เปิดประวัติ ตักบาตรเทโว ประเพณีหลังออกพรรษา และ สถานที่จัดงานปี2566

เปิดประวัติ ตักบาตรเทโว ประเพณีหลังออกพรรษา และ สถานที่จัดงานปี2566

ประวัติ ตักบาตรเทโว

ประวัติ “ตักบาตรเทโว”
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นประเพณีการทำบุญตักบาตรหลังวันออกพรรษา โดยคำว่า “เทโวโรหณะ” แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก แต่เพื่อให้สะดวกในการสื่อความหมาย นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “การตักบาตรเทโว”

โดยที่มาของประเพณีนี้ มาจากตำนาน “การเสด็จลงจากเทวโลกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” คือ หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปประกาศศาสนาทั่วชมพูทวีป ตั้งแต่เมืองราชคฤห์ พาราณสี สาวัตถีตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นราชปิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพุทธสาวกและพระประยูรญาติทั้งหลายให้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของแต่ละบุคคลมาเป็นลำดับถึง 6 พรรษา

จากนั้นพระองค์ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายาพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ดังนั้นในพรรษาที่ 7 หลังจากทรงตรัสรู้ พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษา ทรงเทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา ครั้นหลังออกพรรษา พระพุทธองค์ได้ทรงเสด็จลงสู่โลกโดยเสด็จสถิตเหนือยอดเขาสิเนรุราช โดยมีเหล่าเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างพากันมาถวายเครื่องสักการบูชาเพื่อรับเสด็จพระพุทธองค์ และระหว่างนั้นได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน ดังนั้นในวันนี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลกนั่นเอง

เครดิตข้อมูลจาก https://www.pptvhd36.com

วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา”

คำว่า “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้” คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ “ตักบาตรเทโว”

วันออกพรรษา 2566 ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566

วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน

 

ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา มีดังนี้

1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ร่วมกุศลธรรม “ตักบาตรเทโว”
4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

 

ประเพณีมหัศจรรย์ข้าวต้มลูกโยนแห่งวัดพระพุทธฉาย สระบุรี ประจำปี 2566 คลิกอ่านเพิ่มเติม
เชิญร่วมงานประเพณีมหัศจรรย์ข้าวต้มลูกโยนแห่งวัดพระพุทธฉาย สระบุรี ประจำปี 2566 วันที่ 30 ตุลาคม ณ วัดพระพุทธฉาย จังหวัดสระบุรี

 

งานประเพณีตักบาตรเทโว นครราชสีมา ประจำปี 2566
เชิญร่วมงานประเพณีตักบาตรเทโว จังหวัดนครราชสีมา ประจำปี 2566 วันที่ 4 พฤศจิกายน ณ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดหลวงพ่อพระขาว)

ขอขอบคุณข้อมูลบทความดี ๆจาก www.dharayath.com

เทศกาลกินเจ  ปี 2566 ความหมายและการปฏิบัติตนใจช่วงเทศกาล

เทศกาลกินเจ ปี 2566 ความหมายและการปฏิบัติตนใจช่วงเทศกาล

เทศกาลกินเจ ปี 2566 ตรงกับวันที่เท่าไหร่

เทศกาลกินเจ   กำหนดตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี รวม 9 วัน ซึ่งจะตรงกับเดือนตุลาคมของไทย

 

เทศกาลกินเจปีนี้ ตรงกันวันอะไร

สำหรับเทศกาลกิจเจปี 2566 นี้กับวันที่ 15-23 ตุลาคม โดยตามธรรมเนียมต้องเริ่มเตรียมล้างท้องก่อนในวันที่ 14 ต.ค.  ก่อน

 

ความหมาย “การกินเจ”

เครดิตข้อมูล https://www.thaipbs.or.th/news/content/332721

“เจ” ในภาษาจีนทางพุทธศาสนานิกายมหายานมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธนิกายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ

ประวัติ ความเชื่อเกี่ยวกับ “เทศกาลกินเจ”
ตามตำนานเล่าว่า เมื่อเล่าจื๊อ ศาสดาแห่งลัทธิเต๋าเกิดขึ้นได้ถือพรตของลัทธิเต๋าแต่นั้นมา เมื่อก่อนนั้น การกินเจไม่มีการกำหนดว่าจะกินกันเมื่อไร แต่ถือเอาความสะดวกของผู้กิน จะกินวันไหน เดือนไหนก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนนิยมกินเจในช่วงไว้ทุกข์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการปฎิบัติตนในทางที่ดีงาม เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย

ต่อมาเมื่อเกิดกบฏไท้เผ้ง ซึ่งชาวจีนได้รวมตัวกันเพื่อต่อต้านและหวังกอบกู้แผ่นดินจากพวกแมนจู ผู้ก่อการกบฏ ถูกจับประหารชีวิต ยังความโศกเศร้าเสียใจให้กับชาวจีน จึงร่วมกันปฎิบัติธรรม โดยกินเจและถือศีล เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ถูกประหารชีวิต การกินเจจึงถูกกำหนดให้เป็นเทศกาลตั้งแต่นั้นมา

