ปีใหม่นี้ มาทำบุญถวาย สังฆทาน ผ้าไตร กับครอบครัวกัน

ปีใหม่นี้ มาทำบุญถวาย สังฆทาน ผ้าไตร กับครอบครัวกัน

ช่วงเวลาปีใหม่ของทุกปีนั้น ครอบครัวส่วนใหญ่ก็จะมีกิจกรรมพากันร่วมทำบุญตามวัดต่าง ๆ ไม่ว่าจะใกล้บ้านหรือ ตามวัดดัง ๆ อาทิ เช่น วัดบวร วัดสระเกศ  และการทำบุญน้ันก็มีหลายวิธีที่ แต่วิธีที่สะดวก ณ ปัจจุบัน และเหมาะสมกับครอบครัวมาก ๆ ขอแนะนำ คือ ถวายสังฆทาน หรือ ถวายผ้าไตร  ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุญที่มีอานิสงฆ์มาก

การถวายสังฆทาน 

สังฆทาน คือ การถวายสิ่งของแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการถวายกลาง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อถวายให้แล้วก็ถือว่าพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นตามสะดวก อาจจะมีเพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่าเป็นสังฆทานเหมือนกัน

การถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่

การถวายสังฆทานนั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม เช่น การถวายกุฏิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือแม้กระทั่งไม้กวาด แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่อาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานได้ สิ่งของที่จะถวายสังฆทาน มักเป็นสิ่งของที่จำเป็นสำหรับภิกษุสามเณร

ขอบคุณที่มาจากเว็บ ธาราญา การถวายสังฆทาน

ถวายผ้าไตรจีวร

ก็นับว่าเป็นการทำบุญในปีใหม่ที่ขอแนะร่วมทำกับครอบครัว จัดนับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญและของใช้สำหรับพระสงฆ์ โดยเฉพาะผ้าไตรที่ถูกต้องตามหลัก คือ สีแก่นขนุน 9 ขัณฑ์ คลิกดูตัวอย่าง

สามารถถวายทำบุญสายพระป่ากรรมฐานได้ทุกวัด หรือ พระสงฆ์ธรรมยุติ

เช่น วัดป่าบ้านตาด วัดป่านาคำน้อย เป็นต้น

ส่วนตัวของผู้เขียนนับถือ พระอาจารย์หลวงปู่อุทัย , หลวงพ่ออินทร์ถวาย  (แต่ก็มีอีกหลายองค์ที่เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ)ซึ่งนับได้ว่าเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  จะได้อานิสงฆ์อย่างยิ่งเมื่อทำบุญพร้อมครอบครัว ด้วยการถวายพระไตรจีวร รวมถืออุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร

ปีใหม่นี้ขอให้การทำบุญส่งผลให้การเริ่มต้นของการทำงาน หรือ ดำรงชีวิตด้วยมีสติ  พร้อมบุญหนุนส่งด้วยนะครับ

 

 

งานวางศิลาฤกษ์ ซุ้มประตู พระธรรมวิสุทธิมงคล

งานวางศิลาฤกษ์ ซุ้มประตู พระธรรมวิสุทธิมงคล

ขอเชิญร่วมงานวางศิลาฤกษ์

ซุ้มประตูพระธรรมวิสุทธิมงคล
โดยหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
เมตตาเป็นประธานสงฆ์
หลวงพ่อสุธรรม สุธัมโม
เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด
พร้อมคณะสงฆ์ร่วมพิธี

วันอังคารที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕

เวลา ๐๗.๐๐ น. คณะสงฆ์บิณฑบาตและฉันจังหัน
หลังจากนั้นเริ่มพิธีวางศิลาฤกษ์

ณ สถานที่ก่อสร้างซุ้มประตูโขง ถนนทางหลวงชนบท
สาย อด. ๑๐๗๖ ใกล้สามแยกโกลบอลเฮ้าส์บ้านตาด

ผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญได้ที่
บัญชีธนาคารกรุงเทพ

ชื่อบัญชี วัดนาคำน้อยเพื่อสร้างซุ้มประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์พระธรรมวิสุทธิมงคล

