ตรุษจีน 2567 ตรงกับวันที่เท่าไหร่ ความเชื่อและข้อห้าม สีแดงนำโชค

ตรุษจีน 2567 ตรงกับวันที่เท่าไหร่ ความเชื่อและข้อห้าม สีแดงนำโชค

ตรุษจีน เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ของชาวจีน ซึ่งนับว่าเป็นวันที่สำคัญที่สุดอีกวันหนึ่งของชาวจีน ลูกหลานจะกลับบ้านมาไหว้และขอพรจาก ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้าน ไหว้เจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาลเจ้า และ มอบอังเปา ให้แก่ลูกหลาน ด้วยซองสีแดง และการแต่งกายมีความเชื่อเรื่องความโชคดี เฮง รวยและ ปราศจากภัยต่าง ๆ

ตรุษจีน 2567 ตรงกับวันที่เท่าไหร่

วันตรุษจีนปีนี้ ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งกิจกรรมในช่วงตรุษจีนจะแยกวันออกมาเป็น 3 วันดังนี้

วันจ่าย ตรงกับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567

วันจ่าย คือ วันก่อนวันสิ้นปีก่อนถึงตรุษจีน เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องออกไปจับจ่าย ซื้อของ รวมทั้งอาหาร ผลไม้ และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ

วันไหว้ ตรุษจีน ตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

ตอนเช้ามืด จะเริ่มพิธีการไหว้ ป้ายเล่าเอี๊ย โดยเป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ มีเครื่องประกอบการไหว้ คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง ได้แก่ หมู เป็ด และไก่
ตอนสาย จะทำพิธีการไหว้ ป้ายแป๋บ้อ เป็นการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว
ตอนบ่าย จะทำพิธีการไหว้ ป้ายฮ่อเฮียตี๋ เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว

วันเที่ยวตรุษจีน หรือ วันตรุษจีน ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567

วันเที่ยว ซึ่งก็คือวันตรุษจีน เป็นวันที่ทุกคนพากันออกไปท่องเที่ยวและแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงาม สีสันสดใส ไปไหว้ขอพรญาติผู้ใหญ่ และพากันออกเที่ยว ในวันนี้ผู้คนจะหยุดทำงาน พร้อมทั้งถือเคล็ดต่างๆ ตามธรรมเนียมตรุษจีน รวมถึงนิยมพาครอบครัวออกไปทำบุญตามวัดจีนดัง ๆ เช่น วัดเล่งเนยยี่ ไปไหว้พระขอพร รวมถึงคนจีนมีความเชื่อเรื่องปีชง ซึ่งปีนี้เป็นปีนักษัตร 2567 มะโรง ซึ่งเป็นปีที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปมังกรหรืองูใหญ่ ซึ่งตามเชื่อตามศาสตร์โหราของจีนนั้นจะกล่าวถึง ปีชง ซึ่งตามปีแล้วถือว่า ปีที่มีผลกระทบมากที่สุด คือปีนักษัตร จอ จึงเหมาะอย่างยิ่งทั้งเที่ยวขอพรตามวัดต่าง ๆ และไหว้แก้ชงพร้อมกัน ในวันเที่ยว

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ https://www.sanook.com/campus/945871/

ข้อห้ามความเชื่อ วันตรุษจีน

  • ห้ามทำความสะอาดบ้านเรือน
  • ห้ามพูดคำหยาบคาย
  • ห้ามทำของหล่นแตก แตกร้าว
  • ห้ามสระผมและตัดผม
  • ห้ามสวมเสื้อผ้าสีขาว-ดำ
  • ห้ามทวงหนี้ต่าง ๆ
  • ห้ามร้องไห้

ตรุษจีน กับ สีแดงสำคัญอย่างไร ทำไมซองอั่งเปาถึงสีแดง 

สีแดงของซองเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความโชคดี และเงินที่บรรจุภายบางครั้งจะเป็นเลขนำโชค เช่น เลข 8 อ่านในภาษาจีนจะมีความหมายถึงความรุ่งเรือง หรือความร่ำรวย

อั่งเป่า ตามภาษาจีน แปลว่า ซองสีแดง 

แต๊ะเอีย คืออะไรนำเงินใส่ถุงเงินสีแดง หรือ ซองแดง แล้วให้พร เป็นธรรมเนียมประเพณีปีใหม่ของชาวจีน

ขอบคุณข้อมูลเพจ https://th.wikipedia.org

 

แนะนำ สถานที่ไหว้ในวันเที่ยว ขอพรเพื่อเสริมมงคล พร้อมแก้ปีชง

วัดเล่งเนยยี่ เป็นอีกวัดหนึ่งที่คนจีนในประเทศไทยนิยมไหว้ขอพรและ เหมาะกับการพาลูกหลานไปเที่ยวไหว้ขอพร จากองค์เทพเจ้า ขอเสริมมงคลปีใหม่ รวมถึงยังไหว้แก้ปีชง เสริมดวงด้วย

สำหรับปีหน้าจะเป็นปีนักษัตร 2567 มะโรง ซึ่งเป็นปีที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปมังกรหรืองูใหญ่ ซึ่งตามเชื่อตามศาสตร์โหราของจีนนั้นจะกล่าวถึง ปีชง ซึ่งตามปีแล้วถือว่า ปีที่มีผลกระทบมากที่สุด คือปีนักษัตร จอ

