โดย admin | ม.ค. 9, 2025 | บทความน่าสนใจ, หลักธรรมที่สำคัญ
ปฏิจจสมุปบาท หลักธรรมแสดงขั้นตอนชองปัจจัยการเกิดเริ่มตั้งแต่การไม่รู้(ไม่รู้แจ้งเห็นจริงตามเหตุปัจจัย) หรือที่เรียกว่า อวิชชา จนไปถึง ชรา มรณะ หลักธรรมนี้แสดงให้เห็นถึงวงล้อของภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นอีกหลักธรรมที่เหมาะกับผู้ปฏิบัติภาวนา อย่างมาก โดยเฉาพะผู้ที่กำลังเกิดความรู้สึกว่าโลกนี้เกิดมาแล้วต้องตาย เห็นทุกข์จากตามความเป็นจริงใน อริยสัจ4 หาหนทางดับทุกข์
อริยสัจ 4 คืออะไร ความจริงอันประเสริฐ หลักธรรมแห่งการพ้นทุกข์ คลิกอ่านเพิ่มเติม
ปฏิจจสมุปบาท มีความหมายหรือแปลว่าอะไร
ปฏิจจ แปลว่า อาศัยกันและกัน ,สมุปบาท แปลว่า เกิดร่วมกัน ,ปฏิจจสมุปบาท จึงแปลว่า อาศัยกันและกันเกิดขึ้นร่วมกัน ปฏิจจสมุปบาทเป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ
ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นโดยปราศจากสิ่งอื่น ทุกสิ่งต่างอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้นหรือปรากฎลักษณะขึ้น ,
ปฏิจจสมุปบาท มีอะไรบ้าง
- เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี
- เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
- เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
- เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ หรือ อายตนะ จึงมี
- เพราะสฬายตนะ หรือ อายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
- เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
- เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
- เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
- เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
- เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
- เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี.
เครดิตเพจ https://th.wikipedia.org/wiki/
หลักปฏิจจสมุปบาท (ปัจจยาการแห่งธรรม)
เป็นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาที่อธิบายถึงกระบวนการของการเกิดขึ้นและดับไปของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวโยงถึงความทุกข์และเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความทุกข์ โดยแสดงให้เห็นว่า ทุกสิ่งมีเหตุและปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
หลักปฏิจจสมุปบาทในรูปแบบ 12 ห่วงโซ่ (ปัจจยาการ 12 ประการ)
1. อวิชชา (ความไม่รู้) → เป็นเหตุให้เกิด
2. สังขาร (การปรุงแต่งทางจิตใจ) → เป็นเหตุให้เกิด
3. วิญญาณ (จิตที่รับรู้อารมณ์) → เป็นเหตุให้เกิด
4. นามรูป (รูปและนาม) → เป็นเหตุให้เกิด
5. สฬายตนะ (อายตนะทั้ง 6: ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) → เป็นเหตุให้เกิด
6. ผัสสะ (การกระทบของอายตนะ) → เป็นเหตุให้เกิด
7. เวทนา (ความรู้สึก สุข ทุกข์ เฉย ๆ) → เป็นเหตุให้เกิด
8. ตัณหา (ความอยาก) → เป็นเหตุให้เกิด
9. อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) → เป็นเหตุให้เกิด
10. ภพ (ภาวะหรือการดำรงอยู่) → เป็นเหตุให้เกิด
11. ชาติ (การเกิด) → เป็นเหตุให้เกิด
12. ชรามรณะ (ความแก่ ความตาย ความทุกข์อื่น ๆ)
หลักการสำคัญ
1. อิทัปปัจจยตา สิ่งใดเกิดขึ้นต้องอาศัยเหตุและปัจจัย
2. ธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง ไม่มีสิ่งใดคงอยู่ถาวร ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง
3. การดับทุกข์ห ากตัดวงจรของเหตุปัจจัยนี้โดยเฉพาะที่ “อวิชชา” ความทุกข์ก็จะดับไป
ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักสำคัญในการศึกษาพระธรรมของพระพุทธศาสนา และยังเป็นแนวทางในการเข้าใจธรรมชาติของชีวิตเพื่อการพ้นทุกข์.