เลขที่บัญชี 768-7-77777-6

ติดต่อโรงทาน : พระอาจารย์ไชยญา
โทร. 086-240-6299

งานวางศิลาฤกษ์

กฐิน วัดถ้ำสุขเกษมสวรรค์ จังหวัดลำปาง ประจำปี 2565

กฐิน วัดถ้ำสุขเกษมสวรรค์ จังหวัดลำปาง ประจำปี 2565

เชิญร่วมทำบุญทอด

กฐิน ของสมเด็จพระสังฆราช วัดถ้ำสุขเกษมสวรรค์ จ.ลำปาง

ประจำปี 2565 ในวันที่ 6 พฤศจิกายน นี้ครับ

รูปภาพประกอบ

ข่าวหลวงปู่อุทัย สิริธโร ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2565

ข่าวหลวงปู่อุทัย สิริธโร ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2565

อาการล่าสุด หลวงปู่อุทัย

ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2565

ข่าวอาการหลวงปู่อุทัย

 

ที่มาจากเพจ https://www.facebook.com/watkhaoyaiyannasampanno

ทางเพจ dhamma.watchmekorat.com ขอขอบคุณมากครับสำหรับข่าวหลวงปู่ครับ

ติดตามข่าวหลวงพ่อได้ที่จากที่นี่ครับ 

 

กฐิน วัดมกุฏคีรีวัน เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง ประจำปี 2565

กฐิน วัดมกุฏคีรีวัน เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง ประจำปี 2565

เชิญร่วมงาน กฐินสามัคคี ณ​ วัดมกฏคีรีวัน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

วันเสาร์ที่๒๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ วัดมกุฏคีรีวัน ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ กฐินสามัคคี ด้วยมีนายพลากร สุวรรณรัตน์ หม่อมราชวงศ์ ศุภดิศ ดิศกุล คุณหญิงโรส บริบาลบุรีภัณฑ์ ประธานที่ปรึกษากิตติมมศักดิ์
และมี หจก.9 อินทรีทรัพย์ทวีคูณ คุณทองยศ อินทร์ศร คุณรัสรินทร์ รัศมีโชติธีรกุล คุณแม่พยุง อร่ามรัศมี พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ ร.ต.ต. ณัฏพงษ์ อินทร์ศร
เป็นประธานอุปภัมภ์
ที่มาจากเพจ facebookวัดมกุฏคีรีวัน เขาใหญ่ ปากช่อง นครราชสีมา
แผนที่

ผ้าอาบน้ำฝน

ผ้าอาบน้ำฝน

อีกหนึ่งบทความที่น่าสนใจที่ให้ความรู้เรื่อง ผ้าอาบน้ำฝน

ความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝน
โดยปกตินางวิสาขา จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของนางเป็นประจำ เมื่อการจัดเตรียมภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยพร้อมแล้ว ก็จะให้สาวใช้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง

วันหนึ่งสาวใช้ได้มาตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝนตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึงพากันเปลือยกายอาบน้ำฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็น นักบวชชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า”ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่”

นางวิสาขาได้ฟังคำบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์ จึงทราบเหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสำหรับใช้สอยเพียง 3 ผืน คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม ผ้าสังฆาฎิสำหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสำหรับนุ่ง ดังนั้น เมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำจึงไม่มีผ้าสำหรับผลัดอาบน้ำ ก็จำเป็นต้องเปลือยกายอาบน้ำ

นางวิสาขา จึงอาศัยเหตุนี้ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่บ้าน และเสร็จภัตกิจแล้ว นางวิสาขาจึงได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาต ตามที่ขอนั้น และนางวิสาขาก็เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์

ความหมายของ ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าอาบน้ำฝน เป็นของใช้จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับพระสงฆ์ ซึ่งคนไทยตั้งแต่อดีตมักนำไปถวายพระในเทศกาลเข้าพรรษา บางคนเรียกว่า ผ้าจำนำพรรษา กล่าวคือ เป็นผ้าที่ถวายกันประจำในเทศกาลเข้าพรรษา บางคนก็เรียกสั้นๆ ว่า ผ้าอาบ หรือถ้าเรียกเป็นศัพท์บาลีตามพระพุทธวินัยบาลี จะเรียกว่า ผ้าอุทก หรือ ผ้าอุทกสาฎก แต่ทั้งหมดนี้แปลอย่างง่ายๆ ว่า ผ้าสำหรับนุ่งไป

