โดย admin | ส.ค. 24, 2024 | กิจกรรมงานบุญ, ข่าวสาร, บทความน่าสนใจ, วันสำคัญทางศาสนา
ออกพรรษา 2567 ปีนี้ ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 17 เดือนตุลาคม ซึ่งจะตรง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง วันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (เพ็ญเดือน ๑๑) ของทุกปี หลังจากที่ผ่านเข้าพรรษาระยะเวลา 3 เดือน
พรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ (ผลดี) คือ
๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
๓. ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้
๔. มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของอานิสงส์นั้นออกไปอีก ๔ เดือน
ซึ่งหลังจากที่ออกพรรษาแล้วก็จะเข้าสู่ กฐิน หรือ ทอดกฐิน
ออกพรรษา 2567 ประวัติความสำคัญ และ กิจกรรมออกพรรษา
วันสำคัญหลังจากออกพรรษามีดังนี้
วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา
อนึ่ง มีชื่อเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า ” วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา” มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า “สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ”
แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี
การที่พระท่านกล่าวปวารณา (ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน) กันไว้ ในเมื่อต่างองค์ต่างต้องจากกันไปองค์ละทิศละทางท่านเกรงว่าอาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้น โดยตัวท่านเองรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมองไม่เห็นเหมือนผงเข้าตาตัวเอง แม้ผลจะอยู่ชิดติดกับลูกนัยน์ตา เราก็ไม่สามารถมองเห็นผลนั้นได้ จำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่นให้มาช่วยดูหรือต้องใช้กระจกส่องดู เพราะฉะนั้น พระท่านจึงใช้วิธีการกล่าวปวารณาตัดไว้เพื่อท่านรูปอื่นได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟัง เรื่องดีไม่ดีไม่งามอะไรก็ตามให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้โยไม่ต้องเกรงใจกันทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยด้วยเจตนาดีต่อกัน คือ พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยที่พระผู้ใหญ่คือผู้มีอาวุโสท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง
เครดิตจากเพจ
ประวัติความเป็นมาวันออกพรรษา และตักบาตรเทโว
เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษา และตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และเมื่อถึงวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นการทำบุญออกพรรษาเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดจากวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 แล้วลงมายังเมืองสังกัสสนคร พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหารย์เปิดโลกทั้งสามด้วย
เครดิตเพจ http://event.sanook.com/day/buddhistlent/
ตักบาตรเทโว
ตักบาตรเทโว หมายถึง การทำบุญตักบาตรในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกใน วันมหาปวารณา คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันออกพรรษา คำว่า “เทโว” เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก
การตักบาตรเทโว เป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์เสด็จ หลังจากที่พระองค์แสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน และกลับจากเทวโลก
เครดิต https://travel.trueid.net/detail/rJ7YGEogvwaj
โดย admin | ส.ค. 20, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ, บทความน่าสนใจ
ทำบุญ คืออะไร หลายคำตอบและหลายท่านยังมีความลังเล สงสัย ทำไมต้องทำบุญ ทำแล้วได้อะไร อย่างไร แล้วพระพุทธเจ้าท่านให้หลักธรรมทำบุญไว้อย่างไร ถึงจะทำแล้วไม่งมงายและมีสติ
ซึ่งโดยเบื้องต้นแล้ว จุดมุ่งหมายของศาสนาคือ การให้คนพ้นทุกข์ ด้วยการเดินตามทางสายกลางคือ องค์มรรคแปดประการ หรือ ย่ออย่างง่ายเบื้องต้นคือ ทาน ศีล สมาธิ และ สุดท้ายคือมี ปัญญา เพื่อเห็นทางพ้นทุกข์ และจุดมุ่งหมายแรกคือ ก่อนไปในถึงความเข้าใจในขั้นอื่น ๆ นั้น ต้องมี ทาน และ ศีล เป็นที่สมบูรณ์อย่างมีสติ และ เหตุผล ไม่งมงาย การให้ทาน ก็คือ การให้เพื่อไม่ให้เห็นแก่ตัว และ ละความโลภที่มีในตน กล่าวง่าย ๆ อีกแบบคือ การทำบุญทำทาน
ทำบุญ คืออะไร
การทำบุญ หมายถึง การประกอบให้ความดีเกิดขึ้น ซึ่งมาจากคำว่า “บุญ” (บาลี: ปุญฺญ) หรือ บุณย์ (สันสกฤต: ปุณฺย) ที่หมายถึง ความดี ตรงกันข้ามกับคำว่า บาป (บาลี: อปุญฺญ)
เครดิต https://www.wreathnawat.com/merit-making-in-buddhism/
ทำบุญ ที่จะให้ได้ผลบุญมากหรือน้อยนั้น มีหลักเกณฑ์อยู่ 3 ประการคือ
1.ผู้รับ จะต้องเป็นผู้มีศีล มีคุณธรรมความดี แต่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นพระสงฆ์ หรือนักบวช จะเป็นคนทั่วไปก็ได้ ถ้าผู้รับดี ผู้ทำก็ได้บุญมาก หากผู้รับไม่ดี ก็อาจจะทำให้เราได้บุญน้อย เพราะเขาอาจอาศัยผลบุญของเรา ไปทำชั่วได้ เช่น ให้เงินช่วยเหลือเพื่อนๆ กลับเอาไปปล่อยกู้ สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เป็นต้น
2.วัตถุสิ่งของที่ให้ต้องบริสุทธิ์หรือได้มาโดยสุจริต เป็นของที่เหมาะและมีประโยชน์ต่อผู้รับ เช่น ให้เสื้อผ้าของเล่นแก่เด็กกำพร้า เป็นต้น ของที่ให้ดีผู้ทำก็ได้บุญมาก หากได้มาโดยทุจริต แม้จะเอาไปทำบุญก็ได้บุญน้อย
3.ผู้ให้ ต้องมีศีลมีธรรมและมีเจตนาที่เป็นบุญกุศลในการทำ จึงจะได้บุญมาก นอกจากนี้ เจตนาหรือจิตใจในขณะทำบุญ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญกล่าวคือ ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ หากผู้ให้มีความตั้งใจดี ตั้งใจทำ เมื่อทำแล้วก็เบิกบานใจ คิดถึงบุญกุศลที่ได้ทำเมื่อใด จิตใจก็ผ่องใสเมื่อนั้น เช่นนี้ก็จะทำให้ผู้ทำได้บุญมาก ถ้าไม่รู้สึกเช่นนั้น บุญก็ลดน้อยถอยลงตามเจตนา
เครดิตเพจ https://www.thaihealth.or.th
การทำบุญนั้น มีหลักธรรมอันสำคัญคือ บุญกิริยา 10 ประการที่กล่าวได้ว่าไม่เสียเงินทองเลย ซึ่งมีข้อเดียวที่เสียวัตถุ คือ ทานมัย ที่เหลือ 9 ข้อไม่มีการเสียวัตถุในการทำบุญ ซึ่งกล่าวได้ว่า ใช้ศรัทธาและปัญญาอย่างมีสติในการทำบุญ ที่มุ่งเน้นการละความโลภมิใช่การนำมาอวดว่ามีบุญมากกว่าสูงกว่า แต่มีคุณธรรม กุศลจิตที่เข้าสู่ในจิตใจ และนำไปสู่การปฏิบัติ ศีล สมาธิ ภาวนาได้ สงบ ปราศจากการกกังวลใด ๆ ต่ออำนาจของกิเลส
บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ
บุญกิริยาวัตถุ แปลว่า หลักแห่งการบำเพ็ญบุญ หรือทางมาแห่งบุญ ๑๐ ประการ คือ
๑. ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน
๒. สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อม ถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. ไวยยาวัจมัย บุญเกิดจากการขวนขวาย ในกิจที่ชอบ
๖. ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการอุทิศส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญเกิดจากการทำความเห็นให้ตรง
โดย admin | มิ.ย. 25, 2024 | บทความคำสอน, บทความธรรมมะ
พละ 5 นับว่าเป็นหลักธรรมหนึ่งซึ่งสำคัญมากในการนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติธรรม และเป็นหลักธรรมที่เป็นปกปักษ์กับ นิวรณ์ทั้ง5 ที่เป็นเครื่องกั้นและปิดขวางไม่ให้บรรลุความดีไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรม รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รู้สึกหดหู่ไม่อยากทำอะไร ท้อแท้ หมดหวัง แต่ถ้าเราเข้าถึงหลักธรรม พละ5 จะทำให้มีความต่อสู้ทำให้เกิดความเพียร ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้
พละ 5 คืออะไร
คือ กำลังห้าประการ ได้แก่
1. ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังแห่งความเชื่อ ความศรัทธา เป็นศรัทธาที่มีสติในความเชื่อ และไม่งมงาย อธิบายตามหลักเหตุผล เข่น เชื่อในความขยันและอดทน ย่อมผ่านอุปสรรคและนำพาไปสู่ความสำเร็จ
2.วิริยะพละ ความเพียร กำลังแห่งความเพียรพยายาม ไม่ท้อถอย ทำให้ลดความหดหู่ลงไป มีกำลังใจให้กับตัวเอง เมื่อเห็นสภาวะเเห่งเหตุผลและความเป็นจริง ส่งผลให้มีความศรัทธาที่มีความเพียร เช่นไม่ท้อในการทำความดีเเละละความชั่ว ไม่ท้อ
3. สติพละ ความระลึกได้ กำลังแห่งสติ ระลึกรู้ รู้ตัวเองว่าทำอะไร ไม่สามารถทำให้ความโกรธ ราคะ เข้ามาครอบงำจิตใจ เพราะการรู้ตัวว่าเหตุเหล่านี้จากนิวรณ์นำมาสู่ความเดือนร้อนในภายหลังมากมาย ตั้งสติด้วยอารมณ์แห่งวิปัสนากรรมฐาน รู้ ทุกอย่างต้องดับ จากกันไปเป็นตามธรรมดา เห็นการปรุงแต่งจากสังขารเหล่านั้นก็ไม่เที่ยง
4.สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังแห่งใจที่ตั้งมั่น ความตั้งมั่นเหมือนรักษาความดี ไม่ให้ความดีนั้นหายไปจากสติ แต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในความดีนั้น
5.ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังแห่งความรู้ที่เกิดจากปัญญาญาณ จิตคือตัวรู้ที่ได้ปัญญา ความรอบรู้ ที่มีสติและสมาธิเป็นฐานเพื่อส่งเสริมให้เห็นปัญญา โลกุตตระ แห่งสัจธรรม
ธรรมอันเป็นปกปักษ์นิวรณ์ทั้ง 5 ข้อ
1.ศรัทธา แก้วิจิกิจฉา ความเชื่ออันมีปัญญาและเหตุผลตามธรรมะ นำมาสู่การแก้ความสงสัยลังเล เช่น ลังเลสังสัยในนิพาน
2.วิริยะ แก้ถีนมิทธะ ความเพียร พยายาม ไม่ลังเล นำพามาสู่ความอดทน แก้ความหดหู่ ซึมเศร้า
3.สติ แก้พยาบาท
4.สมาธิ แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
5.ปัญญา แก้กามฉันทะ
ขอบคุณเครดิตเพจ
โดย admin | พ.ค. 1, 2024 | บทความคำสอน, บทความธรรมมะ
