โดย admin | พ.ค. 1, 2024 | บทความคำสอน, บทความธรรมมะ
นิวรณ์ 5 คำนี้ได้ยินและได้อ่าน ด้วยความสงสัย ความไม่เข้าใจ ในการปฏิบัติ เช่น เมื่อทำบุญแล้ว นั่งสมาธิภาวนา ก็ไม่ได้เกิดอะไรก้าวหน้า ทำให้เกิดลังเล สงสัย ทำไปเกิดความหดหู่ ท้อถอย และสุดท้ายเลิกปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้นี่เองที่เรียก เครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุ ในการที่เราตั้งใจ ที่เราเรียกกันว่า นิวรณ์
นิวรณ์ 5 คืออะไร
คือ เครื่องกั้นและปิดขวางไม่ให้บรรลุความดีไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรม
นิวรณ์ข้อมีอะไรบ้าง
1.กามฉันทะ ความพอใจในกาม
คือ ความลุ่มหลงในกามอารมณ์ ยินดีในรูป ราคะ พอใจ กามอารมณ์ต่าง ๆ
2.โกธะ พยาบาท ปองร้าย
คือ ความโกรธ เกลียด ชัง ความคุ้นแค้น เคือง
3.ถีนมิทธะ ความหดหู่ ซึมเศร้า
ความเกียจคร้าน ท้อแท้ เศร้าซึม หมดหวัง เสียใจ หมดอาลัย ไร้กำลังใจ เบื่อ ไม่อยากจะทำอะไร บางครั้งอาจทำให้เข้าใจว่าเป็นการปล่อยวาง แต่แม้จริง คือ ซึมเศร้า ท้อแท้
4.อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน
ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ คิดไม่ตก ฟุ้งซ่านในสิ่งที่มากระทบ อายตนะ ทางกาย วาจา ใจ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ ว่าจะเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ปรุงแต่งเหมือนเชือกพันกันไม่สามารถแก้ปมได้
5.วิจิกิจฉา
ความลังเลสงสัย ว่าทำสิ่งนั้นจะเกิดอะไร เช่น เมื่อนั่งสมาธิ แล้วไม่รู้สึกอะไร เหมือนนั่งหลับเฉย ๆ ก็เกิดความลังเล ว่าทำไปทำไม ไม่เห็นเกิดอะไร แต่แท้จริงแล้ว เกิดนิวรณ์เข้าปรุงแต่ง วิจิกิฉา ให้เกิดความสงสัย จิตต้องติดในการปรุงเเต่งในความสงสัย ๆ นั้น ๆ
วิธีการแก้นิวรณ์หรือธรรมอันเป็นปกปักษ์นิวรณ์ทั้ง 5 ข้อ
พละ 5 ธรรมกำลังใจทั้ง 5 ที่นำมาสู่จิคอันเป็นสู้กับนิวรณ์
1.ศรัทธา แก้วิจิกิจฉา ความเชื่ออันมีปัญญาและเหตุผลตามธรรมะ นำมาสู่การแก้ความสงสัยลังเล เช่น ลังเลสังสัยในนิพาน
2.วิริยะ แก้ถีนมิทธะ ความเพียร พยายาม ไม่ลังเล นำพามาสู่ความอดทน แก้ความหดหู่ ซึมเศร้า
3.สติ แก้พยาบาท
4.สมาธิ แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน ให้ความสงบในสมาธิ เข้ามาพิจารณา แล้วโน้มจิตเพียงแค่ดูความฟุ้งซ่าน ว่าปรุงแต่งอย่างไร แล้วก็ปล่อยมันไป
5.ปัญญา แก้กามฉันทะ ธรรมข้อนี้ค่อนข้างจะลึก เพราะต้องสร้างปัญญาให้เห็นกฏไตรลักษณ์ เพื่อเห็น ความไม่เที่ยงของสังขารที่เราถูกปรุงแต่งให้เห็นว่าสิ่งนั้นสวย น่าหลงไหล และติดในกาม แต่เมื่อมีปัญญาเข้าใจ เห็นว่า เราก็ต้องจากกันไปเมื่อชรา แก่ ไม่มีแล้วความสวยเหล่านั้น
หรือ
แก้นิวรณ์ โดยกรรมฐาน (ในบทความนี้ขอเน้นการแห้ในด้านกามฉันทะ)
กรรมฐาน (บาลี :kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺฐาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย (เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/)
นิวรณ์ กามฉันทะ
