ขันธ์ 5 คืออะไร กองทุกข์ของการเกิดดับ ยึดมั่น ถือมั่น

ขันธ์ 5 คืออะไร กองทุกข์ของการเกิดดับ ยึดมั่น ถือมั่น

ทุกข์ จากการที่มีใน ขันธ์ 5 เป็นหนึ่งในอริยสัจสี่ที่ทำให้เกิดความเข้าใจในสัจธรรม เพราะทุกข์เหล่านั้นไม่ได้ไปไหน มันอยู่ในตัวเราซึ่งตัวเรา ซึ่งตัวเราที่ประกอบเป็นคนนั้น นับได้ว่ามาจากการมี กองขันธ์นี้แหละที่ทำจิตนั้นเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมาไม่รู้จักจบจักสิ้น เกิดเป็นวัฏสงสารไม่มีที่สิ้นสุด  การที่เราเข้าใจในอริยสัจ 4 แล้ว การดับทุกข์ทั้งหลายก็จะนำไปสู่การถอนออกจาก กองขันธ์นี้ ซึ่งหลายท่านอาจจะทรายความหมาย แต่อาจยังไม่เข้าใจว่ากองทุกข์นี้คืออะไร และ มีการแบ่งกองทุกข์นี้ออกมาอย่างไรบ้าง

อริยสัจ 4

อ่านเพิ่มเติมบทความสาระหน้ารู้ อริยสัจ 4  คืออะไร

ขันธ์ 5 คืออะไร และ มีอะไรบ้าง

ขันธ์ แปลว่า ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด ในทางพุทธศาสนาหมายถึงส่วนหนึ่งๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ  ได้แก่

  1. รูป เป็นสภาพไม่รู้ มีทั้งหมด 28 รูป แบ่งเป็น อุปาทยรูป 24 รูป และมหาภูตรูป 4 รูป
  2. เวทนา เป็นความรู้สึก มีทั้งหมด 5 เวทนา คือ สุขกาย สุขใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ อุเบกขาทางใจ
  3. สัญญา เป็นความจำได้ ความรู้จำสิ่งที่ปรากฏได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และความรู้สึกได้ทางใจ คือ เวทนา สัญญา สังขาร
  4. สังขาร เป็นการปรุงแต่งจิตให้จิตมีอารมณ์และกิริยาหลากหลาย มีทั้งหมด 50 สังขาร
  5. วิญญาณ เป็นสภาพรับรู้ มีทั้งหมด 6 ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

 

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/

ขันธ์ แบ่งออกเป็น รูป 1 นาม 4 ดังนี้

รูป 1 ได้แก่ กาย หรือ รูป

นาม 4 ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อธิบายเรื่องกองทุกทั้ง 5 ได้ดังนี้

กองที่ 1  รูปขันธ์หรือกาย 

ขันธ์ 5

คือ รูปร่าง หรือร่างกายของเรานี้เอง ที่จับต้องได้ เป็นการรวมตัวของธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาเป็นร่างกายที่มี เส้นผม กระดูก เนื้อหนัง น้ำเหลือง เลือดเนื้อ ต่าง ๆ

 

กองทุกข์ที่ 2 ได้แก่ สัญญา

ขันธ์ 5

คือ ความจำได้ การบันทึกลงในความทรงจำต่าง  ๆ ว่าสิ่งไหนคืออะไร  เป็นอะไร จำได้ว่าสิ่งนี้สีอะไร  เช่น เราจำหน้าคนรักของเราได้ว่าคนนี้คือใคร หน้าตารูปร่างแบบนี้ คือ จำได้ว่าคนนี้คือใคร

กองทุกข์ที่ 3 ได้แก่ เวทนา

ขันธ์ 5

การรับอารมณ์จากการปรุงแต่ง ว่า รู้สึกแย่ รู้สึกดี สบายใจ หรือ แม้แต่รู้สึกว่า เฉยๆ  สรุปแบบเข้าใจสั้น ๆ ได้แก่ อารมณ์ต่าง  ๆ ที่นำมารับรูั

กองทุกข์ที่ 4 ได้แก่ สังขาร

ขันธ์ 5 (6)

การปรุงแต่งต่าง ๆ และมักจะเข้าใจผิดว่า ร่างกายคือสังขาร แต่แท้จริงแล้ว สังขารเป็นการปรุงแต่ทางการรับรู้จากตัวขันธ์ เช่น เป็นผู้หญิงเราก็จะรับรู้จาก รูปว่า รูปร่างแบบนี้่คือผู้หญิง เพราะมาจากสัญญา ว่าร่างกายแบบนี้เรียกว่า ผู้หญิง   ต่อมาก็ปรุงแต่งว่า หน้าตาดี หรือ ไม่ดี แล้วรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ การปรุงแต่งเหล่านี้ เราจึงเรียกว่า สังขาร