ผู้ที่เกิด ปีนักษัตร จอ หรือคนที่เกิดตรงกับปี พ.ศ. 2477, 2489, 2501, 2513, 2525, 2537, 2549, 256

ขอบคุณเครดิตข้อมูลจากเพจ https://dharayath.com/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99-2567/

 

 

รวมกิจกรรม ทำบุญปีใหม่ 2567 พร้อมครอบครัว เริ่มต้นปีชีวิตปัง

รวมกิจกรรม ทำบุญปีใหม่ 2567 พร้อมครอบครัว เริ่มต้นปีชีวิตปัง

ทำบุญปีใหม่ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่นิยมพาครอบครัวไปเที่ยวและทำบุญตามสถานที่ต่าง ๆ และมีจุดมุ่งหมายในการเสริมความสิริมงคลแก่ชีวิตหลายท่านได้เตรียมกิจกรรมทำบุญกับครอบครัว ทำบุญช่วงปีใหม่นั้นมีกิจกรรมหลายอย่าง บทความนี้มีกิจกรรมดี

กิจกรรมแนะนำ ทำบุญปีใหม่

ทำบุญปีใหม่ สวดมนต์ข้ามปี

นับว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่นิยมเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีหลังที่ผ่านมา เพราะนับว่าสร้างบุญอานิสงส์ในการเสริมดวงชะตาชีวิตให้มีความสิริมงคล เร่ิมปีมะโรง หรือ ปีมังกรทอง วัดดัง ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี

ทำบุญถวายผ้าไตรจีวร และสังฆทาน

การถวายผ้าไตรจีวรเป็นการทำบุญปีใหม่ที่นับได้ว่าเร่ิมต้นปีที่ได้อานิสงส์มาก และอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร ผู้ที่ทำบุญด้วยการถวาย ผ้าไตร แด่พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ จะเป็นผู้ที่พร้อมด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ และเครื่องประดับ มีแต่ผู้คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทุกหมู่เหล่า หากเมื่อใดก็ตามจะต้องพบกับความมีอุปสรรค อุปสรรคนั้นจะผ่านพ้นไปด้วยดี ภัยอันตรายอื่นๆ อย่างสัตว์มีพิษและของมีคมต่างๆ ก็ทำร้ายไม่ได้

 

ทำบุญตักบาตรขึ้นปีใหม่ 

อีกหนึ่งประเพณีโบราณที่ต่อจากสวดมนต์ข้ามปีแล้ว ก็ต้องมีการทำบุญ ตักบาตร ในช่วงเช้าของวันที่ 1 มกราคมของทุกปีด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการทำบุญต่ออายุให้ตนเองและครอบครัวมีอายุยืนยาว และช่วยในเรื่องของความมั่งคั่ง มั่นคงในการเงินตลอดปี รวมทั้งเป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่คนในครอบครัวผู้ล่วงลับไปแล้วอีกด้วย โดยเป็นการนำข้าวสารอาหารแห้ง หรือเป็นอาหารสดก็ได้ นำไปถวายพระสงฆ์ที่วัดใกล้บ้าน หรือใครที่ไม่สะดวกไปวัด แต่มีพระสงฆ์ออกมาเดินบิณฑบาตก็สามารถทำบุญตักบาตรได้เช่นกัน

เครดิตเพจ https://wattanaluckyware.co.th/blog/plastic-offering-bucket/merit-making-ceremony-new-year-day/

 

ผู้เข้าปีชงปีมะโรง ทำบุญแก้ชง สำหรับปีจอ

สำหรับปีหน้าจะเป็นปีนักษัตร 2567 มะโรง ซึ่งเป็นปีที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปมังกรหรืองูใหญ่ ซึ่งตามเชื่อตามศาสตร์โหราของจีนนั้นจะกล่าวถึง ปีชง ซึ่งตามปีแล้วถือว่า ปีที่มีผลกระทบมากที่สุด คือปีนักษัตร จอ 

ขอพรผู้หลักผู้ใหญ่ ด้วยพวงมาลัย

กราบเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ประจำบ้านเข้ากราบขอพรกลับผู้หลักผู้ใหญ่ที่บ้านนับว่าเป็นอีกพรที่ดีและช่วยให้ครอบครัวมีความกลมเกลียว การได้รับพรจาก ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อและแม่ นับว่าเป็นพรอันประเสริญที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญ เพราะเป็นการแสดงกตัญญู เป็นที่รักไคร่ของเทวดา เมื่อเกิดภัยจะพ้นภัยอันตรายได้

 

ปล่อยปลา

เป็นการทำบุญทำทาน ที่ทำให้ศีลข้อที่1 เต็ม การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ส่งผลให้ชีวิตมีสุขภาพแข็งแรง มีจิตใจที่แจ่มใส่ ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน การทำงานราบรื่น เมื่อมีอุปสรรคก็จะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

 

ข้อมูลดี ๆ จากเพจ https://dharayath.com/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/