โดย admin | ธ.ค. 7, 2024 | สมาธิ
สมถะ เป็นอีกการปฏิบัติสมาธิเพื่อโน้มจิคเพื่อเข้าสู่ความสงบ หรือกล่าวง่าย ๆ คือ ทำจิตใจ ให้เป็นสมาธิหรือสงบเสียก่อน ก่อนที่จะไปคิดถึงว่าเรานั่งไปขั้นไหนแล้วนั่งแล้วเห็นอะไร จึงทำให้เกิดความสงสัยมากมายกับผู้ปฏิบัติว่า จะต้องทำอะไรก่อน สำหรับการนั่งสมาธิ บางคนอ่านหรือสอนมาว่า ทำสมถะก่อน หรือ ทำวิปัสนากรรมฐาน ทำให้เกิดนิวรณ์ได้โดยง่าย คือ มีความสงสัยลังเล ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการนั่งสมาธิได้ เพราะติดอยู่กับการค้นหาว่านั่งไปแล้วจะทำให้เป็นอย่างโน้น อย่างนี้ จึงทำให้สงบไม่ได้ จึงต้องย้อนกลับมานั่งกันเริ่มต้นใหม่่ ง่าย ๆ และเหมาะกับทุกคนคือ ทำให้จิตสงบเสียก่อนแล้วค่อยปฏิบัติวิปีสนากรรมฐาน จะทำให้ง่ายต่อการนั่งสมาธิ
สมาธิ เป็นการรวบรวมสภาวะจิตใจให้แน่วแน่ และเป็นหนึ่งในวิธีฝึกจิตให้นำไปสู่ความสงบ ที่เรียกว่าสมถะ คือทำใจห้สงบก่อนแล้วจิตจะพัฒนาสู่การเห็นความเป็นจริงตามวิปัสนา
หลายท่านกำลังฝึกการนั่งสมาธิ และฝึกมาหลายที่ จนทำให้งง ว่าตกลงแล้วต้องเร่ิมตรงไหนทำอย่างไรก่อน แล้วดูลมหายใจ พุทโธ จะเร่ิมอย่างไรกับสมาธิ บทความนี้มีมาฝากรับรอง ไม่หลงเพราะทำตาม ครูอาจารย์ที่ท่านได้ปฏิบัติดี
หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง ท่านได้ให้ไว้ คือ ทำจิตให้สงบเสียก่อน ที่เราเรียกว่า สมถะ ความสงบอยู่ที่เรา ไม่ได้อยู่ที่สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ควบไปกับ ลมหายใจ อานาปณสติ ไม่ต้องสนใจใด ๆ ให้รู้อย่างเดียว ไม่ต้องไปบังคับ ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ทำไปเรื่อย ๆ จะพัฒนาขึ้นเอง
แล้วจะเห็นความอัศจรรย์จากจิตที่สงบ นัตถิ สันติ ปะรัง สุขขัง ไม่มีสุขใดเหนือกว่า ความสงบ
นิวรณ์ 5 คืออะไร และ แก้นิวรณ์อย่างไรให้สมาธิสงบ
สมาธิ คืออะไร ฝึกนั่งมีวิธีใดบ้าง และ สมาธิมีกี่ประเภท
สมถะคืออะไร มีความหมายอย่างไร
สมถะเป็นภาษาบาลี แปลว่า สงบ
สมถกรรมฐาน หมายถึง กรรมฐานอันเป็นอุบายสงบใจ ซึ่งคู่กับวิปัสสนากรรมฐานอันเป็นอุบายเรืองปัญญา
สมถกรรมฐาน คือ วิธีการในอันที่จะเพิ่มพูนสมาธิ คู่กับ วิปัสสนากรรมฐาน คือ วิธีการในอันที่จะเพิ่มพูนสติ
สมถกรรมฐาน อารมณ์กรรมฐานที่ทำให้บรรลุอุปจารสมาธิขึ้นไป มีอยู่ 40 อย่าง คือ
- กสิณ 10
- อสุภ 10
- อนุสสติ 10
- อัปปมัญญาหรือพรหมวิหาร 4
- อรูปฌาน 4
- จตุธาตุววัฏฐาน
- อาหาเรปฏิกูลสัญญา
สมาธินั้นต้องทำสมถะหรือวิปัสสนาก่อนทำอะไรก่อน ?
เป็นคำถามที่พบเจอบ่อยมากกับผู้ที่ฝึกสมาธิ
เพราะ อาจารย์นั้นบอกอย่างนั้น อาจารย์นี้บอกอย่างนี้ คนนั้นบอกให้ทำสมถะก่อน บางคนบอกว่าทำ วิปัสนาเลย ทำให้เกิดความลังเล
ถ้าโดยพื้นฐานตามปกติ เบื้องต้นแล้ว ควรทำให้เกิดจิตที่เป็นสมถะ หรือ ให้จิตสงบนิ่ง ให้ได้ก่อน เพราะคนเรามีสติปัญญา และ วาสนา(บุญของเก่า) ไม่เท่ากัน
เพราะบางคนมีจิตที่สงบและเป็นสมาธิง่าย หรือ มีจิตที่เข้มเข้มมาตั้งแต่เดิม ลองนึก บางคนกกลัวงู แต่บางคนไม่กลัวงู บางคนจับจิ้งจกได้ แต่บางคนกลัวจิ้งจก จะเห็นได้ว่าพื้นฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น ถ้าจะให้เร่ิมขั้นต้นได้ง่ายไม่ต้องไปคิดอะไรมากว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็ให้กำหนดรู้ว่า ไม่เข้าใจ และทำเดินสมาธิต่อไป นั่งดูให้จิตเป็นสมถะ พอจิตนั่งแล้ว การจะเข้าไปดูวิปัสนากรรมฐาน ก็จะเห็นชัดได้ง่าย ไม่สงสัยลังเลย
โดย admin | พ.ย. 27, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, หลักธรรมที่สำคัญ
การที่เราทุกข์นั้น เราจะได้ยินคำสอนหนึ่งที่เรียก อุปาทาน 4 หรือ การที่เราไม่ปล่อยวาง เข้าไปยึดมั่นถือมั่นไว้ ทำให้เกิดความสงสัยว่าเหตุใดจิตเข้าไปยึดนั่้นมีอะไรทีทำให้เรานั้นถือกองทุกข์เหล่านั้นไว้ แล้วทำให้สัตว์โลกทั้งหลาย ต้องเวียนว่ายตายเกิดกันมากมาย ซึ่งกองทุกข์ที่ว่านั้นก็คือ ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สังขาร สัญญา วิญญาณ
ขันธ์ 5 คืออะไร กองทุกข์ของการเกิดดับ ยึดมั่น ถือมั่น อ่านเพิ่มเติมในเรื่องกองขันธ์ 5
ขันธ์ 5 คืออะไร และ มีอะไรบ้าง
ขันธ์ แปลว่า ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด ในทางพุทธศาสนาหมายถึงส่วนหนึ่งๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ได้แก่