ผ้าอาบน้ำฝน เป็นของใช้จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับพระสงฆ์ ซึ่งคนไทยตั้งแต่อดีตมักนำไปถวายพระในเทศกาลเข้าพรรษาบางคนเรียกว่า ผ้าจำนำพรรษา กล่าวคือ เป็นผ้าที่ถวายกันประจำในเทศกาลเข้าพรรษา บางคนอาจจะเรียกสั้นๆ ว่า ผ้าอาบ หรือถ้าเรียกเป็นศัพท์บาลีตามพระพุทธวินัยบาลี จะเรียกว่า ผ้าอุทก หรือ ผ้าอุทกสาฎก แต่ทั้งหมดนี้แปลอย่างง่ายๆ ว่า ผ้าสำหรับนุ่งไปอาบน้ำ

พระสงฆ์เถรวาทมีผ้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น 7 ชิ้น เมื่อนำผ้าทั้งหมดมาตัดเย็บเสร็จจะเรียกว่า ผ้าไตร ซึ่งในผ้า 7 ชิ้นนี้มี ผ้าสบง หรือผ้านุ่ง เนื่องจากพระสงฆ์ไม่สามารถสวมกางเกง แล้วก็มีผ้าเอาไว้นุ่งไปอาบน้ำที่เรียกว่า ผ้าอาบน้ำ ซึ่งมีหน้าตาเหมือนสบงแบบหนึ่ง

ผ้าไตรจีวร ซึ่งผ้าขนาดยาวใช้เป็นผ้าห่มคลุมด้านนอก ผ้าสังฆาฏิ คือผ้าที่ใช้พาดบ่า รัดประคต เป็นเส้นเชือกเหมือนเข็มขัด ใช้สำหรับรัดเวลานุ่งสบง อังสะ คือผ้าที่ตัดเย็บเป็นเสื้อตัวยาว สำหรับใช้ทำงานบ้านกวาดลานวัด สุดท้ายคือ ผ้ากราบ ใช้เวลารับประเคนของจากสตรี

กล่าวอย่างง่ายๆ ผ้าอาบน้ำก็คือผ้าสำหรับพลัดเวลาอาบน้ำ ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้น ผ้าอาบเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะในพระวินัยบัญญัติกล่าวว่า มีผู้ไปเห็นพระภิกษุอาบน้ำตามแม่น้ำลำธารแล้วไม่นุ่งผ้า จึงไปติเตียนพระพุทธองค์ เลยมีพุทธบัญญัติว่าเวลาพระสงฆ์อาบน้ำให้นุ่งผ้าด้วย

ปัจจุบันนี้ ผ้าอาบน้ำฝนนั้นมีความจำเป็นน้อยลงอย่างมาก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องสรงน้ำในที่โล่งแจ้งแล้ว เนื่องจากในสังคมปัจจุบันได้มีห้องน้ำเป็นสัดส่วนเรียบร้อย โดยการถวายผ้าอาบน้ำฝนกลายเป็นเรื่องการถวายในพอเป็นพิธีตามที่เคยเป็นประเพณีมา ซึ่งร้านสังฆภัณฑ์บางแห่ง ยังคงจัดจำหน่ายผ้าอาบน้ำฝนในชุดถวายพระในวันเข้าพรรษา แต่เป็นผ้าขนาดเล็กนำมาพับเป็นรูปกระทงสำหรับใส่ปัจจัยถวายอื่นๆ เพื่อความสวยงาม แต่ไม่ได้คำนึงถึงการใช้งานจริง

ดังนั้น ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่จึงไม่นิยมถวายเป็นผ้าอาบแล้ว แต่จะถวายผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดตัวแทนการถวายผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้ทางพระภิษุกสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์ในอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นการปรับเปลี่ยนธรรมเนียมประเพณีไปตามสภาพแวดล้อม ตามยุคสมัย และความจำเป็นที่เปลี่ยนแปลงไป

เครดิต ที่มาจากเพจ

dharayath.com ในบทความเรื่อง ที่มาที่ไป !! ของ “ผ้าอาบน้ำฝน” ฉบับ ธาราญา

(เพิ่มเติม…)

Pin It on Pinterest