นิวรณ์ 5 คำนี้ได้ยินและได้อ่าน ด้วยความสงสัย ความไม่เข้าใจ ในการปฏิบัติ เช่น เมื่อทำบุญแล้ว นั่งสมาธิภาวนา ก็ไม่ได้เกิดอะไรก้าวหน้า ทำให้เกิดลังเล สงสัย ทำไปเกิดความหดหู่ ท้อถอย และสุดท้ายเลิกปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้นี่เองที่เรียก เครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุ ในการที่เราตั้งใจ ที่เราเรียกกันว่า นิวรณ์
นิวรณ์ 5 คืออะไร
คือ เครื่องกั้นและปิดขวางไม่ให้บรรลุความดีไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรม
นิวรณ์ข้อมีอะไรบ้าง
1.กามฉันทะ ความพอใจในกาม
คือ ความลุ่มหลงในกามอารมณ์ ยินดีในรูป ราคะ พอใจ กามอารมณ์ต่าง ๆ
2.โกธะ พยาบาท ปองร้าย
คือ ความโกรธ เกลียด ชัง ความคุ้นแค้น เคือง
3.ถีนมิทธะ ความหดหู่ ซึมเศร้า
ความเกียจคร้าน ท้อแท้ เศร้าซึม หมดหวัง เสียใจ หมดอาลัย ไร้กำลังใจ เบื่อ ไม่อยากจะทำอะไร บางครั้งอาจทำให้เข้าใจว่าเป็นการปล่อยวาง แต่แม้จริง คือ ซึมเศร้า ท้อแท้
4.อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน
ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ คิดไม่ตก ฟุ้งซ่านในสิ่งที่มากระทบ อายตนะ ทางกาย วาจา ใจ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ ว่าจะเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ปรุงแต่งเหมือนเชือกพันกันไม่สามารถแก้ปมได้
5.วิจิกิจฉา
ความลังเลสงสัย ว่าทำสิ่งนั้นจะเกิดอะไร เช่น เมื่อนั่งสมาธิ แล้วไม่รู้สึกอะไร เหมือนนั่งหลับเฉย ๆ ก็เกิดความลังเล ว่าทำไปทำไม ไม่เห็นเกิดอะไร แต่แท้จริงแล้ว เกิดนิวรณ์เข้าปรุงแต่ง วิจิกิฉา ให้เกิดความสงสัย จิตต้องติดในการปรุงเเต่งในความสงสัย ๆ นั้น ๆ
วิธีการแก้นิวรณ์หรือธรรมอันเป็นปกปักษ์นิวรณ์ทั้ง 5 ข้อ
พละ 5 ธรรมกำลังใจทั้ง 5 ที่นำมาสู่จิคอันเป็นสู้กับนิวรณ์
1.ศรัทธา แก้วิจิกิจฉา ความเชื่ออันมีปัญญาและเหตุผลตามธรรมะ นำมาสู่การแก้ความสงสัยลังเล เช่น ลังเลสังสัยในนิพาน
2.วิริยะ แก้ถีนมิทธะ ความเพียร พยายาม ไม่ลังเล นำพามาสู่ความอดทน แก้ความหดหู่ ซึมเศร้า
3.สติ แก้พยาบาท
4.สมาธิ แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
5.ปัญญา แก้กามฉันทะ
เครดิตข้อมูลจากเพจ
โดย admin | มี.ค. 18, 2024 | ข่าวหลวงปู่อุทัย
รายงานผลตรวจอาการอาพาธ หลวงปู่อุทัย สิริธโร เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๗ โดยคณะแพทย์โรงพยาบาลมหาราช และแพทย์พยาบาล โรงพยาบาลกรุงเทพปากช่อง
เลือด หัวใจ ปอด ฯลฯปกติดี. เป็นที่พอใจของคณะแพทย์
แผลที่เท้าของหลวงปู่หายแล้ว 99% เหลืออีก 1% ที่เป็นจุด
การขับถ่าย การปัสสาวะ. ปกติ
หลวงปู่ปัสสาวะได้เอง. โดยไม่ต้องใช้สายสวนปัสสาวะ
เวลาเปลี่ยนอิริยาบถเป็นนั่ง. องค์ท่านนั่งตัวตรงได้
พระอุปัฏฐากได้เข็นเก้าอี้วีลแชร์ ให้หลวงปู่ออกมาวนรอบวัด. องค์หลวงปู่แจ่มใส. ยิ้มแย้ม. มีกิริยาทักทายญาติโยม และดูแข็งแรงดี
โดย admin | ก.พ. 17, 2024 | กิจกรรมงานบุญ, ข่าวหลวงปู่อุทัย, ข่าวหลวงพ่อ
กำหนดการงานมุทิตาจิตอายุวัฒนมงคล ครบรอบ ๘๘ ปี ๖๘ พรรษา #หลวงปู่อุทัย สิริธโร
- วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๗ วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ขอบคุณเพจ https://www.facebook.com/photo/?fbid=701449415466996&set=a.493488986263041
อ่านข่าวหลวงปู่เพิ่มเติม https://dhamma.watchmekorat.com/