โดย admin | ก.ย. 24, 2024
ขอเชิญร่วมงานบุญกฐินสามัคคีวัดป่าบ้านตาด ประจำปี 2567
กำหนดการ
วันที่ 17 ตุลาคม 2567
- รวมกฐินและบริวารกฐินที่ศาลาใหญ่
วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2567
- เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป เจริญพระพุทธมนต์สมโภชองค์กฐิน ฟังธรรมเทศนา
วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2567
- เวลา 07.15 น. คณะสงฆ์วัดป่าบ้านตาดรับบาตรญาติโยม สมาทานศีล ฟังธรรมเทศนา คณะสงฆ์อนุโมทนาพร รับประทานอาหารร่วมกัน
- เวลาประมาณ 10.00 น. ขอเชิญร่วมกันถวายกฐินและบริวารกฐิน กล่าวคำถวายกฐินแก่คณะสงฆ์วัดป่าบ้านตาด รับพรคณะสงฆ์วัดป่าบ้านตาด
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชีกฐินสามัคคีวัดป่าบ้านตาด
อนุโมทนาบุญเป็นอย่างสูงแก่ผู้ที่ร่วมบุญ
โดย admin | ก.ย. 23, 2024
วันอาทิตย์ ที่ 20 ตุลาคม 2567
วัดธรรมมงคล ขอเชิญร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี
เพื่อบูรณะพระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ศรีรัตนโกสินทร์
❖เจ้าภาพกฐิน❖
คุณธงชัย-คุณสถาพร นีรนาทวงศ์
❖เจ้าภาพบริวารกฐิน❖
คุณโกมล – คุณศรีภรณ์ ลาภพรหมรัตน
————————————
ร่วมทำบุญทอดกฐินได้ที่
ธนาคารกรุงไทย สาขาสุขุมวิท 93 บัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี “วัดธรรมมงคล เพื่องานทอดกฐินสามัคคี”
เลขบัญชี 047-0-40564-3
————————————
❖ติดต่อสอบถาม สำนักงานธรรมบริการ วัดธรรมมงคล❖
โทร : 02-332-4145, 092-452-4900
❖ติดต่อร่วมเป็นเจ้าภาพ,เจ้าภาพร่วม,เจ้าภาพบริวารกฐิน❖
พระครูธรรมภาณโกวิท โทร 062-669-9699
อ.วิยะดา แย้มสรวล โทร 084-450-5656
❖ติดต่อเป็นเจ้าภาพผ้าไตรกฐิน (ไตรครอง – ไตรอาศัย)❖
สำนักงานธรรมบริการ โทร : 092-452-4900
❖ติดต่อจองเจ้าภาพโรงทาน❖
อ.วิยะดา แย้มสรวล โทร : 084 -450-5656
LINE ID : dm_service
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลยครับ https://lin.ee/9xW0kSo
#กฐินวัดธรรมมงคล2567
#วัดธรมมงคล2567
เครดิตจากเพจ https://www.facebook.com/dhammongkol/
โดย admin | ก.ย. 18, 2024
วัดป่าภูหายหลง ขอเชิญชวนสาธุชนผู้เจริญทุกท่านร่วมทำบุญทอดกฐิน เพื่อสร้างศาลาเรือนไทยตรีมุก จำนวน ๘ หลัง ในวันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. โดยพร้อมเพรียงกัน
เครดิตจากเพจ https://www.facebook.com/phuhailong
โดย admin | ก.ย. 15, 2024
ร่วมทำบุญ
สงเคราะห์ผู้ป่วย เด็ก และคนชราอนาถา
ธ.ทหารไทยธนชาต 304-2-55909-0
ธ.กรุงศรี 792-1-13279-8
ธ.กรุงเทพฯ 289-3-04400-4
ชื่อบัญชี วัดพระบาทน้ำพุ
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการ
และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง
ธนาคารกรุงไทย เลขที่ 129-0-91102-9
ชื่อบัญชี วัดพระบาทน้ำพุ
ธ.กสิกรไทย 506-1-02101-0
ชื่อบัญชี ถวายสังฆทานวัดพระบาทน้ำพุ
บริจาคทาง
กด *494333 โทรออก
บริจาคครั้งละ 15-.
กด *499222 โทรออก
บริจาคครั้งละ 9-.
