นิวรณ์ 5 คำนี้ได้ยินและได้อ่าน ด้วยความสงสัย ความไม่เข้าใจ ในการปฏิบัติ เช่น เมื่อทำบุญแล้ว นั่งสมาธิภาวนา ก็ไม่ได้เกิดอะไรก้าวหน้า ทำให้เกิดลังเล สงสัย ทำไปเกิดความหดหู่ ท้อถอย และสุดท้ายเลิกปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้นี่เองที่เรียก เครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุ ในการที่เราตั้งใจ ที่เราเรียกกันว่า นิวรณ์
นิวรณ์ 5 คืออะไร
คือ เครื่องกั้นและปิดขวางไม่ให้บรรลุความดีไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรม
นิวรณ์ข้อมีอะไรบ้าง
1.กามฉันทะ ความพอใจในกาม
คือ ความลุ่มหลงในกามอารมณ์ ยินดีในรูป ราคะ พอใจ กามอารมณ์ต่าง ๆ
2.โกธะ พยาบาท ปองร้าย
คือ ความโกรธ เกลียด ชัง ความคุ้นแค้น เคือง
3.ถีนมิทธะ ความหดหู่ ซึมเศร้า
ความเกียจคร้าน ท้อแท้ เศร้าซึม หมดหวัง เสียใจ หมดอาลัย ไร้กำลังใจ เบื่อ ไม่อยากจะทำอะไร บางครั้งอาจทำให้เข้าใจว่าเป็นการปล่อยวาง แต่แม้จริง คือ ซึมเศร้า ท้อแท้
4.อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน
ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ คิดไม่ตก ฟุ้งซ่านในสิ่งที่มากระทบ อายตนะ ทางกาย วาจา ใจ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ ว่าจะเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ปรุงแต่งเหมือนเชือกพันกันไม่สามารถแก้ปมได้
5.วิจิกิจฉา
ความลังเลสงสัย ว่าทำสิ่งนั้นจะเกิดอะไร เช่น เมื่อนั่งสมาธิ แล้วไม่รู้สึกอะไร เหมือนนั่งหลับเฉย ๆ ก็เกิดความลังเล ว่าทำไปทำไม ไม่เห็นเกิดอะไร แต่แท้จริงแล้ว เกิดนิวรณ์เข้าปรุงแต่ง วิจิกิฉา ให้เกิดความสงสัย จิตต้องติดในการปรุงเเต่งในความสงสัย ๆ นั้น ๆ
วิธีการแก้นิวรณ์หรือธรรมอันเป็นปกปักษ์นิวรณ์ทั้ง 5 ข้อ
พละ 5 ธรรมกำลังใจทั้ง 5 ที่นำมาสู่จิคอันเป็นสู้กับนิวรณ์
1.ศรัทธา แก้วิจิกิจฉา ความเชื่ออันมีปัญญาและเหตุผลตามธรรมะ นำมาสู่การแก้ความสงสัยลังเล เช่น ลังเลสังสัยในนิพาน
2.วิริยะ แก้ถีนมิทธะ ความเพียร พยายาม ไม่ลังเล นำพามาสู่ความอดทน แก้ความหดหู่ ซึมเศร้า
3.สติ แก้พยาบาท
4.สมาธิ แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน ให้ความสงบในสมาธิ เข้ามาพิจารณา แล้วโน้มจิตเพียงแค่ดูความฟุ้งซ่าน ว่าปรุงแต่งอย่างไร แล้วก็ปล่อยมันไป
5.ปัญญา แก้กามฉันทะ ธรรมข้อนี้ค่อนข้างจะลึก เพราะต้องสร้างปัญญาให้เห็นกฏไตรลักษณ์ เพื่อเห็น ความไม่เที่ยงของสังขารที่เราถูกปรุงแต่งให้เห็นว่าสิ่งนั้นสวย น่าหลงไหล และติดในกาม แต่เมื่อมีปัญญาเข้าใจ เห็นว่า เราก็ต้องจากกันไปเมื่อชรา แก่ ไม่มีแล้วความสวยเหล่านั้น
หรือ
แก้นิวรณ์ โดยกรรมฐาน (ในบทความนี้ขอเน้นการแห้ในด้านกามฉันทะ)
