ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิเร่ิมต้นของผู้ที่มีจุดมุ่งหมายของศาสนา คือ ขนทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลกไม่มีอย่างอื่น มีเพียงเท่านี้ หมดทุกข์ จิตสงบ ว่าง ไม่มีหน้าที่ให้ทุกข์ ตั้งแต่ ทุกข์แบบหยาบจนถึงทุกข์ละเอียด ไม่ต้องพึ่งพาฤกษ์งามยามดี หรือเที่ยวขอพร ใด ๆแต่ไม่ลบหลู่ใด ๆให้ครามเคารพ อ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่าย และ ขอเพียงมีจิตสงบ ไปไหนก็มีความสุข สุขเสมอความสงบไม่มี  แล้วคำถามก็เข้ามาว่าเร่ิมจากตรงไหนก่อนดีล่ะ สำหรับผู้ที่มีความมุ่งมั่นจะเข้าสู่สมาธิภาวนา และมีความตั้งใจในการปฏิบัติสมาธิ  สมาธิคืออะไร แบ่งเป็นอะไรบ้าง ขั้นต้นเรียกว่าอะไร เร่ิมต้นอย่างไร

สมาธิแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1. ขฌิกสมาธิ
คือ สมาธิชั่วขณะ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถนำมาใช้การงานในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ หรือขับรถขณิกสมาธิ เหมือนเด็กที่เพิ่งหัดเดินขณิก(ชั่วขณะ) + สมาธิ(ความทรงไว้พร้อม ความตั้งมั่น)สมาธิที่เป็นไปชั่วขณะ หมายถึง เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิต ที่เป็นไปตามปกติของบุคคลทั่วไป เช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สัมผัส ขณะที่ยืน เดิน นั่ง นอนตามปกติ ก็มีขณิกสมาธิเกิดร่วมด้วย
2. อุปจารสมาธิ
สมาธิเฉียด ๆ หรือจวนจะแน่วแน่ อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่าอุปจารสมาธิ เหมือนเด็กที่เดินได้คล่องและเร่ิมจะวิ่งเป็นสมาธิที่เริ่มเป็นหนึ่ง ข้อสังเกตง่ายๆ ของผู้ปฏิบัติสมาธิ คืออารมณ์กรรมฐานเริ่มเป็นหนึ่ง เสียงหรืออารมณ์ภายนอกไม่สมารถเข้ามารบกวน ให้อารมณ์กรรมฐานถอยออกมาง่าย
3. อัปปนาสมาธิ
สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไปอัปปะนาสมาธิของปฐมฌาน เปรียบดังเด็กที่วิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว

มาเร่ิมกันครับ ง่าย ๆ แค่ นั่งสมาธิ  หรือ ทำอะไรก็ได้  ให้นึกถึงลมหายใจ อานาปานสติ ที่สุดยอดที่สุด (ลมหายใจ ไม่ว่าใครจะดีจะชั่ว ก็มีลมหายใจเป็นเพื่อนตลอด)

รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ก็ปล่อย ” อย่าไปคิดว่า ต้องรู้ให้นานติดกัน  วางทุกตำรา ทุกเซียนบอก  เอาแค่ โน้มความตั้งใจ ดูลมหายใจ  ถ้ากลัวหลุด ก็เพิ่มพุธและโธ เข้าไปช่วย เพื่อเพิ่มความรู้ตัว

ขณิกสมาธิ คืออะไร

สมาธิชั่วขณะจิตสงบลงถึงจุดที่เป็นสมาธิ แต่ผู้ทำสมาธิยังไม่ชำนาญพอจึงควบคุมจิตให้อยู่ในสมาธิไม่ได้นาน จิตจึงถอนจากสมาธิเสีย จิตเข้าถึงสมาธิชั่วขณะอย่างนี้เรียกว่า ขณิกสมาธิ,หากผู้ทำสมาธิพยายามฝึกต่อไป สมาธิจะค่อยมั่นคงขึ้นจนถึงสามารถ (เครดิต https://www.sanook.com/)

