ทำบุญ คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ

ทำบุญ คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ

ทำบุญ คืออะไร หลายคำตอบและหลายท่านยังมีความลังเล สงสัย ทำไมต้องทำบุญ ทำแล้วได้อะไร อย่างไร แล้วพระพุทธเจ้าท่านให้หลักธรรมทำบุญไว้อย่างไร ถึงจะทำแล้วไม่งมงายและมีสติ

ซึ่งโดยเบื้องต้นแล้ว จุดมุ่งหมายของศาสนาคือ การให้คนพ้นทุกข์ ด้วยการเดินตามทางสายกลางคือ องค์มรรคแปดประการ หรือ ย่ออย่างง่ายเบื้องต้นคือ ทาน ศีล สมาธิ และ สุดท้ายคือมี ปัญญา เพื่อเห็นทางพ้นทุกข์ และจุดมุ่งหมายแรกคือ ก่อนไปในถึงความเข้าใจในขั้นอื่น ๆ นั้น ต้องมี ทาน และ ศีล เป็นที่สมบูรณ์อย่างมีสติ และ เหตุผล ไม่งมงาย  การให้ทาน ก็คือ การให้เพื่อไม่ให้เห็นแก่ตัว และ ละความโลภที่มีในตน กล่าวง่าย ๆ อีกแบบคือ การทำบุญทำทาน

ทำบุญ คืออะไร

การทำบุญ หมายถึง การประกอบให้ความดีเกิดขึ้น ซึ่งมาจากคำว่า “บุญ” (บาลี: ปุญฺญ) หรือ บุณย์ (สันสกฤต: ปุณฺย) ที่หมายถึง ความดี ตรงกันข้ามกับคำว่า บาป (บาลี: อปุญฺญ)

เครดิต https://www.wreathnawat.com/merit-making-in-buddhism/

ทำบุญ ที่จะให้ได้ผลบุญมากหรือน้อยนั้น มีหลักเกณฑ์อยู่ 3 ประการคือ

1.ผู้รับ จะต้องเป็นผู้มีศีล มีคุณธรรมความดี แต่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นพระสงฆ์ หรือนักบวช จะเป็นคนทั่วไปก็ได้ ถ้าผู้รับดี ผู้ทำก็ได้บุญมาก หากผู้รับไม่ดี ก็อาจจะทำให้เราได้บุญน้อย เพราะเขาอาจอาศัยผลบุญของเรา ไปทำชั่วได้ เช่น ให้เงินช่วยเหลือเพื่อนๆ กลับเอาไปปล่อยกู้ สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เป็นต้น

2.วัตถุสิ่งของที่ให้ต้องบริสุทธิ์หรือได้มาโดยสุจริต เป็นของที่เหมาะและมีประโยชน์ต่อผู้รับ เช่น ให้เสื้อผ้าของเล่นแก่เด็กกำพร้า เป็นต้น ของที่ให้ดีผู้ทำก็ได้บุญมาก หากได้มาโดยทุจริต แม้จะเอาไปทำบุญก็ได้บุญน้อย

3.ผู้ให้ ต้องมีศีลมีธรรมและมีเจตนาที่เป็นบุญกุศลในการทำ จึงจะได้บุญมาก นอกจากนี้ เจตนาหรือจิตใจในขณะทำบุญ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญกล่าวคือ ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ หากผู้ให้มีความตั้งใจดี ตั้งใจทำ เมื่อทำแล้วก็เบิกบานใจ คิดถึงบุญกุศลที่ได้ทำเมื่อใด จิตใจก็ผ่องใสเมื่อนั้น เช่นนี้ก็จะทำให้ผู้ทำได้บุญมาก ถ้าไม่รู้สึกเช่นนั้น บุญก็ลดน้อยถอยลงตามเจตนา