รูป เป็นสภาพไม่รู้ มีทั้งหมด 28 รูป แบ่งเป็น อุปาทยรูป 24 รูป และมหาภูตรูป 4 รูป
เวทนา เป็นความรู้สึก มีทั้งหมด 5 เวทนา คือ สุขกาย สุขใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ อุเบกขาทางใจ
สัญญา เป็นความจำได้ ความรู้จำสิ่งที่ปรากฏได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และความรู้สึกได้ทางใจ คือ เวทนา สัญญา สังขาร
สังขาร เป็นการปรุงแต่งจิตให้จิตมีอารมณ์และกิริยาหลากหลาย มีทั้งหมด 50 สังขาร
วิญญาณ เป็นสภาพรับรู้ มีทั้งหมด 6 ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
อุปาทาน 4 คืออะไร มีความหมายอย่างไร
อุปาทาน หมายถึง การยึดมั่นถือมั่น
ในจูฬสีหนาทสูตร พระโคตมพุทธเจ้าตรัสว่าอุปาทานมี 4 อย่าง ได้แก่
- กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม
- ความยึดมั่นติดอยู่ในกาม คือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์
- ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทิฏฐิ
- มีความยึดติดในความคิดเห็นของตัวเอง ว่าความเห็นว่าเรานั้นถูก คนอื่นคิดผิด ไม่มองเหตุปัจจัยอะไร
- สีลัพพัตตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและวัตร
- ความลังเลสงสัยในวัตรปฏิบัติ
- อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา
- ความยึดถือ ยึดมั่นในความเป็นตัวตน ว่านี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา เช่น ของที่เราซื้อ ที่มีในบ้าน เป็นของเรา ที่ดิน นั้นเป็นของเรา ไม่เข้าใจในการสมมุติที่ปรุงเเต่ง เพราะในความเป็นจริงนั้น ที่ดินก็คือดินไม่ได้เป็นของใคร แต่เราไปสมมุติในโลกกัน่วาอันนี้ของฉันของเรา
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
อุปาทานมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักคำสอนอื่นๆ ที่สำคัญในพระพุทธศาสนา
อุปาทานมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักคำสอนอื่นๆ ที่สำคัญในพระพุทธศาสนาในฐานะที่ต้องเป็นไปตามกฎสัจธรรม เช่น สัมพันธ์กับ หลักปฏิจจสมุปบาท ในฐานะที่ต้องเป็นไปตามกฎของเหตุปัจจัย เป็นเหตุและผลต่อกัน อาศัยกันและกันเกิดขึ้นเป็นไป สัมพันธ์กับกฎไตรลักษณ์ ในฐานะที่ต้องเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เพราะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัมพันธ์กับหลักอริสัจ 4 ในฐานะที่เป็นสมุทัยให้ทุกข์ทั้งปวงเกิด สัมพันธ์กับหลักขันธ์ 5 ในฐานะที่เป็นที่ยึดมั่นของอุปาทานทำให้เข้าใจผิดยึดมั่นว่าขันธ์ทั้ง 5 เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ในทัศนะของปราชญ์พุทธ อุปาทานก่อให้เกิดโทษทั้งในปัจจุบันและในอนาคตแก่บุคคลผู้ที่ยึดมั่นถือมั่น และมีผล กระทบต่อสังคมพุทธในหลายด้าน เช่น ผลกระทบด้านความเชื่อ ผลกระทบด้านการศึกษา ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการเมือง ผลกระทบด้านวิถีชีวิตและระบบนิเวศ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในสังคม อุบายวิธีในการเรียนรู้เพื่อละอุปาทาน ต้องเจริญตามอริยมรรคมีองค์ 8 และ สติปัฏฐาน 4 การเจริญขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ 8 มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการคือ 1.ปรโตโฆสะ 2.โยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลได้ศึกษาพิจารณาด้วยปัญญาและเข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมละคลายจากอุปาทาน ความยึดมั่น ถือมั่น ที่เป็นต้นเหตุของโทษทุกข์ทั้งปวงได้ความทุกข์และปัญหาต่างๆก็ลดลงตามลำดับจนสามารถละอุปาทานได้ในที่สุดจนกระทั่งบรรลุนิพพานซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
ขอบคุณและเครดิตจากเพจ https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/2661
โดย admin | พ.ย. 17, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ
อภัยทาน นับได้ว่าเป็นหนึ่งในทานที่พระพุทธเจ้าทรงให้ความยกย่องแก่บุคคลที่อโหสิกรรมแล้วยกให้เป็นทาน นับว่ามีจิตใจที่ยกสูงขึ้น เพราะต้องอาศัยความอดทน ขันติ ต่อการโกรธแค้นพยาบาท อดกั้น ต่อความเจ็บต่าง ๆ และปล่อยวางลงให้เข้าไปยึดในการปรุงแต่งของเรื่องนั้น ๆ นับว่าต้องอาศัยจิตใจที่เด็ดเดียวพอสมควร ดังนั้นผู้ที่ปล่อยวางแล้วการให้อภัยเกิดขึ้น จะนำไปสู่การปฏิบัติภาวนาพรหมวิหาร 4 ได้โดยง่าย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นำจิตสู่การเป็นพรหม นับว่ามีอานิสงส์มากมาย
