โดย admin | พ.ย. 17, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ
อภัยทาน นับได้ว่าเป็นหนึ่งในทานที่พระพุทธเจ้าทรงให้ความยกย่องแก่บุคคลที่อโหสิกรรมแล้วยกให้เป็นทาน นับว่ามีจิตใจที่ยกสูงขึ้น เพราะต้องอาศัยความอดทน ขันติ ต่อการโกรธแค้นพยาบาท อดกั้น ต่อความเจ็บต่าง ๆ และปล่อยวางลงให้เข้าไปยึดในการปรุงแต่งของเรื่องนั้น ๆ นับว่าต้องอาศัยจิตใจที่เด็ดเดียวพอสมควร ดังนั้นผู้ที่ปล่อยวางแล้วการให้อภัยเกิดขึ้น จะนำไปสู่การปฏิบัติภาวนาพรหมวิหาร 4 ได้โดยง่าย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นำจิตสู่การเป็นพรหม นับว่ามีอานิสงส์มากมาย
อภัยทาน คืออะไร
การให้อภัยทาน คือ การสละอารมณ์โกรธเป็นทาน ให้อภัย ไม่จองเวร สละอารมณ์โกรธพยาบาทให้ขาดออกจากใจ เป็นการเจริญเมตตาพรหมวิหาร
เครดิตจากเพจ https://th.wikipedia.org/wiki/
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ได้ให้ความหมายของคำว่าอภัยทานดังนี้
อภัยทาน คือ การยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่ เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย
ความจริงนั้น ทุกคนที่สนใจบริหารจิต จะต้องสนใจอบรมจิตให้รู้จักอภัยในความผิดทั้งปวง ไม่ว่าผู้ใดจะทำแก่ตน แม้การให้อภัยจะเป็นการทำได้ไม่ง่ายนัก สำหรับบางคนที่ไม่เคยอบรมมาก่อน แต่ก็สามารถจะทำได้ด้วยการอบรมไปทีละเล็กละน้อย เริ่มแต่ที่ไม่ต้องฝืนใจมากนักไปก่อนในระยะแรก
ตัวอย่างเช่น เวลาขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารคอยขึ้นรถอยู่เป็นจำนวนมาก หากจะมีผู้เบียดแย่งขึ้นหน้า ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่ข้างหลัง ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาไม่ว่าน้อยหรือมาก ก็ให้ถือเป็นโอกาสอบรมจิตใจให้รู้จักอภัยให้เขาเสีย เพราะเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรถือโกรธกันหนักหนา เป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกินควรจะอภัยให้กันได้ แต่บางทีไม่ตั้งใจคิดเอาไว้ก็จะไม่ทันให้อภัยจะเป็นเพียงโกระแล้วจะหายโกรธ ไปเอง
โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ้งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น”
ฉะนั้น การให้อภัยทาน ก็คือ “การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู” ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ “ละโทสะกิเลส” และเป็นการเจริญ “เมตตาพรหมวิหารธรรม” จึงเป็นสิ่งที่สาธุชนทั้งหลายควรบำเพ็ญให้มีขึ้นในตน เพราะมีผลานิสงส์มาก
พุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายของอภัยทานว่า
ให้อภัย คำว่า อภัย นี้แปลว่า ไม่ต้องกลัว ให้อภัย คือเราให้ความไม่ต้องกลัวแก่บุคคลนั้น แปลว่า บุคคลนั้นไม่ต้องกลัวเรา นี่คือให้อภัย ทีนี้บางคนอาจจะคิดว่า นี้มันไม่ใช่ให้ทาน นี่มันไม่รู้ เขาพูดไปทั้งที่ไม่รู้การให้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทาน แต่เขาเรียกว่า “ การให้อภัยทาน ”เป็นสิ่งที่ให้กันได้ ให้ได้ทั้งทางกาย ให้ได้ทั้งทางวาจา ให้ได้ทั้งทางจิตใจ ทางร่างกาย เขามาขอขมาขออภัยเราก็รับ ทางวาจา บอกอโหสิกรรม ทางจิตใจ เราก็สลัดความโกรธ ความอาฆาตจองเวรอย่างนี้ก็เรียกว่า“ การให้อภัยทาน ” ทั้งนั้นมีได้ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ
