อุปาทาน 4 คืออะไร กิเลสที่เข้าไปยึดแล้วทุกข์

อุปาทาน 4 คืออะไร กิเลสที่เข้าไปยึดแล้วทุกข์

การที่เราทุกข์นั้น เราจะได้ยินคำสอนหนึ่งที่เรียก อุปาทาน 4 หรือ การที่เราไม่ปล่อยวาง เข้าไปยึดมั่นถือมั่นไว้ ทำให้เกิดความสงสัยว่าเหตุใดจิตเข้าไปยึดนั่้นมีอะไรทีทำให้เรานั้นถือกองทุกข์เหล่านั้นไว้ แล้วทำให้สัตว์โลกทั้งหลาย ต้องเวียนว่ายตายเกิดกันมากมาย ซึ่งกองทุกข์ที่ว่านั้นก็คือ ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สังขาร สัญญา วิญญาณ

ขันธ์ 5 คืออะไร กองทุกข์ของการเกิดดับ ยึดมั่น ถือมั่น อ่านเพิ่มเติมในเรื่องกองขันธ์ 5

ขันธ์ 5 คืออะไร และ มีอะไรบ้าง
ขันธ์ แปลว่า ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด ในทางพุทธศาสนาหมายถึงส่วนหนึ่งๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ได้แก่

รูป เป็นสภาพไม่รู้ มีทั้งหมด 28 รูป แบ่งเป็น อุปาทยรูป 24 รูป และมหาภูตรูป 4 รูป
เวทนา เป็นความรู้สึก มีทั้งหมด 5 เวทนา คือ สุขกาย สุขใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ อุเบกขาทางใจ
สัญญา เป็นความจำได้ ความรู้จำสิ่งที่ปรากฏได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และความรู้สึกได้ทางใจ คือ เวทนา สัญญา สังขาร
สังขาร เป็นการปรุงแต่งจิตให้จิตมีอารมณ์และกิริยาหลากหลาย มีทั้งหมด 50 สังขาร
วิญญาณ เป็นสภาพรับรู้ มีทั้งหมด 6 ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/

อุปาทาน 4 คืออะไร มีความหมายอย่างไร

อุปาทาน หมายถึง การยึดมั่นถือมั่น

ในจูฬสีหนาทสูตร พระโคตมพุทธเจ้าตรัสว่าอุปาทานมี 4 อย่าง ได้แก่

  1. กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม
    • ความยึดมั่นติดอยู่ในกาม คือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์
  2. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทิฏฐิ
    • มีความยึดติดในความคิดเห็นของตัวเอง ว่าความเห็นว่าเรานั้นถูก คนอื่นคิดผิด ไม่มองเหตุปัจจัยอะไร
  3. สีลัพพัตตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและวัตร
    • ความลังเลสงสัยในวัตรปฏิบัติ
  4. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา
    • ความยึดถือ ยึดมั่นในความเป็นตัวตน ว่านี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา เช่น ของที่เราซื้อ ที่มีในบ้าน เป็นของเรา ที่ดิน นั้นเป็นของเรา ไม่เข้าใจในการสมมุติที่ปรุงเเต่ง เพราะในความเป็นจริงนั้น ที่ดินก็คือดินไม่ได้เป็นของใคร แต่เราไปสมมุติในโลกกัน่วาอันนี้ของฉันของเรา

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/

อุปาทานมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักคำสอนอื่นๆ ที่สำคัญในพระพุทธศาสนา

อุปาทานมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักคำสอนอื่นๆ ที่สำคัญในพระพุทธศาสนาในฐานะที่ต้องเป็นไปตามกฎสัจธรรม เช่น สัมพันธ์กับ หลักปฏิจจสมุปบาท ในฐานะที่ต้องเป็นไปตามกฎของเหตุปัจจัย เป็นเหตุและผลต่อกัน อาศัยกันและกันเกิดขึ้นเป็นไป สัมพันธ์กับกฎไตรลักษณ์ ในฐานะที่ต้องเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เพราะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัมพันธ์กับหลักอริสัจ 4 ในฐานะที่เป็นสมุทัยให้ทุกข์ทั้งปวงเกิด สัมพันธ์กับหลักขันธ์ 5 ในฐานะที่เป็นที่ยึดมั่นของอุปาทานทำให้เข้าใจผิดยึดมั่นว่าขันธ์ทั้ง 5 เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ในทัศนะของปราชญ์พุทธ อุปาทานก่อให้เกิดโทษทั้งในปัจจุบันและในอนาคตแก่บุคคลผู้ที่ยึดมั่นถือมั่น และมีผล กระทบต่อสังคมพุทธในหลายด้าน เช่น ผลกระทบด้านความเชื่อ ผลกระทบด้านการศึกษา ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการเมือง ผลกระทบด้านวิถีชีวิตและระบบนิเวศ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในสังคม อุบายวิธีในการเรียนรู้เพื่อละอุปาทาน ต้องเจริญตามอริยมรรคมีองค์ 8 และ สติปัฏฐาน 4 การเจริญขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ 8 มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการคือ 1.ปรโตโฆสะ 2.โยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลได้ศึกษาพิจารณาด้วยปัญญาและเข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมละคลายจากอุปาทาน ความยึดมั่น ถือมั่น ที่เป็นต้นเหตุของโทษทุกข์ทั้งปวงได้ความทุกข์และปัญหาต่างๆก็ลดลงตามลำดับจนสามารถละอุปาทานได้ในที่สุดจนกระทั่งบรรลุนิพพานซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ขอบคุณและเครดิตจากเพจ https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/2661

