ฌาณ คืออะไร และ ฌาณสมาบัติ(สมาบัติ เป็นภาวะสงบประณีต)นั้นคืออะไร สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนานั้น จะได้ยินคำนี้บ่อยและเร่ิมสงสัยว่าแท้จริงนั้นคืออะไร และ แตกต่างจาก คำว่า ญาณ อย่างไร ผู้ภาวนาที่ปฏิบัติใหม่ ๆ มักจะเกิดความสับสนสองคำนี้บ่อยมา และอาการที่เกิดขึ้นกับจิตนั้น ก็จะทำให้เกิดความสงสัยค้นหาคำตอบจาก ครูอาจารย์  เพื่อให้คลายข้อสงสัยเหล่านั้น แต่ความสงสัยนี้ก็เป็นอันตราย เพราะมาจากหนึ่งใน นิวรณ์ 5 คือ ความสงสัย การที่เราปฏิบัติแล้วควบคู่กับความสงสัยแล้วจะทำให้ติดอยู่ตรงนั้น วนกับไปกับมา จึงต้องหาทางแก้ไข โดยการ ปล่อย นั้นคือ ให้รู้ว่า เราเกิดความสงสัย เกิดขึ้นมาอย่างไร แล้วหายสงสัยอย่างไร หายไปตอนไหน  นั่นแหละเมื่อเราเพิ่งจิตจนนิ่งสงบและเพียงแค่ดูอาการเหล่านั้นแล้วปล่อยไป เท่านั้น เราก็จะพบว่า ไม่มีความสงสัย พบแต่ “สิ่งที่ถูกรู้ และมีผู้รู้(จิต)อยู่ต่างหาก”

ญาณ คืออะไร   คลิกอ่านความรู้นี้เพิ่มเติม

ญาณ คืออะไร อำนาจแห่งผลจากการทำสมาธิและวิปัสนา
  • Facebook
  • Twitter
  • Google+
  • Pinterest
  • Gmail
  • Blogger

ฌาณ คืออะไร

ลักษณะภาวะของจิต ที่สงบจากการปฏิบัติสมาธิ ภาวนา เพ่งจิตสมาธิจนเป็น อัปปณาสมาธิ

อัปปนาสมาธิ คือ คลิกอ่านเพิ่มเติม

อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

 

ฌาณ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 

แต่โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

ประเภทที่ 1  รูปฌาณ

ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

ประเภทที่ 2 อรูปฌาน

ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาสไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)

เครดิตจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99

ฌาณสมาบัติ คืออะไร

แท้จริงแล้วจะกล่าวได้ว่า  ฌานกับสมาบัติ คือสิ่งเดียวกัน

คำว่า ฌาน คือ จิตหรือเรานั่งปฏิบัติสมาธิภาวนา  การเพ่ง คือเพ่งรูปนาม ที่เราทั้งหลายปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ เราเพ่งรูปนาม ขันธ์ห้า คืออาการพองอาการยุบเป็นต้น การเพ่งอย่างนี้เรียกว่า ฌาน

คำว่า สมาบัติ แปลว่า สมบัติของผู้ได้ฌาน ซึ่งหมายถึง ท่านผู้ได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน การได้ฌานอย่างนี้เขาเรียกว่า สมาบัติ คือสมบัติของผู้ได้ฌาน

ฌาณสมาบัติมี ๒ ประเภท คือ

๑. กุศลฌานสมาบัติ เป็นการเข้าฌานของปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ผู้ได้ฌาน

๒. กิริยาสมาบัติ เป็นการเข้าฌานของ พระอรหันต์ผู้ได้ฌาน

ฌานสมาบัติยังแยกอีกเป็น ๒ ประเภทตามขั้น คือ รูปฌานสมาบัติ ๔ และอรูปฌานสมาบัติ ๔ เรียกว่า สมาบัติ ๘

เครดิต

logo dhamma
  • Facebook
  • Twitter
  • Google+
  • Pinterest
  • Gmail
  • Blogger

สรุปเรื่องฌานได้ดังนี้ 

ฌาณ เป็นการเข้าถึงความสงบจากการปฏิบัติสมาธิ จากตั้งแต่ สมาธิขั้นต้น ได้แก่ ขณิกสมาธิ จนไปถึง อัปปมาสมาธิ  ซึ่งการเข้าสู่ความสงบที่เกิดจากการเพิ่งจิตนี้ เรียกว่า ฌาณ  ซึ่งสมบัติจากได้ปฏิบัตินี้ จะเรียกว่า ฌาณสมาบัติ  แต่ถ้าผลที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนา จะเรียกว่า ญาณ

 

Pin It on Pinterest

Share This

Share This

Share this post with your friends!