กองทุกข์กองที่ 5 ได้แก่ วิญญาณ

ขันธ์ 5

ตัวรับรู้ถึงความรู้สึกรับอารมณ์ ผ่านทางอายตนะภายในได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ  ตัวอย่างเช่น เราเห็นผู้หญิงสวยแล้วรู้สึกว่าชอบ อธิบายได้ดังนี้คือ วิญญาณทางตา รับรูปเข้ามา ผ่านเข้ามาสัญญา ว่า รูปร่างแบบนี้ สวย แล้วเกิดความปรุงแต่งว่า ชอบ หรือสังขาร    ทำให้เกิดคิดถึง อารมณ์รักใคร่ อยากได้ ทำให้เกิดเวทนา  แล้วนำมาสู่ตัวรับรู้ สุดท้ายคือ จิต

 

ดังนั้น กองทุกข์ตัวนี้ไม่ได้อยู่ที่ใคร แต่อยู่ที่เรา ถ้าเราเข้าไปยึดมั่น หรือ อุปทาน ก็จะทำให้เกิดความทุกข์ เพราะทุกอย่างล้วนแล้วอยู่กฏภายใต้ ไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน และ ทุกขัง

ตัวอย่าง ร่างกายเราอย่างไรก็ต้องแก่ เหี่ยวย่น ต่างจากวัยเด็ก  ทำให้การยึดมั่นว่า ไม่อยากแก่ กลัวไม่สวย ทั้งที่สัจธรรมที่เราหนีไม่ได้ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่ด้วยความที่มีกิเลสในการยึดมั่นในขันธ์นี้ จะทำให้พยายามหนีแต่สุดท้ายก็จะหนีไม่พ้นความจริง ว่า เราจะต้องยอมรับว่า เราจะต้องแก่และตายไปในที่สุด ทำให้การปรุงแต่งเหล่านั้นมีเพียงแค่เกิดขึ้นแล้วเราก็เฝ้าดู มัน  แล้วก็ปล่อยมันไปจากจิต  เพื่อให้นำความทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลก

 

โคตรภูญาณ ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร

โคตรภูญาณ ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร

โคตรภูญาณ ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร  คือ การเห็นทุกข์ที่มันเกิด และทำอย่างไรที่จะทำให้ออกจากวัฏสงสารได้   คนที่ได้โครตภูญาณ คือ คนที่ได้ พระรัตน เป็นที่พึ่งเท่านั้น ไม่พึ่งอย่างอื่นใดอีกเลย  ไม่มีความเห็นว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมาดลบรรดาลใจสิ่งใด ๆ มาให้มีเงินทองไม่สนใจ  ไม่มีฤกษ์งามยามดีใด  เห็นชัดในภัยวัฏสงสาร และ มีแต่พึ่งตนเองในการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ลักษณะของจิตที่เกิดกับ โคตรภูญาณ

จิตนี้พยายามดิ้นรน หาทางออกจากทางโลก ที่เห็นความเกิดมาเพื่อมารองรับโรคต่าง ๆ มีความหิวโหย ดิ้นรนความอยากคือ ตัณหา  แต่ยังมีความอาลัยกับสิ่งหนึ่งที่ยังผูกพัน  เหมือนคนยืน เท้าหนึ่งยืนบนบก เท้าหนึ่งยืนในน้ำ   จะออกจากโลกก็ห่วงบุคคลที่รัก  แต่ก็อยากออกจากวัฏสงสาร

โครตภูญาณ จะเห็นภัยต่าง ๆ

  • ร่างกายเป็นที่รองรับโรคต่าง ๆ

โคตรญาณ

เรื่อง​ “โคตรภูญาณ​ จุดระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ”

