย ๆ จะพัฒนาขึ้นเอง
แล้วจะเห็นความอัศจรรย์จากจิตที่สงบ นัตถิ สันติ ปะรัง สุขขัง ไม่มีสุขใดเหนือกว่า ความสงบ

นิวรณ์ 5

นิวรณ์ 5 คืออะไร และ แก้นิวรณ์อย่างไรให้สมาธิสงบ

สมาธิ คือ อะไร

สมาธิ คืออะไร ฝึกนั่งมีวิธีใดบ้าง และ สมาธิมีกี่ประเภท

สมถะคืออะไร มีความหมายอย่างไร

สมถะเป็นภาษาบาลี แปลว่า สงบ

สมถกรรมฐาน หมายถึง กรรมฐานอันเป็นอุบายสงบใจ ซึ่งคู่กับวิปัสสนากรรมฐานอันเป็นอุบายเรืองปัญญา

สมถกรรมฐาน คือ วิธีการในอันที่จะเพิ่มพูนสมาธิ คู่กับ วิปัสสนากรรมฐาน คือ วิธีการในอันที่จะเพิ่มพูนสติ

สมถกรรมฐาน อารมณ์กรรมฐานที่ทำให้บรรลุอุปจารสมาธิขึ้นไป มีอยู่ 40 อย่าง คือ

  • กสิณ 10
  • อสุภ 10
  • อนุสสติ 10
  • อัปปมัญญาหรือพรหมวิหาร 4
  • อรูปฌาน 4
  • จตุธาตุววัฏฐาน
  • อาหาเรปฏิกูลสัญญา

 

สมาธิ คืออะไร การทำ สมถะ เพื่อความสงบก่อน

สมาธินั้นต้องทำสมถะหรือวิปัสสนาก่อนทำอะไรก่อน ?

เป็นคำถามที่พบเจอบ่อยมากกับผู้ที่ฝึกสมาธิ

เพราะ อาจารย์นั้นบอกอย่างนั้น อาจารย์นี้บอกอย่างนี้  คนนั้นบอกให้ทำสมถะก่อน บางคนบอกว่าทำ วิปัสนาเลย ทำให้เกิดความลังเล

ถ้าโดยพื้นฐานตามปกติ เบื้องต้นแล้ว ควรทำให้เกิดจิตที่เป็นสมถะ หรือ ให้จิตสงบนิ่ง ให้ได้ก่อน เพราะคนเรามีสติปัญญา และ วาสนา(บุญของเก่า) ไม่เท่ากัน

เพราะบางคนมีจิตที่สงบและเป็นสมาธิง่าย หรือ มีจิตที่เข้มเข้มมาตั้งแต่เดิม ลองนึก บางคนกกลัวงู แต่บางคนไม่กลัวงู บางคนจับจิ้งจกได้ แต่บางคนกลัวจิ้งจก จะเห็นได้ว่าพื้นฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น ถ้าจะให้เร่ิมขั้นต้นได้ง่ายไม่ต้องไปคิดอะไรมากว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็ให้กำหนดรู้ว่า ไม่เข้าใจ และทำเดินสมาธิต่อไป นั่งดูให้จิตเป็นสมถะ พอจิตนั่งแล้ว การจะเข้าไปดูวิปัสนากรรมฐาน ก็จะเห็นชัดได้ง่าย ไม่สงสัยลังเลย

 

อภิญญา คืออะไร มีอะไรบ้าง ปัญญาแห่งพระอริยเจ้า

อภิญญา คืออะไร มีอะไรบ้าง ปัญญาแห่งพระอริยเจ้า

อภิญญา ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนาสมาธิ หรือ วิปัสนากรรมฐาน ด้วยความปฏิบัติดีและปฏิบัติชอบ หรือที่เราเรียกว่าพระอริยะ (อริยสงฆ์) หรือที่แปลว่าผู้ประเสริฐ เมื่อปฏิบัติสมาธิและภาวนาด้วยถึงจิตอันสงบสู่อัปปนาสมาธิ และเข้าสู่ ฌาน จะเกิดความรู้สู่จิตอันพิเศษ