สวดมนต์ข้ามปี 2566 สู่ปี 2567 พร้อมพิกัดวัดดัง เสริมมงคลแก่ชีวิต รับปีมะโรง

สวดมนต์ข้ามปี 2566 สู่ปี 2567 พร้อมพิกัดวัดดัง เสริมมงคลแก่ชีวิต รับปีมะโรง

สวดมนต์ข้ามปี นั้นเป็นที่นิยมกับชาวพุทธเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะจะทำให้รู้สึกจิตใจมีความเบิกบานเหมือนได้รับพลังที่สะอาดสู่จิตใจที่มี ศีล สมาธิ และปัญญา ที่ได้รับจากการสวดมนต์ ซึ่งเป็นการสร้างอานิสงส์และขวัญกำลังใจที่ดี ต่อการก้าวข้ามสู่ปีใหม่ 2567

บท สวดมนต์ข้ามปี ที่นิยมมีดังนี้

บทสวดมนต์ข้ามปี มีดังนี้

บทที่ 1 คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ

บทที่ 2 บทกราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

บทที่ 3 นมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3จบ)

บทที่ 4 สมาทานศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

บทที่ 5 บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย 

บทพระพุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา
เทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

บทพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

บทพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

บทที่ 6 บทมงคลสูตร(ป้องกันอันตราย เพิ่มสิริมงคลรับปีใหม่)

เอวัมเม สุตัง ฯ
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน
อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา
อะภิกกันตายะ รัตติยา อภิกกันตะวัณณา
เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตะวา
เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ
อุปะสังกะมิตะวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตะวา
เอกะมันตัง อัฏฐาสิ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา
ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
พะหู เทวา มะนุสสา จะ มัคะลานิ อะจินตะยุง
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง

นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติฯ

บทที่ 7 บทโพชฌังคปริตร (หายจากโรคภัย สุขภาพดีรับปีใหม่)

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเต เต สัพพะทัสสินา
มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตกา พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต สัพพะทาฯ
เอกัสะมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
คิลาเน ทุกขิเต ทิสะวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
เต จะ ตัง อะภินันทิตะวา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ
เอะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญนะ ภะนาเปตะวานะ สาทะรัง
สัมโมทิตะวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทาฯ
ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

บทที่ 8 บทพุทธชัยมงคลคาถา (ชนะอุปสรรคทั้งปวง พบความสำเร็จในปีใหม่)

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมังวิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ

บทที่ 9 บทแผ่เมตตา

แผ่เมตตาให้แก่ตัวเราเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข)
อะหัง นิททุกโข โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์)
อะหัง อะเวโร โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร)
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง)
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ (ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด)

บทแผ่เมตตาทั่วไป
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวราโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ

กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

 

สวดมนต์ข้ามปี พิกัดในพื้นที่กรุงเทพ

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร (สนามหลวง) ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี เสริมบุญบารมีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับศักราชใหม่ 2567 หรือร่วมสวดมนต์ผ่านระบบออนไลน์ โดยผู้ร่วมสวดมนต์ข้ามปีที่วัดมหาธาตุฯ สามารถรับพระสมเด็จอรหังเป็นที่ระลึกบูชา (สงวนสิทธิ์สำหรับผู้มาลงทะเบียนเท่านั้น)

พร้อมกันนี้ยังสามารถร่วมงานสมโภชพระอารามหลวง 338 ปี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ได้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2566-2 มกราคม 2567 เวลา 08.30-22.00 น.

สำหรับการสวดมนต์ข้ามปี เริ่มในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 19.00 น.เป็นต้นไป โดยรับชมการถ่ายทอดสดได้ผ่านทาง Facebook Live : งานสมโภชพระอารามหลวง ๓๓๘ ปี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ มาสั่งสมเสบียงบุญ เกื้อหนุนพระศาสนา โดยการร่วมบูรณปฏิสังขรณ์ ปรับภูมิทัศน์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ให้งามสง่าสืบไป

  • จอดรถที่ลานจอดรถสนามหลวง มีรถรับส่งฟรี

วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมพิธีสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลทั่วไทย ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับศักราชใหม่ 2567 ในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เวลา 21.00 น.เป็นต้นไป

พร้อมทำบุญตักบาตรพระภิกษุ สามเณร 121 รูป รอบพระพุทธปรางค์ ในวันที่ 1 มกราคม 2567 เวลา 07.30 น. เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

สำหรับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ จัดพิธีสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคล ต้อนรับปีใหม่ 2567 วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป โดยสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กวัดโพธิ์ ท่าเตียน Wat Pho

วัดสระเกศ

วัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ขอเชิญร่วมกิจกรรม พิธีเจริญพระพุทธมนต์นพเคราะห์ เสริมสิริมงคลแก่ชีวิต ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2567 วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ผู้มาร่วมงานสามารถรับน้ำพระพุทธมนต์ ผ้ายันต์แดงห่มองค์พระเจดีย์ และปฏิทินปีใหม่ โดยมีกำหนดการ ดังนี้

  • 19.30 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” พระสงฆ์ 19 รูป
  • 21.00 น. ทำวัตรค่ำ ณ พระอุโบสถ
  • 21.30 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์นพเคราะห์นั่งอธิษฐานจิต โดยพระมหาเถระวัดสระเกศ
  • 23.00 น. กล่าวสัมโมทนียกถา ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยพระเดชพระคุณพระธรรมโพธิมงคล เจ้าอาวาสวัดสระเกศ เจ้าคณะภาค 2
  • 23.30 น. การเจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา
  • 00.00 น. พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา 9 จบ ลั่นฆ้องระฆังมงคลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ พระเดชพระคุณพระธรรมโพธิมงคล ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ พระสงฆ์อนุโมทนาคาถา (ให้พร)