อภัยทาน คืออะไร
การให้อภัยทาน คือ การสละอารมณ์โกรธเป็นทาน ให้อภัย ไม่จองเวร สละอารมณ์โกรธพยาบาทให้ขาดออกจากใจ เป็นการเจริญเมตตาพรหมวิหาร
เครดิตจากเพจ https://th.wikipedia.org/wiki/
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ได้ให้ความหมายของคำว่าอภัยทานดังนี้
อภัยทาน คือ การยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่ เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย
ความจริงนั้น ทุกคนที่สนใจบริหารจิต จะต้องสนใจอบรมจิตให้รู้จักอภัยในความผิดทั้งปวง ไม่ว่าผู้ใดจะทำแก่ตน แม้การให้อภัยจะเป็นการทำได้ไม่ง่ายนัก สำหรับบางคนที่ไม่เคยอบรมมาก่อน แต่ก็สามารถจะทำได้ด้วยการอบรมไปทีละเล็กละน้อย เริ่มแต่ที่ไม่ต้องฝืนใจมากนักไปก่อนในระยะแรก
ตัวอย่างเช่น เวลาขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารคอยขึ้นรถอยู่เป็นจำนวนมาก หากจะมีผู้เบียดแย่งขึ้นหน้า ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่ข้างหลัง ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาไม่ว่าน้อยหรือมาก ก็ให้ถือเป็นโอกาสอบรมจิตใจให้รู้จักอภัยให้เขาเสีย เพราะเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรถือโกรธกันหนักหนา เป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกินควรจะอภัยให้กันได้ แต่บางทีไม่ตั้งใจคิดเอาไว้ก็จะไม่ทันให้อภัยจะเป็นเพียงโกระแล้วจะหายโกรธ ไปเอง
โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ้งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น”
ฉะนั้น การให้อภัยทาน ก็คือ “การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู” ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ “ละโทสะกิเลส” และเป็นการเจริญ “เมตตาพรหมวิหารธรรม” จึงเป็นสิ่งที่สาธุชนทั้งหลายควรบำเพ็ญให้มีขึ้นในตน เพราะมีผลานิสงส์มาก
พุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายของอภัยทานว่า
ให้อภัย คำว่า อภัย นี้แปลว่า ไม่ต้องกลัว ให้อภัย คือเราให้ความไม่ต้องกลัวแก่บุคคลนั้น แปลว่า บุคคลนั้นไม่ต้องกลัวเรา นี่คือให้อภัย ทีนี้บางคนอาจจะคิดว่า นี้มันไม่ใช่ให้ทาน นี่มันไม่รู้ เขาพูดไปทั้งที่ไม่รู้การให้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทาน แต่เขาเรียกว่า “ การให้อภัยทาน ”เป็นสิ่งที่ให้กันได้ ให้ได้ทั้งทางกาย ให้ได้ทั้งทางวาจา ให้ได้ทั้งทางจิตใจ ทางร่างกาย เขามาขอขมาขออภัยเราก็รับ ทางวาจา บอกอโหสิกรรม ทางจิตใจ เราก็สลัดความโกรธ ความอาฆาตจองเวรอย่างนี้ก็เรียกว่า“ การให้อภัยทาน ” ทั้งนั้นมีได้ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ
โดย admin | พ.ย. 13, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความน่าสนใจ, สมาธิ
อภิญญา ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนาสมาธิ หรือ วิปัสนากรรมฐาน ด้วยความปฏิบัติดีและปฏิบัติชอบ หรือที่เราเรียกว่าพระอริยะ (อริยสงฆ์) หรือที่แปลว่าผู้ประเสริฐ เมื่อปฏิบัติสมาธิและภาวนาด้วยถึงจิตอันสงบสู่อัปปนาสมาธิ และเข้าสู่ ฌาน จะเกิดความรู้สู่จิตอันพิเศษ
สมาธิคืออะไร มีวิธีนั่งสมาธิอย่างไร
ฌาน 4 คืออะไร
อภิญญา คืออะไร (หมายถึง)
อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน
อภิญญา หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากความสามารถพิเศษทางจิต กล่าวคือจิตสามารถรับรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้าต่างๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัย ประสาทสัมผัสใด ๆ เช่น สามารถเห็นเหตุการณ์ที่อยู่ในสถานที่ที่ห่างไกลได้ หรือ เห็นเหตุการณ์ในอนาคต เป็นต้น( https://e-port.mbu.ac.th/file/profiles31/2761_1626920898.pdf)
อภิญญามีอะไรบ้าง
- อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
- ทิพพโสต มีหูทิพย์
- เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
- ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
- ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
- อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป
เครดิต
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2
อภิญญา เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้างจากการปฏิบัติสมาธิภาวนา
เมื่อนั่งสมาธิตามลำดับหลังจากที่ได้ฝึกปฏิบัติจนแน่ว และมาตามลำดับตั้งแต่
- ขณิกสมาธิ การนั่งสมาธิที่เริ่มต้น จิตเริ่มเป็นสมาธิ แต่ก็ตั้งได้เดี๋ยวเดียวก็ จะนึึกถึงอย่างอื่น ๆ แต่ก็จะกลับมารู้สึกตัวได้ง่าย ลักษณะจิตเหมือน เด็กที่กำลังตั้งไข่
- อุปปจารสมาธิ มีอารมณ์กับความแน่วแน่มาขึ้น เริ่มเฉียด ๆ ฌาน เปรียบเหมือน เด็กนั้นเริ่มเดินได้คล่องแคล่ว หลังจากที่พ้นจากวัยตั้งไข่ แต่ยังวิ่งไม่คล่อง
- อัปปณาสมาธิ มีอารมณ์ที่ลงร่วมเพ่งในความสงบเป็นที่ตั้งและเกิด ฌาน
หลังจากได้หรือปฏิบัติจนถึง อัปปณาสมาธิ ก็จะทำให้จิตมีความสงบเป็นอารมณ์นิ่ง ที่เรียกว่า เข้าสู่ ฌาน 4 และ ฌาน 8 (รูปฌาน4 อรูปฌาน4)
ฌาณ 4 มีดังนี้
1) ฌาน 1 ปฐมฌาน (วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยใช้คำภาวนาและพิจารณาในขันธ์ 5 หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตทรงตัว
2) ฌาน 2 ทุติยฌาน (ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยคำภาวนาจะหายหรือหยุดไปเอง ไม่มีวิตกวิจาร แต่จะมีจิตใจชุ่มชื่น ลมหายใจเบาสบาย มีแต่ปีติ และเอกัคตารมณ์ คือ มีอารมณ์เป็นหนึ่งและทรงตัวมากขึ้น
3) ฌาน 3 ตติยฌาน (สุข เอกัคคตา) ลมหายใจจะเบามากและความอิ่มเอิบหายไป เหลือแต่ความสุขเยือกเย็น โดยจิตทรงตัวมาก อารมณ์ไม่เคลื่อนไหว ได้ยินเสียงภายนอกเบาลง และการทรงตัวแน่นสนิท
4) ฌาน 4 จตุตถฌาน (อุเบกขา เอกัคคตา) คือการตัดสุขได้ ไม่รับการสัมผัสทางจิตใจไม่มีความรู้สึก ทั้งจากเสียง ลม ยุ่งกัด เหลือแต่เอกัคตาพร้อมด้วยอุเบกขา ซึ่งฌานขั้นนี้เป็นอาการทางจิตที่ทรงตัวสมาธิดี มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความสว่างไสวในจิต หากสามารถฝึกให้จิตทรงตัวอยู่ตลอดเวลา ก็จะนำไปสู่การเกิด “ทิพจักขุญาณ” ตามมาได้โดยง่าย
เครดิต https://www.moe.go.th/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99-4/
โดย admin | พ.ย. 3, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, สมาธิ, หลักธรรมที่สำคัญ
เมื่อจิตเพ่งสมาธิ จนสงบสู่ ในอัปปณาสมาธิแล้ว จะมีความสงบตามลำดับ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติสมาธิ จะเริ่มเห็นตามลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติ ของ ฌาน 4 ซึ่งจัดได้อยู่ในรูปฌาน ซึ่งบางครั้งหลายท่านได้อ่านมาก็จะมี ฌาน 8 ด้วย ซึ่งเป็นการแบ่งของฌาน
ฌาน คืออะไร คลิกอ่าน
ฌาณ คืออะไร
ลักษณะภาวะของจิต ที่สงบจากการปฏิบัติสมาธิ ภาวนา เพ่งจิตสมาธิจนเป็น อัปปณาสมาธิ
อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป
อัปปะนาสมาธิของปฐมฌาน เปรียบดังเด็กที่วิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว
เมื่อนั่งสมาธิตามลำดับหลังจากที่ได้ฝึกปฏิบัติจนแน่ว และมาตามลำดับตั้งแต่
- ขณิกสมาธิ การนั่งสมาธิที่เริ่มต้น จิตเริ่มเป็นสมาธิ แต่ก็ตั้งได้เดี๋ยวเดียวก็ จะนึึกถึงอย่างอื่น ๆ แต่ก็จะกลับมารู้สึกตัวได้ง่าย ลักษณะจิตเหมือน เด็กที่กำลังตั้งไข่
- อุปปจารสมาธิ มีอารมณ์กับความแน่วแน่มาขึ้น เริ่มเฉียด ๆ ฌาน เปรียบเหมือน เด็กนั้นเริ่มเดินได้คล่องแคล่ว หลังจากที่พ้นจากวัยตั้งไข่ แต่ยังวิ่งไม่คล่อง
- อัปปณาสมาธิ มีอารมณ์ที่ลงร่วมเพ่งในความสงบเป็นที่ตั้งและเกิด ฌาน
หลังจากได้หรือปฏิบัติจนถึง อัปปณาสมาธิ ก็จะทำให้จิตมีความสงบเป็นอารมณ์นิ่ง ที่เรียกว่า เข้าสู่ ฌาน ซึ่งมีดังต่อไปนี้
ฌาณ 4 คืออะไร
1) ฌาน 1 ปฐมฌาน (วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยใช้คำภาวนาและพิจารณาในขันธ์ 5 หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตทรงตัว
2) ฌาน 2 ทุติยฌาน (ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยคำภาวนาจะหายหรือหยุดไปเอง ไม่มีวิตกวิจาร แต่จะมีจิตใจชุ่มชื่น ลมหายใจเบาสบาย มีแต่ปีติ และเอกัคตารมณ์ คือ มีอารมณ์เป็นหนึ่งและทรงตัวมากขึ้น
3) ฌาน 3 ตติยฌาน (สุข เอกัคคตา) ลมหายใจจะเบามากและความอิ่มเอิบหายไป เหลือแต่ความสุขเยือกเย็น โดยจิตทรงตัวมาก อารมณ์ไม่เคลื่อนไหว ได้ยินเสียงภายนอกเบาลง และการทรงตัวแน่นสนิท