(คติธรรม​ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)​

อธิบาย โคตรภูญาณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

โครตภูญาณ จิตมันอยู่ระหว่าง โลกีย์ กับ โลกุตตระ คือ ความเป็นคนกับความเป็นพระอริยเจ้า ท่านเปรียบเหมือนกับ ลำรางเล็ก ๆ น่ะ คือ ขาหนึ่งยืนอยู่นี่ อีกขาหนึ่งฝ่ายโลกีย์ ยังยกไม่ขึ้น ทีนี้อารมณ์ของโคตรภู เราต้องรู้ว่า ขณะใด เราเข้าถึงโคตรภู ไอ้พูด ตามตำรานี่ มันพูดได้ ไม่ยากหรอก แต่ตัวเข้าถึงนี่ซี ถ้าเราเป็นฝ่ายวิชชาสามนะ มันเห็นชัด คือ เวลาที่เราถอดจิตขึ้นไป ตามปกติเราจะท่อง เที่ยวแต่เฉพาะในส่วนของโลกีย์ใช่ไหม จะเป็นเมืองมนุษย์ก็ดี​ อบายภูมิก็ดี เทวดา พรหมก็ดี แต่ส่วนโลกุตตระเราจะเข้าไม่ได้ ไม่สามารถจะเห็น แต่ถ้าอารมณ์ของจิตเข้าถึงโคตรภู เราจะเห็นพระนิพพานชัด

ถ้าพูดถึงอารมณ์ อันดับแรก อารมณ์มันจะยึดตัว “ธรรมดา” คือ ใครด่า เขาด่าก็ว่าเป็นธรรมดา เกิดมาต้องมีคนเขาด่าว่า อันที่จริงก็โมโหเหมือนกันนะ แต่โมโหแล้วมันปล่อยไม่เกาะอยู่ ถ้ายังไม่ได้ อนาคามี อย่านึกว่า ไม่มีโมโห โทโส มีโกรธ เหมือนกัน โกรธเดี๋ยวเดียว แต่ไม่ไปอาฆาต ไม่ไปทำร้ายเขาแล้วมัน ก็หายไป เห็นอะไรๆ มันก็ธรรมดา ถ้าไปเจอะคน ตายมันก็วาบหวิวไปนิดหนึ่ง ประเดี๋ยวตัว “ธรรมดา” มันก็ปรากฏ

ถ้าอารมณ์เข้มขึ้น มันก็ยัน “ธรรมดา” อยู่เสมอ แต่ก็ยังมีสะท้านอยู่บ้าง ในขณะเดียวกัน ก็มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นที่สุด ใครจะพูดเรื่องอะไร ก็ฟังได้ แต่ฉันไม่เอาด้วย ฉันจะไปนิพพาน นี่สำหรับพวกมี วิชชาสาม ส่วนพวกสุกขวิปัสสโก ก็ต้องสังเกตอารมณ์ เอาว่ายึด “ธรรมดา” และรักพระนิพพานเพียงใด ถ้ารักมากก็ชื่อว่าเข้าถึง โคตรภู ต้องสังเกตตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเราไปแกล้ง “ธรรมดา” นะ ต้อง “ธรรมดา” นะ ของมันเป็นปกติ จิตจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์จริง ๆ แต่ถ้าไปนิพพานไม่ได้อย่างอื่นก็ต้องการ คือ จะไปพักสวรรค์พักพรหมโลก พักเพื่อหวังนิพพาน จะทำอะไรก็ตามไม่หวังผลตอบแทนฉันหวังจะไปนิพพาน นี่คือ อารณ์โคตรภู ถึงโคตรภูแล้วสงสัยว่าเราจะเป็น พระโสดาบัน ก็มานั่งไล่เบี้ย สังโยชน์สาม ดูว่า สักกายทิฏฐิ เราเป็นอย่างไร เรารู้หรือเปล่าว่า ร่างกายมันจะพัง ตัวของเรา ตัวของคนอื่นน่ะ รู้หรือเปล่าว่ามันจะพัง มันจะตาย รู้ว่าจะตาย ความจริงก็มีจิตห่วงนั่นห่วงนี่บ้าง พระโสดาบันนี่ยังห่วง แต่ว่าห่วงไม่มาก ถ้ามันจะตายจริงๆก็ เอวังกิ่ม ฉันจะไปนิพพานนะ

สังโยชน์ที่สอง วิจิกิจฉา เราไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า “ไม่สงสัย” นี่ไม่ใช่ว่านึกเอา นะต้องปฏิบัติด้วย ต้องแน่ใจว่า เกิดแก่เจ็บตายนี่เป็นของมีจริงใช่ไหม เชื่อเหลือเกินว่า เราเกิดมานี่ต้องแก่ ไอ้การป่วยไข้ไม่สบายนี่ มันต้องมีแน่ ถ้ามันมีขึ้นมา เราก็ไม่ตกใจ การรักษาพยาบาล ถือเป็นของธรรมดา เพราะถือเป็นการระงับเวทนา แม้พระพุทธเจ้า แม้พระอรหันต์ทุกองค์ท่านก็ต้องรักษา แต่ในระหว่างรักษาตัว ก็นึกว่า จะระงับได้หรือไม่ได้ จะทรงอยู่ได้ หรือไม่ได้ก็ตามใจมัน ถ้าเกิดทุกเวทนามาก รักษาพยาบาลแล้ว อาการมันไม่ลด ก็ตามใจมันซี ฉันจะทนให้แกทรมาน ประเดี๋ยวเดียว แล้วฉันก็จะไปนิพพาน อารมณ์มันตัดตรงนี้นะ