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต ขอเชิญร่วมสวดมนต์ข้ามปี “วิถีใหม่ วิถีไทย วิถีธรรม พุทธศักราช 2567” วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป โดยมีกำหนดการ ดังนี้

วันที่ 31 ธันวาคม 2566

  • เวลา 18.00 น. พุทธศาสนิกชนเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี
  • เวลา 18.30 น. คณะสงฆ์วัดเบญจมบพิตรฯ พุทธศาสนิกชน สวดมนต์-ทำวัตรเย็น
  • เวลา 20.30 น. พิธีบูชานพเคราะห์ เสริมดวงชะตา และพิธีสืบชะตาเสริมบารมี ทำความดีรับปีใหม่
  • เวลา 23.30 น. คณะสงฆ์วัดเบญจมบพิตรฯ เจริญพระพุทธมนต์
  • เวลา 23.59 น. คณะสงฆ์วัดเบญจมบพิตรฯ เจริญชยมงคลคาถา, ประพรมน้ำพระพุทธมนต์, ตีกลอง ลั่นฆ้องชัย รับศักราชใหม่ 2567, พระเดชพระคุณพระธรรมวชิราธิบดี เจ้าอาวาสกล่าวโอวาทธรรมศักราชใหม่

วันที่ 1 มกราคม 2567

  • เวลา 06.00 น. คณะสงฆ์และสาธุชน พร้อมกัน ณ พระอุโบสถ สวดมนต์ ทำวัตรเช้า รับอรุณศักราชใหม่ 567 และสาธุชนร่วมกันทำบุญตักบาตรต้อนรับศักราชใหม่

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร ขอเชิญชวนสวดมนต์ข้ามปี เสริมศิริมงคล ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เริ่มตั้งแต่เวลา 20.30 น. เป็นต้นไป และรับประพรมน้ำพุทธมนต์ เวลา 00.00 น.

วัดหัวลำโพง

วัดหัวลำโพง เขตบางรัก วัดดังใจกลางกรุงที่โดดเด่นเรื่องการทำบุญโลงศพ ปีนี้ได้จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีพุทธ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป

วัดเสมียนนารี

วัดเสมียนนารี เขตจตุจักร ขอเชิญร่วมสวดมนต์ข้ามปี สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้น ตลอดปี 2567 ในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยมีกำหนดการ ดังนี้

วันที่ 31 ธันวาคม 2566

  • 21.00 น. พุทธศาสนิกชนเข้าร่วมสวดมนต์ข้ามปี
  • 21.30 น. พระเดชพระคุณ พระเทพวรสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเสมียนนารี พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ประจำยังอาสน์สงฆ์รับรอง
  • จุดเทียนบูชาพระพุทธรัตนมุนีศรีศากยวงศ์, จุดเทียนบูชาเทพนักษัตร เสริมดวงชะตา เสริมบารมี, คณะสงฆ์นำพุทธศาสนิกชน เจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
  • 23.59 น. คณะสงฆ์เจริญชยมงคลคาถา ตีกลอง ลั่นฆ้องชัย ลั่นระฆังรับศักราชใหม่ 2567, ถวายสังฆทานรับขวัญปีใหม่, พระเดชพระคุณ พระเทพวรสิทธาจารย์ กล่าวโอวาทธรรมคำพร, กรวดน้ำ รับพร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี

วันที่ 1 มกราคม 2567

  • 07.00 น. พุทธศาสนิกชน พร้อมกัน รอบพระอุโบสถ ร่วมกันทำบุญตักบาตรต้อนรับวันแรกของปีใหม่
  • 08.00 น. พระเดชพระคุณ พระเทพวรสิทธาจารย์ นำคณะสงฆ์รับบาตร

สวนโมกข์กรุงเทพ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพ) ชวนร่วมเทศกาลเจริญสติ สวดมนต์ภาวนาข้ามปี พุทธศักราช 2566 “ปีใหม่ชีวิตใหม่ ปีแห่งการรู้ตัว ดูใจ” วันที่ 31 ธันวาคม 2566-1 มกราคม 2567

ทั้งนี้ ในโอกาสส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่นี้ สวนโมกข์กรุงเทพ ได้จัดงานตลอดเดือนธันวาคม ทั้งกิจกรรมทำบุญเพื่อเจริญในทานและภาวนา ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา และกิจกรรมมากมาย ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2566-1 มกราคม 2567

ขอบคุณจากเพจ https://www.prachachat.net/d-life/news-1467337

อานิสงส์ที่ได้รับจาก สวดมนต์ข้ามปี

ทำให้มีสุขภาพดี การสวดมนต์ด้วยการออกเสียง ช่วยให้ปอดได้ทำงาน เลือดลมเดินสะดวก ร่างกายก็สดชื่นกระปรี้กระเปร่า

๒. คลายความเครียด ในขณะสวดมนต์จิตจะจดจ่อกับบทสวด สมองจะปลอดโปร่ง ไม่คิดในเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย

๓. เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย บทสวดมนต์แต่ละบทเป็นการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เมื่อสวดมนต์ไปก็เท่ากับว่าได้เพิ่มพูนศรัทธาความเชื่อเลื่อมใสในพระรัตนตรัยให้มั่นคงยิ่งขึ้น

๔. ขันติบารมีย่อมเพิ่มพูน ขณะที่สวดมนต์ต้องใช้ความอดทนอย่างสูงเพื่อเอาชนะความปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมทั้งอารมณ์ฝ่ายต่ำที่จะเข้ามากระทบจิตใจทำให้เกิดความเกียจคร้าน ดังนั้น ยิ่งสวดบ่อยๆ ความอดทนก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น

๕. จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขณะที่สวดมนต์จิตจะจดจ่ออยู่กับบทสวดไม่วอกแวกวุ่นวายไปในที่อื่น จึงมีความสงบเกิดสมาธิมั่นคง สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส งดงาม แม้เพียงระยะเวลาน้อยนิด ก็เป็นบุญกุศลประมาณค่าไม่ได้

เครดิตข้อมูลจากเพจ https://www.vstarproject.com/vstarproject/page/news.php?nId_blog=577

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเพจ www.dharayath.com

ปี 2567 ปีนักษัตรอะไร ทำบุญ ไหว้พระ เสริมดวง รับปีใหม่นี้

ปี 2567 ปีนักษัตรอะไร ทำบุญ ไหว้พระ เสริมดวง รับปีใหม่นี้

ปีใหม่นี้กำลังจะมาถึงหลายท่านเริ่มเตรียมตัวออกเที่ยวช่วงปลายปีตามสถานที่ต่าง ๆ  การทำบุญและไหว้พระตามวัดต่าง ๆ ถือว่าเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่นิยมในคนไทย ที่จะพาครอบครัวไปร่วมทำบุญ และด้วยความเชื่อเรื่องปีชง และ ปีนักษัตร  ของแต่ละปีไม่เหมือนกัน โดยความเชื่อเหล่านี้ ทำให้บางท่านเริ่มหาพิกัดและสถานที่ต่าง ๆ เพื่อทำบุญตามความเชื่อ มุ่งเน้นให้การดำเนินชีวิตที่ดี

ปี 2567 ปีนักษัตรอะไร

สำหรับปีหน้าจะเป็นปีนักษัตร 2567 มะโรง ซึ่งเป็นปีที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปมังกรหรืองูใหญ่ ซึ่งตามเชื่อตามศาสตร์โหราของจีนนั้นจะกล่าวถึง ปีชง ซึ่งตามปีแล้วถือว่า ปีที่มีผลกระทบมากที่สุด คือปีนักษัตร จอ

ผู้ที่เกิด ปีนักษัตร จอ หรือคนที่เกิดตรงกับปี พ.ศ. 2477, 2489, 2501, 2513, 2525, 2537, 2549, 2561

ปีนักษัตร คือ

คือ ปีนักษัตร หรือ นักขัต เป็นปีตามปฏิทินสุริยคติไทยและชาติอื่นในเอเชียตะวันออก เช่น จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น แบ่งเป็นรอบปี รอบละ 12 ปี แต่ละปีกำหนดสัตว์เรียกเป็นชื่อเรียงกันไปดังนี้

ปีนักษัตร 2567

ปีนักษัตร 

แบ่งเป็นรอบปี รอบละ 12 ปี แต่ละปีกำหนดสัตว์เรียกเป็นชื่อเรียงกันไปดังนี้

ปีชวด-ปีหนู
คนที่เกิดปี 2455, 2467, 2479, 2491, 2503, 2515, 2527, 2539, 2551, 2563, 2575

ปีฉลู-ปีวัว
คนที่เกิดปี 2456, 2468, 2480, 2492, 2504, 2516, 2528, 2540, 2552, 2564, 2576

ปีขาล-ปีเสือ
คนที่เกิดปี 2457, 2469, 2481, 2493, 2505, 2517, 2529, 2541, 2553, 2565, 2577

ปีเถาะ-ปีกระต่าย
คนที่เกิดปี 2458, 2470, 2482, 2494, 2506, 2518, 2530, 2542, 2554, 2566, 2578

ปีมะโรง-ปีงูใหญ่
คนที่เกิดปี 2459, 2471, 2483, 2495, 2507, 2519, 2531, 2543, 2555 , 2567, 2579

ปีมะเส็ง-ปีงูเล็ก
คนที่เกิดปี 2460, 2472, 2484, 2496, 2508, 2520, 2532, 2544, 2556, 2568, 2580

ปีมะเมีย-ปีม้า
คนที่เกิดปี 2461, 2473, 2485, 2497, 2509, 2521, 2533, 2545, 2557, 2569, 2581

ปีมะแม-แพะ
คนที่เกิดปี 2462, 2474, 2486, 2498, 2510, 2522, 2534, 2546, 2558, 2570, 2582

ปีวอก-ปีลิง
คนที่เกิดปี 2463, 2475, 2487, 2499, 2511, 2523, 2535, 2547, 2559, 2571, 2583

ปีระกา-ปีไก่
คนที่เกิดปี 2464, 2476, 2488, 2500, 2512, 2524, 2536, 2548, 2560, 2572, 2584

ปีจอ-ปีหมา
คนที่เกิดปี 2465, 2477, 2489, 2501, 2513, 2525, 2537, 2549, 2561, 2573, 2585