เมื่อเกิดความกำหนัด ความหลุ่มหลงในรูป กาย ความสวยความงาม อาลัยอาวรณ์อยู่ในกาม ซึ่งย่อมเกิดทุกข์ที่บางครั้งยังไม่ทราบว่าเป็นทุกข์ แต่เมื่อการเปลี่ยนแปลงผ่านไป เกิดทุกข์ เพราะความสวยหมดไป หรือ ถูกทิ้ง เลิกรา หรือ ไม่ได้กายนั้นมาครอบครอง ย่อมส่งผลกับการทุกข์ชัดขึ้น
การแก้นิวรณ์ข้อนี้ คือ อาศัย อสุภะ เข้ามาข่มใจ เห็น ไตรลักษณ์ว่า เราเกิดมา สุดท้ายก็ต้องแก่ ชรา และ ร่างกายเน่า ผิวหนังย่น รวมถึงต้องพลัดพรากจากกายนี้อยู่ดี ไม่ว่าจะสวยอย่างไร ทำให้อยากแค่ไหน วันเวลาก็ผ่านไปจะร่างกายก็จะเหี่ยวย่น เป็นรังของโรค เป็นเพียงแค่ เลือด น้ำหนอง เส้นเอ็น ผม กระดูก มารวมตัวกันเฉย ๆ
ศีล 5 ที่สามารถควบคุมนิวรณ์
- พยาบาท ให้ควบคุมด้วย การไม่ฆ่าสัตว์
- อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
- กามฉันทะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ประพฤติผิดในกาม
- วิจิกิจฉา ให้ควบคุมด้วยการไม่พูดเท็จ
- ถีนมิทธะ ให้ควบคุมด้วย การไม่เสพสิ่งเสพติดอันเป็นเหตุให้ประมาท
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศ วิหาร กรุงเทพมหานคร
จิตที่ไม่มีสมาธิก็เพราะมี นิวรณ์ ทำให้ไม่ได้มีความสงบ ไม่ใช้ปัญญา จึงได้แสดง นิวรณ์ ๕ และกัมมัฏฐานสำหรับแก้เพิ่มเติม ดังต่อนี้
๑. ความพอใจใฝ่ถึงด้วยอำนาจของกิเลสกาม เรียกว่า “กามฉันทะ”
แก้ด้วยเจริญ อสุภกัมมัฏฐาน พิจารณาซากศพ หรือเจริญ กายคตาสติ พิจารณา ร่างกายอันยังเป็นให้เป็นของน่าเกลียด
๒. ความงุ่นง่านด้วยกำลังโทสะ เรียกรวมว่า “พยาบาท”
แก้ด้วยเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หัดจิตให้เกิดในทางหัดคิดให้เรียเกิดเมตตา สงสาร กรุณา ช่วยเหลือเมื่อมีความสามารถ เกิดความพลอยยินดีไม่มีริษยา เกิดความปล่อยวาง หยุดใจที่คิดโกรธได้
๓. ความท้อแท้ หรือคร้าน หรือความหดหู่ง่วงงุน เรียกว่า “ถีนมิทธะ”
แก้ด้วยเจริญ อนุสติ กัมมัฏฐาน พิจารณาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บ้าง พิจารณาความดีของตนบ้าง เพื่อให้จิตเบิกบาน และมีแก่ใจหวนอุตสาหะ หรือทำอาโลก สัญญา(หมายเหตุ คือ อาโลกกสิน) กำหนดหมายแสงสว่าง ให้จิตสว่าง
๔. ความฟุ้งซ่าน หรือคิดพล่าน และความจืดจางเร็ว หรือความรำคาญ เรียกว่า “อุทัจจกุกกุ จจะ”
แก้ด้วย เพ่งกสิณ กำหนดลมหายใจเข้าออก หัดผูกใจไว้ในอารมณ์เดียว หรือเจริญมรณสติ อันจะทำให้ใจสงบด้วยสังเวช
๕. ความลังเลไม่แน่ลงได้ เรียกว่า “วิจิกิจฉา”
แก้ด้วยเจริญ ธาตุกัมมัฏฐาน หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อ กำหนดรู้สภาวที่เป็นอยู่ตามเป็นจริง
เครดิตข้อมูลจากเพจ
โดย admin | ก.พ. 6, 2024 | ข่าวสาร, ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ, บทความน่าสนใจ
ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตร สำหรับเตรียมตัวจัดงานบวชน้ัน หลายท่านจะมีความสับสนการเลือกและไม่เข้าใจว่า ทำไมบางครั้งที่ร้านขายผ้าไตรจะถามเราว่า เอาแบบ 5 ขันธ์หรือ 9 ขันธ์ บทความนี้จะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกผ้าไตรสำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อผ้าไตรสำหรับเตรียมในงานบวชให้กับลูกหลาน หรือ จัดหาเพื่อถวายผ้าไตรแด่พระภิกษุ