เพราะโดยธรรมชาติของจิตที่ติดตัวเรามาช้านาน มันเหมือนลิงที่โหนต้นไม้ไปเรื่อย อย่าไปดุมัน เพราะมันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ   อย่าไปโกรธมันว่ามันพาเราคิดนั่นคิดนี่   ก็คิดง่าย ๆ คือ อย่างน้อยเราก็รู้ตัวว่าเราฟุ้งซ่าน แล้ว ก็กลับมาดูลมหายใจใหม่  ที่สำคัญไม่ต้องคิดว่านั่งแล้วจะเห็นโน่นเห็นนี่  เพราะสิ่งที่เห็น  มันเห็นจริง แต่มันไม่มีจริง เพราะมันไม่ใช่จิต มันเป็นการปรุงแต่ง

โดยเร่ิมจาก การทำจิตภาวนาสมาธิ  ที่มีจุดเร่ิมต้นคือ การสงบเพียงชั่วคราว แล้วค่อย ๆ ฝึกตนไปเรื่อย ๆ  ถึงแล้วสงบชั่วครู่  มันก็เหมือนกับคนทำงานมาทั้งวันเเล้วเหนื่อย ขอได้พักนิดหนึ่ง แล้วก็สะดุ้งตื่นขึ้นมาทำงานใหม่  ก็มีแรงขึ้นอีกนิดหนึ่ง  ขณิกสมาธิก็จะคล้าย ๆกัน สงบ ไม่ไปไหน ประมาณ สัก 1 ถึง 5 นาที ก็จะเริ่มคิดไปโน่นไปนี่  แต่เราจะเร่ิมรู้ตัวดีขึ้น และ คล่องขึ้น  แบบนี้ครับ จุดเร่ิมต้นของการมีสมาธิภาวนา

ลมจะติดขัดบ้าง หรือ ไหลลื่นบ้าง ก็เน้นแค่ รู้อาการอย่างนั้นไปเรื่อย ๆ เพราะสักครู่เราก็จะถูกชวนให้ไปคิดโน่นคิดนี่อีก แล้วก็กลับมารู้ตัวใหม่ แต่ความรู้ตัวและสงบเล็กน้อย จะเร่ิมยาวขึ้น จาก 1 นาที มา 2-5 นาที  และ จากที่เคยนั่งสมาธิ นิดเดียวก็จะเร่ิมนั่งได้ยาวขึ้น

บางคน นั่งตั้งนาน พอลืมตามา  อ้าวนี่แค่ ห้านาที นึกว่านั่งมายี่สิบนาที  แต่ พอเริ่มมี ขณิกสมาธิ  จากที่เคยคิดว่านั่งได้แค่สิบนาที พอลืมตามาอีกที กลายเป็นนั่งไป ยี่สิบนาที

แต่สุดท้าย ก็รู้ไว้ว่า แบบนี้คือ ขณิกสมาธิ แต่ไม่ต้องไปยึดถือว่าเราถึงขั้นไหน ปล่อยไปและภาวนาไปเรื่อย ๆนะครับ

รู้ตัวเองไว้นะครับ ไม่ต้องไม่ดูคนอื่น อารมณ์ไหนมันขึ้นมา ก็อดทนดูไป  แล้วลองมานึกดูว่าอารมณ์นั้นหายไปตอนไหน   นี่เหละครับ การมีสมาธิจะช่วยให้เรารับรู้มีสติได้ง่ายและดีขึ้น

ขณิกสมาธิ จุดเริ่มของการหลุดพ้น
  • Facebook
  • Twitter
  • Google+
  • Pinterest
  • Gmail
  • Blogger

สมาธิกับสติภาวนา เดี๋ยวก็มาด้วยกันครับ อดทนขันติ  เอาความสงบมาให้ได้ให้ใจเป็น สมถ แล้วภาวนาก็จะมาคู่กันเองครับ

สรุปสมาธิมี 3 ระดับ

  1. ขณิกสมาธิ เปรียบเหมือนเด็กหัดเดิน
  2. อุปจารสมาธิ เปรียบเหมือน เดินได้เร่ิมคล่อง แต่ยังโงนเงนบ้าง
  3. อัปปนาสมาธิ เปรียบเหมือนวิ่งเลย

แต่สุดท้ายไม่ต้องสนใจนะครับ ว่าเราจะถึงขั้นไหนขอให้ทำไปเรื่อย ๆ เน้นขอให้สงบ แล้ว จิตเขาจะพัฒนาตัวของเขาเอง

เครดิตเพจ https://dharayath.com/

 

 

 

Pin It on Pinterest

Share This

Share This

Share this post with your friends!