 

สมาธิคืออะไร มีวิธีนั่งสมาธิอย่างไร

สมาธิ คือ อะไร

ฌาน 4 คืออะไร

ฌาน 4 คืออะไร

อภิญญา คืออะไร (หมายถึง)

อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน

อภิญญา หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากความสามารถพิเศษทางจิต กล่าวคือจิตสามารถรับรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้าต่างๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัย ประสาทสัมผัสใด ๆ เช่น สามารถเห็นเหตุการณ์ที่อยู่ในสถานที่ที่ห่างไกลได้ หรือ เห็นเหตุการณ์ในอนาคต เป็นต้น( https://e-port.mbu.ac.th/file/profiles31/2761_1626920898.pdf)

อภิญญามีอะไรบ้าง

  1. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
  2. ทิพพโสต มีหูทิพย์
  3. เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
  4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
  5. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
  6. อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

เครดิต

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2

อภิญญา เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้างจากการปฏิบัติสมาธิภาวนา

เมื่อนั่งสมาธิตามลำดับหลังจากที่ได้ฝึกปฏิบัติจนแน่ว และมาตามลำดับตั้งแต่

  1. ขณิกสมาธิ การนั่งสมาธิที่เริ่มต้น จิตเริ่มเป็นสมาธิ แต่ก็ตั้งได้เดี๋ยวเดียวก็ จะนึึกถึงอย่างอื่น ๆ แต่ก็จะกลับมารู้สึกตัวได้ง่าย ลักษณะจิตเหมือน เด็กที่กำลังตั้งไข่
  2. อุปปจารสมาธิ มีอารมณ์กับความแน่วแน่มาขึ้น เริ่มเฉียด ๆ ฌาน เปรียบเหมือน เด็กนั้นเริ่มเดินได้คล่องแคล่ว หลังจากที่พ้นจากวัยตั้งไข่ แต่ยังวิ่งไม่คล่อง
  3. อัปปณาสมาธิ มีอารมณ์ที่ลงร่วมเพ่งในความสงบเป็นที่ตั้งและเกิด ฌาน

หลังจากได้หรือปฏิบัติจนถึง อัปปณาสมาธิ ก็จะทำให้จิตมีความสงบเป็นอารมณ์นิ่ง  ที่เรียกว่า เข้าสู่ ฌาน 4 และ ฌาน 8 (รูปฌาน4 อรูปฌาน4)

ฌาณ 4 มีดังนี้ 

1) ฌาน 1 ปฐมฌาน (วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยใช้คำภาวนาและพิจารณาในขันธ์ 5 หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตทรงตัว

2) ฌาน 2 ทุติยฌาน (ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยคำภาวนาจะหายหรือหยุดไปเอง ไม่มีวิตกวิจาร แต่จะมีจิตใจชุ่มชื่น ลมหายใจเบาสบาย มีแต่ปีติ และเอกัคตารมณ์ คือ มีอารมณ์เป็นหนึ่งและทรงตัวมากขึ้น

3) ฌาน 3 ตติยฌาน (สุข เอกัคคตา) ลมหายใจจะเบามากและความอิ่มเอิบหายไป เหลือแต่ความสุขเยือกเย็น โดยจิตทรงตัวมาก อารมณ์ไม่เคลื่อนไหว ได้ยินเสียงภายนอกเบาลง และการทรงตัวแน่นสนิท