เครดิตเพจ https://www.thaihealth.or.th

การทำบุญนั้น มีหลักธรรมอันสำคัญคือ บุญกิริยา 10 ประการที่กล่าวได้ว่าไม่เสียเงินทองเลย ซึ่งมีข้อเดียวที่เสียวัตถุ คือ ทานมัย ที่เหลือ 9 ข้อไม่มีการเสียวัตถุในการทำบุญ ซึ่งกล่าวได้ว่า ใช้ศรัทธาและปัญญาอย่างมีสติในการทำบุญ ที่มุ่งเน้นการละความโลภมิใช่การนำมาอวดว่ามีบุญมากกว่าสูงกว่า แต่มีคุณธรรม กุศลจิตที่เข้าสู่ในจิตใจ และนำไปสู่การปฏิบัติ ศีล สมาธิ ภาวนาได้ สงบ ปราศจากการกกังวลใด ๆ ต่ออำนาจของกิเลส

บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ

บุญกิริยาวัตถุ แปลว่า หลักแห่งการบำเพ็ญบุญ หรือทางมาแห่งบุญ ๑๐ ประการ คือ

๑. ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน
๒. สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อม ถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. ไวยยาวัจมัย บุญเกิดจากการขวนขวาย ในกิจที่ชอบ
๖. ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการอุทิศส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญเกิดจากการทำความเห็นให้ตรง

พละ 5 คืออะไร กำลังแห่งหลักธรรมรู้แจ้งและกำจัดนิวรณ์

พละ 5 คืออะไร กำลังแห่งหลักธรรมรู้แจ้งและกำจัดนิวรณ์

พละ 5 หรือกำลังทั้ง 5 ที่สนับสนุนให้มีกำลังต่อจิตใจให้นำพาไปสู่ความสำเร็จ นับว่าเป็นหลักธรรมหนึ่งซึ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะที่ปฏิบัติภาวนาสมาธิ เพราะการปฏิบัติให้ได้เกิดความสงบจากสมถะนั้น เป็นเรื่องที่ต้องเผชิญกับความวุ่นวายมากมายของจิต เพราะจิคดั้งเดิมนั้น จิตจะชอบท่องเที่ยว

ดังนั้น ผู้ที่ตั้งใจจะนั่งสมาธิและปฏิบัติภาวนาที่เพิ่งเร่ิมต้น ต้องอาศัยกำลังใจพละ 5 อย่างมาก เมื่อนั่งสมาธิใหม่แล้วจะเผชิญความปรุงแต่ง ไม่นิ่ง เกิดความท้อ ง่วง สับสน ลังเลว่า นั่งหลับตาไปทำไม ไม่เห็นมีอะไร  จนเกิดการเลิกก็มาก

หลักธรรมอันนี้จึงเป็นหลักทำที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างกำลังและพลังใจในการปฏิบัติ รวมถึงนำมาต่อสู้กับนิวรณ์ ในการนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติธรรม และเป็นหลักธรรมที่เป็นปกปักษ์กับ นิวรณ์ 5 ที่เป็นเครื่องกั้นและปิดขวางไม่ให้บรรลุความดีไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรม รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รู้สึกหดหู่ไม่อยากทำอะไร ท้อแท้ หมดหวัง  แต่ถ้าเราเข้าถึงหลักธรรม พละ5 จะทำให้มีความต่อสู้ทำให้เกิดความเพียร ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้

พละ 5 คืออะไร

พละ 5 คืออะไร

คือ กำลังห้าประการ  ได้แก่

1. ศรัทธาพละ  ความเชื่อ กำลังแห่งความเชื่อ ความศรัทธา เป็นศรัทธาที่มีสติในความเชื่อ และไม่งมงาย อธิบายตามหลักเหตุผล เข่น เชื่อในความขยันและอดทน ย่อมผ่านอุปสรรคและนำพาไปสู่ความสำเร็จ