4) ฌาน 4 จตุตถฌาน (อุเบกขา เอกัคคตา) คือการตัดสุขได้ ไม่รับการสัมผัสทางจิตใจไม่มีความรู้สึก ทั้งจากเสียง ลม ยุ่งกัด เหลือแต่เอกัคตาพร้อมด้วยอุเบกขา ซึ่งฌานขั้นนี้เป็นอาการทางจิตที่ทรงตัวสมาธิดี มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความสว่างไสวในจิต หากสามารถฝึกให้จิตทรงตัวอยู่ตลอดเวลา ก็จะนำไปสู่การเกิด “ทิพจักขุญาณ” ตามมาได้โดยง่าย
เครดิต https://www.moe.go.th/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99-4/
การแบ่งประเภทของฌาน
เมื่อเราศึกษาตามตำราจะพบกับคำว่า ฌาน 8 บ้าง หรือ ฌาน 4 บ้าง อาจจะทำให้กังวลและสับสน(จากตัวนิวรณ์ได้ คือ ความสงสัย)
ประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
- ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
- ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
- ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
- จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
อรูปฌาน ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
- อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาสไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
- วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
- อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
- เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99
โดย admin | ต.ค. 31, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, หลักธรรมที่สำคัญ
ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีจิตพื้นฐานจากกิเลส และ กรรมมาเป็นของดั้งเดิม โลกธรรม 8 เป็นอีกหนึ่งหลักธรรมที่อธิบายให้รู้ถึงความเป็นธรรมดาของโลกกับมนุษย์ที่มีนิสัยติดตัวมา เมื่อเรารับรู้แล้ว ก็ทำความเข้าใจเพื่อให้ปล่อยวางและปล่อยให้มันเป็นไป จะได้จากโลกนี้ไปโดยไม่ต้องติดค้างหรือเข้าไปยึดให้จิตทุกข์
โลกธรรม 8 คืออะไร
โลกธรรมทั้ง8นั้น หมายถึง ธรรมดาของโลก เรื่องของ ธรรมชาติของโลกที่ครอบงำสัตว์โลก และต้องเป็นไปตามนี้ โดยมี 8 ประการอันประกอบด้วย
โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ พอใจของมนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา
- ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้มาซึ่งทรัพย์
- ยศ หมายความว่า ได้รับฐานันดรสูงขึ้น ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
- สรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกย่อง เป็นที่น่าพอใจ
- สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ความเบิกบาน บันเทิงใจเริงใจ
โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา
- เสื่อมลาภ หมายความว่า เสียลาภไป ไม่อาจดำรงอยู่ได้
- เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดอำนาจความเป็นใหญ่
- นินทาว่าร้าย หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกติฉินนินทา หรือถูกกล่าวร้ายให้เสียหาย
- ทุกข์ คือ ได้รับความทุกขเวทนา ทรมานกาย ทรมานใจ
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
คลิกอ่าน ธรรมะ ดีๆ จาก ท่านเจ้าคุณนร เรื่อง โลกธรรมทั้ง 8
“…คนเราเมื่อมีลาภ ก็เสื่อมลาภ
เมื่อมียศ ก็มีเสื่อมยศ
เมื่อมีสรรเสริญ ก็มีนินทา
เป็นของคู่กันมาเช่นนี้
จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์
ถึงจะดีแสนดี … มันก็ติ
ถึงจะชั่วแสนชั่ว… มันก็ชม
นับประสาอะไร
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศยิ่งกว่ามนุษย์ เทวดา
ยังมีมารผจญ ยังมีคนนินทาติเตียน
ปุถุชนอย่างเราจะรอดพ้นจากโลกะธรรม
ดังกล่าวแล้วไม่ได้
ต้องคิดเสียว่า
เขาจะติ .. ก็ช่าง
เขาจะชม..ก็ช่าง
เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ
ก่อนที่เราจะทำอะไร
เราคิดแล้วว่าไม่เดือดร้อนแก่ตัวเรา
และคนอื่น .. เราจึงทำ
เขาจะนินทา.. ว่าร้าย อย่างไร ก็ช่างเขา
บุญเราทำ กรรมเราไม่สร้าง
พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ
ใยจะต้องไปกังวล กลัวใครจะติเตียนทำไม
ม่เห็นมีประโยชน์
เปลืองความคิดเปล่า ๆ..”
(ธรรมะท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต)
วัดเทพศิรินทราวาส กทม.