4) ฌาน 4 จตุตถฌาน (อุเบกขา เอกัคคตา) คือการตัดสุขได้ ไม่รับการสัมผัสทางจิตใจไม่มีความรู้สึก ทั้งจากเสียง ลม ยุ่งกัด เหลือแต่เอกัคตาพร้อมด้วยอุเบกขา ซึ่งฌานขั้นนี้เป็นอาการทางจิตที่ทรงตัวสมาธิดี มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความสว่างไสวในจิต หากสามารถฝึกให้จิตทรงตัวอยู่ตลอดเวลา ก็จะนำไปสู่การเกิด “ทิพจักขุญาณ” ตามมาได้โดยง่าย

เครดิต https://www.moe.go.th/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99-4/

ฌาน 4 คืออะไร จากปฐมฌานสู่จตุตถฌานของจิต

ฌาน 4 คืออะไร จากปฐมฌานสู่จตุตถฌานของจิต

เมื่อจิตเพ่งสมาธิ จนสงบสู่ ในอัปปณาสมาธิแล้ว จะมีความสงบตามลำดับ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติสมาธิ จะเริ่มเห็นตามลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติ ของ ฌาน 4 ซึ่งจัดได้อยู่ในรูปฌาน  ซึ่งบางครั้งหลายท่านได้อ่านมาก็จะมี ฌาน 8 ด้วย  ซึ่งเป็นการแบ่งของฌาน

ฌาณ คืออะไร

ฌาน คืออะไร คลิกอ่าน

ฌาณ คืออะไร

ลักษณะภาวะของจิต ที่สงบจากการปฏิบัติสมาธิ ภาวนา เพ่งจิตสมาธิจนเป็น อัปปณาสมาธิ 

อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

อัปปะนาสมาธิของปฐมฌาน เปรียบดังเด็กที่วิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว

เมื่อนั่งสมาธิตามลำดับหลังจากที่ได้ฝึกปฏิบัติจนแน่ว และมาตามลำดับตั้งแต่

  1. ขณิกสมาธิ การนั่งสมาธิที่เริ่มต้น จิตเริ่มเป็นสมาธิ แต่ก็ตั้งได้เดี๋ยวเดียวก็ จะนึึกถึงอย่างอื่น ๆ แต่ก็จะกลับมารู้สึกตัวได้ง่าย ลักษณะจิตเหมือน เด็กที่กำลังตั้งไข่
  2. อุปปจารสมาธิ มีอารมณ์กับความแน่วแน่มาขึ้น เริ่มเฉียด ๆ ฌาน เปรียบเหมือน เด็กนั้นเริ่มเดินได้คล่องแคล่ว หลังจากที่พ้นจากวัยตั้งไข่ แต่ยังวิ่งไม่คล่อง
  3. อัปปณาสมาธิ มีอารมณ์ที่ลงร่วมเพ่งในความสงบเป็นที่ตั้งและเกิด ฌาน

หลังจากได้หรือปฏิบัติจนถึง อัปปณาสมาธิ ก็จะทำให้จิตมีความสงบเป็นอารมณ์นิ่ง  ที่เรียกว่า เข้าสู่ ฌาน ซึ่งมีดังต่อไปนี้

ฌาน 4 คืออะไร

ฌาณ 4 คืออะไร

1) ฌาน 1 ปฐมฌาน (วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยใช้คำภาวนาและพิจารณาในขันธ์ 5 หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตทรงตัว

2) ฌาน 2 ทุติยฌาน (ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยคำภาวนาจะหายหรือหยุดไปเอง ไม่มีวิตกวิจาร แต่จะมีจิตใจชุ่มชื่น ลมหายใจเบาสบาย มีแต่ปีติ และเอกัคตารมณ์ คือ มีอารมณ์เป็นหนึ่งและทรงตัวมากขึ้น

3) ฌาน 3 ตติยฌาน (สุข เอกัคคตา) ลมหายใจจะเบามากและความอิ่มเอิบหายไป เหลือแต่ความสุขเยือกเย็น โดยจิตทรงตัวมาก อารมณ์ไม่เคลื่อนไหว ได้ยินเสียงภายนอกเบาลง และการทรงตัวแน่นสนิท