ปีกุน-หมู
คนที่เกิดปี 2466, 2478, 2490, 2502, 2514, 2526, 2538, 2550, 2562, 2574, 2586

https://www.thairath.co.th/horoscope/constellation/2216186

 

ตำนาน ปีนักษัตรจีน

ตำนานเรื่องเล่าในสมัยปีใหม่แรกของจีน วันชิวอิก หรือวันที่ 1 เดือนอ้ายของจีน สัตว์ทั้งหลายต่างมาชุมนุมหน้าวังหลวงของฮ่องเต้สวรรค์

ฮ่องเต้ประกาศให้สัตว์ 12 ชนิด ที่มาถึงก่อนวัน วันชิวยี่ หรือวันที่ 2 เดือนอ้าย ดังนั้นสัตว์ 12 ชนิด ได้รับแต่งตั้งเป็นองครักษ์ ใน 1 วัน สัตว์ 1 ชนิดอยู่ยาม 2 ชั่วโมง

สัตว์ 12 ชนิดอยู่ยาม 24 ชั่วโมง รวมเป็น 12 ยามเฝ้าวังหลวง

โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าตั้งแต่ก่อนยุคราชวงศ์ฉิน (221 ปีก่อน ค.ศ. – 207 ปีก่อน ค.ศ) ก็มีปรากฏรูปปีนักษัตรแล้ว โดยใช้สัตว์ประเภทต่างๆ เป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์

 

 

ปีชง หมายถึง การปะทะ เป็นความเชื่อทางโหราศาสตร์ของจีน มีความเกี่ยวข้องกับองค์เทพไท้ส่วยเอี๊ยหรือภาษาไทย คือ “เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา” ซึ่งมีพลังที่เป็นอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ โดยคำว่าปีชงที่บอกว่าเป็นการปะทะนั้น หมายถึงคู่ปีเกิดไม่ถูกกัน ทำให้คนที่เป็นปีชงใน พ.ศ.2567 โชคร้าย ซึ่งปีชงจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช่น สุขภาพจิต สุขภาพกาย การงาน การเงิน ปัญหาครอบครัว ปัญหาชีวิตคู่ หรือปัญหาอะไรก็ตามที่เป็นเรื่อง ร้ายๆ ดังนั้น การรู้ว่าปีชงใน พ.ศ.2567 มีปีไหนบ้าง ปีไหนชงตรง ปีไหนชงร่วม เลยจะทำให้คุณสามารถเบาใจไปได้บ้างเมื่อได้ทำบุญไหว้พระ เสริมดวง แก้ปีชง

สถานที่แนะนำ ไหว้พระ ทำบุญ เสริมดวง แก้ปีชง และ ต้อนรับปีใหม่ 2567

  • วัดอินทาราม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม” สถานที่ประดิษฐาน “ท้าวเวสสุวรรณ เนื้อปูนปั้นบนเกตุบรรจุผงเนื้อสมเด็จวัดระฆัง”  ปลายลุ่มน้ำแม่กลองพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามถูกเรียกขานขนานนามกันว่าเป็นดินแดงแห่งยักษ์ใหญ่องค์ท้าวเวสสุวรรณ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังอิทธิปาฏิหาริย์เลื่องลือแผ่อิทธิพลไปไกล เหมาะทำบุญขอพร ขจัดสิ่งชั่วร้าย ปกป้องคุ้มครอง และ เสริมดวงชะตา ให้มีความเข้มเเข็ง ต่อปีชง

 

เครดิตข้อมูลจาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/2423600

 

สถานที่นิยมแก้ปีชง ปีชงแก้อย่างไรเพื่อเสริมดวงชะตา

 

แนะนำให้ไปวัดทำบุญเติมน้ำมันตะเกียง ถวายเทียน บริจาคน้ำดื่ม ทำบุญเกี่ยวกับน้ำ พร้อมไถ่ชีวิตโคกระบือ ทำบุญโลงศพ ไถ่ชีวิตสัตว์ ถวายสังฆทาน ผ้าไตร จีวร และปล่อยปลา

  1. วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ อยู่ที่ 423 ถนนเจริญกรุง แขวงป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทร. 02-2223975, 02-2266533
  1. วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ (หรือวัดเล่งเน่ยยี่ 2) อยู่ที่ 75 ถนนเทศบาลสาย 9 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 ติดต่อวัดมังกรกมลาวาส โทร. 02-2223975
  2. วัดทิพยวารีวิหาร หรือ วัดกัมโล่วยี่ อยู่ที่ 119 ซอยทิพยวารี ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 02-2225988
  3. วัดโพธิ์แมนคุณาราม หรือ วัดโพวมิ้งปออึงยี่ อยู่ที่ เลขที่ 323 ถนนสาธุประดิษฐ์ 19 แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 โทร. 02-2112363, 02-2117885 โทรสาร 02-2127777
  4. วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้ นิยมไปแก้ชงด้วยการไหว้พระทำบุญคุ้มครองดวงชะตา
  5. วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ตั้งอยู่ย่านเยาวราช นิยมไปขอพรความรัก พร้อมเสริมดวงชะตาให้เจอแต่สิ่งดีงาม
  6. ศาลเจ้าพ่อเสือ ตั้งอยู่ย่านพระนคร นิยมไปแก้ปีชงด้วยการสะเดาะเคราะห์ ขอพรในเรื่องการงาน การเงิน และโชคลาภ
  7. วัดมังกรบุปผาราม หรือ วัดเล่งฮัวยี่ จังหวัดจันทบุรี นิยมไปแก้ปีชงด้วยการไหว้พระเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต
  8. วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิมหรือศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ จังหวัดชลบุรี นิยมไปแก้ปีชงด้วยการขอพรเกี่ยวกับการงาน การค้าขาย สุขภาพ และปัดเป่าความชั่วร้าย
ปีชง 2567 มีปีนักษัตรอะไรบ้างที่ต้องชง