โดย admin | ต.ค. 29, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ
ทุกข์ จากการที่มีใน ขันธ์ 5 เป็นหนึ่งในอริยสัจสี่ที่ทำให้เกิดความเข้าใจในสัจธรรม เพราะทุกข์เหล่านั้นไม่ได้ไปไหน มันอยู่ในตัวเราซึ่งตัวเรา ซึ่งตัวเราที่ประกอบเป็นคนนั้น นับได้ว่ามาจากการมี กองขันธ์นี้แหละที่ทำจิตนั้นเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมาไม่รู้จักจบจักสิ้น เกิดเป็นวัฏสงสารไม่มีที่สิ้นสุด การที่เราเข้าใจในอริยสัจ 4 แล้ว การดับทุกข์ทั้งหลายก็จะนำไปสู่การถอนออกจาก กองขันธ์นี้ ซึ่งหลายท่านอาจจะทรายความหมาย แต่อาจยังไม่เข้าใจว่ากองทุกข์นี้คืออะไร และ มีการแบ่งกองทุกข์นี้ออกมาอย่างไรบ้าง
อ่านเพิ่มเติมบทความสาระหน้ารู้ อริยสัจ 4 คืออะไร
ขันธ์ 5 คืออะไร และ มีอะไรบ้าง
ขันธ์ แปลว่า ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด ในทางพุทธศาสนาหมายถึงส่วนหนึ่งๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ได้แก่
- รูป เป็นสภาพไม่รู้ มีทั้งหมด 28 รูป แบ่งเป็น อุปาทยรูป 24 รูป และมหาภูตรูป 4 รูป
- เวทนา เป็นความรู้สึก มีทั้งหมด 5 เวทนา คือ สุขกาย สุขใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ อุเบกขาทางใจ
- สัญญา เป็นความจำได้ ความรู้จำสิ่งที่ปรากฏได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และความรู้สึกได้ทางใจ คือ เวทนา สัญญา สังขาร
- สังขาร เป็นการปรุงแต่งจิตให้จิตมีอารมณ์และกิริยาหลากหลาย มีทั้งหมด 50 สังขาร
- วิญญาณ เป็นสภาพรับรู้ มีทั้งหมด 6 ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
ขันธ์ แบ่งออกเป็น รูป 1 นาม 4 ดังนี้
รูป 1 ได้แก่ กาย หรือ รูป
นาม 4 ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อธิบายเรื่องกองทุกทั้ง 5 ได้ดังนี้
กองที่ 1 รูปขันธ์หรือกาย
คือ รูปร่าง หรือร่างกายของเรานี้เอง ที่จับต้องได้ เป็นการรวมตัวของธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาเป็นร่างกายที่มี เส้นผม กระดูก เนื้อหนัง น้ำเหลือง เลือดเนื้อ ต่าง ๆ
กองทุกข์ที่ 2 ได้แก่ สัญญา
คือ ความจำได้ การบันทึกลงในความทรงจำต่าง ๆ ว่าสิ่งไหนคืออะไร เป็นอะไร จำได้ว่าสิ่งนี้สีอะไร เช่น เราจำหน้าคนรักของเราได้ว่าคนนี้คือใคร หน้าตารูปร่างแบบนี้ คือ จำได้ว่าคนนี้คือใคร
กองทุกข์ที่ 3 ได้แก่ เวทนา
การรับอารมณ์จากการปรุงแต่ง ว่า รู้สึกแย่ รู้สึกดี สบายใจ หรือ แม้แต่รู้สึกว่า เฉยๆ สรุปแบบเข้าใจสั้น ๆ ได้แก่ อารมณ์ต่าง ๆ ที่นำมารับรูั
กองทุกข์ที่ 4 ได้แก่ สังขาร
การปรุงแต่งต่าง ๆ และมักจะเข้าใจผิดว่า ร่างกายคือสังขาร แต่แท้จริงแล้ว สังขารเป็นการปรุงแต่ทางการรับรู้จากตัวขันธ์ เช่น เป็นผู้หญิงเราก็จะรับรู้จาก รูปว่า รูปร่างแบบนี้่คือผู้หญิง เพราะมาจากสัญญา ว่าร่างกายแบบนี้เรียกว่า ผู้หญิง ต่อมาก็ปรุงแต่งว่า หน้าตาดี หรือ ไม่ดี แล้วรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ การปรุงแต่งเหล่านี้ เราจึงเรียกว่า สังขาร
กองทุกข์กองที่ 5 ได้แก่ วิญญาณ