4) ฌาน 4 จตุตถฌาน (อุเบกขา เอกัคคตา) คือการตัดสุขได้ ไม่รับการสัมผัสทางจิตใจไม่มีความรู้สึก ทั้งจากเสียง ลม ยุ่งกัด เหลือแต่เอกัคตาพร้อมด้วยอุเบกขา ซึ่งฌานขั้นนี้เป็นอาการทางจิตที่ทรงตัวสมาธิดี มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความสว่างไสวในจิต หากสามารถฝึกให้จิตทรงตัวอยู่ตลอดเวลา ก็จะนำไปสู่การเกิด “ทิพจักขุญาณ” ตามมาได้โดยง่าย

เครดิต https://www.moe.go.th/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99-4/

การแบ่งประเภทของฌาน

เมื่อเราศึกษาตามตำราจะพบกับคำว่า ฌาน 8 บ้าง หรือ ฌาน 4 บ้าง อาจจะทำให้กังวลและสับสน(จากตัวนิวรณ์ได้ คือ ความสงสัย)

ประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่

  • ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
  • ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
  • ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
  • จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

อรูปฌาน ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่

  • อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาสไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
  • วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
  • อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
  • เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99

 

ฌาณ คืออะไร และ ฌาณสมาบัติ คืออะไร  สภาวะแห่งจิตเข้าสู่อัปปณาสมาธิ

ฌาณ คืออะไร และ ฌาณสมาบัติ คืออะไร สภาวะแห่งจิตเข้าสู่อัปปณาสมาธิ

ฌาณ คืออะไร และ ฌาณสมาบัติ(สมาบัติ เป็นภาวะสงบประณีต)นั้นคืออะไร สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนานั้น จะได้ยินคำนี้บ่อยและเร่ิมสงสัยว่าแท้จริงนั้นคืออะไร และ แตกต่างจาก คำว่า ญาณ อย่างไร ผู้ภาวนาที่ปฏิบัติใหม่ ๆ มักจะเกิดความสับสนสองคำนี้บ่อยมา และอาการที่เกิดขึ้นกับจิตนั้น ก็จะทำให้เกิดความสงสัยค้นหาคำตอบจาก ครูอาจารย์  เพื่อให้คลายข้อสงสัยเหล่านั้น แต่ความสงสัยนี้ก็เป็นอันตราย เพราะมาจากหนึ่งใน นิวรณ์ 5 คือ ความสงสัย การที่เราปฏิบัติแล้วควบคู่กับความสงสัยแล้วจะทำให้ติดอยู่ตรงนั้น วนกับไปกับมา จึงต้องหาทางแก้ไข โดยการ ปล่อย นั้นคือ ให้รู้ว่า เราเกิดความสงสัย เกิดขึ้นมาอย่างไร แล้วหายสงสัยอย่างไร หายไปตอนไหน  นั่นแหละเมื่อเราเพิ่งจิตจนนิ่งสงบและเพียงแค่ดูอาการเหล่านั้นแล้วปล่อยไป เท่านั้น เราก็จะพบว่า ไม่มีความสงสัย พบแต่ “สิ่งที่ถูกรู้ และมีผู้รู้(จิต)อยู่ต่างหาก”

ญาณ คืออะไร   คลิกอ่านความรู้นี้เพิ่มเติม

ญาณ คืออะไร อำนาจแห่งผลจากการทำสมาธิและวิปัสนา

ฌาณ คืออะไร

ลักษณะภาวะของจิต ที่สงบจากการปฏิบัติสมาธิ ภาวนา เพ่งจิตสมาธิจนเป็น อัปปณาสมาธิ

อัปปนาสมาธิ คือ คลิกอ่านเพิ่มเติม

อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

 

ฌาณ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 

แต่โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

ประเภทที่ 1  รูปฌาณ

ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

ประเภทที่ 2 อรูปฌาน

ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาสไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)

เครดิตจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99

ฌาณสมาบัติ คืออะไร

แท้จริงแล้วจะกล่าวได้ว่า  ฌานกับสมาบัติ คือสิ่งเดียวกัน

คำว่า ฌาน คือ จิตหรือเรานั่งปฏิบัติสมาธิภาวนา  การเพ่ง คือเพ่งรูปนาม ที่เราทั้งหลายปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ เราเพ่งรูปนาม ขันธ์ห้า คืออาการพองอาการยุบเป็นต้น การเพ่งอย่างนี้เรียกว่า ฌาน

คำว่า สมาบัติ แปลว่า สมบัติของผู้ได้ฌาน ซึ่งหมายถึง ท่านผู้ได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน การได้ฌานอย่างนี้เขาเรียกว่า สมาบัติ คือสมบัติของผู้ได้ฌาน

ฌาณสมาบัติมี ๒ ประเภท คือ

๑. กุศลฌานสมาบัติ เป็นการเข้าฌานของปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ผู้ได้ฌาน

๒. กิริยาสมาบัติ เป็นการเข้าฌานของ พระอรหันต์ผู้ได้ฌาน

ฌานสมาบัติยังแยกอีกเป็น ๒ ประเภทตามขั้น คือ รูปฌานสมาบัติ ๔ และอรูปฌานสมาบัติ ๔ เรียกว่า สมาบัติ ๘

เครดิต

logo dhamma

สรุปเรื่องฌานได้ดังนี้ 

ฌาณ เป็นการเข้าถึงความสงบจากการปฏิบัติสมาธิ จากตั้งแต่ สมาธิขั้นต้น ได้แก่ ขณิกสมาธิ จนไปถึง อัปปมาสมาธิ  ซึ่งการเข้าสู่ความสงบที่เกิดจากการเพิ่งจิตนี้ เรียกว่า ฌาณ  ซึ่งสมบัติจากได้ปฏิบัตินี้ จะเรียกว่า ฌาณสมาบัติ  แต่ถ้าผลที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนา จะเรียกว่า ญาณ

 

ญาณ คืออะไร อำนาจแห่งผลจากการทำสมาธิและวิปัสนา

ญาณ คืออะไร อำนาจแห่งผลจากการทำสมาธิและวิปัสนา

ญาณ คืออะไร ซึ่งความหยั่งรู้นั้นสำหรับ ผู้ที่ฝึกภาวนาและสมาธิ จะเป็นที่กล่าวถึงสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะความรู้ของผู้ที่ฝึกภาวนา จะเร่ิมมีความสนใจในความหมาย เพราะอยากรู้ว่า ในสิ่งที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัตินั้น คืออะไร และ ลักษณะของญาณ นั้นเป็น อย่างไร  ทำให้เกิดความสงสัยในคำนี้อีกทั้งยังมีคำว่า ฌาน อีกคำถ้าอ่านผิวเผินสำหรับผู้ที่ศึกษาใหม่ ๆ มักจะแยกไม่ออก  เพราะเขียนคล้าย ๆกัน

ญาณ และ ฌาน นั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่   คำตอบคือ แตกต่าง

ฌาน คือ การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก  หรือ เข้าใจง่าย ๆ คือ การที่เพ่งจิตจนนิ่งในสมาธิ

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93

แต่ ญาณ เป็นตัวความหยั่งรู้ที่ปฏิบัติจากภาวนา   

เพราะฉะนั้น จึงทำให้ต้องเข้าใจถึงความแตกต่าง เพราะอาจจะสับสน  แต่สำหรับผู้ปฏิบัติไปถึงความเข้าใจ นั้นก็จะไม่กกังวลในความหมายหรือคำไหนกก็ตาม เพราะ จิต นั้นเป็นตัวรู้ว่า คืออะไร แตกต่างกกันอย่างไร เพียงแค่หาคำมาใส่ ให้เราได้เรียนรู้ ว่า ญาณ หรือ ฌาณ