ปีชง 2567 มีปีนักษัตรอะไรบ้างที่ต้องชง

ในความเชื่อด้านดวงชะตา ในแต่ละปีน้ันจะมีการเปลี่ยนแปลงของชีวิตเสมอ  โดยความเชื่อทางด้านปีนักษัตรนั้นในความเชื่อจะมีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละปีไม่เหมือนกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปีชง ที่มีความเชื่อว่าการดำเนินชีวิตจะติดขัดและมีผลด้านร้ายต่อชีวิต การงาน การเงิน

ปีชง คืออะไร

ปีชง  หมายถึง การปะทะ เป็นความเชื่อทางโหราศาสตร์ของจีน มีความเกี่ยวข้องกับองค์เทพไท้ส่วยเอี๊ยหรือภาษาไทย คือ “เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา” ซึ่งมีพลังที่เป็นอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ โดยคำว่าปีชงที่บอกว่าเป็นการปะทะนั้น หมายถึงคู่ปีเกิดไม่ถูกกัน ทำให้คนที่เป็นปีชงใน พ.ศ.2566 โชคร้าย ซึ่งปีชงจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช่น สุขภาพจิต สุขภาพกาย การงาน การเงิน ปัญหาครอบครัว ปัญหาชีวิตคู่ หรือปัญหาอะไรก็ตามที่เป็นเรื่อง ร้ายๆ ดังนั้น การรู้ว่าปีชงใน พ.ศ.2566 มีปีไหนบ้าง ปีไหนชงตรง ปีไหนชงร่วม เลยจะทำให้คุณสามารถเบาใจไปได้บ้างเมื่อได้ทำบุญไหว้พระ เสริมดวง แก้ปีชง

 

ปีชง 2567 มีปีนักษัตรอะไรบ้างที่ต้องชง

ปีที่มีผลกระทบมากที่สุด คือปีนักษัตร จอ

ผู้ที่เกิด ปีนักษัตร จอ หรือคนที่เกิดตรงกับปี พ.ศ. 2477, 2489, 2501, 2513, 2525, 2537, 2549, 2561

ดวงชะตาตลอดปี 2567 ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกิดปีนักษัตร จอ แนะนำให้ตั้งสติให้มั่น เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิตทุก ๆ ด้านให้มากเป็นพิเศษ คำแนะนำเบื้องต้น ควรถือศีล กินมังสวิรัติ และการปฏิบัติกรรมฐาน
ปีชงร่วม เป็นปีที่มีผลกระทบน้อย คือปีนักษัตร มะโรง, ฉลู, มะแม
ผู้ที่เกิด ปีนักษัตร มะโรง หรือคนที่เกิดตรงกับปี พ.ศ. 2459, 2471, 2483, 2495, 2507, 2519, 2531, 2543, 2555
ผู้ที่เกิด ปีนักษัตร ฉลู หรือคนที่เกิดตรงกับปี พ.ศ. 2456, 2468, 2480, 2492, 2504, 2516, 2528, 2540, 2552, 2564
ผู้ที่เกิด ปีนักษัตร มะแม หรือคนที่เกิดตรงกับปี พ.ศ. 2462, 2474, 2486, 2498, 2510, 2522, 2534, 2546, 2558

ปีชงแก้อย่างไรเพื่อเสริมดวงชะตา การงานและการเงิน

ดวงชะตาตลอดปี 2567 ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกิดในปีนักษัตร มะโรง, ฉลู, มะแม

แนะนำให้ไปวัดทำบุญเติมน้ำมันตะเกียง ถวายเทียน บริจาคน้ำดื่ม ทำบุญเกี่ยวกับน้ำ พร้อมไถ่ชีวิตโคกระบือ และปล่อยปลา
ความหมายสำหรับปีที่ได้รับผลไม่ดี จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ปีได้แก่

ปีที่ได้รับผลเสียมากที่สุดหรือที่เราเรียกกันว่าชงโดยตรง (ชง 100%) ได้แก่ ปีนักษัตรจอ
ปีคัก คือ ปีที่เป็นปีนักษัตรเดียวกับปีนั้น ๆ ได้แก่ ปีนักษัตรมะโรง
ปีเฮ้ง คือ ปีที่ได้รับผลกระทบในเรื่องเคราะห์กรรม ได้แก่ ปีนักษัตรฉลู
ปีผั่ว คือ ปีที่ได้รับผลกระทบในเรื่องสุขภาพ ได้แก่ ปีนักษัตรมะแม

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่เกิดในปี 2567
ผู้ที่ตกอยู่ในปีชงอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ปัญหาการเงิน หรือปัญหาด้านความสัมพันธ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ตกอยู่ในปีชงก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข หากรู้จักระมัดระวังและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากสิ่งไม่ดีต่าง ๆ