ตัวรับรู้ถึงความรู้สึกรับอารมณ์ ผ่านทางอายตนะภายในได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ ตัวอย่างเช่น เราเห็นผู้หญิงสวยแล้วรู้สึกว่าชอบ อธิบายได้ดังนี้คือ วิญญาณทางตา รับรูปเข้ามา ผ่านเข้ามาสัญญา ว่า รูปร่างแบบนี้ สวย แล้วเกิดความปรุงแต่งว่า ชอบ หรือสังขาร ทำให้เกิดคิดถึง อารมณ์รักใคร่ อยากได้ ทำให้เกิดเวทนา แล้วนำมาสู่ตัวรับรู้ สุดท้ายคือ จิต
ดังนั้น กองทุกข์ตัวนี้ไม่ได้อยู่ที่ใคร แต่อยู่ที่เรา ถ้าเราเข้าไปยึดมั่น หรือ อุปทาน ก็จะทำให้เกิดความทุกข์ เพราะทุกอย่างล้วนแล้วอยู่กฏภายใต้ ไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน และ ทุกขัง
ตัวอย่าง ร่างกายเราอย่างไรก็ต้องแก่ เหี่ยวย่น ต่างจากวัยเด็ก ทำให้การยึดมั่นว่า ไม่อยากแก่ กลัวไม่สวย ทั้งที่สัจธรรมที่เราหนีไม่ได้ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่ด้วยความที่มีกิเลสในการยึดมั่นในขันธ์นี้ จะทำให้พยายามหนีแต่สุดท้ายก็จะหนีไม่พ้นความจริง ว่า เราจะต้องยอมรับว่า เราจะต้องแก่และตายไปในที่สุด ทำให้การปรุงแต่งเหล่านั้นมีเพียงแค่เกิดขึ้นแล้วเราก็เฝ้าดู มัน แล้วก็ปล่อยมันไปจากจิต เพื่อให้นำความทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลก
โดย admin | ต.ค. 10, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ, บทความน่าสนใจ
โคตรภูญาณ ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร คือ การเห็นทุกข์ที่มันเกิด และทำอย่างไรที่จะทำให้ออกจากวัฏสงสารได้ คนที่ได้โครตภูญาณ คือ คนที่ได้ พระรัตน เป็นที่พึ่งเท่านั้น ไม่พึ่งอย่างอื่นใดอีกเลย ไม่มีความเห็นว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมาดลบรรดาลใจสิ่งใด ๆ มาให้มีเงินทองไม่สนใจ ไม่มีฤกษ์งามยามดีใด เห็นชัดในภัยวัฏสงสาร และ มีแต่พึ่งตนเองในการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ลักษณะของจิตที่เกิดกับ โคตรภูญาณ
จิตนี้พยายามดิ้นรน หาทางออกจากทางโลก ที่เห็นความเกิดมาเพื่อมารองรับโรคต่าง ๆ มีความหิวโหย ดิ้นรนความอยากคือ ตัณหา แต่ยังมีความอาลัยกับสิ่งหนึ่งที่ยังผูกพัน เหมือนคนยืน เท้าหนึ่งยืนบนบก เท้าหนึ่งยืนในน้ำ จะออกจากโลกก็ห่วงบุคคลที่รัก แต่ก็อยากออกจากวัฏสงสาร
โครตภูญาณ จะเห็นภัยต่าง ๆ
- ร่างกายเป็นที่รองรับโรคต่าง ๆ
เรื่อง “โคตรภูญาณ จุดระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ”
(คติธรรม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
อธิบาย โคตรภูญาณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
โครตภูญาณ จิตมันอยู่ระหว่าง โลกีย์ กับ โลกุตตระ คือ ความเป็นคนกับความเป็นพระอริยเจ้า ท่านเปรียบเหมือนกับ ลำรางเล็ก ๆ น่ะ คือ ขาหนึ่งยืนอยู่นี่ อีกขาหนึ่งฝ่ายโลกีย์ ยังยกไม่ขึ้น ทีนี้อารมณ์ของโคตรภู เราต้องรู้ว่า ขณะใด เราเข้าถึงโคตรภู ไอ้พูด ตามตำรานี่ มันพูดได้ ไม่ยากหรอก แต่ตัวเข้าถึงนี่ซี ถ้าเราเป็นฝ่ายวิชชาสามนะ มันเห็นชัด คือ เวลาที่เราถอดจิตขึ้นไป ตามปกติเราจะท่อง เที่ยวแต่เฉพาะในส่วนของโลกีย์ใช่ไหม จะเป็นเมืองมนุษย์ก็ดี อบายภูมิก็ดี เทวดา พรหมก็ดี แต่ส่วนโลกุตตระเราจะเข้าไม่ได้ ไม่สามารถจะเห็น แต่ถ้าอารมณ์ของจิตเข้าถึงโคตรภู เราจะเห็นพระนิพพานชัด