ผ้าไตรจีวร คืออะไร
ผ้าไตร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร
คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง
ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย
- ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์
- ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก
- สังฆาฏิ หรือ ผ้าซ้อน/ผ้าพาดบ่า
ผ้าไตร ส่วนใหญ่มักนิยมเรียกย่อๆ ว่า ไตร ไตรเต็ม หรือ ไตรแบ่ง
ไตรเต็ม คือ ผ้าไตรที่จัดรวมกันไว้เป็นชุดครบทั้ง 3 ผืน เหมือนผ้าไตรที่นิยมวายกันโดยทั่วไป บางโอกาสอาจจะเพิ่ม กายพันธน์ ผ้าอังสะ ผ้ารัดอก และผ้ากราบ
- กายพันธน์ คือ ผ้าประคดรัดเอว (รัดประคด)
- ผ้าอังสะ คือ ผ้าที่มีลักษณะคล้ายเสื้อใช้คล้องไหล่เฉียงบ่าปิดไหล่ซ้าย พระจะใช้เมื่อเวลาอยู่ที่วัดตามลำพัง (ไม่ต้องห่มจีวรคลุมร่างทั้งผืน)
- ผ้ารัดอก ใช้สำหรับรัดจีวรเมื่อเวลาห่มดอง
- ผ้ากราบ ใช้สำหรับรองเมื่อเวลากราบและใช้ปูรับของเมื่อเวลาผู้หญิงประเคนของถวาย
ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ ผ้าไตรจีวร 9 ขันธ์
ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกันเช่น ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็เยอะตาม)
- สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์
- สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวาย ผ้าไตร 9 ขัณฑ์
ชุดเครื่องบวชพระภิกษุสงฆ์ ประกอบไปด้วย
- ไตรครอง ประกอบด้วยอัฐบขาล 7 อย่าง
- ไตรอาศัย (สบง, จีวร, อังสะ)
- ไตรคู่สวด – อุปัชฌาย์
- ชุดนาค (เสื้อครุยนาค, สบงขาว, ผ้าสไบ)
- บาตรครบชุด
- ตาลปัตร
- ย่าม
- อาสนะ
- ต้นเทียนถวายพระอุปัชฌาย์ – พระคู่สวด 3 ใบ
- กรวยขมา ถวายพระอุปัชฌาย์ – พระคู่สวด 3 ใบ
- ธูป เทียน แพ พาน
- เสื่อ
- ที่นอนพระ
- หมอน
- มุ้ง
- ผ้าเช็ดตัว – ผ้าเช็ดหน้า
- ผ้าห่ม
- ปิ่นโต
- กระโถน
- จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ
- รองเท้าแตะ
พิธีการบวช
1. ตอนเย็นก่อนบวชจะมีพิธีโกนหัวนาค ณ โรงพิธีประชุมวงฆ์ นาคทั้งหลายจะรับศีล อาราธนาพระปริตรพระสงฆ์พรมน้ำมนต์และสระผมนาค ผู้ที่โกนหัวอาจเป็นพระสงฆ์หรือพ่อแม่ จากนั้นญาติผู้ใหญ่จะโกนด้วยเล็กน้อย
2. หลังจากนั้นอาบน้ำ เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวนุ่งขาว ห่มขาว เรียกว่า “เจ้านาค”
3. กลางคืนจัดให้มีพิธีสงฆ์เรียกว่า “การสวดผ้า” เจ้านาคต้องมีไตรจีวร และจะมีการทำขวัญนาคด้วยในคืนนี้
4. จะมีการแห่นาคในวันบวชวันรุ่งขึ้น แห่รอบโบสถ์ 3 รอบ เป็นการบูชาพระพุทธศาสนา ขณะที่แห่จะมีการว่าเพลง “คำตัก”
5. เมื่อครบ 3 รอบ นาคจะจุดธูปเทียน บูชาพัทธสีมา มีการกรวดน้ำ