ติดต่อบริจาคสิ่งของ
ต.เขาสามยอด อ.เมือง
จ.ลพบุรี 15000
062-7518800
————————————-
วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
ณ ห้องประชุมศาลาร่วมใจศรัทธา
วัดพระบาทน้ำพุ ต.เขาสามยอด
อ.เมือง จ.ลพบุรี 15000
โดย admin | ก.ย. 6, 2024 | บทความน่าสนใจ
การทอดกฐิน หรือ ประเพณีทอดกฐิน จะเริ่มถามกันในช่วงใกล้ออกพรรษากันบ่อยครั้งและรวมถึงเร่ิมเห็นป้ายตามริมทางแสดงวันทอดกฐินของแต่ละวัด ทั้งที่ใกล้บ้าน หรือ ทางโซเชี่ยล บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการทอดกกฐิน ความหมาย ที่มาและประเภทของกฐิน
ออกพรรษา 2567 ตรงกับวันที่เท่าไหร่ ประวัติและความสำคัญตักบาตรเทโว คลิกอ่านเพิ่มเติม
ประเพณีทอดกฐิน
กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น
(ที่มาข้อมูลกฐิน จาก https://news.trueid.net/detail/vWyxxKGp0ZMe)
ประเพณีกฐิน ในแต่ละปีนั้นจะกำหนดไว้ว่า หลังจากออกพรรษาและภายใน 1 เดือนนับจากออกพรรษา โดยสามารถจัดได้ปีละ 1 ครั้ง และมีพระที่จำพรรษาไม่ขาดในระหว่างพรรษา ไม่ต่ำกว่า 5 รูป
เครดิต https://dharayath.com/
ประเพณีการทอดกฐินที่มาสมัยพุทธกาล
การทอดกฐินหรือการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน เป็นการถวายทานที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก ชื่อมหาวัคค์ เรื่อง กฐินขันธกะ (หมวดว่าด้วยกฐิน) ว่า ครั้งหนึ่งมีภิกษุชาวเมืองปาฐา หรือปาวา จำนวน ๓๐ รูป ที่เดินทางมาด้วยหวังจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ซึ่งประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี พอถึงเมืองสาเกตุอีก ๖ โยชน์จะถึงเมืองสาวัตถีก็ถึงกาลเข้าพรรษา จึงต้องอยู่จำพรรษา ณ เมืองสาเกตุ ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ ในระหว่างจำพรรษาอยู่นั้นก็มีความกระวนกระวายในการอยากจะเข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาค ครั้นเมื่อออกพรรษา ก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคทันที ทำให้น้ำหรือโคลนตมเปรอะเปื้อนจีวรในระหว่างเดินทาง เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้เข้าเฝ้า พระพุทธองค์ ทรงปฏิสันถารด้วยภิกษุเหล่านั้น และทรงทราบถึงความลำบากของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น จึงทรงยกเป็นเหตุมีพระพุทธานุญาตให้กรานกฐิน และโปรดให้เป็นการสงฆ์ คือเป็นสังฆกรรมสำหรับภิกษุทั้งหลายทั่วไป ในระยะเวลาภายหลังวันออกพรรษาแล้วหนึ่งเดือน (ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒)
ผ้ากฐิน ผ้าที่จะทำเป็นผ้ากฐินได้นั้น เป็นผ้าใหม่ก็ได้, ผ้าเทียมใหม่ก็ได้, ผ้าเก่าหรือผ้าบังสุกุลก็ได้ แต่ผ้าเหล่านี้จะต้องมีพอที่จะทำไตรจีวรผืนใดผืนใดผืนหนึ่ง (ผ้าไตรจีวร ของพระสงฆ์มี ๓ ผืน คือ สบง = ผ้านุ่ง, จีวร = ผ้าห่ม, และสังฆาฏิ = ผ้าซ้อนห่ม หรือผ้าพาด) ผ้านี้คือผ้าองค์กฐิน ส่วนสิ่งของอื่นๆ ไม่ใช่องค์กฐิน แต่เป็นบริวารกฐิน บริวารกฐินนี้จะมีมากหรือน้อยก็ได้ไม่มีกำหนด แล้วแต่ตามศรัทธาของผู้ถวาย
กฐิน ตามอรรถกถาฎีกาต่างๆ กล่าวไว้มี ๒ ลักษณะ คือ
๑. จุลกฐิน เป็นกิจกรรมสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนดวันหนึ่ง นับตั้งแต่การเก็บฝ้าย ปั่นฝ้าย กรอ ทอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันฑ์ ได้ขนาดตามวินัย แล้วทอดถวายให้แล้วเสร็จในวันนั้น
๒. มหากฐิน เป็นการจัดหาผ้ามาเป็นองค์กฐิน พร้อมทั้งเครื่องไทยธรรม บริวารเครื่องกฐินจำนวนมาก ไม่ต้องทำโดยรีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหาทุนในการบำรุงวัด เช่น การบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานภายในวัด
เครดิต https://katin.dra.go.th/history/index
ทอดกฐินมีพิธีกรรมอย่างไรบ้าง
เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพ อุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้
คำถวายผ้ากฐิน
” อิมัง มะยัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง สะปะริวารัง, กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหตตะวาจะ, อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะ ฯ ”
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย และ เมื่อรับแล้วขอจงกรานใช้ กฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์ และ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ ฯ
อานิสงส์ของผู้ทอดถวายผ้ากฐิน
- สร้างความสามัคคีในระหว่างพุทธบริษัท
- เป็นการสั่งสมทุนคือบุญกุศลไว้ในภายภาคหน้า
- ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่
- ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ตามพระวินัยซึ่งเป็นไปตามพระบรมพุทธานุญาต
- เป็นการรักษาประเพณีที่ดีงามสืบกันไป
- เป็นการบูชาพุทธโอวาทของพระบรมศาสดา
- ทำตนให้เป็นประโยชน์ สละทรัพย์ให้มีประโยชน์ต่อพุทธศาสนา
- เป็นการสร้างทางไปสวรรค์และนิพพานให้แก่ตนเอง
เครดิต https://www.sanook.com/horoscope/106725/