ถ้าพูดถึงอารมณ์ อันดับแรก อารมณ์มันจะยึดตัว “ธรรมดา” คือ ใครด่า เขาด่าก็ว่าเป็นธรรมดา เกิดมาต้องมีคนเขาด่าว่า อันที่จริงก็โมโหเหมือนกันนะ แต่โมโหแล้วมันปล่อยไม่เกาะอยู่ ถ้ายังไม่ได้ อนาคามี อย่านึกว่า ไม่มีโมโห โทโส มีโกรธ เหมือนกัน โกรธเดี๋ยวเดียว แต่ไม่ไปอาฆาต ไม่ไปทำร้ายเขาแล้วมัน ก็หายไป เห็นอะไรๆ มันก็ธรรมดา ถ้าไปเจอะคน ตายมันก็วาบหวิวไปนิดหนึ่ง ประเดี๋ยวตัว “ธรรมดา” มันก็ปรากฏ
ถ้าอารมณ์เข้มขึ้น มันก็ยัน “ธรรมดา” อยู่เสมอ แต่ก็ยังมีสะท้านอยู่บ้าง ในขณะเดียวกัน ก็มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นที่สุด ใครจะพูดเรื่องอะไร ก็ฟังได้ แต่ฉันไม่เอาด้วย ฉันจะไปนิพพาน นี่สำหรับพวกมี วิชชาสาม ส่วนพวกสุกขวิปัสสโก ก็ต้องสังเกตอารมณ์ เอาว่ายึด “ธรรมดา” และรักพระนิพพานเพียงใด ถ้ารักมากก็ชื่อว่าเข้าถึง โคตรภู ต้องสังเกตตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเราไปแกล้ง “ธรรมดา” นะ ต้อง “ธรรมดา” นะ ของมันเป็นปกติ จิตจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์จริง ๆ แต่ถ้าไปนิพพานไม่ได้อย่างอื่นก็ต้องการ คือ จะไปพักสวรรค์พักพรหมโลก พักเพื่อหวังนิพพาน จะทำอะไรก็ตามไม่หวังผลตอบแทนฉันหวังจะไปนิพพาน นี่คือ อารณ์โคตรภู ถึงโคตรภูแล้วสงสัยว่าเราจะเป็น พระโสดาบัน ก็มานั่งไล่เบี้ย สังโยชน์สาม ดูว่า สักกายทิฏฐิ เราเป็นอย่างไร เรารู้หรือเปล่าว่า ร่างกายมันจะพัง ตัวของเรา ตัวของคนอื่นน่ะ รู้หรือเปล่าว่ามันจะพัง มันจะตาย รู้ว่าจะตาย ความจริงก็มีจิตห่วงนั่นห่วงนี่บ้าง พระโสดาบันนี่ยังห่วง แต่ว่าห่วงไม่มาก ถ้ามันจะตายจริงๆก็ เอวังกิ่ม ฉันจะไปนิพพานนะ
สังโยชน์ที่สอง วิจิกิจฉา เราไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า “ไม่สงสัย” นี่ไม่ใช่ว่านึกเอา นะต้องปฏิบัติด้วย ต้องแน่ใจว่า เกิดแก่เจ็บตายนี่เป็นของมีจริงใช่ไหม เชื่อเหลือเกินว่า เราเกิดมานี่ต้องแก่ ไอ้การป่วยไข้ไม่สบายนี่ มันต้องมีแน่ ถ้ามันมีขึ้นมา เราก็ไม่ตกใจ การรักษาพยาบาล ถือเป็นของธรรมดา เพราะถือเป็นการระงับเวทนา แม้พระพุทธเจ้า แม้พระอรหันต์ทุกองค์ท่านก็ต้องรักษา แต่ในระหว่างรักษาตัว ก็นึกว่า จะระงับได้หรือไม่ได้ จะทรงอยู่ได้ หรือไม่ได้ก็ตามใจมัน ถ้าเกิดทุกเวทนามาก รักษาพยาบาลแล้ว อาการมันไม่ลด ก็ตามใจมันซี ฉันจะทนให้แกทรมาน ประเดี๋ยวเดียว แล้วฉันก็จะไปนิพพาน อารมณ์มันตัดตรงนี้นะ
ขอน้อมกราบพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง
เครดิตจากเพจ https://www.facebook.com/238296179593402/photos/a.595817270507956/2252804728142527/?type=3
โดย admin | ต.ค. 8, 2024 | ข่าวสาร, ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ, บทความน่าสนใจ
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “สาธุ” เวลาที่พระให้พร หรือ ร่วมกันทำบุญ และบางครั้งก็จะได้ยินคำว่า อนุโมธาบุญด้วย ทำให้เริ่มสับสนว่าความแตกต่างสองคำนี้มีความหมายอย่างไร และใช้ตอนไหน เพราะบางครั้งอาจจะทำให้ไม่แน่ใจว่าใช้ถูกต้องหรือไม่
แต่ส่วนมากที่แน่ใจเห็นบ่อยก็คือ ที่เวลาเพื่อนมาบอกเราหรือคนในครอบครัวมาบอกเราว่าไปทำบุญด้วยกันไหม เราก็จะร่วมอนุโมธนาบุญด้วย เพื่อความเข้าใจให้มากขึ้นจึงได้รวบรวมความหมาย ระหว่าง สาธุ และ อนุโมธนาสาธุ
สาธุ แปลว่าอะไร