โดย admin | ต.ค. 29, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ
ทุกข์ จากการที่มีใน ขันธ์ 5 เป็นหนึ่งในอริยสัจสี่ที่ทำให้เกิดความเข้าใจในสัจธรรม เพราะทุกข์เหล่านั้นไม่ได้ไปไหน มันอยู่ในตัวเราซึ่งตัวเรา ซึ่งตัวเราที่ประกอบเป็นคนนั้น นับได้ว่ามาจากการมี กองขันธ์นี้แหละที่ทำจิตนั้นเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมาไม่รู้จักจบจักสิ้น เกิดเป็นวัฏสงสารไม่มีที่สิ้นสุด การที่เราเข้าใจในอริยสัจ 4 แล้ว การดับทุกข์ทั้งหลายก็จะนำไปสู่การถอนออกจาก กองขันธ์นี้ ซึ่งหลายท่านอาจจะทรายความหมาย แต่อาจยังไม่เข้าใจว่ากองทุกข์นี้คืออะไร และ มีการแบ่งกองทุกข์นี้ออกมาอย่างไรบ้าง
อ่านเพิ่มเติมบทความสาระหน้ารู้ อริยสัจ 4 คืออะไร
ขันธ์ 5 คืออะไร และ มีอะไรบ้าง
ขันธ์ แปลว่า ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด ในทางพุทธศาสนาหมายถึงส่วนหนึ่งๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ได้แก่
- รูป เป็นสภาพไม่รู้ มีทั้งหมด 28 รูป แบ่งเป็น อุปาทยรูป 24 รูป และมหาภูตรูป 4 รูป
- เวทนา เป็นความรู้สึก มีทั้งหมด 5 เวทนา คือ สุขกาย สุขใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ อุเบกขาทางใจ
- สัญญา เป็นความจำได้ ความรู้จำสิ่งที่ปรากฏได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และความรู้สึกได้ทางใจ คือ เวทนา สัญญา สังขาร
- สังขาร เป็นการปรุงแต่งจิตให้จิตมีอารมณ์และกิริยาหลากหลาย มีทั้งหมด 50 สังขาร
- วิญญาณ เป็นสภาพรับรู้ มีทั้งหมด 6 ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
ขันธ์ แบ่งออกเป็น รูป 1 นาม 4 ดังนี้
รูป 1 ได้แก่ กาย หรือ รูป
นาม 4 ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อธิบายเรื่องกองทุกทั้ง 5 ได้ดังนี้
กองที่ 1 รูปขันธ์หรือกาย
คือ รูปร่าง หรือร่างกายของเรานี้เอง ที่จับต้องได้ เป็นการรวมตัวของธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาเป็นร่างกายที่มี เส้นผม กระดูก เนื้อหนัง น้ำเหลือง เลือดเนื้อ ต่าง ๆ
กองทุกข์ที่ 2 ได้แก่ สัญญา
คือ ความจำได้ การบันทึกลงในความทรงจำต่าง ๆ ว่าสิ่งไหนคืออะไร เป็นอะไร จำได้ว่าสิ่งนี้สีอะไร เช่น เราจำหน้าคนรักของเราได้ว่าคนนี้คือใคร หน้าตารูปร่างแบบนี้ คือ จำได้ว่าคนนี้คือใคร
กองทุกข์ที่ 3 ได้แก่ เวทนา
การรับอารมณ์จากการปรุงแต่ง ว่า รู้สึกแย่ รู้สึกดี สบายใจ หรือ แม้แต่รู้สึกว่า เฉยๆ สรุปแบบเข้าใจสั้น ๆ ได้แก่ อารมณ์ต่าง ๆ ที่นำมารับรูั
กองทุกข์ที่ 4 ได้แก่ สังขาร
การปรุงแต่งต่าง ๆ และมักจะเข้าใจผิดว่า ร่างกายคือสังขาร แต่แท้จริงแล้ว สังขารเป็นการปรุงแต่ทางการรับรู้จากตัวขันธ์ เช่น เป็นผู้หญิงเราก็จะรับรู้จาก รูปว่า รูปร่างแบบนี้่คือผู้หญิง เพราะมาจากสัญญา ว่าร่างกายแบบนี้เรียกว่า ผู้หญิง ต่อมาก็ปรุงแต่งว่า หน้าตาดี หรือ ไม่ดี แล้วรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ การปรุงแต่งเหล่านี้ เราจึงเรียกว่า สังขาร
กองทุกข์กองที่ 5 ได้แก่ วิญญาณ
ตัวรับรู้ถึงความรู้สึกรับอารมณ์ ผ่านทางอายตนะภายในได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ ตัวอย่างเช่น เราเห็นผู้หญิงสวยแล้วรู้สึกว่าชอบ อธิบายได้ดังนี้คือ วิญญาณทางตา รับรูปเข้ามา ผ่านเข้ามาสัญญา ว่า รูปร่างแบบนี้ สวย แล้วเกิดความปรุงแต่งว่า ชอบ หรือสังขาร ทำให้เกิดคิดถึง อารมณ์รักใคร่ อยากได้ ทำให้เกิดเวทนา แล้วนำมาสู่ตัวรับรู้ สุดท้ายคือ จิต
ดังนั้น กองทุกข์ตัวนี้ไม่ได้อยู่ที่ใคร แต่อยู่ที่เรา ถ้าเราเข้าไปยึดมั่น หรือ อุปทาน ก็จะทำให้เกิดความทุกข์ เพราะทุกอย่างล้วนแล้วอยู่กฏภายใต้ ไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน และ ทุกขัง
ตัวอย่าง ร่างกายเราอย่างไรก็ต้องแก่ เหี่ยวย่น ต่างจากวัยเด็ก ทำให้การยึดมั่นว่า ไม่อยากแก่ กลัวไม่สวย ทั้งที่สัจธรรมที่เราหนีไม่ได้ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่ด้วยความที่มีกิเลสในการยึดมั่นในขันธ์นี้ จะทำให้พยายามหนีแต่สุดท้ายก็จะหนีไม่พ้นความจริง ว่า เราจะต้องยอมรับว่า เราจะต้องแก่และตายไปในที่สุด ทำให้การปรุงแต่งเหล่านั้นมีเพียงแค่เกิดขึ้นแล้วเราก็เฝ้าดู มัน แล้วก็ปล่อยมันไปจากจิต เพื่อให้นำความทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลก
โดย admin | ต.ค. 26, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, หลักธรรมที่สำคัญ
หลักธรรมแห่งความสำเร็จในการจะปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น คือ อิทธิบาท 4 ซึ่งสำหรับผู้ที่ปฏิบัติแล้วการทำอิทธิสี่นำมาร่วมพิจารณาในการปฏิบัติธรรม เพราะหลักธรรมนี้จัดได้ว่า เป็นหลักธรรมหนทางแห่งความสำเร็จ หรือกล่าวง่าย ๆ ว่า หลักแห่งหนทางนำประสู่ความสำเร็จ ยังมีหลักธรรมอื่นอีกที่นำมาควบคู่ในการปฏิบัติด้วย เช่น พละ5 หรือกำลังทั้ง 5
หลักธรรม พละ 5 คืออะไร (อ่านเพิ่มเติม)
สำหรับผู้ที่ปฏิบัติย่อมเกิดการท้อถอย หรือ เกิดความท้อในการปฏิบัติ เป็นเรื่องที่เกิดได้ง่าย หรือ สำหรับผู้ดำรงชีวิตประจำวันที่จะต้องทำงาน ให้ประสบความสำเร็จให้ได้ ก็สามารถนำหลักธรรมมาร่วมพิจารณาในการปฏิบัติในการทำงานและดำรงชีวิตให้ผ่านอุปสรรค
อิทธิบาท 4 คืออะไร
หมายถึงหรือ คือ หนทางสู่ความสำเร็จ บรรลุเป้าหมาย เครื่องให้ถึงไปสู่ความสำเร็จ หรือ ทางแห่งความสำเร็จ หลักธรรม หลักแห่งคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ มี 4 ประการ ดังนี้
ฉันทะ (ความพอใจ)
คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีการความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ อิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่าฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรม จิตใจให้สว่างอยู่.