อภัยทาน คืออะไร จิตภาวนาสู่การเป็นพหรม

อภัยทาน คืออะไร จิตภาวนาสู่การเป็นพหรม

อภัยทาน นับได้ว่าเป็นหนึ่งในทานที่พระพุทธเจ้าทรงให้ความยกย่องแก่บุคคลที่อโหสิกรรมแล้วยกให้เป็นทาน นับว่ามีจิตใจที่ยกสูงขึ้น เพราะต้องอาศัยความอดทน ขันติ ต่อการโกรธแค้นพยาบาท อดกั้น ต่อความเจ็บต่าง ๆ และปล่อยวางลงให้เข้าไปยึดในการปรุงแต่งของเรื่องนั้น ๆ นับว่าต้องอาศัยจิตใจที่เด็ดเดียวพอสมควร ดังนั้นผู้ที่ปล่อยวางแล้วการให้อภัยเกิดขึ้น จะนำไปสู่การปฏิบัติภาวนาพรหมวิหาร 4  ได้โดยง่าย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นำจิตสู่การเป็นพรหม นับว่ามีอานิสงส์มากมาย

อภัยทาน คืออะไร

การให้อภัยทาน คือ การสละอารมณ์โกรธเป็นทาน ให้อภัย ไม่จองเวร สละอารมณ์โกรธพยาบาทให้ขาดออกจากใจ เป็นการเจริญเมตตาพรหมวิหาร

เครดิตจากเพจ https://th.wikipedia.org/wiki/

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ได้ให้ความหมายของคำว่าอภัยทานดังนี้
อภัยทาน คือ การยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่ เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย

ความจริงนั้น ทุกคนที่สนใจบริหารจิต จะต้องสนใจอบรมจิตให้รู้จักอภัยในความผิดทั้งปวง ไม่ว่าผู้ใดจะทำแก่ตน แม้การให้อภัยจะเป็นการทำได้ไม่ง่ายนัก สำหรับบางคนที่ไม่เคยอบรมมาก่อน แต่ก็สามารถจะทำได้ด้วยการอบรมไปทีละเล็กละน้อย เริ่มแต่ที่ไม่ต้องฝืนใจมากนักไปก่อนในระยะแรก

ตัวอย่างเช่น เวลาขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารคอยขึ้นรถอยู่เป็นจำนวนมาก หากจะมีผู้เบียดแย่งขึ้นหน้า ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่ข้างหลัง ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาไม่ว่าน้อยหรือมาก ก็ให้ถือเป็นโอกาสอบรมจิตใจให้รู้จักอภัยให้เขาเสีย เพราะเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรถือโกรธกันหนักหนา เป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกินควรจะอภัยให้กันได้ แต่บางทีไม่ตั้งใจคิดเอาไว้ก็จะไม่ทันให้อภัยจะเป็นเพียงโกระแล้วจะหายโกรธ ไปเอง

โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ้งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น”

ฉะนั้น การให้อภัยทาน ก็คือ “การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู” ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ “ละโทสะกิเลส” และเป็นการเจริญ “เมตตาพรหมวิหารธรรม” จึงเป็นสิ่งที่สาธุชนทั้งหลายควรบำเพ็ญให้มีขึ้นในตน เพราะมีผลานิสงส์มาก

พุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายของอภัยทานว่า

ให้อภัย คำว่า อภัย นี้แปลว่า ไม่ต้องกลัว ให้อภัย คือเราให้ความไม่ต้องกลัวแก่บุคคลนั้น แปลว่า บุคคลนั้นไม่ต้องกลัวเรา นี่คือให้อภัย ทีนี้บางคนอาจจะคิดว่า นี้มันไม่ใช่ให้ทาน นี่มันไม่รู้ เขาพูดไปทั้งที่ไม่รู้การให้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทาน แต่เขาเรียกว่า “ การให้อภัยทาน ”เป็นสิ่งที่ให้กันได้ ให้ได้ทั้งทางกาย ให้ได้ทั้งทางวาจา ให้ได้ทั้งทางจิตใจ ทางร่างกาย เขามาขอขมาขออภัยเราก็รับ ทางวาจา บอกอโหสิกรรม ทางจิตใจ เราก็สลัดความโกรธ ความอาฆาตจองเวรอย่างนี้ก็เรียกว่า“ การให้อภัยทาน ” ทั้งนั้นมีได้ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ

 

อภิญญา คืออะไร มีอะไรบ้าง ปัญญาแห่งพระอริยเจ้า

อภิญญา คืออะไร มีอะไรบ้าง ปัญญาแห่งพระอริยเจ้า

อภิญญา ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนาสมาธิ หรือ วิปัสนากรรมฐาน ด้วยความปฏิบัติดีและปฏิบัติชอบ หรือที่เราเรียกว่าพระอริยะ (อริยสงฆ์) หรือที่แปลว่าผู้ประเสริฐ เมื่อปฏิบัติสมาธิและภาวนาด้วยถึงจิตอันสงบสู่อัปปนาสมาธิ และเข้าสู่ ฌาน จะเกิดความรู้สู่จิตอันพิเศษ

 

สมาธิคืออะไร มีวิธีนั่งสมาธิอย่างไร

สมาธิ คือ อะไร

ฌาน 4 คืออะไร

ฌาน 4 คืออะไร

อภิญญา คืออะไร (หมายถึง)

อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน

อภิญญา หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากความสามารถพิเศษทางจิต กล่าวคือจิตสามารถรับรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้าต่างๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัย ประสาทสัมผัสใด ๆ เช่น สามารถเห็นเหตุการณ์ที่อยู่ในสถานที่ที่ห่างไกลได้ หรือ เห็นเหตุการณ์ในอนาคต เป็นต้น( https://e-port.mbu.ac.th/file/profiles31/2761_1626920898.pdf)

อภิญญามีอะไรบ้าง

  1. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
  2. ทิพพโสต มีหูทิพย์
  3. เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
  4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
  5. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
  6. อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

เครดิต

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2

อภิญญา เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้างจากการปฏิบัติสมาธิภาวนา

เมื่อนั่งสมาธิตามลำดับหลังจากที่ได้ฝึกปฏิบัติจนแน่ว และมาตามลำดับตั้งแต่

  1. ขณิกสมาธิ การนั่งสมาธิที่เริ่มต้น จิตเริ่มเป็นสมาธิ แต่ก็ตั้งได้เดี๋ยวเดียวก็ จะนึึกถึงอย่างอื่น ๆ แต่ก็จะกลับมารู้สึกตัวได้ง่าย ลักษณะจิตเหมือน เด็กที่กำลังตั้งไข่
  2. อุปปจารสมาธิ มีอารมณ์กับความแน่วแน่มาขึ้น เริ่มเฉียด ๆ ฌาน เปรียบเหมือน เด็กนั้นเริ่มเดินได้คล่องแคล่ว หลังจากที่พ้นจากวัยตั้งไข่ แต่ยังวิ่งไม่คล่อง
  3. อัปปณาสมาธิ มีอารมณ์ที่ลงร่วมเพ่งในความสงบเป็นที่ตั้งและเกิด ฌาน

หลังจากได้หรือปฏิบัติจนถึง อัปปณาสมาธิ ก็จะทำให้จิตมีความสงบเป็นอารมณ์นิ่ง  ที่เรียกว่า เข้าสู่ ฌาน 4 และ ฌาน 8 (รูปฌาน4 อรูปฌาน4)

ฌาณ 4 มีดังนี้ 

1) ฌาน 1 ปฐมฌาน (วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยใช้คำภาวนาและพิจารณาในขันธ์ 5 หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตทรงตัว

2) ฌาน 2 ทุติยฌาน (ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยคำภาวนาจะหายหรือหยุดไปเอง ไม่มีวิตกวิจาร แต่จะมีจิตใจชุ่มชื่น ลมหายใจเบาสบาย มีแต่ปีติ และเอกัคตารมณ์ คือ มีอารมณ์เป็นหนึ่งและทรงตัวมากขึ้น