6. หลังจากนั้นญาติจะช่วยกันอุ้มนาคเข้าอุโบสถ ห้ามเหยียบธรณีประตู พ่อแม่นาคส่งไตรครองให้นาค เพื่อถวายพระอุปัชฌาย์ ถวายพระกรรมวาจาจารย์ (พระคู่สวด) และพระอนุสาวนาจารย์ ท่านละ 3 กรวย จากนั้นกล่าวคำขอบรรพชา รับศีล 10 พระอุปัชฌาย์คล้องบาตรสะพาย พระคู่สวดจะประกาศว่าผู้ชื่อนั้นๆ ได้มาขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วตั้งคำถามเป็นข้อๆ เรียกว่า “ขานนาค”
7. เมื่อขานนาคเสร็จ นาคขออุปสมบทต่อคณะสงฆ์ คณะสงฆ์กล่าว อนุศาสน์ (ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติขณะที่บวช)
8. เมื่อจบอนุศาสน์ พระบวชใหม่ถวายของบูชาพระคุณแก่คณะสงฆ์ จากนั้นรับของถวายเครืองไทยธรรมจากญาติ ขณะเดียวกันจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดา มารดา ญาติเป็นอันเสร็จพิธี
โดย admin | พ.ย. 14, 2023 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ, บทความน่าสนใจ
พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าใครทำกรรมใดไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรรมใดใครก่อไว้แล้วในเมื่อใจเป็นผู้จงใจทำลงไปแล้วเป็นกรรมอันเป็นบาป ภายหลังจึงมานึกได้และไม่ต้องการผลของบาป มันก็หลีกเลี่ยงปฏิเสธไม่ได้เพราะใจเป็นผู้สั่งให้กาย วาจา ทำลงไป พูดลงไป
อโหสิกรรม นั้นเป็นผลสะท้อนทางจิตใจที่ต้องการให้ผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นได้รับรู้ถึงจิตใจที่ไม่ต้องการผูกพยาบาทซึ่งกันและกัน นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการให้อภัยทานซึ่งนับได้ว่าเป็นทานอันยิ่งใหญ่ เพื่อให้กรรมที่ได้ทำไว้ลดความผูกพยาบาท จึงมักจะเร่ิมจากการขออโหสิกรรมซึ่งกันและกัน และลำดับต่อมาได้แก่ การเข้าสู่การปฏิบัติ ตามหลัก ศีล สมาธิ และปัญญา หรือองค์มรรคแปด โดยมีหลักอิทธิบาทสี่ เป็นกำลังใจ เพื่อนำพาไปสู่หนทางของนิพพาน
การขออโหสิกรรม คืออะไร
อโหสิกรรม คือ กรรมที่เลิกแล้วต่อกัน ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมในภพชาติต่อๆ ไปการขออโหสิกรรม คือ การขอโทษในสิ่งที่ตนทำผิดต่อผู้อื่นด้วยใจจริง การให้อโหสิกรรม คือ การให้อภัยต่อความผิดพลาดพลั้งที่ผู้อื่นกระทำต่อตน
บทสวด ขออโหสิกรรม
สวดบทขอขมาอโหสิกรรมเจ้ากรรมนายเวร
“กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมัง
อะสัญจิจจะกัมมัง ขะมันตุ เม อะโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม”
ฝ่ายดี คือคอยส่งเสริมให้เราเจริญก้าวหน้า โยมทั้งหลาย บางครั้งเจ้ากรรมนายเวรก็มาในรูปแบบของคำว่าแฟน หรือบางทีก็มาในรูปแบบเพื่อนร่วมงาน ถ้าเป็นแฟนก็เป็นแฟนที่ดี เรียกว่าคู่แท้ ถ้าเป็นเพื่อนร่วมงานก็เป็นกัลยาณมิตร มิตรที่ดีที่คอยแนะนำส่งเสริมให้เราเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ฝ่ายไม่ดี ก็จะการเบียดเบียนให้เดือดร้อนทุกข์ยากลำบาก ถ้าเป็นแฟนก็จะเป็นคู่กัด ทะเลาะกันทุกวัน แต่ก็ไม่จากกันไปไหน เพราะว่ากรรมนำพาให้อยู่ด้วยกัน เพื่อนร่วมงานก็เหมือนกัน จะคอยอิจฉา เห็นใครดีเป็นไม่ได้ ต้องคอยเตะตัดขาอยู่เรื่อย
อโหสิกรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา เชื่อว่า ?