วิริยะ (ความเพียร)
คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิถานะยะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป … ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้ สว่างอยู่.
จิตตะ (ความคิด)
คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า จิตของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป … ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง)
คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไป ภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉัน นั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมี ใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
การนำหลักธรรมอิทธิบาท4นี้ไปใช้อย่างไรในชีวิตประจำวัน
การนำหลักอิทธิบาทที่นำมาปรับไว้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างที่พบได้มาก คือ การดำเนินชีวิตด้วยการงานเพื่อเลี้ยงชีวิตให้ผ่านพ้นอุปสรรค
ฉ้นทะ คือความพึงพอใจในงานที่ปฏิบัติให้ลุล่วงไปด้วยดี เป็นการทำความเข้าใจในเนื้องานว่างานที่ทำนั้นจะต้องมีเป้าหมายอย่างไร
วิริยะ คือ ความไม่ท้อถอยต่อปัญหาอุปสรรคในการทำงาน
จิตตะ คือ การไม่ฟุ้งซ่าน ไม่นำจิตออกไปจากงานในขณะที่ทำอย่างตั้งใจ เช่น ขณะทำงานให้มีสมาธิจิตจดจ่อที่การกระทำ ไม่ฟุ้งซ่านใจลอยออกไป เพื่อทำงานไม่เกิดความผิดพลาด
วิมังสา คือ การหาสาเหตุของอุปสรรคนั้นของการทำงาน วางแผน เพื่อนำไปเป็นการหาหนทางและวางแผนแก้ไข อย่างเป็นระบบ
โดย admin | ต.ค. 23, 2024 | บทความน่าสนใจ
ผ้าไตร สีราชนิยม หรือ ผ้าไตรสีพระราชทาน เป็นสีที่มีความเป็นกลางเพราะสามารถนำไปใช้ได้กับพระสงฆ์ที่สังกัดในนิกายธรรมยุตและ มหานิกาย ดังนั้นการเลือกสีผ้าไตรจีงสำคัญ เพราะเมื่อผู้ที่ต้องการนำผ้าไตรจีวรไปถวายเพื่อทำบุญนั้น จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าพระสงฆ์นั้นท่านสังกัดนิกายอะไร จะได้จัดซื้อได้ตรงกับความต้องการ และสีได้อย่างถูกต้อง สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปทำบุญถวายพระและอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ หรือ แก้กรรมตามความเชื่อ
ผ้าไตร สีราชนิยม มีลักษณะอย่างไร
ในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย นุ่งห่มจีวรสีต่างกัน มีหลักๆ คือ
ผ้าไตรจีวร ในปัจจุบันมีหลายสีด้วยกัน แต่ละวัดก็ใช้สีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละวัด ปัจจุบันสีที่นิยม และพบได้มาก ประกอบก้วย 6 สี ได้แก่
- สีทอง หรือ สีเหลือส้ม ปัจจุบันเป็นสีเนื้อผ้าที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ตามวัดต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
- สีพระราชทาน หรือ สีพระราชนิยม ส่วนมากเป็นสีที่พบมากและส่วนมากพระจะนิยมครองผ้าสีนี้ในงานพิธีต่างๆ
- สีแก่นบวช เป็นสีที่พบมากเช่นเดียวกันในหมุ๋ซํโ)ษ?ฒ๊๕ซษฒฌ๕ณ๋.๕ณํโ
- สีแก่นขนุน เป็นสีที่พบในวัดสำคัญๆ เช่น วัดบวร วัดสังฆทาน วัดหนองป่าพง และสายวัดป่า เป็นต้น
- สีกรัก หรือสีอันโกโซน/สีน้ำหมาก ซึ่งพบเห็นได้ตามวัดป่า พระที่ครองสีนี้ เช่น ฟลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร เจ้าอาวาสวัดศรีนวลธรรมวิมล เป็นต้น
- สีกวักพิเศษ หรือสีครูบา เป็นสีที่สามารถพบเห็นได้น้อย และใชช้กันแฉพาะบางวัดเท่านั้น โดยส่วนมากแล้ว
เครดิตเพจ https://dharayath.com/