บางแห่งเชื่อกันว่ากินเจเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม

 

แนะนำพิกัด เที่ยวงานเทศกาลกิจเจ  ระหว่างวันที่ 13-24 ต.ค.2566 นี้

1.เทศกาลกินเจ จังหวัดชลบุรี จัดงานที่ศาลเจ้าหน่าจาชาไท้จื้อ ตำบลอ่างศิลา ระหว่างวันที่ 13-24 ตุลาคม 2566

2.เทศกาลถือศีลกินเจ หาดใหญ่ จัดงานที่สวนหย่อมศุภสารรังสรรค์ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 14-23 ต.ค.2566

3.เทศกาลถือศีลกินเจ ปราจีนบุรี จัดงานที่มูลนิธิสว่างบำเพ็ญธรรมสถาน จังหวัดปราจีนบุรี ระหว่างวันที่ 14-23 ต.ค.2566

4.งานประเพณีถือศีลกินผัก พังงา จัดงานที่ศาลเจ้าในจังหวัดพังงา จังหวัดพังงา ระหว่างวันที่ 14-23 ต.ค.2566

ขอบคุณข้อมูล https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/travel/1093170

 

 

 

ทอดผ้าป่าสามัคคี 2566 กู้ภัยพรหมธรรม สีคิ้ว ณ มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ สีคิ้ว

ทอดผ้าป่าสามัคคี 2566 กู้ภัยพรหมธรรม สีคิ้ว ณ มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ สีคิ้ว

ประชาสัมพันธ์ ร่วมเป็นเจ้าภาพ ทอดผ้าป่าสามัคคี 2566 กู้ภัยพรหมธรรม สีคิ้ว ณ มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ สีคิ้ว

เพื่อสมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์กู้ภัยและอุปกรณ์ปฐมพยาบาล

วันที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 10.30 น. ณ​ มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ สีคิ้ว ทอดผ้าป่าสามัคคี 2566

ติดต่อสอบถาม 044-412-061 และ 081-877-3814

 

ขอบคุณที่มาจากเพจ กู้ภัยสีคิ้ว

ขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยครับ

 

https://goo.gl/maps/eaXp4RqmoYrQPbce8

ประชาสัมพันธ์ ร่วมบุญ พิพิธภัณฑ์ หลวงพ่อนาม วัดเกาะสีคิ้ว  อำเภอสีคิ้ว

ประชาสัมพันธ์ ร่วมบุญ พิพิธภัณฑ์ หลวงพ่อนาม วัดเกาะสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว

ขอประชาสัมพันธ์ เชิญร่วมทำบุญ พิพิธภัณฑ์ หลวงพ่อนาม ได้บูรณะใหม่

📌1.ปูกระเบื้อง 120 ตารางเมตร
ตารางเมตรละ 500 บาท
📌2. หลังคา ซีแพคโมเนีย 240 ตารางเมตร
ตารางเมตรละ 500 บาท
📌3. ฝ้าหลังคา 120 ตารางเมตร
ตารางเมตรละ 500
ญาติโยมที่จะร่วมทำบุญให้แจ้ง
ความประสงค์ได้ที่ พระครูพิทักษ์ทีปคุณ และพระมหาชิดชัย
ที่วัดเกาะสีคิ้ว
ขอบพระคุณและโมทนาบุญกับทุกท่านครับ
วัดเกาะสีคิ้ว
ร่วมทำบุญได้ที่บัญชีวัดเกาะสีคิ้ว
บัญชีเลขที่ 3270114842
ขอบคุณ เพจ
วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร ร่วมพิธีเททองหล่อ วันเสาร์ ที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖

วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร ร่วมพิธีเททองหล่อ วันเสาร์ ที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖

๏ขอเชิญสาธุชน ร่วมพิธีเททองหล่อ ๏๚ะ๛
#พระพุทธะอัครบดี ขนาดหน้าตัก 20 นิ้ว
และเชิญร่วมทำบุญบูชาแผ่นทอง
เขียนวัน เดือน ปีเกิด

เพื่อประดิษฐานที่ห้องนั่งสมาธิ
ใต้พระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ศรีรัตนโกสินทร์
พระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย

ณ ลานหน้าศาลา ๘๔ ปี
วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร
วันเสาร์ ที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น.

๏ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ญ า ณ ว ชิ โ ร ด ม ๏๚ะ๛
(หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
เมตตาตั้งชื่อ #พระพุทธะอัครบดี
พระพุทธเจ้าทรงเลิศและใหญ่ยิ่ง

ร่วมทำบุญได้ที่ ธ.กรุงไทย เลขที่บัญชี: 0470400021 ชื่อบัญชี:โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดธรรมมงคล

ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 062-669-9699 พระครูธรรมภาณโกวิท โทร. 084-450-5656 อ.วิยะดา แย้มสรวล

วัดธรรมมงคล

https://www.facebook.com/photo?fbid=633196608832868&set=a.466767135475817

Pin It on Pinterest