ขอน้อมกราบพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน​ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ​ แห่งวัดท่าซุง

เครดิตจากเพจ https://www.facebook.com/238296179593402/photos/a.595817270507956/2252804728142527/?type=3

 

สาธุ  กับ อนุโมธนา มีความหมายต่างกันอย่างไร

สาธุ กับ อนุโมธนา มีความหมายต่างกันอย่างไร

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “สาธุ” เวลาที่พระให้พร หรือ ร่วมกันทำบุญ  และบางครั้งก็จะได้ยินคำว่า อนุโมธาบุญด้วย  ทำให้เริ่มสับสนว่าความแตกต่างสองคำนี้มีความหมายอย่างไร และใช้ตอนไหน  เพราะบางครั้งอาจจะทำให้ไม่แน่ใจว่าใช้ถูกต้องหรือไม่

แต่ส่วนมากที่แน่ใจเห็นบ่อยก็คือ ที่เวลาเพื่อนมาบอกเราหรือคนในครอบครัวมาบอกเราว่าไปทำบุญด้วยกันไหม เราก็จะร่วมอนุโมธนาบุญด้วย  เพื่อความเข้าใจให้มากขึ้นจึงได้รวบรวมความหมาย ระหว่าง สาธุ และ อนุโมธนาสาธุ

สาธุ แปลว่าอะไร

แปลว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว มาจากรากศัพท์ว่า สาธฺ (หรือ สธฺ) ในความหมายว่า สำเร็จ เมื่อเวลาที่เราได้ทำบุญใดๆ แล้วหากมีคนเห็นการกระทำดีของเราแล้วเขากล่าว “สาธุ” ด้วยความศรัทธาด้วยความปีติยินดีที่ได้เห็นเราทำบุญ เขาคนนั้นก็ได้บุญไปด้วยอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนการจุดเทียนแล้วมีคนมาขอต่อเทียนฉันใดฉันนั้น

สาธุ กับ อนุโมธนา

อนุโมทนา แปลว่าอะไร

อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีตาม, ความพลอยยินดี หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/

การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ การอนุโมทนานั้นอาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่น เมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้ เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญ แล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วยเรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า “อนุโมทนากถา” เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า “อนุโมทนาบัตร หรือใบอนุโมทนา” เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า “อนุโมทนามัยบุญ” และการที่ภิกษุกล่าว สัมโมทนียกถา อันแปลว่า ถ้อย คำอันเป็นที่บันเทิงใจ ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของ ความดี ของบุญกุศล ที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆัง เป็นต้น ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บางทีเรียกว่า อนุโมทนากถา

ส่วนพิธีอย่างอื่นนอกจากนี้ควรจะอนุโมทนาต่อหน้าเสมอไปจึงจะสมควร พิธีอนุโมทนาแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ 2 หัวข้อคือ
1. สามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ไม่จำกัดงานหนึ่งงานใด ก็คงใช้คำอนุโมทนาแบบเดียวกัน
2. วิสามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาด้วยบทสวดพิเศษคือ อนุโมทนาเฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง

เครดิตเพจจาก https://dharayath.com/

แนะนำอ่านความรู้น่าสนใจสำหรับทำบุญเกี่ยวกับการเลือก ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ 9 ขันธ์ ต่างกันอย่างไร และเลือกสำหรับงานบวชอย่างไร

ทำบุญ คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ

ทำบุญ คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ

ทำบุญ คืออะไร หลายคำตอบและหลายท่านยังมีความลังเล สงสัย ทำไมต้องทำบุญ ทำแล้วได้อะไร อย่างไร แล้วพระพุทธเจ้าท่านให้หลักธรรมทำบุญไว้อย่างไร ถึงจะทำแล้วไม่งมงายและมีสติ