2.วิริยะพละ ความเพียร กำลังแห่งความเพียรพยายาม ไม่ท้อถอย ทำให้ลดความหดหู่ลงไป มีกำลังใจให้กับตัวเอง เมื่อเห็นสภาวะเเห่งเหตุผลและความเป็นจริง ส่งผลให้มีความศรัทธาที่มีความเพียร เช่นไม่ท้อในการทำความดีเเละละความชั่ว ไม่ท้อ

3. สติพละ ความระลึกได้ กำลังแห่งสติ ระลึกรู้ รู้ตัวเองว่าทำอะไร ไม่สามารถทำให้ความโกรธ ราคะ เข้ามาครอบงำจิตใจ เพราะการรู้ตัวว่าเหตุเหล่านี้จากนิวรณ์นำมาสู่ความเดือนร้อนในภายหลังมากมาย ตั้งสติด้วยอารมณ์แห่งวิปัสนากรรมฐาน รู้ ทุกอย่างต้องดับ จากกันไปเป็นตามธรรมดา เห็นการปรุงแต่งจากสังขารเหล่านั้นก็ไม่เที่ยง

4.สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังแห่งใจที่ตั้งมั่น ความตั้งมั่นเหมือนรักษาความดี ไม่ให้ความดีนั้นหายไปจากสติ แต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในความดีนั้น

5.ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังแห่งความรู้ที่เกิดจากปัญญาญาณ จิตคือตัวรู้ที่ได้ปัญญา ความรอบรู้ ที่มีสติและสมาธิเป็นฐานเพื่อส่งเสริมให้เห็นปัญญา โลกุตตระ แห่งสัจธรรม

ธรรมอันเป็นปกปักษ์นิวรณ์ทั้ง 5 ข้อ

1.ศรัทธา แก้วิจิกิจฉา ความเชื่ออันมีปัญญาและเหตุผลตามธรรมะ นำมาสู่การแก้ความสงสัยลังเล เช่น ลังเลสังสัยในนิพาน
2.วิริยะ แก้ถีนมิทธะ ความเพียร พยายาม ไม่ลังเล นำพามาสู่ความอดทน แก้ความหดหู่ ซึมเศร้า
3.สติ แก้พยาบาท
4.สมาธิ แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
5.ปัญญา แก้กามฉันทะ

ขอบคุณเครดิตเพจ

 

นิวรณ์ 5 คืออะไร และ แก้นิวรณ์อย่างไรให้สมาธิสงบ

นิวรณ์ 5 คืออะไร และ แก้นิวรณ์อย่างไรให้สมาธิสงบ

นิวรณ์ 5 คำนี้ได้ยินและได้อ่าน ด้วยความสงสัย ความไม่เข้าใจ ในการปฏิบัติ เช่น เมื่อทำบุญแล้ว นั่งสมาธิภาวนา ก็ไม่ได้เกิดอะไรก้าวหน้า ทำให้เกิดลังเล สงสัย  ทำไปเกิดความหดหู่ ท้อถอย และสุดท้ายเลิกปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้นี่เองที่เรียก เครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุ ในการที่เราตั้งใจ ที่เราเรียกกันว่า นิวรณ์

นิวรณ์ 5 คืออะไร

คือ เครื่องกั้นและปิดขวางไม่ให้บรรลุความดีไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรม

นิวรณ์ข้อมีอะไรบ้าง

1.กามฉันทะ ความพอใจในกาม 

คือ ความลุ่มหลงในกามอารมณ์ ยินดีในรูป ราคะ พอใจ กามอารมณ์ต่าง ๆ

2.โกธะ พยาบาท ปองร้าย 

คือ ความโกรธ เกลียด ชัง ความคุ้นแค้น เคือง

3.ถีนมิทธะ ความหดหู่ ซึมเศร้า 

ความเกียจคร้าน ท้อแท้ เศร้าซึม หมดหวัง เสียใจ หมดอาลัย ไร้กำลังใจ เบื่อ ไม่อยากจะทำอะไร  บางครั้งอาจทำให้เข้าใจว่าเป็นการปล่อยวาง แต่แม้จริง คือ ซึมเศร้า ท้อแท้