กรรมฐาน (บาลี :kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺฐาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย (เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/)
นิวรณ์ กามฉันทะ
เมื่อเกิดความกำหนัด ความหลุ่มหลงในรูป กาย ความสวยความงาม อาลัยอาวรณ์อยู่ในกาม ซึ่งย่อมเกิดทุกข์ที่บางครั้งยังไม่ทราบว่าเป็นทุกข์ แต่เมื่อการเปลี่ยนแปลงผ่านไป เกิดทุกข์ เพราะความสวยหมดไป หรือ ถูกทิ้ง เลิกรา หรือ ไม่ได้กายนั้นมาครอบครอง ย่อมส่งผลกับการทุกข์ชัดขึ้น
การแก้นิวรณ์ข้อนี้ คือ อาศัย อสุภะ เข้ามาข่มใจ เห็น ไตรลักษณ์ว่า เราเกิดมา สุดท้ายก็ต้องแก่ ชรา และ ร่างกายเน่า ผิวหนังย่น รวมถึงต้องพลัดพรากจากกายนี้อยู่ดี ไม่ว่าจะสวยอย่างไร ทำให้อยากแค่ไหน วันเวลาก็ผ่านไปจะร่างกายก็จะเหี่ยวย่น เป็นรังของโรค เป็นเพียงแค่ เลือด น้ำหนอง เส้นเอ็น ผม กระดูก มารวมตัวกันเฉย ๆ
ศีล 5 ที่สามารถควบคุมนิวรณ์
- พยาบาท ให้ควบคุมด้วย การไม่ฆ่าสัตว์
- อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
- กามฉันทะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ประพฤติผิดในกาม
- วิจิกิจฉา ให้ควบคุมด้วยการไม่พูดเท็จ
- ถีนมิทธะ ให้ควบคุมด้วย การไม่เสพสิ่งเสพติดอันเป็นเหตุให้ประมาท
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศ วิหาร กรุงเทพมหานคร
จิตที่ไม่มีสมาธิก็เพราะมี นิวรณ์ ทำให้ไม่ได้มีความสงบ ไม่ใช้ปัญญา จึงได้แสดง นิวรณ์ ๕ และกัมมัฏฐานสำหรับแก้เพิ่มเติม ดังต่อนี้
๑. ความพอใจใฝ่ถึงด้วยอำนาจของกิเลสกาม เรียกว่า “กามฉันทะ”
แก้ด้วยเจริญ อสุภกัมมัฏฐาน พิจารณาซากศพ หรือเจริญ กายคตาสติ พิจารณา ร่างกายอันยังเป็นให้เป็นของน่าเกลียด
๒. ความงุ่นง่านด้วยกำลังโทสะ เรียกรวมว่า “พยาบาท”
แก้ด้วยเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หัดจิตให้เกิดในทางหัดคิดให้เรียเกิดเมตตา สงสาร กรุณา ช่วยเหลือเมื่อมีความสามารถ เกิดความพลอยยินดีไม่มีริษยา เกิดความปล่อยวาง หยุดใจที่คิดโกรธได้
๓. ความท้อแท้ หรือคร้าน หรือความหดหู่ง่วงงุน เรียกว่า “ถีนมิทธะ”
แก้ด้วยเจริญ อนุสติ กัมมัฏฐาน พิจารณาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บ้าง พิจารณาความดีของตนบ้าง เพื่อให้จิตเบิกบาน และมีแก่ใจหวนอุตสาหะ หรือทำอาโลก สัญญา(หมายเหตุ คือ อาโลกกสิน) กำหนดหมายแสงสว่าง ให้จิตสว่าง
๔. ความฟุ้งซ่าน หรือคิดพล่าน และความจืดจางเร็ว หรือความรำคาญ เรียกว่า “อุทัจจกุกกุ จจะ”
แก้ด้วย เพ่งกสิณ กำหนดลมหายใจเข้าออก หัดผูกใจไว้ในอารมณ์เดียว หรือเจริญมรณสติ อันจะทำให้ใจสงบด้วยสังเวช
๕. ความลังเลไม่แน่ลงได้ เรียกว่า “วิจิกิจฉา”
แก้ด้วยเจริญ ธาตุกัมมัฏฐาน หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อ กำหนดรู้สภาวที่เป็นอยู่ตามเป็นจริง
เครดิตข้อมูลจากเพจ