3) ฌาน 3 ตติยฌาน (สุข เอกัคคตา) ลมหายใจจะเบามากและความอิ่มเอิบหายไป เหลือแต่ความสุขเยือกเย็น โดยจิตทรงตัวมาก อารมณ์ไม่เคลื่อนไหว ได้ยินเสียงภายนอกเบาลง และการทรงตัวแน่นสนิท

4) ฌาน 4 จตุตถฌาน (อุเบกขา เอกัคคตา) คือการตัดสุขได้ ไม่รับการสัมผัสทางจิตใจไม่มีความรู้สึก ทั้งจากเสียง ลม ยุ่งกัด เหลือแต่เอกัคตาพร้อมด้วยอุเบกขา ซึ่งฌานขั้นนี้เป็นอาการทางจิตที่ทรงตัวสมาธิดี มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความสว่างไสวในจิต หากสามารถฝึกให้จิตทรงตัวอยู่ตลอดเวลา ก็จะนำไปสู่การเกิด “ทิพจักขุญาณ” ตามมาได้โดยง่าย

เครดิต https://www.moe.go.th/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99-4/

ฌาน 4 คืออะไร จากปฐมฌานสู่จตุตถฌานของจิต

ฌาน 4 คืออะไร จากปฐมฌานสู่จตุตถฌานของจิต

เมื่อจิตเพ่งสมาธิ จนสงบสู่ ในอัปปณาสมาธิแล้ว จะมีความสงบตามลำดับ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติสมาธิ จะเริ่มเห็นตามลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติ ของ ฌาน 4 ซึ่งจัดได้อยู่ในรูปฌาน  ซึ่งบางครั้งหลายท่านได้อ่านมาก็จะมี ฌาน 8 ด้วย  ซึ่งเป็นการแบ่งของฌาน

ฌาณ คืออะไร

ฌาน คืออะไร คลิกอ่าน

ฌาณ คืออะไร

ลักษณะภาวะของจิต ที่สงบจากการปฏิบัติสมาธิ ภาวนา เพ่งจิตสมาธิจนเป็น อัปปณาสมาธิ 

อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

อัปปะนาสมาธิของปฐมฌาน เปรียบดังเด็กที่วิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว

เมื่อนั่งสมาธิตามลำดับหลังจากที่ได้ฝึกปฏิบัติจนแน่ว และมาตามลำดับตั้งแต่

  1. ขณิกสมาธิ การนั่งสมาธิที่เริ่มต้น จิตเริ่มเป็นสมาธิ แต่ก็ตั้งได้เดี๋ยวเดียวก็ จะนึึกถึงอย่างอื่น ๆ แต่ก็จะกลับมารู้สึกตัวได้ง่าย ลักษณะจิตเหมือน เด็กที่กำลังตั้งไข่
  2. อุปปจารสมาธิ มีอารมณ์กับความแน่วแน่มาขึ้น เริ่มเฉียด ๆ ฌาน เปรียบเหมือน เด็กนั้นเริ่มเดินได้คล่องแคล่ว หลังจากที่พ้นจากวัยตั้งไข่ แต่ยังวิ่งไม่คล่อง
  3. อัปปณาสมาธิ มีอารมณ์ที่ลงร่วมเพ่งในความสงบเป็นที่ตั้งและเกิด ฌาน

หลังจากได้หรือปฏิบัติจนถึง อัปปณาสมาธิ ก็จะทำให้จิตมีความสงบเป็นอารมณ์นิ่ง  ที่เรียกว่า เข้าสู่ ฌาน ซึ่งมีดังต่อไปนี้

ฌาน 4 คืออะไร

ฌาณ 4 คืออะไร

1) ฌาน 1 ปฐมฌาน (วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยใช้คำภาวนาและพิจารณาในขันธ์ 5 หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตทรงตัว

2) ฌาน 2 ทุติยฌาน (ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยคำภาวนาจะหายหรือหยุดไปเอง ไม่มีวิตกวิจาร แต่จะมีจิตใจชุ่มชื่น ลมหายใจเบาสบาย มีแต่ปีติ และเอกัคตารมณ์ คือ มีอารมณ์เป็นหนึ่งและทรงตัวมากขึ้น

3) ฌาน 3 ตติยฌาน (สุข เอกัคคตา) ลมหายใจจะเบามากและความอิ่มเอิบหายไป เหลือแต่ความสุขเยือกเย็น โดยจิตทรงตัวมาก อารมณ์ไม่เคลื่อนไหว ได้ยินเสียงภายนอกเบาลง และการทรงตัวแน่นสนิท