4.อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน

ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ  คิดไม่ตก ฟุ้งซ่านในสิ่งที่มากระทบ อายตนะ ทางกาย วาจา ใจ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ ว่าจะเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ปรุงแต่งเหมือนเชือกพันกันไม่สามารถแก้ปมได้

5.วิจิกิจฉา

ความลังเลสงสัย ว่าทำสิ่งนั้นจะเกิดอะไร เช่น เมื่อนั่งสมาธิ แล้วไม่รู้สึกอะไร เหมือนนั่งหลับเฉย ๆ ก็เกิดความลังเล ว่าทำไปทำไม ไม่เห็นเกิดอะไร แต่แท้จริงแล้ว เกิดนิวรณ์เข้าปรุงแต่ง วิจิกิฉา ให้เกิดความสงสัย จิตต้องติดในการปรุงเเต่งในความสงสัย ๆ นั้น ๆ

วิธีการแก้นิวรณ์หรือธรรมอันเป็นปกปักษ์นิวรณ์ทั้ง 5 ข้อ

พละ 5 ธรรมกำลังใจทั้ง 5 ที่นำมาสู่จิคอันเป็นสู้กับนิวรณ์


1.ศรัทธา แก้วิจิกิจฉา ความเชื่ออันมีปัญญาและเหตุผลตามธรรมะ นำมาสู่การแก้ความสงสัยลังเล เช่น ลังเลสังสัยในนิพาน
2.วิริยะ แก้ถีนมิทธะ ความเพียร พยายาม ไม่ลังเล นำพามาสู่ความอดทน แก้ความหดหู่ ซึมเศร้า
3.สติ แก้พยาบาท
4.สมาธิ แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน ให้ความสงบในสมาธิ เข้ามาพิจารณา แล้วโน้มจิตเพียงแค่ดูความฟุ้งซ่าน ว่าปรุงแต่งอย่างไร แล้วก็ปล่อยมันไป
5.ปัญญา แก้กามฉันทะ  ธรรมข้อนี้ค่อนข้างจะลึก เพราะต้องสร้างปัญญาให้เห็นกฏไตรลักษณ์ เพื่อเห็น ความไม่เที่ยงของสังขารที่เราถูกปรุงแต่งให้เห็นว่าสิ่งนั้นสวย น่าหลงไหล และติดในกาม แต่เมื่อมีปัญญาเข้าใจ เห็นว่า เราก็ต้องจากกันไปเมื่อชรา แก่ ไม่มีแล้วความสวยเหล่านั้น 

หรือ

แก้นิวรณ์ โดยกรรมฐาน (ในบทความนี้ขอเน้นการแห้ในด้านกามฉันทะ)

กรรมฐาน (บาลี :kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺฐาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย (เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/)

นิวรณ์ กามฉันทะ 

เมื่อเกิดความกำหนัด ความหลุ่มหลงในรูป กาย ความสวยความงาม อาลัยอาวรณ์อยู่ในกาม ซึ่งย่อมเกิดทุกข์ที่บางครั้งยังไม่ทราบว่าเป็นทุกข์ แต่เมื่อการเปลี่ยนแปลงผ่านไป เกิดทุกข์ เพราะความสวยหมดไป หรือ ถูกทิ้ง เลิกรา หรือ ไม่ได้กายนั้นมาครอบครอง ย่อมส่งผลกับการทุกข์ชัดขึ้น

การแก้นิวรณ์ข้อนี้ คือ อาศัย อสุภะ เข้ามาข่มใจ เห็น ไตรลักษณ์ว่า เราเกิดมา สุดท้ายก็ต้องแก่ ชรา และ ร่างกายเน่า ผิวหนังย่น รวมถึงต้องพลัดพรากจากกายนี้อยู่ดี ไม่ว่าจะสวยอย่างไร ทำให้อยากแค่ไหน วันเวลาก็ผ่านไปจะร่างกายก็จะเหี่ยวย่น เป็นรังของโรค เป็นเพียงแค่ เลือด น้ำหนอง เส้นเอ็น ผม กระดูก มารวมตัวกันเฉย ๆ