แปลว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว มาจากรากศัพท์ว่า สาธฺ (หรือ สธฺ) ในความหมายว่า สำเร็จ เมื่อเวลาที่เราได้ทำบุญใดๆ แล้วหากมีคนเห็นการกระทำดีของเราแล้วเขากล่าว “สาธุ” ด้วยความศรัทธาด้วยความปีติยินดีที่ได้เห็นเราทำบุญ เขาคนนั้นก็ได้บุญไปด้วยอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนการจุดเทียนแล้วมีคนมาขอต่อเทียนฉันใดฉันนั้น
อนุโมทนา แปลว่าอะไร
อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีตาม, ความพลอยยินดี หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ การอนุโมทนานั้นอาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่น เมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้ เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญ แล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วยเรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า “อนุโมทนากถา” เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า “อนุโมทนาบัตร หรือใบอนุโมทนา” เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า “อนุโมทนามัยบุญ” และการที่ภิกษุกล่าว สัมโมทนียกถา อันแปลว่า ถ้อย คำอันเป็นที่บันเทิงใจ ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของ ความดี ของบุญกุศล ที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆัง เป็นต้น ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บางทีเรียกว่า อนุโมทนากถา
ส่วนพิธีอย่างอื่นนอกจากนี้ควรจะอนุโมทนาต่อหน้าเสมอไปจึงจะสมควร พิธีอนุโมทนาแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ 2 หัวข้อคือ
1. สามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ไม่จำกัดงานหนึ่งงานใด ก็คงใช้คำอนุโมทนาแบบเดียวกัน
2. วิสามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาด้วยบทสวดพิเศษคือ อนุโมทนาเฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง
เครดิตเพจจาก https://dharayath.com/
แนะนำอ่านความรู้น่าสนใจสำหรับทำบุญเกี่ยวกับการเลือก ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ 9 ขันธ์ ต่างกันอย่างไร และเลือกสำหรับงานบวชอย่างไร
โดย admin | ต.ค. 7, 2024 | ข่าวหลวงปู่อุทัย, ข่าวหลวงพ่อ
วันนี้ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๖.๒๕ น. หลวงปู่ฯนั่งเก้าอี้ ได้ดูคลิปภาพในสมัยที่ธาตุขันธ์ขององค์ท่านยังแข็งแรง นำคณะศรัทธาญาติโยมกล่าวถวายพระพรฯ ซึ่งคณะศิษย์(ที่วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน) ได้เห็นหลวงปู่มีความสดใส มีสีหน้าแววตารับรู้ ยิ้มแย้ม และมีปฏิกริยาขยับแขนขา ชี้นิ้วให้คณะศิษย์ได้เห็นและรู้สึกดีใจ
เครดิตจาก เพจ https://www.facebook.com/watkhaoyaiyannasampanno
คลิกดูวีดีโอหลวงปู่
https://fb.watch/v37M5OCCni/
คณะศิษย์ทั้งหลาย ขออธิษฐานจิตถวายบุญกุศลทั้งหลายให้เป็นพลวปัจจัยมาบำบัดพยาบาล รักษาธาตุขันธ์ของหลวงปู่อุทัย สิริธโร ให้มีธาตุขันธ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์ยิ่งๆขึ้นด้วยเทอญฯ”
โดย admin | ส.ค. 24, 2024 | กิจกรรมงานบุญ, ข่าวสาร, บทความน่าสนใจ, วันสำคัญทางศาสนา
ออกพรรษา 2567 ปีนี้ ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 17 เดือนตุลาคม ซึ่งจะตรง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง วันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (เพ็ญเดือน ๑๑) ของทุกปี หลังจากที่ผ่านเข้าพรรษาระยะเวลา 3 เดือน
พรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ (ผลดี) คือ
๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
๓. ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้
๔. มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของอานิสงส์นั้นออกไปอีก ๔ เดือน
ซึ่งหลังจากที่ออกพรรษาแล้วก็จะเข้าสู่ กฐิน หรือ ทอดกฐิน
ออกพรรษา 2567 ประวัติความสำคัญ และ กิจกรรมออกพรรษา
วันสำคัญหลังจากออกพรรษามีดังนี้
วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา
อนึ่ง มีชื่อเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า ” วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา” มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า “สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ”
แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี
การที่พระท่านกล่าวปวารณา (ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน) กันไว้ ในเมื่อต่างองค์ต่างต้องจากกันไปองค์ละทิศละทางท่านเกรงว่าอาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้น โดยตัวท่านเองรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมองไม่เห็นเหมือนผงเข้าตาตัวเอง แม้ผลจะอยู่ชิดติดกับลูกนัยน์ตา เราก็ไม่สามารถมองเห็นผลนั้นได้ จำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่นให้มาช่วยดูหรือต้องใช้กระจกส่องดู เพราะฉะนั้น พระท่านจึงใช้วิธีการกล่าวปวารณาตัดไว้เพื่อท่านรูปอื่นได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟัง เรื่องดีไม่ดีไม่งามอะไรก็ตามให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้โยไม่ต้องเกรงใจกันทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยด้วยเจตนาดีต่อกัน คือ พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยที่พระผู้ใหญ่คือผู้มีอาวุโสท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง
เครดิตจากเพจ
ประวัติความเป็นมาวันออกพรรษา และตักบาตรเทโว
เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษา และตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และเมื่อถึงวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นการทำบุญออกพรรษาเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดจากวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 แล้วลงมายังเมืองสังกัสสนคร พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหารย์เปิดโลกทั้งสามด้วย
เครดิตเพจ http://event.sanook.com/day/buddhistlent/
ตักบาตรเทโว
ตักบาตรเทโว หมายถึง การทำบุญตักบาตรในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกใน วันมหาปวารณา คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันออกพรรษา คำว่า “เทโว” เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก
การตักบาตรเทโว เป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์เสด็จ หลังจากที่พระองค์แสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน และกลับจากเทวโลก
เครดิต https://travel.trueid.net/detail/rJ7YGEogvwaj