ซึ่งโดยเบื้องต้นแล้ว จุดมุ่งหมายของศาสนาคือ การให้คนพ้นทุกข์ ด้วยการเดินตามทางสายกลางคือ องค์มรรคแปดประการ หรือ ย่ออย่างง่ายเบื้องต้นคือ ทาน ศีล สมาธิ และ สุดท้ายคือมี ปัญญา เพื่อเห็นทางพ้นทุกข์ และจุดมุ่งหมายแรกคือ ก่อนไปในถึงความเข้าใจในขั้นอื่น ๆ นั้น ต้องมี ทาน และ ศีล เป็นที่สมบูรณ์อย่างมีสติ และ เหตุผล ไม่งมงาย  การให้ทาน ก็คือ การให้เพื่อไม่ให้เห็นแก่ตัว และ ละความโลภที่มีในตน กล่าวง่าย ๆ อีกแบบคือ การทำบุญทำทาน

ทำบุญ คืออะไร

การทำบุญ หมายถึง การประกอบให้ความดีเกิดขึ้น ซึ่งมาจากคำว่า “บุญ” (บาลี: ปุญฺญ) หรือ บุณย์ (สันสกฤต: ปุณฺย) ที่หมายถึง ความดี ตรงกันข้ามกับคำว่า บาป (บาลี: อปุญฺญ)

เครดิต https://www.wreathnawat.com/merit-making-in-buddhism/

ทำบุญ ที่จะให้ได้ผลบุญมากหรือน้อยนั้น มีหลักเกณฑ์อยู่ 3 ประการคือ

1.ผู้รับ จะต้องเป็นผู้มีศีล มีคุณธรรมความดี แต่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นพระสงฆ์ หรือนักบวช จะเป็นคนทั่วไปก็ได้ ถ้าผู้รับดี ผู้ทำก็ได้บุญมาก หากผู้รับไม่ดี ก็อาจจะทำให้เราได้บุญน้อย เพราะเขาอาจอาศัยผลบุญของเรา ไปทำชั่วได้ เช่น ให้เงินช่วยเหลือเพื่อนๆ กลับเอาไปปล่อยกู้ สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เป็นต้น

2.วัตถุสิ่งของที่ให้ต้องบริสุทธิ์หรือได้มาโดยสุจริต เป็นของที่เหมาะและมีประโยชน์ต่อผู้รับ เช่น ให้เสื้อผ้าของเล่นแก่เด็กกำพร้า เป็นต้น ของที่ให้ดีผู้ทำก็ได้บุญมาก หากได้มาโดยทุจริต แม้จะเอาไปทำบุญก็ได้บุญน้อย

3.ผู้ให้ ต้องมีศีลมีธรรมและมีเจตนาที่เป็นบุญกุศลในการทำ จึงจะได้บุญมาก นอกจากนี้ เจตนาหรือจิตใจในขณะทำบุญ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญกล่าวคือ ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ หากผู้ให้มีความตั้งใจดี ตั้งใจทำ เมื่อทำแล้วก็เบิกบานใจ คิดถึงบุญกุศลที่ได้ทำเมื่อใด จิตใจก็ผ่องใสเมื่อนั้น เช่นนี้ก็จะทำให้ผู้ทำได้บุญมาก ถ้าไม่รู้สึกเช่นนั้น บุญก็ลดน้อยถอยลงตามเจตนา

เครดิตเพจ https://www.thaihealth.or.th

การทำบุญนั้น มีหลักธรรมอันสำคัญคือ บุญกิริยา 10 ประการที่กล่าวได้ว่าไม่เสียเงินทองเลย ซึ่งมีข้อเดียวที่เสียวัตถุ คือ ทานมัย ที่เหลือ 9 ข้อไม่มีการเสียวัตถุในการทำบุญ ซึ่งกล่าวได้ว่า ใช้ศรัทธาและปัญญาอย่างมีสติในการทำบุญ ที่มุ่งเน้นการละความโลภมิใช่การนำมาอวดว่ามีบุญมากกว่าสูงกว่า แต่มีคุณธรรม กุศลจิตที่เข้าสู่ในจิตใจ และนำไปสู่การปฏิบัติ ศีล สมาธิ ภาวนาได้ สงบ ปราศจากการกกังวลใด ๆ ต่ออำนาจของกิเลส

บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ

บุญกิริยาวัตถุ แปลว่า หลักแห่งการบำเพ็ญบุญ หรือทางมาแห่งบุญ ๑๐ ประการ คือ

๑. ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน
๒. สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อม ถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. ไวยยาวัจมัย บุญเกิดจากการขวนขวาย ในกิจที่ชอบ
๖. ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการอุทิศส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญเกิดจากการทำความเห็นให้ตรง