1) กรรมเบาบาง อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น สำเร็จในชีวิตนี้ และส่งผลชีวิตหน้า
บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้น จะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า
แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้ หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม
นั่นคือ ในฐานะที่ชาวพุทธ เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่น ก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
2) อานิสงส์สูง เพราะละการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ยกระดับก้าวสู่มรรคผลนิพพาน
อโหสิกรรมหรืออภัยทาน-สามารถทำได้จากความเมตตาที่มีอยู่เพียงพอในจิตใจ จึงมีอานิสงส์ใกล้เคียงกับธรรมทาน ที่ถือว่ามีอานิสงส์สูง เพราะเป็นการให้ปัญญา-แสงสว่างเพื่อพัฒนาจิตใจของผู้อื่นให้ก้าวหน้าไปสู่มรรค-ผล-นิพพานในที่สุดต่อไปตามวาสนาบารมีแห่งตน
คำอธิษฐานอโหสิกรรม
ข้าพเจ้า…..(บอกชื่อ)…ขออโหสิกรรม กรรมใดที่ทำแก่ผู้ใด ในชาติใดๆ ก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมและนายเวร จงอโหสิกรรมให้กับข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย แม้แต่กรรมที่ใครๆ ได้ทำกับข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น และขอยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงศาคณาญาติ และผู้มีอุปการคุณของข้าพเจ้า จงมีความสุข ความเจริญ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี และสิ่งที่ชอบด้วยเทอญ
คำขอขมาโทษ (กรรมชั่ว)
กรรมชั่วอันใดที่ข้าพเจ้า…..(บอกชื่อ)…ทำไว้ ด้วยกาย วาจา ใจ ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ เพราะความไม่รู้ เพราะความหลง เพราะความงมงาย เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอจงโปรดยกโทษ ให้ข้าพเจ้าพ้นจากความทุกข์ยาก ลำบากเข็ญใจ อันตรายทั้งหลาย จงเสื่อมสูญสิ้นไป ข้าพเจ้าปรารถนาสิ่งใดที่ดี ขอให้สมปรารถนา นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ. (อธิษฐานตามที่ปรารถนา)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินบิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วยกาย วาจา ใจ
ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมา ข้าพเจ้าขออนุญาตมีคู่ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐาน คำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีตขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระ ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร ขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัว ตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สติปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใด ๆ โรคภัยใด ๆ ขอให้มลายสิ้นไป ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม ตั้งแต่บัดนี้จนตราบเข้าสู่นิพพานเทอญ
เครดิต ข้อมูลดีๆ https://dharayath.com/
โดย admin | มิ.ย. 24, 2023 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ, บทความน่าสนใจ
ในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอนให้คนทำบุญแล้วกรรมที่เคยทำน้ันจะหาย หรือ ไปทำพิธีตัดกรรมใด ๆ แล้วจะทำให้ชีวิตดีขึ้น มาจากการทำพิธีนั้น ๆ แต่จุดมุ่งหมายของศาสนาพุทธ คือ การให้เข้าถึงปัญญาของการหลุดพ้น และ เห็นการเป็นไปของ ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องขนทุกข์ออกจากใจของสัตว์โลก เมื่อปฏิบัติตามคำสั่งสอนแล้ว จะทำให้เกิดปัญญา เห็นการตัดกรรมที่แท้จริงในคำสั่งสอน ด้วย หัวใจคำสอน คือ องค์มรรค8 หรือ ที่เราเรียกกัน บ่อย ๆ ว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา
แต่การเร่ิมต้น ตัดกรรม นั้นมักจะมาจากการ ทำบุญ ทำทาน เพื่อละความโลก ซึ่งนำมาสู่ขั้นตอนต่อไปคือ ถือศีล เพื่อรักษาความดีนั้นไว้และรักษาไม่ให้ใจทำความชั่ว จากนั้นจิตที่มีพื้นฐานที่ต้องสร้างให้เห็นถูกต้องนั้น มีความเข้าใจต่อการเป็นไปของกฏแห่งกรรม ซึ่งไม่มีใครจะหนีพ้นได้ จึงต้องอาศัยการภาวนา และ สร้างสติ เพื่อให้ใจนั้นเข้าไปน้อมถึง กฏ ไตรลักษณ์ เห็นว่า โลกนี้สุดท้ายแล้ว ไม่มีใครจะเป็นอมตะและหนีการตายไม่พ้น จุดนี้คือ การตัดกรรม ที่แท้จริงที่คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นท่านได้ประทานเอาไว้ให้กับชาวโลก
