อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแบบหนึ่งที่หลายท่านสงสัยเยอะเหมือนกันว่าคือสมาธิที่แตกต่างกับสมาธิแบบอื่นอย่างไร แต่แท้จริงแล้วผู้ปฏิบัติสมาธิครูอาจารย์หลายท่านจะแนะนำว่าอย่าสนใจว่าจะถึงขั้นไหนว่าจิตที่มีสมาธิแต่ขั้นแล้วก็ตั้งมั่นให้อยู่ใจจิตที่ดูอาการนั้นไปเรื่อย ๆ จะได้ไม่ทุกข์หรือสงสัยลังเล  แต่บทความนี้ตั้งใจนำเสนอเพื่อให้รู้ความหมายและทำความเข้าใจให้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อเราหัดนั่งสมาธิมาเรื่อย จนถึงจุดหนึ่งจิตจะเร่ิมนิ่งสงบเร่ิมเข้าสู่ค่าว่า ฌาณ

แนะนำอ่านต่อ อุปจารสมาธิ คืออะไร สมาธิที่แน่วแน่ของจิต

อัปปนาสมาธิ คือ อะไร

อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

สรุปสมาธิมีกี่ระดับ

แบบเบื้องต้นเพราะตามตำราแล้วจะมีลึกลงไปทำให้เราสับสนได้ ดังนั้นไม่ต้องกังวลสนใจระดับขอให้ปฏิบัติเรื่อย ๆ

สมาธิแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1. ขฌิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถนำมาใช้การงานในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ หรือขับรถ

ขณิกสมาธิ เหมือนเด็กที่เพิ่งหัดเดิน

ขณิก(ชั่วขณะ) + สมาธิ(ความทรงไว้พร้อม ความตั้งมั่น)

สมาธิที่เป็นไปชั่วขณะ หมายถึง เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิต ที่เป็นไปตามปกติของบุคคลทั่วไป เช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สัมผัส ขณะที่ยืน เดิน นั่ง นอนตามปกติ ก็มีขณิกสมาธิเกิดร่วมด้วย

 

2. อุปจารสมาธิสมาธิเฉียด ๆ หรือจวนจะแน่วแน่ อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่า

อุปจารสมาธิเหมือนเด็กที่เดินได้คล่องและเร่ิมจะวิ่ง

ป็นสมาธิที่เริ่มเป็นหนึ่ง ข้อสังเกตง่ายๆ ของผู้ปฏิบัติสมาธิ คืออารมณ์กรรมฐานเริ่มเป็นหนึ่ง เสียงหรืออารมณ์ภายนอกไม่สมารถเข้ามารบกวน ให้อารมณ์กรรมฐานถอยออกมาง่าย

 

3. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

อัปปะนาสมาธิของปฐมฌาน เปรียบดังเด็กที่วิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว

หมายถึงหมดความรู้สึกไปชั่วขณะหรือเป็นขณะๆ หรือเป็นวัน ตามกำลังสมาธิและความชำนาญ

เครดิต https://dharayath.com/

อธิบายให้เข้าใจเบื้องต้นสรุปดังนี้

การนั่งสมาธิเร่ิมต้นเลยเมื่อเราหัดนั่งใหม่ ๆ แล้วหลับตาลงจะรู้สึกว่า เราคิดโน่นคิดนี่ หรือ เรื่องราวต่าง ๆ เข้ามาให้เราปรุงแต่งผ่านจิตตลอดเวลาเหมือนลิงกระโดดไปกิ่งไม้ไม่หยุด แต่จะเร่ิมช้าลง และรู้สึกตัวได้ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปหรือฝึกนั่งบ่อย ๆ และจากความกังวลหรือฟุ้งซ่านจะเร่ิมน้อยลง แต่มีลังเลยอยู่ว่าต่อไปนั่งจะเห็นอะไรจะเป็นอะไรไหม ขอแนะนำเลยว่า ไม่ต้องนึก เห็นอะไรก็บอกว่า ปล่อยไปดูลมหายใจเข้าออกไปเรื่อย ๆ ที่เรียกว่า การใช้กรรมฐาน อาณาปานสติ เป็นตัวกำหนดสติ  อาการที่เราเร่ิมนิ่งขึ้นมีกำลังนั่งได้นานขึ้น เรามักจะเปรียบเทียบกับสิ่งนี้ว่า “ขณิกสมาธิ คือ ขฌิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ

“ขณิกสมาธิ คือ ขฌิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้ เช่น การแน่วแน่กับการขับรถ ทำให้ขับปลอดภัย

ต่อมาหลังจากที่เราเร่ิมนั่งสมาธิได้ชั่วขณะนั้น เราจะรู้สึกว่านั่งได้นานขึ้น และ รู้สึกถึงการเดินลมหายใจได้ชัดขึ้นไม่ติดขัด และไม่ได้ไปกังวลว่าจะเร็วหรือช้า หรือลมหายใจสั้นหรือยาว เราเร่ิมจะเห็นว่าการหายใจนั้นลมเข้าออกได้ด้วยตัวมันเอง จนลืมตามาอีกทีเข้าใจว่านั่งได้แค่ห้านาทีแต่แท้จริงแล้วนั่งไป เกือบครึ่งชั่วโมง

เราจะนิ่งขึ้น อารมณ์สงบขึ้น นั่งได้ยาวนานขึ้น แต่ก็มีอาการเผลอคิดออกไปเหมือนกัน แต่จะรู้สึกตัวกลับมาสมาธิไวขึ้น เราจะเข้าใจได้ว่า ใกล้เคียงกับ อุปจารสมาธิสมาธิเฉียด ๆ หรือจวนจะแน่วแน่ อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่า

ต่อมาเมื่อนั่งไปอีกด้วยจิตที่มีพละห้า กำลังทั้งห้า ไม่ท้อถอยและต้องควบคู่กับสติที่ไม่หลงว่านั่งแล้วจะวิเศษหรือเห็นอะไร ขอแนะนำว่าให้ทิ้งเหล่านี้เสีย ขอให้เน้นไปที่จิตสงบ เพื่อจะได้เกิดสมาธิที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว รวมลงเพื่อเข้าสู่การพิจารณาวิปัสานากรรมฐานได้เห็นตามความเป็นจริง  สิ่งนั้นก็คือ จิตรวมลงแน่วแน่ที่ลมหายใจบางคร้ังอาจจะเร่ิมรู้สึกว่า ลมน้อยลง ๆ และไม่ได้บังคับอะไร แค่มีจิตเป็นผู้รู้

อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

อัปปนาสมาธิ
ทำในรูปแบบด้วยการนั่งสมาธิ ทำไปสักพักลมหายไป รู้สึกเหมือนหายใจด้วยหน้าอก และเริ่มเห็นจิตคิดเรื่องต่างๆ สลับไปมา และความคิดก็น้อยลงเรื่อยๆ สุดท้ายก็เห็นเพียงแต่การหายใจด้วยหน้าอก และนิ่งๆ อยู่แบบนั้น

(เครดิตเพจ https://www.dhamma.com/tag/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4/)

สุดท้ายนี้ขอฝากผู้อ่านบทความว่า จุดมุ่งหมายของศาสนาคือ เป็นเครื่องขนทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลก ไม่มีสิ่งอื่นใด ดังนั้นการนั่งสมาธิภาวนาก็เป็นเครื่องมือเร่ิมต้นให้เรานำจิตไปสู่การพ้นทุกข์อย่างมีสติ และหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิด  อย่าไปหลงหรือทะนงว่า เรานั่งขั้นนี้ขั้นโน้นดีเด่นกว่าใครหรือสูงกว่าใคร เพราะถ้ายังอยู่ในโลกนี้แล้วขึ้นชื่อว่า ยังอยู่ในวัฏฏะสงสายด้วยกันทั้งหมด จะเหาะได้ หรือมีพลังวิเศษอะไรสุดท้าย ก็จะต้องตายจากกันไป เพราะความตายหรือมรณะนั้นไม่มีใครต้านทานได้

 

 

Pin It on Pinterest

Share This

Share This

Share this post with your friends!