พละ 5 คืออะไร กำลังแห่งหลักธรรมรู้แจ้งและกำจัดนิวรณ์

พละ 5 คืออะไร กำลังแห่งหลักธรรมรู้แจ้งและกำจัดนิวรณ์

พละ 5 หรือกำลังทั้ง 5 ที่สนับสนุนให้มีกำลังต่อจิตใจให้นำพาไปสู่ความสำเร็จ นับว่าเป็นหลักธรรมหนึ่งซึ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะที่ปฏิบัติภาวนาสมาธิ เพราะการปฏิบัติให้ได้เกิดความสงบจากสมถะนั้น เป็นเรื่องที่ต้องเผชิญกับความวุ่นวายมากมายของจิต เพราะจิคดั้งเดิมนั้น จิตจะชอบท่องเที่ยว

ดังนั้น ผู้ที่ตั้งใจจะนั่งสมาธิและปฏิบัติภาวนาที่เพิ่งเร่ิมต้น ต้องอาศัยกำลังใจพละ 5 อย่างมาก เมื่อนั่งสมาธิใหม่แล้วจะเผชิญความปรุงแต่ง ไม่นิ่ง เกิดความท้อ ง่วง สับสน ลังเลว่า นั่งหลับตาไปทำไม ไม่เห็นมีอะไร  จนเกิดการเลิกก็มาก

หลักธรรมอันนี้จึงเป็นหลักทำที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างกำลังและพลังใจในการปฏิบัติ รวมถึงนำมาต่อสู้กับนิวรณ์ ในการนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติธรรม และเป็นหลักธรรมที่เป็นปกปักษ์กับ นิวรณ์ 5 ที่เป็นเครื่องกั้นและปิดขวางไม่ให้บรรลุความดีไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรม รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รู้สึกหดหู่ไม่อยากทำอะไร ท้อแท้ หมดหวัง  แต่ถ้าเราเข้าถึงหลักธรรม พละ5 จะทำให้มีความต่อสู้ทำให้เกิดความเพียร ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้

พละ 5 คืออะไร

พละ 5 คืออะไร

คือ กำลังห้าประการ  ได้แก่

1. ศรัทธาพละ  ความเชื่อ กำลังแห่งความเชื่อ ความศรัทธา เป็นศรัทธาที่มีสติในความเชื่อ และไม่งมงาย อธิบายตามหลักเหตุผล เข่น เชื่อในความขยันและอดทน ย่อมผ่านอุปสรรคและนำพาไปสู่ความสำเร็จ

2.วิริยะพละ ความเพียร กำลังแห่งความเพียรพยายาม ไม่ท้อถอย ทำให้ลดความหดหู่ลงไป มีกำลังใจให้กับตัวเอง เมื่อเห็นสภาวะเเห่งเหตุผลและความเป็นจริง ส่งผลให้มีความศรัทธาที่มีความเพียร เช่นไม่ท้อในการทำความดีเเละละความชั่ว ไม่ท้อ

3. สติพละ ความระลึกได้ กำลังแห่งสติ ระลึกรู้ รู้ตัวเองว่าทำอะไร ไม่สามารถทำให้ความโกรธ ราคะ เข้ามาครอบงำจิตใจ เพราะการรู้ตัวว่าเหตุเหล่านี้จากนิวรณ์นำมาสู่ความเดือนร้อนในภายหลังมากมาย ตั้งสติด้วยอารมณ์แห่งวิปัสนากรรมฐาน รู้ ทุกอย่างต้องดับ จากกันไปเป็นตามธรรมดา เห็นการปรุงแต่งจากสังขารเหล่านั้นก็ไม่เที่ยง

4.สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังแห่งใจที่ตั้งมั่น ความตั้งมั่นเหมือนรักษาความดี ไม่ให้ความดีนั้นหายไปจากสติ แต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในความดีนั้น

5.ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังแห่งความรู้ที่เกิดจากปัญญาญาณ จิตคือตัวรู้ที่ได้ปัญญา ความรอบรู้ ที่มีสติและสมาธิเป็นฐานเพื่อส่งเสริมให้เห็นปัญญา โลกุตตระ แห่งสัจธรรม

ธรรมอันเป็นปกปักษ์นิวรณ์ทั้ง 5 ข้อ

1.ศรัทธา แก้วิจิกิจฉา ความเชื่ออันมีปัญญาและเหตุผลตามธรรมะ นำมาสู่การแก้ความสงสัยลังเล เช่น ลังเลสังสัยในนิพาน
2.วิริยะ แก้ถีนมิทธะ ความเพียร พยายาม ไม่ลังเล นำพามาสู่ความอดทน แก้ความหดหู่ ซึมเศร้า
3.สติ แก้พยาบาท
4.สมาธิ แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
5.ปัญญา แก้กามฉันทะ

