โดย admin | ต.ค. 4, 2023
ขอเชิญร่วมทำบุญ
งานกฐินสามัคคีวัดป่านาคำน้อย
ในวันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566
・เย็น วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566
ตั้งกองกฐิน และร่วมทำวัตร เจริญพระพุทธมนต์
・เช้า วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566
ร่วมตักบาตรพระสงฆ์ และ ทอดกฐินสามัคคี
ติดต่อจองโรงทาน : 086-224-3444 และ 083-994-6616
ร่วมทำบุญผ่านทาง
ธ.ไทยพาณิชย์
ชื่อบัญชี วัดนาคำน้อย เพื่องานกฐินประจำปี
เลขบัญชี 433-0-43447-8
ข้อมูลเพิ่มเติมแอดไลน์ออฟิเชียลของทางวัด
https://lin.ee/UxA2Vev
(ที่มาจากเพจ https://www.facebook.com/LuangpoInthawaiSantussako)
คำเทศนาสำคัญ เกี่ยวกับ กฐิน โดยหลวงพ่ออินทร์ถวาย
ปีหนึ่งก็มีเพียงครั้งเดียวเรื่องการทอดกฐิน ความเป็นมาของกฐิน พระพุทธเจ้าทรงปรารภพระสงฆ์ที่จำพรรษาเดินทางไกลมากราบพระพุทธเจ้ามาไม่ทัน เลยจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต ห่างจากวัดป่าเชตวันมหาวิหารพอสมควร
ทีนี้เมื่อจำพรรษาแล้ว ในพรรษานั้นก็คิดถึงพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา อยากจะถามธรรมะที่ได้ปฏิบัติมาถึงความข้องใจในการปฏิบัติ อยากจะกราบทูลถามปัญหากับพระพุทธเจ้า แต่พอมาถึงจุดนั้นก็เป็นเวลาเข้าพรรษาเสียก่อน คือพระพุทธเจ้าท่านให้เข้าพรรษาเดือนแปดเพ็ญ แล้วก็ออกพรรษาเดือนสิบเอ็ดเพ็ญ ถ้าหากว่ามีความจำเป็นจริง ๆ ก็ให้เข้าได้เดือนสิบเพ็ญ ไปออกเดือนสิบสองเพ็ญ แปลว่าพรรษาหลัง แต่นอกนั้นถ้าหากใครไม่เข้าพรรษา พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติวินัยว่าปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุที่ไม่เข้าพรรษา ผิดศีลไปข้อหนึ่ง เพราะฉะนั้น พระสงฆ์เหล่านั้นมาถึง เลยอยู่จำพรรษา เมื่อออกพรรษาแล้วฟ้าฝนยังไม่หายดี ก็เดินทางมากราบพระพุทธเจ้า เดินผ่านท้องไร่ท้องนาทุรกันดาร น้ำยังไม่หายขาด ทำให้จีวรของพระเหล่านั้นแปดเปื้อนไปหมด
พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติวินัยขึ้นมา ท่านปรารภว่า พระเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องเอาผ้ามาทั้งสามผืนไตรจีวร เพียงแค่สบงกับผ้าจีวรก็พอ สังฆาฏิจะเก็บเอาไว้ก็ได้ ลักษณะอย่างนั้น ก็เลยทรงบัญญัติวินัยเกี่ยวกับกฐินขึ้นมา บัญญัติอานิสงส์กฐิน ถ้าจะว่าไปแล้วก็เกี่ยวกับพระโดยเฉพาะ
อานิสงส์ก็คือเป็นการยกเว้นบางสิ่งบางอย่างให้แก่พระ เรียกว่าอานิสงส์กฐิน ไม่เหมือนพวกเราทำบุญทำทาน พวกเรารักษาศีลภาวนา อันนั้นแปลว่าอานิสงส์การทำบุญทำทานนั้น เป็นอานิสงส์ของจิตใจ อันนี้เป็นอานิสงส์ด้านวินัย ที่เป็นการยกเว้นบางสิ่งบางอย่างให้แก่พระสงฆ์เท่านั้นเอง อันนี้เป็นเรื่องเฉพาะของพระสงฆ์
ส่วนอานิสงส์ในการทำบุญทำทานของพวกเราก็คือ การถวายผ้ากฐินถวายแด่พระสงฆ์ให้ใช้ องค์ไหนผ้าจีวรสบงชำรุดทรุดโทรม ถวายผ้าให้พระสงฆ์ได้เย็บได้ตัดได้ใช้ อันนี้ก็คือผ้ากฐิน มีกำหนดเพียงเดือนเดียวตั้งแต่วันออกพรรษาเดือนสิบเอ็ดเพ็ญไปจนถึงเดือนสิบสองเพ็ญ แปลว่าหมดเขตกฐินเพียงแค่นั้น
หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
พระธรรมเทศนา “อานิสงส์ลำดับขั้น ทาน ศีล ภาวนา”
แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๖
โดย admin | เม.ย. 8, 2023
ขอเชิญศิษยานุศิษย์และผู้มีจิตเคารพศรัทธา
ร่วมถวายมุทิตาสักการะ ๗๘ ปี
หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ เมษยน ๒๕๖๖
– วันพุธที่ ๒๖ เม.ย. ๖๖
๑๙.๐๐ น. ทำวัตรเย็น ฟังพระธรรมเทศนา เจริญพุทธมนต์
– วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ เม.ย. ๖๖
๐๗.๓๐ น. พระสงฆ์ออกรับบิณฑบาต ถวายภัตตาหาร
ณ วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี
ท่านใดที่ไม่สามารถมาร่วมงานได้
แต่มีความประสงค์จะร่วมทำบุญ
สามารถร่วมทำบุญได้ที่
– ธ.ไทยพาณิชย์
ชื่อบัญชี วัดนาคำน้อย
เลขบัญชี 403-3-40664-3
– ธ.กรุงเทพ
ชื่อบัญชี วัดนาคำน้อย
เลขบัญชี 768-7-77754-5
จองโรงทาน
คุณสงัด : 086-224-3444
คุณนัท : 083-994-6616
ไลน์แอดออฟิเชียลวัดป่านาคำน้อย
https://lin.ee/UxA2Vev
โดย admin | เม.ย. 8, 2023 | ข่าวสาร, ข่าวหลวงพ่อ, หลวงพ่ออินทร์ถวาย
ขอเชิญศิษยานุศิษย์และผู้มีจิตเคารพศรัทธา
ร่วมถวายมุทิตาสักการะ ๗๘ ปี
หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ เมษยน ๒๕๖๖
– วันพุธที่ ๒๖ เม.ย. ๖๖
๑๙.๐๐ น. ทำวัตรเย็น ฟังพระธรรมเทศนา เจริญพุทธมนต์
– วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ เม.ย. ๖๖
๐๗.๓๐ น. พระสงฆ์ออกรับบิณฑบาต ถวายภัตตาหาร
ณ วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี
ท่านใดที่ไม่สามารถมาร่วมงานได้
แต่มีความประสงค์จะร่วมทำบุญ
สามารถร่วมทำบุญได้ที่
– ธ.ไทยพาณิชย์
ชื่อบัญชี วัดนาคำน้อย
เลขบัญชี 403-3-40664-3
– ธ.กรุงเทพ
ชื่อบัญชี วัดนาคำน้อย
เลขบัญชี 768-7-77754-5
จองโรงทาน
คุณสงัด : 086-224-3444
คุณนัท : 083-994-6616
ไลน์แอดออฟิเชียลวัดป่านาคำน้อย
https://lin.ee/UxA2Vev
โดย admin | ม.ค. 22, 2023 | ข่าวหลวงพ่อ, หลวงพ่ออินทร์ถวาย
ศาสนกิจ
หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย จังหวัดอุดรราชธานี
ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๗ มกราคม ๒๕๖๖
ติดตามได้ทุกสัปดาห์นะครับ ผมจะลงอัพเดทให้ทุกสุปดาห์ครับ
อีกหนึ่ง พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่ผมเคารพนับถือครับ
https://www.facebook.com/LuangpoInthawaiSantussako/
โดย admin | ต.ค. 12, 2022 | ข่าวสาร, บทความธรรมมะ
ผ้าป่า ผ้ากฐิน
ปีหนึ่งในวัดแต่ละวัดก็มีผ้าป่ามีกฐิน กฐินสมัยก่อน สมัยครั้งพุทธกาล สมัยครั้งพระพุทธเจ้าท่านเน้นหนักเรื่องผ้า ผ้ากฐิน ผ้านั้นใหญ่ขนาดไหน คือผ้าทำเป็นผ้าสบง ทำเป็นผ้านุ่ง คือผ้าสบง หรือผ้าจีวร หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง
สบงนั้นใหญ่ขนาดไหน สบงผืนเล็กที่สุด คือผ้านุ่งนี่ใช้ทุกวันก็ใช้ประมาณ ๕ เมตรนะถ้าองค์ใหญ่ แต่ถ้าองค์สูงละก็รู้สึกว่าจะหวุดหวิดไปนะ ถ้าได้ ๖ เมตรจะพอดีสำหรับพระองค์ใหญ่ สำหรับพระฝรั่งหรือสำหรับพระองค์รูปร่างใหญ่ สำหรับผ้าสบงใช้ ๖ เมตร
แต่ผ้าจีวร คือผ้าห่ม อย่างหลวงพ่อกำลังห่มผ้าจีวรอยู่นี้ ถ้าหากว่าเป็นพระธรรมดาก็ประมาณ ๙ เมตรครึ่งหรือ ๑๐ เมตร ถ้า ๑๐ เมตรนี้พอดี ตัดสบายๆ แต่ถ้าหากเป็นพระองค์ใหญ่ก็ประมาณ ๑๑ เมตร ถ้า ๑๑ เมตรนี้พอดี ถ้าใหญ่จริงๆ ก็เกือบ ๑๒ เมตร ต่อ ๑ องค์
ถ้าหากว่าเป็นผ้าสังฆาฏิเป็นผ้า ๒ ชั้น คือผ้าห่มหนาว เหมือนกับผ้าจีวรแต่ทำให้เป็น ๒ ชั้น ใช้ผ้าประมาณสัก ๑๙ – ๒๐ เมตร ประมาณนี้พอดีสำหรับผ้าผืนหนึ่งนี้ตัดสบายๆ สำหรับพระผู้เล็ก ผู้น้อย พระน้อยตัวเตี้ยก็ต่ำลงมา พระใหญ่นี่รุ่นใหญ่ ๒๐ เมตร
นี้ก็คือผ้ากฐินสมัยครั้งพุทธกาลหรือในครั้งนี้ก็เหมือนกัน โดยมากจะเป็นผ้าขาวหรือเป็นผ้าสีก็ได้แต่ยังไม่ได้ตัดนะ ยังไม่ได้ตัดเป็นไตร เอามาแล้วก็เอามาตัดทีหลัง พอตัดแล้วก็มาเย็บในวันนั้น ย้อมในวันนั้น แล้วก็กรานกฐินในวันนั้น คือ ให้เสร็จในวันเดียว อันนี้ก็คือผ้ากฐิน
งานกฐินของหลวงพ่อถ้าจะว่าใหญ่มันก็ใหญ่ ถ้าจะว่าเล็กมันก็เล็ก เพราะเหตุไรจึงเป็นอย่างนั้นเพราะว่าหลวงพ่อก็ไม่ได้มีใบฎีกงฎีกาเชิญอะไร เพียงแต่ประกาศบอกกล่าวเล่าสิบกัน ศรัทธาญาติโยมผู้ที่อยากจะมาร่วมทำบุญกับกฐินของหลวงพ่อปีหนึ่งก็มีครั้งเดียวเท่านั้นละ ผู้ใดอยากจะมาก็มา หลวงพ่อก็ประกาศอย่างนั้นทุกปี แต่ทุกปีที่ผ่านมา ถ้าจะว่าไปแล้วก็มืดฟ้ามัวดินเหมือนกัน คนที่มาในงานนะ มากพอสมควร หลวงพ่อก็ว่ามาก หลวงพ่ออาจจะไปยังไม่เคยเห็นวัดอื่น แต่วัดหลวงตาเปรียบเทียบกันไม่ได้ วัดหลวงตาก็ต้องมากอยู่แล้ว
ทีนี้การที่คนมามากนี้เราจะรับมือยังไง อันนี้ละเป็นเรื่องใหญ่สำหรับวัด จุดประสงค์คือเล็ก แต่การต้อนรับคนมันเป็นเรื่องใหญ่ ผู้มาเกี่ยวข้องจะเลี้ยงยังไง กลางค่ำ กลางคืนมีไฟไหม มีห้องน้ำไหม มีน้ำ มีไฟไหม มีอาหารการบริโภคไหม หลับนอนยังไง ที่พักพาอาศัยทำยังไง นี้ละเป็นเรื่องใหญ่ทีนี้ คือเรื่องต้อนรับขับสู้นี้เป็นเรื่องใหญ่ การเตรียมพร้อมของงานก็ต้องประสานกันหลายหมู่หลายคณะ หลายพรรคหลายพวก ทั้งพี่น้องประชาชนญาติโยมด้วย ทั้งฝ่ายพระด้วย ทั้งผู้อยู่ใกล้ด้วยอยู่ไกลด้วย
อย่างโรงทานนี้ เราก็ต้องได้จดๆ เอาไว้เหมือนกัน เอ้า เลี้ยงแขก เลี้ยงคน เลี้ยงพี่ เลี้ยงน้อง เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานที่มาร่วมงาน ก็คือการทำบุญร่วมกันเลี้ยงอาหารการบริโภค มาทำบุญกับวัดวาศาสนาอย่าให้อด อย่าให้อยาก ให้มีอยู่ มีกิน อันนี้ก็คือเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกๆคนนะ ไม่ว่าระดับไหน การเป็นอยู่มันต้องช่วยๆกันนะ ให้ดูแลกัน พร้อมเพรียงสามัคคีกัน ผู้น้อย ผู้ใหญ่ ผู้เป็นพ่อเป็นแม่ เป็นครูบาอาจารย์ เป็นลูกศิษย์ลูกหา เป็นลูกเป็นเต้า ผู้ที่มาเกี่ยวข้องก็ต้องช่วยๆดูแลกันทุกระดับ
หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
จากพระธรรมเทศนา “ความเป็นมาผ้ากฐิน”
แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๔
ที่มาจาก