ขอบคุณเครดิตเพจ https://www.sanook.com/horoscope/263247/

เสริมดวงแก้ชงปี 2566 วัดไหนดี ? ฉบับ ธาราญา แนะนำอ่าน คลิกอ่าน

ข้อห้ามปีชง

ข้อห้ามของปีชงคือ ไม่ควรไปร่วมในงานศพ แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ให้นำกิ่งใบทับทิมติดตัวไปด้วย และก่อนเข้าบ้านให้ใช้น้ำสะอาดใส่กิ่งใบทับทิมปัดให้ทั่วตัว

สำคัญที่สุดคือ ละเว้นการไปส่งศพ การอยู่ในพิธีฝังศพ หรือนำหีบศพลงหลุม เพราะเชื่อว่าดวงชะตาของผู้นั้นจะได้รับผลกระทบ ทำให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วย หรือกิจการค้าประสบปัญหาต่าง ๆ วิธีเสริมดวง แก้ชง

  1. ไหว้เทพเจ้าไท้ส่วย ให้ช่วยคุ้มครองดวงชะตา บรรเทาเคราะห์กรรม
  2. ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ เช่น โค กระบือ ปล่อยนก ปล่อยปลา
  3. ทำบุญช่วยเหลือผู้ป่วย บริจาคโลหิต ทำบุญโลงศพ
  4. ไหว้พระ 9 วัด สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม เจริญสติ คิดดี ทำดี
ขอบคุณข้อมูลเครดิตจากเว็บดี ๆ และผ้าไตรที่มีคุณภาพ www.dharayath.com
ลอยกระทง  ปี 2566  ประวัติและความเป็นมา

ลอยกระทง ปี 2566 ประวัติและความเป็นมา

ลอยกระทง ปี 2566 ปีนี้   ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566  จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย เพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา

 

ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า “พิธีจองเปรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป” และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า

ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศที่ว่า

“ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย…”

เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า “ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน” พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

ลอยกระทง แนะนำลอยออนไลน์ได้ที่นี่

แนะนำเข้าไปได้ที่เว็บไซต์ sanook.com หรือคลิกลิ้งค์ https://season.sanook.com/loykrathong/

 

ตำนานและความเชื่อวันลอยกระทง

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า การลอยกระทง ในแต่ละท้องที่ก็มาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่แตกต่างกัน บางแห่งก็มีตำนานเล่าขานกันต่อๆมา ซึ่งจะยกตัวอย่างบางเรื่องมาให้ทราบ ดังนี้

ว่ากันว่าการลอยกระทง มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพุทธนั่นเอง
กล่าวคือก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา กาลวันหนึ่ง นางสุชาดาอุบาสิกาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส (ข้าวกวนหุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ำ ด้วยแรงสัตยาธิษฐาน และบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล แล้วก็จมไปถูกขนดหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล

พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นว่าเป็นอะไร ก็ประกาศก้องว่า บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกอีกองค์แล้ว ครั้นแล้วเทพยดาทั้งหลายและพระยานาค ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อพวกเขาจะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม ส่วนสาวใช้ก็นำความไปบอกนางสุชาดา ครั้นถึงวันนั้นของทุกปี นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอม และดอกไม้ใส่ถาดไปลอยน้ำ เพื่อไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำเสมอมา และต่อๆ มาก็ได้กลายเป็นประเพณีลอยกระทง ตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

ในเรื่องการประทับรอยพระบาทนี้ บางแห่งก็ว่า พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ไปแสดงธรรมเทศนาในนาคพิภพ เมื่อจะเสด็จกลับ พญานาคได้ทูลขออนุสาวรีย์จากพระองค์ไว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐาน ประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทา และพวกนาคทั้งหลาย จึงพากันบูชารอยพระพุทธบาทแทนพระองค์ ต่อมาชาวพุทธได้ทราบเรื่องนี้ จึงได้ทำการบูชารอยพระบาทสืบต่อกันมา โดยนำเอาเครื่องสักการะใส่กระทงลอยน้ำไป ส่วนที่ว่าลอยกระทงในวันเพ็ญ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์ หลังการจำพรรษา 3 เดือน ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดานั้น ก็ด้วยวันดังกล่าว เหล่าทวยเทพและพุทธบริษัท พากันมารับเสด็จนับไม่ถ้วน พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา และเป็นวันที่พระพุทธองค์ได้เปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์ และนรกด้วยฤทธิ์ของพระองค์ คนจึงพากันลอยกระทง เพื่อเฉลิมฉลองรับเสด็จพระพุทธเจ้า

ขอบคุณเพจ https://www.sanook.com/campus/910912/

เหตุผลที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่
1. เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด

2. เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท

3. เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

4. เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้

5. เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

6. เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน

7. เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญญาพื้นบ้านไว้อีกด้วย

ขอบคุณเครดิต เพจ https://dharayath.com/%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%87-%e0%b8%9b%e0%b8%b5-2566/

บทควาทอื่นที่น่าสนใจ  โคตรภูญาณ คืออะไร ทำไมถึงเป็นผู้เห็นภัยในการเกิดดับ

Pin It on Pinterest