ขอบคุณเครดิตเพจ

 

นิวรณ์ 5 คืออะไร และ แก้นิวรณ์อย่างไรให้สมาธิสงบ

นิวรณ์ 5 คืออะไร และ แก้นิวรณ์อย่างไรให้สมาธิสงบ

นิวรณ์ 5 คำนี้ได้ยินและได้อ่าน ด้วยความสงสัย ความไม่เข้าใจ ในการปฏิบัติ เช่น เมื่อทำบุญแล้ว นั่งสมาธิภาวนา ก็ไม่ได้เกิดอะไรก้าวหน้า ทำให้เกิดลังเล สงสัย  ทำไปเกิดความหดหู่ ท้อถอย และสุดท้ายเลิกปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้นี่เองที่เรียก เครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุ ในการที่เราตั้งใจ ที่เราเรียกกันว่า นิวรณ์

นิวรณ์ 5 คืออะไร

คือ เครื่องกั้นและปิดขวางไม่ให้บรรลุความดีไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรม

นิวรณ์ข้อมีอะไรบ้าง

1.กามฉันทะ ความพอใจในกาม 

คือ ความลุ่มหลงในกามอารมณ์ ยินดีในรูป ราคะ พอใจ กามอารมณ์ต่าง ๆ

2.โกธะ พยาบาท ปองร้าย 

คือ ความโกรธ เกลียด ชัง ความคุ้นแค้น เคือง

3.ถีนมิทธะ ความหดหู่ ซึมเศร้า 

ความเกียจคร้าน ท้อแท้ เศร้าซึม หมดหวัง เสียใจ หมดอาลัย ไร้กำลังใจ เบื่อ ไม่อยากจะทำอะไร  บางครั้งอาจทำให้เข้าใจว่าเป็นการปล่อยวาง แต่แม้จริง คือ ซึมเศร้า ท้อแท้

4.อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน

ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ  คิดไม่ตก ฟุ้งซ่านในสิ่งที่มากระทบ อายตนะ ทางกาย วาจา ใจ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ ว่าจะเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ปรุงแต่งเหมือนเชือกพันกันไม่สามารถแก้ปมได้

5.วิจิกิจฉา

ความลังเลสงสัย ว่าทำสิ่งนั้นจะเกิดอะไร เช่น เมื่อนั่งสมาธิ แล้วไม่รู้สึกอะไร เหมือนนั่งหลับเฉย ๆ ก็เกิดความลังเล ว่าทำไปทำไม ไม่เห็นเกิดอะไร แต่แท้จริงแล้ว เกิดนิวรณ์เข้าปรุงแต่ง วิจิกิฉา ให้เกิดความสงสัย จิตต้องติดในการปรุงเเต่งในความสงสัย ๆ นั้น ๆ

วิธีการแก้นิวรณ์หรือธรรมอันเป็นปกปักษ์นิวรณ์ทั้ง 5 ข้อ

พละ 5 ธรรมกำลังใจทั้ง 5 ที่นำมาสู่จิคอันเป็นสู้กับนิวรณ์


1.ศรัทธา แก้วิจิกิจฉา ความเชื่ออันมีปัญญาและเหตุผลตามธรรมะ นำมาสู่การแก้ความสงสัยลังเล เช่น ลังเลสังสัยในนิพาน
2.วิริยะ แก้ถีนมิทธะ ความเพียร พยายาม ไม่ลังเล นำพามาสู่ความอดทน แก้ความหดหู่ ซึมเศร้า
3.สติ แก้พยาบาท
4.สมาธิ แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน ให้ความสงบในสมาธิ เข้ามาพิจารณา แล้วโน้มจิตเพียงแค่ดูความฟุ้งซ่าน ว่าปรุงแต่งอย่างไร แล้วก็ปล่อยมันไป
5.ปัญญา แก้กามฉันทะ  ธรรมข้อนี้ค่อนข้างจะลึก เพราะต้องสร้างปัญญาให้เห็นกฏไตรลักษณ์ เพื่อเห็น ความไม่เที่ยงของสังขารที่เราถูกปรุงแต่งให้เห็นว่าสิ่งนั้นสวย น่าหลงไหล และติดในกาม แต่เมื่อมีปัญญาเข้าใจ เห็นว่า เราก็ต้องจากกันไปเมื่อชรา แก่ ไม่มีแล้วความสวยเหล่านั้น 

