เทศกาลกินเจ  ปี 2566 ความหมายและการปฏิบัติตนใจช่วงเทศกาล

เทศกาลกินเจ ปี 2566 ความหมายและการปฏิบัติตนใจช่วงเทศกาล

เทศกาลกินเจ ปี 2566 ตรงกับวันที่เท่าไหร่

เทศกาลกินเจ   กำหนดตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี รวม 9 วัน ซึ่งจะตรงกับเดือนตุลาคมของไทย

 

เทศกาลกินเจปีนี้ ตรงกันวันอะไร

สำหรับเทศกาลกิจเจปี 2566 นี้กับวันที่ 15-23 ตุลาคม โดยตามธรรมเนียมต้องเริ่มเตรียมล้างท้องก่อนในวันที่ 14 ต.ค.  ก่อน

 

ความหมาย “การกินเจ”

เครดิตข้อมูล https://www.thaipbs.or.th/news/content/332721

“เจ” ในภาษาจีนทางพุทธศาสนานิกายมหายานมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธนิกายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ

ประวัติ ความเชื่อเกี่ยวกับ “เทศกาลกินเจ”
ตามตำนานเล่าว่า เมื่อเล่าจื๊อ ศาสดาแห่งลัทธิเต๋าเกิดขึ้นได้ถือพรตของลัทธิเต๋าแต่นั้นมา เมื่อก่อนนั้น การกินเจไม่มีการกำหนดว่าจะกินกันเมื่อไร แต่ถือเอาความสะดวกของผู้กิน จะกินวันไหน เดือนไหนก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนนิยมกินเจในช่วงไว้ทุกข์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการปฎิบัติตนในทางที่ดีงาม เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย

ต่อมาเมื่อเกิดกบฏไท้เผ้ง ซึ่งชาวจีนได้รวมตัวกันเพื่อต่อต้านและหวังกอบกู้แผ่นดินจากพวกแมนจู ผู้ก่อการกบฏ ถูกจับประหารชีวิต ยังความโศกเศร้าเสียใจให้กับชาวจีน จึงร่วมกันปฎิบัติธรรม โดยกินเจและถือศีล เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ถูกประหารชีวิต การกินเจจึงถูกกำหนดให้เป็นเทศกาลตั้งแต่นั้นมา

บางแห่งเชื่อกันว่ากินเจเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม

 

แนะนำพิกัด เที่ยวงานเทศกาลกิจเจ  ระหว่างวันที่ 13-24 ต.ค.2566 นี้

1.เทศกาลกินเจ จังหวัดชลบุรี จัดงานที่ศาลเจ้าหน่าจาชาไท้จื้อ ตำบลอ่างศิลา ระหว่างวันที่ 13-24 ตุลาคม 2566

2.เทศกาลถือศีลกินเจ หาดใหญ่ จัดงานที่สวนหย่อมศุภสารรังสรรค์ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 14-23 ต.ค.2566

3.เทศกาลถือศีลกินเจ ปราจีนบุรี จัดงานที่มูลนิธิสว่างบำเพ็ญธรรมสถาน จังหวัดปราจีนบุรี ระหว่างวันที่ 14-23 ต.ค.2566

4.งานประเพณีถือศีลกินผัก พังงา จัดงานที่ศาลเจ้าในจังหวัดพังงา จังหวัดพังงา ระหว่างวันที่ 14-23 ต.ค.2566

ขอบคุณข้อมูล https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/travel/1093170

 

 

 

ข่าวอาการอาพาธ หลวงปู่อุทัย สิริธโร เมื่อวันนี้ 15 กันยายน 2566

ข่าวอาการอาพาธ หลวงปู่อุทัย สิริธโร เมื่อวันนี้ 15 กันยายน 2566

หลวงปู่อุทัย สิริธโร เมื่อวันนี้ 15 กันยายน 2566

 

วันนี้ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๖.๐๐ น.
หลวงปู่อุทัยนั่งรถวีลแชร์ออกมาดูรอบๆ บริเวณวัด
ตั้งแต่ กุฏิเจดีย์ญาณสัมปันโนมหาเถระ ผ่านเจดีย์พระพุทธรัตนสิริมงคล ผ่านโรงครัว และ
ออกไปถึงถนนทางเข้าหน้าวัด
โดยมีลูกศิษย์และผู้มาปฏิบัติธรรมที่วัดรอกราบหลวงปู่ระหว่างทาง
วันนี้ ๑๔ ก.ย. เวลา ๑๕.๓๐ น.
เป็นช่วงเวลาที่หลวงปู่ออกมาภายนอกห้องปลอดเชื้อเพื่อนั่งพักผ่อนอิริยาบท
หลวงปู่อุทัย
อาการอาพาธ จากการตรวจ ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กันยายน
วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน หลวงปู่อุทัย
ขอขอบคุณข่าวจาก เพจ
ทอดผ้าป่าสามัคคี 2566 กู้ภัยพรหมธรรม สีคิ้ว ณ มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ สีคิ้ว