4) ฌาน 4 จตุตถฌาน (อุเบกขา เอกัคคตา) คือการตัดสุขได้ ไม่รับการสัมผัสทางจิตใจไม่มีความรู้สึก ทั้งจากเสียง ลม ยุ่งกัด เหลือแต่เอกัคตาพร้อมด้วยอุเบกขา ซึ่งฌานขั้นนี้เป็นอาการทางจิตที่ทรงตัวสมาธิดี มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความสว่างไสวในจิต หากสามารถฝึกให้จิตทรงตัวอยู่ตลอดเวลา ก็จะนำไปสู่การเกิด “ทิพจักขุญาณ” ตามมาได้โดยง่าย

เครดิต https://www.moe.go.th/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99-4/

การแบ่งประเภทของฌาน

เมื่อเราศึกษาตามตำราจะพบกับคำว่า ฌาน 8 บ้าง หรือ ฌาน 4 บ้าง อาจจะทำให้กังวลและสับสน(จากตัวนิวรณ์ได้ คือ ความสงสัย)

ประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่

  • ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
  • ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
  • ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
  • จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

อรูปฌาน ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่

  • อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาสไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
  • วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
  • อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
  • เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99

 

โลกธรรม 8 คืออะไร ธรรมชาติของมนุษย์ที่ครอบงำสัตว์โลก

โลกธรรม 8 คืออะไร ธรรมชาติของมนุษย์ที่ครอบงำสัตว์โลก

ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีจิตพื้นฐานจากกิเลส และ กรรมมาเป็นของดั้งเดิม โลกธรรม 8 เป็นอีกหนึ่งหลักธรรมที่อธิบายให้รู้ถึงความเป็นธรรมดาของโลกกับมนุษย์ที่มีนิสัยติดตัวมา  เมื่อเรารับรู้แล้ว ก็ทำความเข้าใจเพื่อให้ปล่อยวางและปล่อยให้มันเป็นไป จะได้จากโลกนี้ไปโดยไม่ต้องติดค้างหรือเข้าไปยึดให้จิตทุกข์

โลกธรรม 8 คืออะไร

โลกธรรมทั้ง8นั้น  หมายถึง ธรรมดาของโลก เรื่องของ ธรรมชาติของโลกที่ครอบงำสัตว์โลก และต้องเป็นไปตามนี้ โดยมี 8 ประการอันประกอบด้วย

โลกธรรม 8

โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ พอใจของมนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา

  1. ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้มาซึ่งทรัพย์
  2. ยศ หมายความว่า ได้รับฐานันดรสูงขึ้น ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
  3. สรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกย่อง เป็นที่น่าพอใจ
  4. สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ความเบิกบาน บันเทิงใจเริงใจ

โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา

  1. เสื่อมลาภ หมายความว่า เสียลาภไป ไม่อาจดำรงอยู่ได้
  2. เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดอำนาจความเป็นใหญ่
  3. นินทาว่าร้าย หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกติฉินนินทา หรือถูกกล่าวร้ายให้เสียหาย
  4. ทุกข์ คือ ได้รับความทุกขเวทนา ทรมานกาย ทรมานใจ

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/

 

คลิกอ่าน ธรรมะ ดีๆ จาก ท่านเจ้าคุณนร เรื่อง โลกธรรมทั้ง 8

เจ้าคุณนรรัตน์

“…คนเราเมื่อมีลาภ ก็เสื่อมลาภ
เมื่อมียศ ก็มีเสื่อมยศ
เมื่อมีสรรเสริญ ก็มีนินทา
เป็นของคู่กันมาเช่นนี้
จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์
ถึงจะดีแสนดี … มันก็ติ
ถึงจะชั่วแสนชั่ว… มันก็ชม
นับประสาอะไร
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศยิ่งกว่ามนุษย์ เทวดา
ยังมีมารผจญ ยังมีคนนินทาติเตียน
ปุถุชนอย่างเราจะรอดพ้นจากโลกะธรรม
ดังกล่าวแล้วไม่ได้
ต้องคิดเสียว่า
เขาจะติ .. ก็ช่าง
เขาจะชม..ก็ช่าง
เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ
ก่อนที่เราจะทำอะไร
เราคิดแล้วว่าไม่เดือดร้อนแก่ตัวเรา
และคนอื่น .. เราจึงทำ
เขาจะนินทา.. ว่าร้าย อย่างไร ก็ช่างเขา
บุญเราทำ กรรมเราไม่สร้าง
พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ
ใยจะต้องไปกังวล กลัวใครจะติเตียนทำไม

ม่เห็นมีประโยชน์
เปลืองความคิดเปล่า ๆ..”

(ธรรมะท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต)
วัดเทพศิรินทราวาส กทม.

Pin It on Pinterest