ศีล 5 ที่สามารถควบคุมนิวรณ์

  • พยาบาท ให้ควบคุมด้วย การไม่ฆ่าสัตว์
  • อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
  • กามฉันทะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ประพฤติผิดในกาม
  • วิจิกิจฉา ให้ควบคุมด้วยการไม่พูดเท็จ
  • ถีนมิทธะ ให้ควบคุมด้วย การไม่เสพสิ่งเสพติดอันเป็นเหตุให้ประมาท

 

พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศ วิหาร กรุงเทพมหานคร

จิตที่ไม่มีสมาธิก็เพราะมี นิวรณ์ ทำให้ไม่ได้มีความสงบ ไม่ใช้ปัญญา จึงได้แสดง นิวรณ์ ๕ และกัมมัฏฐานสำหรับแก้เพิ่มเติม ดังต่อนี้
๑. ความพอใจใฝ่ถึงด้วยอำนาจของกิเลสกาม เรียกว่า “กามฉันทะ”
แก้ด้วยเจริญ อสุภกัมมัฏฐาน พิจารณาซากศพ หรือเจริญ กายคตาสติ พิจารณา ร่างกายอันยังเป็นให้เป็นของน่าเกลียด

๒. ความงุ่นง่านด้วยกำลังโทสะ เรียกรวมว่า “พยาบาท”
แก้ด้วยเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หัดจิตให้เกิดในทางหัดคิดให้เรียเกิดเมตตา สงสาร กรุณา ช่วยเหลือเมื่อมีความสามารถ เกิดความพลอยยินดีไม่มีริษยา เกิดความปล่อยวาง หยุดใจที่คิดโกรธได้

๓. ความท้อแท้ หรือคร้าน หรือความหดหู่ง่วงงุน เรียกว่า “ถีนมิทธะ”
แก้ด้วยเจริญ อนุสติ กัมมัฏฐาน พิจารณาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บ้าง พิจารณาความดีของตนบ้าง เพื่อให้จิตเบิกบาน และมีแก่ใจหวนอุตสาหะ หรือทำอาโลก สัญญา(หมายเหตุ คือ อาโลกกสิน) กำหนดหมายแสงสว่าง ให้จิตสว่าง

๔. ความฟุ้งซ่าน หรือคิดพล่าน และความจืดจางเร็ว หรือความรำคาญ เรียกว่า “อุทัจจกุกกุ จจะ”
แก้ด้วย เพ่งกสิณ กำหนดลมหายใจเข้าออก หัดผูกใจไว้ในอารมณ์เดียว หรือเจริญมรณสติ อันจะทำให้ใจสงบด้วยสังเวช

๕. ความลังเลไม่แน่ลงได้ เรียกว่า “วิจิกิจฉา”
แก้ด้วยเจริญ ธาตุกัมมัฏฐาน หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อ กำหนดรู้สภาวที่เป็นอยู่ตามเป็นจริง

 

เครดิตข้อมูลจากเพจ

 