ทอดผ้าป่าสามัคคี 2566 กู้ภัยพรหมธรรม สีคิ้ว ณ มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ สีคิ้ว

ประชาสัมพันธ์ ร่วมเป็นเจ้าภาพ ทอดผ้าป่าสามัคคี 2566 กู้ภัยพรหมธรรม สีคิ้ว ณ มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ สีคิ้ว

เพื่อสมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์กู้ภัยและอุปกรณ์ปฐมพยาบาล

วันที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 10.30 น. ณ​ มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ สีคิ้ว ทอดผ้าป่าสามัคคี 2566

ติดต่อสอบถาม 044-412-061 และ 081-877-3814

 

ขอบคุณที่มาจากเพจ กู้ภัยสีคิ้ว

ขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยครับ

 

https://goo.gl/maps/eaXp4RqmoYrQPbce8

วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม ไหว้พระสักการะ องค์ท้าวเวสสุวรรณ

วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม ไหว้พระสักการะ องค์ท้าวเวสสุวรรณ

มาทำความรู้จักกับ วัดจุฬามณี (จังหวัดสมุทรสงคราม)

(https://th.wikipedia.org)

วัดจุฬามณีเดิมมีชื่อเรียกว่า วัดแม่เจ้าทิพย์ สร้างมาแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2172–2190 ตามประวัติว่าท่านท้าวแก้วผลึก (น้อย) ธิดาคนหนึ่งของท่านพลายซึ่งเป็นนายตลาดบางช้าง มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขนอนตลาด ต้นวงศ์ราชนิกูลบางช้าง เป็นผู้สร้าง

ในช่วงสงครามกรุงศรีอยุธยากับพม่า ท่านนาค (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) พระอัครชายาเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะทรงครรภ์แก่ ได้หลบซ่อนพม่าอยู่ในป่าทึบหลังวัดจุฬามณี ต่อมาได้มีประสูติการท่านฉิม (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) คาดว่าสถานที่ประสูติน่าจะใกล้ต้นจันทน์อันเป็นนิวาสถานหลังเก่าของท่านเศรษฐีทอง อีกทั้งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) พระพี่นางองค์ที่ 2 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ได้หลบภัยพม่ามาอาศัยอยู่กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชด้วย กำลังอยู่ในระหว่างทรงพระครรภ์แก่และได้มีพระประสูติการพระธิดาในป่าหลังวัดจุฬามณีด้วยเช่นกัน คือสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

สถานที่สำคัญ ของวัดจุฬามณี

ไหว้สักการะ สรีระสังขารร่างไม่เน่าไม่เปื่อยของหลวงพ่อเนื่อง และ ถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตรจีวร

ขอบคุณภาพจาก เว็บ พระเครื่อง55 .comหลวงพ่อเนือง

ในสมัยหลวงพ่อแช่ม ท่านได้ริเริ่มปลูกสร้างเสนาสนะสงฆ์และสร้างศาลาการเปรียญจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2463 หลังจากนั้นพระเนื่อง โกวิโท ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อไป ซึ่งต่อมาก็คือพระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง โกวิโท) จนเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 หลวงพ่อเนื่องสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่เสื่อมโทรม ต่อจากนั้นพระอาจารย์อิฏฐ์ ภทฺทจาโร ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจุฬามณีด้วยวัยเพียง 32 ปี ท่านได้สร้างอุโบสถของหลวงพ่อเนื่องที่ยังค้างอยู่ ปูพื้นอุโบสถชั้นบนสุดที่ยังค้างอยู่ด้วยหินหยก จากการาจี ประเทศปากีสถาน จนแล้วเสร็จ

 

โบสถ์จัตุรมุขหินอ่อน

อุโบสถจตุรมุข หินอ่อน 3 ชั้น กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ประตูหน้าต่างด้านในแกะสลักเป็นลายไทย ส่วนด้านนอกเป็นงานฝีมือสมุกรักฝังมุก มีอัลลอยด์ลายดอกไม้เถาทุกประตูและหน้าต่าง และหน้าต่างด้านนอกมีรูปเทพประจำทิศเป็นอัลลอยด์ ด้านในแกะสลักเป็นลายไทย และเรื่องราวในนิทานชาดก นอกจะเป็นงานฝีมือสมุกรักฝังมุก

