อุปจารสมาธิ หลายท่านยังสงสัยว่าคือสมาธิที่มีลักษณะอย่างไร และเป็นสมาธิขั้นใด มีการปฏิบัติและฝึกอย่างไร ในการนั่งสมาธิ ซึ่งโดยปกติแล้วหลายท่านมักจะได้จะได้ยินคำว่า อาณาปณสติ หรือคำอื่น ๆ เช่น ขณิกสมาธิ ซึ่งทำให้การปฏิบัติเกิดความลังเลสงสัยยิ่งทำให้เกิดวิจิกิจฉาที่มาจากนิวรณ์ จะทำให้เกิดเบื่อและเบิกการนั่งสมาธิไป

เรายกเลิกความกังวลและสงสัยทั้งหมดก่อน  แล้วมาเร่ิมจากว่าเราทำสมาธิทำไมเพื่ออะไร

ความหมายของสมาธิ

แปลตามบาลีแปลว่า ความตั้งใจมั่น

สมาธิในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต

การทำสมาธิในทางพุทธศาสนา เรียกว่าสมถะ

สมาธิกับสมถะนั้นเกี่ยวข้องอย่างไรแล้วทำไมแล้วครูบาอาจารย์บางท่านมักสอนให้ทำสมถะก่อนหรือทำสมาธิให้นิ่งเสียก่อน  เพราะว่าจิตแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความสงบต้องมีเสียก่อนถึงจะพิจารณาให้เป็นธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ได้อย่างแจ่มแจ้งได้ชัดเจน ง

ทำสมถะก่อน เพราะ คนเราที่หัดนั่งมาธิใหม่ นั่น  จะรู้สึกเหมือนลิงกระโดดไปกิ่งไม้ไปมา และเผลอไปคิดโน่นคิดนี่ ทำให้เวลานั่งสมาธิแล้วรู้สึกเบื่อหน่ายแล้วรู้สึกว่าทำไปไม่เกิดอะไร  ดังนั้นจึงต้องนำ “อาณาปาณสติการฝึกดูลมหายใจเข้ามาเป็นกุศโลบายแห่งจิต(1ใน 40 กองกรรมฐาน)” แล้วควบไปกับ พุธธานุสาติ คือ เมื่อลมหายใจเข้า ก็ตั้งจิตว่ารู้ลมหายใจเข้า แล้วกำหนดว่าพุธ แล้วปล่อยลมหายใจออกรู้ว่าลมหายใจออก ภาวนาจิตต้ังให้รู้ว่าโธ ดังนี้ไปเรื่อย ๆ

ที่สำคัญคือ ไม่ต้องบังคับว่าจะต้องลมต้องเข้าหายใจเร็วหรือแรง แล้วปล่อยลมหายใจให้เร็วหรือสั้น  เอาง่าย ๆ เคล็ดลับคือ หายใจเข้าได้แบบไหนก็ดูให้รู้ว่าได้เท่านี้แล้วก็ปล่อยออกตามธรรมชาติ วันนี้อาจจะปล่อยออกมาเร็วหรือช้าต่างกัน แต่พอทำไปเรื่อย ๆ นั้นจะปล่อยได้เองตามธรรมชาติจนเราลืมไปว่าเราไม่ได้บังคับมัน มันจะหายใจเข้าและหายใจออกเองแบบธรรมชาติของสมาธิ

“เมื่อทำได้แบบไม่บังคับ วันนี้ลมจะสั้น ก็ช่างมัน ฉันแค่รู้ว่าลมมันเคลื่อนเข้าไปจาก ปลายจมูก ผ่านหน้าอก ลงสู่ท้อง แล้วลมก็ออกมาเอง จากผ่านหน้าท้อง ผ่านหน้าอก ออกมาที่ปลายจมูก  แล้วจะพบว่าไม่อึดอัดแล้ว ทำให้มีความสุขกับการนั่งได้มากขึ้น จิตเร่ิมไม่สนใจรอบข้าง จากนั่ง 5 นาทีแล้วรู้สึกว่าเคยนานจะรู้สึกว่าเหมือนแค่หลับตาแป้ปเดียวผ่านไปเร็ว  ก็จะขยับไป20นาทีเอง จากนั้นก็จะไประดับชั่วโมงได้เอง