ญาณ คืออะไร

แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง

ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง

ดังนั้น ทำความเข้าใจ ง่าย ๆ  ญาณ นั้นคือ ความรู้ที่เกิดจากกการภาวนา (ในกรณีที่เราอธิบายเบื้องต้น เพราะ ความรู้ที่แท้จริง หรือ วิชชา นั้น จะเป็นความหยั่งรู้ที่ทำให้เห็นธรรมะ  ดังนั้น บางท่านอาจจะตีความผิดไป เพราะอาจถูกกิเลสพาหลงผิดว่า ตัวเองนั้นได้ ญาณหยั่งรู้  ดังนั้นต้องระวังให้ดีในการปฏิบัติ)

เพราะ การที่เราอาจจะได้ญาณที่เป็นอวิชชานั้น ทำให้หลงผิดมามากมายหลายท่าน แล้วนำไปอวดกัน ไม่ได้เป็นการนำไปสู่ทางออกจากทุกข์ ติดอยู่ในฤิทธิเดชก็มี หลงอยู่ในความรู้นั้น จนเข้าใจว่าบรรลุ

ญาณ คืออะไร อำนาจแห่งผลจากการทำสมาธิและวิปัสนา

ผลแห่งการปฏิบัตินั้นทำให้เกิด ญาณ 3 ได้แก่ วิชชา 3

1.บุพเพนิวาสานุสสติญาณ

กล่าวเข้าใจง่าย ๆ คือ การระลึกชาติได้  สามารถระลึกถึง อดีตชาติได้

เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้างยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง

(พระไตรปิฎก ไทย เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๕-๖)

2.จุตูปปาตญาณ

ในข้อนี้จะกล่าวให้เข้าใจถึงการเปรียบเหมือนมี ตาทิพย์ ที่เห็นเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ภัยพิบัติ เหตุการณ์ล่วงหน้าที่จะเกิด การเกิดดับของสัตว์โลก ที่เป็นไปตามกรรม

ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ บ้าง

3.อาสวักขยญาณ

ความรู้ในการกำจัดอาสวะให้สิ้นไป เห็นว่าจิตหลุดพ้นจากวัฏสงสาร เห็นการดำเนินของ ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ทางดับทุกข์ ปฏิบัติแห่งการดับทุกข์ อยู่เพื่อเสร็จสิ้นกิจทางขันธ์ และไม่มีหน้าที่อะไรที่จะต้องนำมาเกิดบนโลกนี้อีก

ดังนั้น สรุปได้ดังนี้ ความหยั่งรู้ที่เกิดความรู้เห็นแจ้งจริงจนเป็น วิชชา คือ เห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรม ความหยั่งรู้ที่ได้จากการปฏิบัติสมาธิและภาวนะ  จนส่งผลให้เกิดความหยั่งรู้  ก็คือ ญาณ

แต่สิ่งที่สำคัญนั้นก็คือ  ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เฉพาะตนที่รู้ วิญญูหิติ และไม่ใช่สิ่งที่โอ้อวด เพราะจุดมุ่งหมายของศาสนาและพระพุทธองค์นั้น คือ การขนทุกข์ออกจากใจของสัตว์โลก

อ่านบทความแนะนำ สมาธิ คืออะไร ฝึกนั่งมีวิธีใดบ้าง และ สมาธิมีกี่ประเภท

 

 

 

 

 

 

 

อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแบบใดทำให้จิตรวมลงเป็นหนึ่งสงบ

อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแบบใดทำให้จิตรวมลงเป็นหนึ่งสงบ

อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแบบหนึ่งที่หลายท่านสงสัยเยอะเหมือนกันว่าคือสมาธิที่แตกต่างกับสมาธิแบบอื่นอย่างไร แต่แท้จริงแล้วผู้ปฏิบัติสมาธิครูอาจารย์หลายท่านจะแนะนำว่าอย่าสนใจว่าจะถึงขั้นไหนว่าจิตที่มีสมาธิแต่ขั้นแล้วก็ตั้งมั่นให้อยู่ใจจิตที่ดูอาการนั้นไปเรื่อย ๆ จะได้ไม่ทุกข์หรือสงสัยลังเล  แต่บทความนี้ตั้งใจนำเสนอเพื่อให้รู้ความหมายและทำความเข้าใจให้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อเราหัดนั่งสมาธิมาเรื่อย จนถึงจุดหนึ่งจิตจะเร่ิมนิ่งสงบเร่ิมเข้าสู่ค่าว่า ฌาณ

แนะนำอ่านต่อ อุปจารสมาธิ คืออะไร สมาธิที่แน่วแน่ของจิต

อัปปนาสมาธิ คือ อะไร

อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

สรุปสมาธิมีกี่ระดับ

แบบเบื้องต้นเพราะตามตำราแล้วจะมีลึกลงไปทำให้เราสับสนได้ ดังนั้นไม่ต้องกังวลสนใจระดับขอให้ปฏิบัติเรื่อย ๆ

สมาธิแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1. ขฌิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถนำมาใช้การงานในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ หรือขับรถ

ขณิกสมาธิ เหมือนเด็กที่เพิ่งหัดเดิน

ขณิก(ชั่วขณะ) + สมาธิ(ความทรงไว้พร้อม ความตั้งมั่น)

สมาธิที่เป็นไปชั่วขณะ หมายถึง เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิต ที่เป็นไปตามปกติของบุคคลทั่วไป เช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สัมผัส ขณะที่ยืน เดิน นั่ง นอนตามปกติ ก็มีขณิกสมาธิเกิดร่วมด้วย

 

2. อุปจารสมาธิสมาธิเฉียด ๆ หรือจวนจะแน่วแน่ อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่า

อุปจารสมาธิเหมือนเด็กที่เดินได้คล่องและเร่ิมจะวิ่ง

ป็นสมาธิที่เริ่มเป็นหนึ่ง ข้อสังเกตง่ายๆ ของผู้ปฏิบัติสมาธิ คืออารมณ์กรรมฐานเริ่มเป็นหนึ่ง เสียงหรืออารมณ์ภายนอกไม่สมารถเข้ามารบกวน ให้อารมณ์กรรมฐานถอยออกมาง่าย

 

3. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

อัปปะนาสมาธิของปฐมฌาน เปรียบดังเด็กที่วิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว

หมายถึงหมดความรู้สึกไปชั่วขณะหรือเป็นขณะๆ หรือเป็นวัน ตามกำลังสมาธิและความชำนาญ

เครดิต https://dharayath.com/

อธิบายให้เข้าใจเบื้องต้นสรุปดังนี้

การนั่งสมาธิเร่ิมต้นเลยเมื่อเราหัดนั่งใหม่ ๆ แล้วหลับตาลงจะรู้สึกว่า เราคิดโน่นคิดนี่ หรือ เรื่องราวต่าง ๆ เข้ามาให้เราปรุงแต่งผ่านจิตตลอดเวลาเหมือนลิงกระโดดไปกิ่งไม้ไม่หยุด แต่จะเร่ิมช้าลง และรู้สึกตัวได้ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปหรือฝึกนั่งบ่อย ๆ และจากความกังวลหรือฟุ้งซ่านจะเร่ิมน้อยลง แต่มีลังเลยอยู่ว่าต่อไปนั่งจะเห็นอะไรจะเป็นอะไรไหม ขอแนะนำเลยว่า ไม่ต้องนึก เห็นอะไรก็บอกว่า ปล่อยไปดูลมหายใจเข้าออกไปเรื่อย ๆ ที่เรียกว่า การใช้กรรมฐาน อาณาปานสติ เป็นตัวกำหนดสติ  อาการที่เราเร่ิมนิ่งขึ้นมีกำลังนั่งได้นานขึ้น เรามักจะเปรียบเทียบกับสิ่งนี้ว่า “ขณิกสมาธิ คือ ขฌิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ

“ขณิกสมาธิ คือ ขฌิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้ เช่น การแน่วแน่กับการขับรถ ทำให้ขับปลอดภัย

ต่อมาหลังจากที่เราเร่ิมนั่งสมาธิได้ชั่วขณะนั้น เราจะรู้สึกว่านั่งได้นานขึ้น และ รู้สึกถึงการเดินลมหายใจได้ชัดขึ้นไม่ติดขัด และไม่ได้ไปกังวลว่าจะเร็วหรือช้า หรือลมหายใจสั้นหรือยาว เราเร่ิมจะเห็นว่าการหายใจนั้นลมเข้าออกได้ด้วยตัวมันเอง จนลืมตามาอีกทีเข้าใจว่านั่งได้แค่ห้านาทีแต่แท้จริงแล้วนั่งไป เกือบครึ่งชั่วโมง

เราจะนิ่งขึ้น อารมณ์สงบขึ้น นั่งได้ยาวนานขึ้น แต่ก็มีอาการเผลอคิดออกไปเหมือนกัน แต่จะรู้สึกตัวกลับมาสมาธิไวขึ้น เราจะเข้าใจได้ว่า ใกล้เคียงกับ อุปจารสมาธิสมาธิเฉียด ๆ หรือจวนจะแน่วแน่ อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่า

ต่อมาเมื่อนั่งไปอีกด้วยจิตที่มีพละห้า กำลังทั้งห้า ไม่ท้อถอยและต้องควบคู่กับสติที่ไม่หลงว่านั่งแล้วจะวิเศษหรือเห็นอะไร ขอแนะนำว่าให้ทิ้งเหล่านี้เสีย ขอให้เน้นไปที่จิตสงบ เพื่อจะได้เกิดสมาธิที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว รวมลงเพื่อเข้าสู่การพิจารณาวิปัสานากรรมฐานได้เห็นตามความเป็นจริง  สิ่งนั้นก็คือ จิตรวมลงแน่วแน่ที่ลมหายใจบางคร้ังอาจจะเร่ิมรู้สึกว่า ลมน้อยลง ๆ และไม่ได้บังคับอะไร แค่มีจิตเป็นผู้รู้

อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

อัปปนาสมาธิ
ทำในรูปแบบด้วยการนั่งสมาธิ ทำไปสักพักลมหายไป รู้สึกเหมือนหายใจด้วยหน้าอก และเริ่มเห็นจิตคิดเรื่องต่างๆ สลับไปมา และความคิดก็น้อยลงเรื่อยๆ สุดท้ายก็เห็นเพียงแต่การหายใจด้วยหน้าอก และนิ่งๆ อยู่แบบนั้น

(เครดิตเพจ https://www.dhamma.com/tag/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4/)

สุดท้ายนี้ขอฝากผู้อ่านบทความว่า จุดมุ่งหมายของศาสนาคือ เป็นเครื่องขนทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลก ไม่มีสิ่งอื่นใด ดังนั้นการนั่งสมาธิภาวนาก็เป็นเครื่องมือเร่ิมต้นให้เรานำจิตไปสู่การพ้นทุกข์อย่างมีสติ และหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิด  อย่าไปหลงหรือทะนงว่า เรานั่งขั้นนี้ขั้นโน้นดีเด่นกว่าใครหรือสูงกว่าใคร เพราะถ้ายังอยู่ในโลกนี้แล้วขึ้นชื่อว่า ยังอยู่ในวัฏฏะสงสายด้วยกันทั้งหมด จะเหาะได้ หรือมีพลังวิเศษอะไรสุดท้าย ก็จะต้องตายจากกันไป เพราะความตายหรือมรณะนั้นไม่มีใครต้านทานได้

 

 

Pin It on Pinterest