ภาพตราพระราชลัญจกรของรัชกาลที่ 1–9 พระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตราแผ่นดิน ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์

วัดจุฬามณี-อัมพวา-สมุทรสงคราม

Cr By facebook.com/pg/chula.manee.106

ศาลาหลวงปู่เนื่อง เป็นศาลาที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ฝาผนังด้านในลงรักปิดทองเป็นเรื่องทศชาติชาดก ส่วนที่อยู่เหนือทางเข้าเป็นลายรดน้ำเรื่องนารายณ์สิบปาง นอกจากนั้นวัดยังมีองค์ท้าวเวสสุวรรณประดิษฐานอยู่ ณ ลานกลางแจ้งหน้าวัด (https://th.wikipedia.org)

องค์ท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี นิยมไหว้ขอพร,เสริมดวง,แก้กรรม และเสริมการเงิน

ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ในท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 อธิบดีแห่งอสูร โดยเป็นเทพผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา และ เป็นเทพผู้คุ้มครองโลกมนุษย์ คอยปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไปจากชีวิต อีกทั้งยังเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภที่มีขุมทรัพย์มหาศาล

 

 แนะนำอ่าน คลิก

การแก้กรรม ควรจะแก้อย่างไรให้ถูกต้อง และได้ผลจริง !!

องค์ท้าวเวสสุวรรณ

https://www.facebook.com/watjulamanee

วิธีไหว้สัการะ ท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี คาถาบูชา และวิธีการขอพรองค์ท้าวเวสสุวรรณ

  • จุดธุป 5 ดอก
  • พร้อมพวงมาลัย แสดงถึงความเคารพ

คาถาบูชาองค์ท้าวเวสสุวรรณ

ตั้งนะโม 3 จบ ระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ครูอาจารย์

ปุตตะ กาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเย กายะยายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตวาฯ

อิติปิโส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มะระณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโม พุทธายะฯ

ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชาชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต เวสสะพุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะฯ

แล้วตั้งจิตอธิฐานให้ขอรำลึกถึง องค์ท้าวเวสสุวรรณ ขอให้สมหวังในเรื่อง หรือ ในสิ่งที่ตั้งใจมุ่งหวัง

ข้อมูล วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม เดินทางไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำบุญ คือ ศรัทธาด้วยกาย วาจา ใจ ที่ตั้งอยู่ในศีล ในธรรม จะนำพาการเข้าถึงการนำทางไปสู่การทำบุญที่มีความสุขและนำสิ่งที่ดีเข้ามาในชะตาชีวิต นำไปสู่การดำรงชีวิตด้วยความรุ่งเรือง

แนะนำ ชุดสังฆทานบรรเทากรรม เพื่อเสริมดวงชะตา

สังฆทานชุด ธาราญา บรรเทากรรม

 

ที่มาบทความดีๆ จาก DHARAYATH.COM

 

ตัดกรรม คืออะไร ตัดได้จริงหรือไม่ คำสอนของพระพุทธเจ้าตัดกรรมได้หรือไม่

ตัดกรรม คืออะไร ตัดได้จริงหรือไม่ คำสอนของพระพุทธเจ้าตัดกรรมได้หรือไม่

ในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอนให้คนทำบุญแล้วกรรมที่เคยทำน้ันจะหาย หรือ ไปทำพิธีตัดกรรมใด ๆ แล้วจะทำให้ชีวิตดีขึ้น มาจากการทำพิธีนั้น ๆ  แต่จุดมุ่งหมายของศาสนาพุทธ คือ การให้เข้าถึงปัญญาของการหลุดพ้น และ เห็นการเป็นไปของ ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องขนทุกข์ออกจากใจของสัตว์โลก เมื่อปฏิบัติตามคำสั่งสอนแล้ว จะทำให้เกิดปัญญา เห็นการตัดกรรมที่แท้จริงในคำสั่งสอน ด้วย หัวใจคำสอน คือ องค์มรรค8 หรือ ที่เราเรียกกัน บ่อย ๆ ว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา

แต่การเร่ิมต้น ตัดกรรม นั้นมักจะมาจากการ ทำบุญ ทำทาน เพื่อละความโลก ซึ่งนำมาสู่ขั้นตอนต่อไปคือ ถือศีล เพื่อรักษาความดีนั้นไว้และรักษาไม่ให้ใจทำความชั่ว  จากนั้นจิตที่มีพื้นฐานที่ต้องสร้างให้เห็นถูกต้องนั้น มีความเข้าใจต่อการเป็นไปของกฏแห่งกรรม ซึ่งไม่มีใครจะหนีพ้นได้  จึงต้องอาศัยการภาวนา และ สร้างสติ เพื่อให้ใจนั้นเข้าไปน้อมถึง กฏ ไตรลักษณ์ เห็นว่า โลกนี้สุดท้ายแล้ว ไม่มีใครจะเป็นอมตะและหนีการตายไม่พ้น จุดนี้คือ การตัดกรรม ที่แท้จริงที่คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นท่านได้ประทานเอาไว้ให้กับชาวโลก

ตัดกรรมคืออะไร และมีความหมายอย่างไร

ขอบคุณที่มาข้อมูล จากเพจ https://dharayath.com/การ-ตัดกรรม/

การ ตัดกรรม คือ การหยุดทำความชั่วหยุดทำบาป ส่วนการตัดเวร คือ การหยุดการพยาบาทอาฆาตจองเวรซึ่งกันและกัน คือไม่แก้แค้นซึ่งกัน และกันรู้จักคำว่าให้อภัยซึ่งกันและกัน และผู้ที่ทำผิดก็ให้รู้จักคำว่าขอโทษ ผู้ที่ถูกขอโทษก็รู้จักคำว่าให้อภัย อันนี้เป็นอุบายตัดกรรมตัดเวร

กรรมคืออะไร ข้อมูลจาก (https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_(%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98)

ในพระพุทธศาสนา กรรม (สันสกฤตकर्म กรฺม, บาลีกมฺม) แปลว่า “การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา” ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม

กรรม มีอะไรบ้าง

กรรม 2 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม – Kamma: action; deed) 

  1. อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ – Akusala-kamma: unwholesome action; evil deed; bad deed) เป็นบาป กรรมชั่ว ความชั่วร้าย ความเสียหาย ความไม่ถูกต้อง ซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรเว้น การกระทำบาป กระทำความชั่ว เรียกว่าทำอกุศลกรรม เรียกย่อว่า ทำอกุศล หรือเรียกว่า ทำบาปอกุศล อกุศลกรรมเกิดมาจากอกุศลมูลอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างคือ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะเมื่อเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุชักนำใจให้คิดทำอกุศลกรรม เช่นเมื่อโลภะเกิดขึ้นก็เป็นเหตุให้คิดอยากได้ เมื่ออยากได้ก็แสวงหา เมื่อไม่ได้ตามต้องการด้วยวิธีสุจริต ก็เป็นเหตุให้ทำอกุศลกรรมอื่นต่อไป เช่น ลักขโมย ปล้น จี้ ฉ้อโกง เป็นต้น
  2. กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คืออโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ -Kusala-kamma: wholesome action; good deed) เป็นบุญ ความดี ความถูกต้อง ซึ่งให้ผลเป็นความสุขโดยส่วนเดียว การทำบุญ การทำความดี เรียกว่า ทำกุศลกรรม หรือเรียกย่อว่าทำกุศล กุศลกรรมที่ควรทำเป็นประจำได้แก่ ให้ทาน เสียสละ รักษาศีล อบรมจิตใจ เจริญภาวนา เรียกย่อว่าบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา ซึ่งสามารถทำได้โดยบรรเทาความโลภ ความโกรธ ความหลงให้น้อยลง เพราะถ้ายังมีความโลภ ความโกรธ ความหลงเต็มจิตอยู่ ก็ไม่สามารถทำกุศลกรรมอะไรได้

ทางตัดกรรม หรือที่ เรียกว่า หนทางดับทุกข์ ที่แท้จริง คือ องค์มรรค 8

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.tewfree.com/%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%848/

 

มรรค 8 หมายถึง หนทางสู่การดับทุกข์ ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิได้รวบรวมสรุปมรรค 8 พร้อมความหมายของแต่ละประการ

มรรค 8 คือหนทางสู่การดับทุกข์ และ ตัดกรรม ให้พ้นทุกข์

มรรค คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งใน อริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น

ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4
สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า โจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม
สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ การละเว้นจากอาชีพฆ่าสัตว์ อาชีพที่เบียดเบียนผู้อื่น
สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน 4 คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4
สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง ฌาน 4

https://dhamma.watchmekorat.com/teaching-and-dhamma/#%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B8%A3

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คำสอนสำคัญ อื่น ๆ https://dhamma.watchmekorat.com/teaching-from-buddha/

Pin It on Pinterest