ญาณ คืออะไร อำนาจแห่งผลจากการทำสมาธิและวิปัสนา
ญาณ คืออะไร ซึ่งความหยั่งรู้นั้นสำหรับ ผู้ที่ฝึกภาวนาและสมาธิ จะเป็นที่กล่าวถึงสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะความรู้ของผู้ที่ฝึกภาวนา จะเร่ิมมีความสนใจในความหมาย เพราะอยากรู้ว่า ในสิ่งที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัตินั้น คืออะไร และ ลักษณะของญาณ นั้นเป็น อย่างไร ทำให้เกิดความสงสัยในคำนี้อีกทั้งยังมีคำว่า ฌาน อีกคำถ้าอ่านผิวเผินสำหรับผู้ที่ศึกษาใหม่ ๆ มักจะแยกไม่ออก เพราะเขียนคล้าย ๆกัน
ญาณ และ ฌาน นั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่ คำตอบคือ แตกต่าง
ฌาน คือ การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก หรือ เข้าใจง่าย ๆ คือ การที่เพ่งจิตจนนิ่งในสมาธิ
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93
แต่ ญาณ เป็นตัวความหยั่งรู้ที่ปฏิบัติจากภาวนา
เพราะฉะนั้น จึงทำให้ต้องเข้าใจถึงความแตกต่าง เพราะอาจจะสับสน แต่สำหรับผู้ปฏิบัติไปถึงความเข้าใจ นั้นก็จะไม่กกังวลในความหมายหรือคำไหนกก็ตาม เพราะ จิต นั้นเป็นตัวรู้ว่า คืออะไร แตกต่างกกันอย่างไร เพียงแค่หาคำมาใส่ ให้เราได้เรียนรู้ ว่า ญาณ หรือ ฌาณ
ญาณ คืออะไร
แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง
ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง
ดังนั้น ทำความเข้าใจ ง่าย ๆ ญาณ นั้นคือ ความรู้ที่เกิดจากกการภาวนา (ในกรณีที่เราอธิบายเบื้องต้น เพราะ ความรู้ที่แท้จริง หรือ วิชชา นั้น จะเป็นความหยั่งรู้ที่ทำให้เห็นธรรมะ ดังนั้น บางท่านอาจจะตีความผิดไป เพราะอาจถูกกิเลสพาหลงผิดว่า ตัวเองนั้นได้ ญาณหยั่งรู้ ดังนั้นต้องระวังให้ดีในการปฏิบัติ)
เพราะ การที่เราอาจจะได้ญาณที่เป็นอวิชชานั้น ทำให้หลงผิดมามากมายหลายท่าน แล้วนำไปอวดกัน ไม่ได้เป็นการนำไปสู่ทางออกจากทุกข์ ติดอยู่ในฤิทธิเดชก็มี หลงอยู่ในความรู้นั้น จนเข้าใจว่าบรรลุ
ผลแห่งการปฏิบัตินั้นทำให้เกิด ญาณ 3 ได้แก่ วิชชา 3
1.บุพเพนิวาสานุสสติญาณ
กล่าวเข้าใจง่าย ๆ คือ การระลึกชาติได้ สามารถระลึกถึง อดีตชาติได้
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้างยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
(พระไตรปิฎก ไทย เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๕-๖)
2.จุตูปปาตญาณ
ในข้อนี้จะกล่าวให้เข้าใจถึงการเปรียบเหมือนมี ตาทิพย์ ที่เห็นเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ภัยพิบัติ เหตุการณ์ล่วงหน้าที่จะเกิด การเกิดดับของสัตว์โลก ที่เป็นไปตามกรรม
ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ บ้าง
3.อาสวักขยญาณ
ความรู้ในการกำจัดอาสวะให้สิ้นไป เห็นว่าจิตหลุดพ้นจากวัฏสงสาร เห็นการดำเนินของ ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ทางดับทุกข์ ปฏิบัติแห่งการดับทุกข์ อยู่เพื่อเสร็จสิ้นกิจทางขันธ์ และไม่มีหน้าที่อะไรที่จะต้องนำมาเกิดบนโลกนี้อีก
ดังนั้น สรุปได้ดังนี้ ความหยั่งรู้ที่เกิดความรู้เห็นแจ้งจริงจนเป็น วิชชา คือ เห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรม ความหยั่งรู้ที่ได้จากการปฏิบัติสมาธิและภาวนะ จนส่งผลให้เกิดความหยั่งรู้ ก็คือ ญาณ
แต่สิ่งที่สำคัญนั้นก็คือ ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เฉพาะตนที่รู้ วิญญูหิติ และไม่ใช่สิ่งที่โอ้อวด เพราะจุดมุ่งหมายของศาสนาและพระพุทธองค์นั้น คือ การขนทุกข์ออกจากใจของสัตว์โลก
อ่านบทความแนะนำ สมาธิ คืออะไร ฝึกนั่งมีวิธีใดบ้าง และ สมาธิมีกี่ประเภท