หรือ

แก้นิวรณ์ โดยกรรมฐาน (ในบทความนี้ขอเน้นการแห้ในด้านกามฉันทะ)

กรรมฐาน (บาลี :kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺฐาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย (เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/)

นิวรณ์ กามฉันทะ 

เมื่อเกิดความกำหนัด ความหลุ่มหลงในรูป กาย ความสวยความงาม อาลัยอาวรณ์อยู่ในกาม ซึ่งย่อมเกิดทุกข์ที่บางครั้งยังไม่ทราบว่าเป็นทุกข์ แต่เมื่อการเปลี่ยนแปลงผ่านไป เกิดทุกข์ เพราะความสวยหมดไป หรือ ถูกทิ้ง เลิกรา หรือ ไม่ได้กายนั้นมาครอบครอง ย่อมส่งผลกับการทุกข์ชัดขึ้น

การแก้นิวรณ์ข้อนี้ คือ อาศัย อสุภะ เข้ามาข่มใจ เห็น ไตรลักษณ์ว่า เราเกิดมา สุดท้ายก็ต้องแก่ ชรา และ ร่างกายเน่า ผิวหนังย่น รวมถึงต้องพลัดพรากจากกายนี้อยู่ดี ไม่ว่าจะสวยอย่างไร ทำให้อยากแค่ไหน วันเวลาก็ผ่านไปจะร่างกายก็จะเหี่ยวย่น เป็นรังของโรค เป็นเพียงแค่ เลือด น้ำหนอง เส้นเอ็น ผม กระดูก มารวมตัวกันเฉย ๆ

ศีล 5 ที่สามารถควบคุมนิวรณ์

  • พยาบาท ให้ควบคุมด้วย การไม่ฆ่าสัตว์
  • อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
  • กามฉันทะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ประพฤติผิดในกาม
  • วิจิกิจฉา ให้ควบคุมด้วยการไม่พูดเท็จ
  • ถีนมิทธะ ให้ควบคุมด้วย การไม่เสพสิ่งเสพติดอันเป็นเหตุให้ประมาท

 

พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศ วิหาร กรุงเทพมหานคร

จิตที่ไม่มีสมาธิก็เพราะมี นิวรณ์ ทำให้ไม่ได้มีความสงบ ไม่ใช้ปัญญา จึงได้แสดง นิวรณ์ ๕ และกัมมัฏฐานสำหรับแก้เพิ่มเติม ดังต่อนี้
๑. ความพอใจใฝ่ถึงด้วยอำนาจของกิเลสกาม เรียกว่า “กามฉันทะ”
แก้ด้วยเจริญ อสุภกัมมัฏฐาน พิจารณาซากศพ หรือเจริญ กายคตาสติ พิจารณา ร่างกายอันยังเป็นให้เป็นของน่าเกลียด

๒. ความงุ่นง่านด้วยกำลังโทสะ เรียกรวมว่า “พยาบาท”
แก้ด้วยเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หัดจิตให้เกิดในทางหัดคิดให้เรียเกิดเมตตา สงสาร กรุณา ช่วยเหลือเมื่อมีความสามารถ เกิดความพลอยยินดีไม่มีริษยา เกิดความปล่อยวาง หยุดใจที่คิดโกรธได้

๓. ความท้อแท้ หรือคร้าน หรือความหดหู่ง่วงงุน เรียกว่า “ถีนมิทธะ”
แก้ด้วยเจริญ อนุสติ กัมมัฏฐาน พิจารณาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บ้าง พิจารณาความดีของตนบ้าง เพื่อให้จิตเบิกบาน และมีแก่ใจหวนอุตสาหะ หรือทำอาโลก สัญญา(หมายเหตุ คือ อาโลกกสิน) กำหนดหมายแสงสว่าง ให้จิตสว่าง

๔. ความฟุ้งซ่าน หรือคิดพล่าน และความจืดจางเร็ว หรือความรำคาญ เรียกว่า “อุทัจจกุกกุ จจะ”
แก้ด้วย เพ่งกสิณ กำหนดลมหายใจเข้าออก หัดผูกใจไว้ในอารมณ์เดียว หรือเจริญมรณสติ อันจะทำให้ใจสงบด้วยสังเวช

๕. ความลังเลไม่แน่ลงได้ เรียกว่า “วิจิกิจฉา”
แก้ด้วยเจริญ ธาตุกัมมัฏฐาน หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อ กำหนดรู้สภาวที่เป็นอยู่ตามเป็นจริง

 

เครดิตข้อมูลจากเพจ

 

Pin It on Pinterest