ข่าวอาการอาพาธ หลวงปู่อุทัย สิริธโร เมื่อวันนี้ 15 มีนาคม 2567

ข่าวอาการอาพาธ หลวงปู่อุทัย สิริธโร เมื่อวันนี้ 15 มีนาคม 2567

รายงานผลตรวจอาการอาพาธ หลวงปู่อุทัย สิริธโร เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๗ โดยคณะแพทย์โรงพยาบาลมหาราช และแพทย์พยาบาล โรงพยาบาลกรุงเทพปากช่อง
เลือด หัวใจ ปอด ฯลฯปกติดี. เป็นที่พอใจของคณะแพทย์
แผลที่เท้าของหลวงปู่หายแล้ว 99% เหลืออีก 1% ที่เป็นจุด
การขับถ่าย การปัสสาวะ. ปกติ
หลวงปู่ปัสสาวะได้เอง. โดยไม่ต้องใช้สายสวนปัสสาวะ
เวลาเปลี่ยนอิริยาบถเป็นนั่ง. องค์ท่านนั่งตัวตรงได้
พระอุปัฏฐากได้เข็นเก้าอี้วีลแชร์ ให้หลวงปู่ออกมาวนรอบวัด. องค์หลวงปู่แจ่มใส. ยิ้มแย้ม. มีกิริยาทักทายญาติโยม และดูแข็งแรงดี
🙏🙏🙏 ขออนุโมทนากับทุกๆ ท่าน และพระทุกรูปที่มีส่วนอุปัฏฐากดูแลหลวงปู่ตลอดมา ที่ทำให้หลวงปู่มีธาตุขันธ์ที่แข็งแรงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง.
หลวงปู่อุทัย วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน
วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน หลวงปู่อุทัย สิริธโร งานมุทิตาจิตอายุวัฒนมงคล วันที่ 12 มีนาคม 2567

วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน หลวงปู่อุทัย สิริธโร งานมุทิตาจิตอายุวัฒนมงคล วันที่ 12 มีนาคม 2567

กำหนดการงานมุทิตาจิตอายุวัฒนมงคล ครบรอบ ๘๘ ปี ๖๘ พรรษา #หลวงปู่อุทัย สิริธโร

  • วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๗ วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

หลวงปู่อุทัย งานมุฑิตาจิต 67 วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน

ขอบคุณเพจ https://www.facebook.com/photo/?fbid=701449415466996&set=a.493488986263041

อ่านข่าวหลวงปู่เพิ่มเติม https://dhamma.watchmekorat.com/

ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ 9 ขันธ์ ต่างกันอย่างไร และเลือกสำหรับงานบวชอย่างไร

ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ 9 ขันธ์ ต่างกันอย่างไร และเลือกสำหรับงานบวชอย่างไร

ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตร สำหรับเตรียมตัวจัดงานบวชน้ัน หลายท่านจะมีความสับสนการเลือกและไม่เข้าใจว่า ทำไมบางครั้งที่ร้านขายผ้าไตรจะถามเราว่า เอาแบบ 5 ขันธ์หรือ 9 ขันธ์ บทความนี้จะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกผ้าไตรสำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อผ้าไตรสำหรับเตรียมในงานบวชให้กับลูกหลาน หรือ จัดหาเพื่อถวายผ้าไตรแด่พระภิกษุ

ผ้าไตรจีวร คืออะไร

ผ้าไตร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร

คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง

ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย

  1. ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์
  2. ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก
  3. สังฆาฏิ หรือ ผ้าซ้อน/ผ้าพาดบ่า

ผ้าไตร ส่วนใหญ่มักนิยมเรียกย่อๆ ว่า ไตร ไตรเต็ม หรือ ไตรแบ่ง

ไตรเต็ม คือ ผ้าไตรที่จัดรวมกันไว้เป็นชุดครบทั้ง 3 ผืน เหมือนผ้าไตรที่นิยมวายกันโดยทั่วไป บางโอกาสอาจจะเพิ่ม กายพันธน์ ผ้าอังสะ  ผ้ารัดอก และผ้ากราบ

  • กายพันธน์ คือ ผ้าประคดรัดเอว (รัดประคด)
  • ผ้าอังสะ คือ ผ้าที่มีลักษณะคล้ายเสื้อใช้คล้องไหล่เฉียงบ่าปิดไหล่ซ้าย พระจะใช้เมื่อเวลาอยู่ที่วัดตามลำพัง (ไม่ต้องห่มจีวรคลุมร่างทั้งผืน)
  • ผ้ารัดอก ใช้สำหรับรัดจีวรเมื่อเวลาห่มดอง
  • ผ้ากราบ ใช้สำหรับรองเมื่อเวลากราบและใช้ปูรับของเมื่อเวลาผู้หญิงประเคนของถวาย

ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ ผ้าไตรจีวร 9 ขันธ์

ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกันเช่น ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็เยอะตาม)

  • สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์ 

 

  • สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวาย ผ้าไตร 9 ขัณฑ์

ชุดเครื่องบวชพระภิกษุสงฆ์ ประกอบไปด้วย

  • ไตรครอง ประกอบด้วยอัฐบขาล 7 อย่าง
  • ไตรอาศัย (สบง, จีวร, อังสะ)
  • ไตรคู่สวด – อุปัชฌาย์
  • ชุดนาค (เสื้อครุยนาค, สบงขาว, ผ้าสไบ)
  • บาตรครบชุด
  • ตาลปัตร
  • ย่าม
  • อาสนะ
  • ต้นเทียนถวายพระอุปัชฌาย์ – พระคู่สวด 3 ใบ
  • กรวยขมา ถวายพระอุปัชฌาย์ – พระคู่สวด 3 ใบ
  • ธูป เทียน แพ พาน
  • เสื่อ
  • ที่นอนพระ
  • หมอน
  • มุ้ง
  • ผ้าเช็ดตัว – ผ้าเช็ดหน้า
  • ผ้าห่ม
  • ปิ่นโต
  • กระโถน
  • จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ
  • รองเท้าแตะ

พิธีการบวช

1. ตอนเย็นก่อนบวชจะมีพิธีโกนหัวนาค ณ โรงพิธีประชุมวงฆ์ นาคทั้งหลายจะรับศีล อาราธนาพระปริตรพระสงฆ์พรมน้ำมนต์และสระผมนาค ผู้ที่โกนหัวอาจเป็นพระสงฆ์หรือพ่อแม่ จากนั้นญาติผู้ใหญ่จะโกนด้วยเล็กน้อย

2. หลังจากนั้นอาบน้ำ เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวนุ่งขาว ห่มขาว เรียกว่า “เจ้านาค”

3. กลางคืนจัดให้มีพิธีสงฆ์เรียกว่า “การสวดผ้า” เจ้านาคต้องมีไตรจีวร และจะมีการทำขวัญนาคด้วยในคืนนี้

4. จะมีการแห่นาคในวันบวชวันรุ่งขึ้น แห่รอบโบสถ์ 3 รอบ เป็นการบูชาพระพุทธศาสนา ขณะที่แห่จะมีการว่าเพลง “คำตัก”

5. เมื่อครบ 3 รอบ นาคจะจุดธูปเทียน บูชาพัทธสีมา มีการกรวดน้ำ

6. หลังจากนั้นญาติจะช่วยกันอุ้มนาคเข้าอุโบสถ ห้ามเหยียบธรณีประตู พ่อแม่นาคส่งไตรครองให้นาค เพื่อถวายพระอุปัชฌาย์ ถวายพระกรรมวาจาจารย์ (พระคู่สวด) และพระอนุสาวนาจารย์ ท่านละ 3 กรวย จากนั้นกล่าวคำขอบรรพชา รับศีล 10 พระอุปัชฌาย์คล้องบาตรสะพาย พระคู่สวดจะประกาศว่าผู้ชื่อนั้นๆ ได้มาขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วตั้งคำถามเป็นข้อๆ เรียกว่า “ขานนาค”

7. เมื่อขานนาคเสร็จ นาคขออุปสมบทต่อคณะสงฆ์ คณะสงฆ์กล่าว อนุศาสน์ (ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติขณะที่บวช)

8. เมื่อจบอนุศาสน์ พระบวชใหม่ถวายของบูชาพระคุณแก่คณะสงฆ์ จากนั้นรับของถวายเครืองไทยธรรมจากญาติ ขณะเดียวกันจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดา มารดา ญาติเป็นอันเสร็จพิธี

Pin It on Pinterest