แต่ขอย้ำว่า ไม่ต้องสนใจว่าจะนั่งนาน หรือ สั้น เวลาจะผ่านไปแค่ไหน ให้รู้เพียงว่า จิตลงรวมในสมาธิ แล้วจะรู้สึกเหมือนกล่องเปล่า ๆ สงบ นี่คือ สมถะ

ถ้าเรามีสมถะ คือความที่จิตลงรวมอย่างสงบ  มักจะเรียกสิ่งนี้ว่า ขณิกสมาธิ คือ จิตเร่ิมลงรวมสงบนิ่ง   จากนี้ก็จะปฏิบิตต่อไปเป็นขั้นต่อไปคืออุปจารสมาธิ

 

อุปจารสมาธิ คืออะไร

อาการที่จิตจวนจะรวมเข้าสู่อัปปนา ซึ่งจะรวมแหล่มิรวมแหล่ แต่ไม่ฟุ้งซ่านสอดส่ายออกไปภายนอก ยึดเอาอารมณ์เป็นอุปาทานเครื่องถือมั่น จะละก็ไม่ใช่ จะเอาก็ไม่เชิง มีความลังเลเป็นสมุฏฐานอาการที่จิตจวนจะรวมเข้าสู่อัปปนา ซึ่งจะรวมแหล่มิรวมแหล่ แต่ไม่ฟุ้งซ่านสอดส่ายออกไปภายนอก ยึดเอาอารมณ์เป็นอุปาทานเครื่องถือมั่น จะละก็ไม่ใช่ จะเอาก็ไม่เชิง มีความลังเลเป็นสมุฏฐาน

เครดิตจากเพจ https://mgronline.com/dhamma/detail/9580000074829

สรุปสมาธิมีกี่ระดับ

แบบเบื้องต้นเพราะตามตำราแล้วจะมีลึกลงไปทำให้เราสับสนได้ ดังนั้นไม่ต้องกังวลสนใจระดับขอให้ปฏิบัติเรื่อย ๆ

สมาธิแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1. ขฌิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถนำมาใช้การงานในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ หรือขับรถ

ขณิกสมาธิ เหมือนเด็กที่เพิ่งหัดเดิน

ขณิก(ชั่วขณะ) + สมาธิ(ความทรงไว้พร้อม ความตั้งมั่น)

สมาธิที่เป็นไปชั่วขณะ หมายถึง เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิต ที่เป็นไปตามปกติของบุคคลทั่วไป เช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สัมผัส ขณะที่ยืน เดิน นั่ง นอนตามปกติ ก็มีขณิกสมาธิเกิดร่วมด้วย

 

2. อุปจารสมาธิสมาธิเฉียด ๆ หรือจวนจะแน่วแน่ อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่า

อุปจารสมาธิเหมือนเด็กที่เดินได้คล่องและเร่ิมจะวิ่ง

ป็นสมาธิที่เริ่มเป็นหนึ่ง ข้อสังเกตง่ายๆ ของผู้ปฏิบัติสมาธิ คืออารมณ์กรรมฐานเริ่มเป็นหนึ่ง เสียงหรืออารมณ์ภายนอกไม่สมารถเข้ามารบกวน ให้อารมณ์กรรมฐานถอยออกมาง่าย

 

3. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

อัปปะนาสมาธิของปฐมฌาน เปรียบดังเด็กที่วิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว

หมายถึงหมดความรู้สึกไปชั่วขณะหรือเป็นขณะๆ หรือเป็นวัน ตามกำลังสมาธิและความชำนาญ

เครดิตจากเพจ https://dharayath.com

Pin It on Pinterest

Share This

Share This

Share this post with your friends!