ตัดกรรมคืออะไร และมีความหมายอย่างไร
ขอบคุณที่มาข้อมูล จากเพจ https://dharayath.com/การ-ตัดกรรม/
การ ตัดกรรม คือ การหยุดทำความชั่วหยุดทำบาป ส่วนการตัดเวร คือ การหยุดการพยาบาทอาฆาตจองเวรซึ่งกันและกัน คือไม่แก้แค้นซึ่งกัน และกันรู้จักคำว่าให้อภัยซึ่งกันและกัน และผู้ที่ทำผิดก็ให้รู้จักคำว่าขอโทษ ผู้ที่ถูกขอโทษก็รู้จักคำว่าให้อภัย อันนี้เป็นอุบายตัดกรรมตัดเวร
กรรมคืออะไร ข้อมูลจาก (https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_(%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98)
ในพระพุทธศาสนา กรรม (สันสกฤต: कर्म กรฺม, บาลี: กมฺม) แปลว่า “การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา” ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม
กรรม มีอะไรบ้าง
กรรม 2 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม – Kamma: action; deed)
- อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ – Akusala-kamma: unwholesome action; evil deed; bad deed) เป็นบาป กรรมชั่ว ความชั่วร้าย ความเสียหาย ความไม่ถูกต้อง ซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรเว้น การกระทำบาป กระทำความชั่ว เรียกว่าทำอกุศลกรรม เรียกย่อว่า ทำอกุศล หรือเรียกว่า ทำบาปอกุศล อกุศลกรรมเกิดมาจากอกุศลมูลอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างคือ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะเมื่อเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุชักนำใจให้คิดทำอกุศลกรรม เช่นเมื่อโลภะเกิดขึ้นก็เป็นเหตุให้คิดอยากได้ เมื่ออยากได้ก็แสวงหา เมื่อไม่ได้ตามต้องการด้วยวิธีสุจริต ก็เป็นเหตุให้ทำอกุศลกรรมอื่นต่อไป เช่น ลักขโมย ปล้น จี้ ฉ้อโกง เป็นต้น
- กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คืออโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ -Kusala-kamma: wholesome action; good deed) เป็นบุญ ความดี ความถูกต้อง ซึ่งให้ผลเป็นความสุขโดยส่วนเดียว การทำบุญ การทำความดี เรียกว่า ทำกุศลกรรม หรือเรียกย่อว่าทำกุศล กุศลกรรมที่ควรทำเป็นประจำได้แก่ ให้ทาน เสียสละ รักษาศีล อบรมจิตใจ เจริญภาวนา เรียกย่อว่าบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา ซึ่งสามารถทำได้โดยบรรเทาความโลภ ความโกรธ ความหลงให้น้อยลง เพราะถ้ายังมีความโลภ ความโกรธ ความหลงเต็มจิตอยู่ ก็ไม่สามารถทำกุศลกรรมอะไรได้
ทางตัดกรรม หรือที่ เรียกว่า หนทางดับทุกข์ ที่แท้จริง คือ องค์มรรค 8
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.tewfree.com/%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%848/
มรรค 8 หมายถึง หนทางสู่การดับทุกข์ ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิได้รวบรวมสรุปมรรค 8 พร้อมความหมายของแต่ละประการ
มรรค 8 คือหนทางสู่การดับทุกข์ และ ตัดกรรม ให้พ้นทุกข์
มรรค คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งใน อริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น
ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้
สัมมาทิฏฐิ |
(ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4 |
สัมมาสังกัปปะ |
(ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน |
สัมมาวาจา |
(วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ |
สัมมากัมมันตะ |
(การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า โจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม |
สัมมาอาชีวะ |
(การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ การละเว้นจากอาชีพฆ่าสัตว์ อาชีพที่เบียดเบียนผู้อื่น |
สัมมาวายามะ |
(ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน 4 คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว |
สัมมาสติ |
(การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4 |
สัมมาสมาธิ |
(การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง ฌาน 4 |
https://dhamma.watchmekorat.com/teaching-and-dhamma/#%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B8%A3
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คำสอนสำคัญ อื่น ๆ https://dhamma.watchmekorat.com/teaching-from-buddha/
โดย admin | มิ.ย. 21, 2023 | คำสอนหลวงพ่อครูอาจารย์, บทความคำสอน, บทความธรรมมะ
ธรรมะท่านเจ้าคุณนร วัดเทพศิรินทร์

“…คนเราเมื่อมีลาภ ก็เสื่อมลาภ
เมื่อมียศ ก็มีเสื่อมยศ
เมื่อมีสรรเสริญ ก็มีนินทา
เป็นของคู่กันมาเช่นนี้
จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์
ถึงจะดีแสนดี … มันก็ติ
ถึงจะชั่วแสนชั่ว… มันก็ชม
นับประสาอะไร
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศยิ่งกว่ามนุษย์ เทวดา
ยังมีมารผจญ ยังมีคนนินทาติเตียน
ปุถุชนอย่างเราจะรอดพ้นจากโลกะธรรม
ดังกล่าวแล้วไม่ได้
ต้องคิดเสียว่า
เขาจะติ .. ก็ช่าง
เขาจะชม..ก็ช่าง
เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ
ก่อนที่เราจะทำอะไร
เราคิดแล้วว่าไม่เดือดร้อนแก่ตัวเรา
และคนอื่น .. เราจึงทำ
เขาจะนินทา.. ว่าร้าย อย่างไร ก็ช่างเขา
บุญเราทำ กรรมเราไม่สร้าง
พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ
ใยจะต้องไปกังวล กลัวใครจะติเตียนทำไม
ม่เห็นมีประโยชน์
เปลืองความคิดเปล่า ๆ..”
(ธรรมะท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต)
วัดเทพศิรินทราวาส กทม.
ที่มาขอขอบคุณ เพจ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1491877658214786&set=gm.1433830647414393&idorvanity=990074358456693
บทความอื่น ๆ เกี่ยวกับธรรมะหลวงพ่อ
โดย admin | มิ.ย. 18, 2023 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ, บทความน่าสนใจ
แนะนำบทความดี ๆ ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ผ้าไตรจีวร อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าทำไม พระแต่ละวัดใส่สีจีวรไม่เหมือนกัน แต่ก็สีใกล้เคียงกัน และรวมถึงความหนาของผ้า
ผ้าไตร คืออะไร (ข้อมูลจาก dharayath.com)
คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง
ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย
- ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์
- ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก
- สังฆาฏิ หรือ ผ้าซ้อน/ผ้าพาดบ่า
ผ้าไตรจีวรโดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ
1.ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย
-จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม
-สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง
-อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม
-สังฆาฏิ : เป็นผ้าผืนใหญ่เหมือนจีวร แต่พระเอามาใช้พาดบ่า
-ผ้ารัดอก : ผ้าที่ใช้รัดอก เวลาพระเอาสังฆาฏิพาดบ่า เพื่อให้ดูกระชับและเรียบร้อย
-รัดประคต : คือเชือกไว้รัดสบง หมีหน้าที่เสมือนข็มขัดของพระ
-ผ้าประเคน : เป็นผ้าที่ใช้รับสิ่งของ
2.ไตรอาศัย(ใช้ในชีวิตประจำวัน) ประกอบด้วย
-จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม
-สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง
-อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม
ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ ผ้าไตรจีวร | ผ้าไตรอาศัย มีเคล็ดลับในการเลือกซื้ออย่างไร
ผ้าไตร 5 ขันธ์ ผ้าไตร 9 ขันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไร ?
ผ้าไตรจีวร 5 ขัณฑ์และผ้าไตรจีวร 9 ขัณฑ์
ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกันเช่น
ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็เยอะตาม)
สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์
สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวายผ้าไตร 9 ขัณฑ์ เช่น วัดสายพระป่า วัดป่านาคำน้อย หลวงพ่ออินทร์ถวาย
https://dhamma.watchmekorat.com/tag/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
ข่าวเกี่ยวกับหลวงพ่ออินทร์ถวาย
ขอบคุณข้อมูลจาก dharayath.com