การที่เราทุกข์นั้น เราจะได้ยินคำสอนหนึ่งที่เรียก อุปาทาน 4 หรือ การที่เราไม่ปล่อยวาง เข้าไปยึดมั่นถือมั่นไว้ ทำให้เกิดความสงสัยว่าเหตุใดจิตเข้าไปยึดนั่้นมีอะไรทีทำให้เรานั้นถือกองทุกข์เหล่านั้นไว้ แล้วทำให้สัตว์โลกทั้งหลาย ต้องเวียนว่ายตายเกิดกันมากมาย ซึ่งกองทุกข์ที่ว่านั้นก็คือ ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สังขาร สัญญา วิญญาณ

ขันธ์ 5 คืออะไร กองทุกข์ของการเกิดดับ ยึดมั่น ถือมั่น อ่านเพิ่มเติมในเรื่องกองขันธ์ 5

ขันธ์ 5 คืออะไร และ มีอะไรบ้าง
ขันธ์ แปลว่า ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด ในทางพุทธศาสนาหมายถึงส่วนหนึ่งๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ได้แก่

รูป เป็นสภาพไม่รู้ มีทั้งหมด 28 รูป แบ่งเป็น อุปาทยรูป 24 รูป และมหาภูตรูป 4 รูป
เวทนา เป็นความรู้สึก มีทั้งหมด 5 เวทนา คือ สุขกาย สุขใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ อุเบกขาทางใจ
สัญญา เป็นความจำได้ ความรู้จำสิ่งที่ปรากฏได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และความรู้สึกได้ทางใจ คือ เวทนา สัญญา สังขาร
สังขาร เป็นการปรุงแต่งจิตให้จิตมีอารมณ์และกิริยาหลากหลาย มีทั้งหมด 50 สังขาร
วิญญาณ เป็นสภาพรับรู้ มีทั้งหมด 6 ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/

อุปาทาน 4 คืออะไร มีความหมายอย่างไร

อุปาทาน หมายถึง การยึดมั่นถือมั่น

ในจูฬสีหนาทสูตร พระโคตมพุทธเจ้าตรัสว่าอุปาทานมี 4 อย่าง ได้แก่

  1. กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม
    • ความยึดมั่นติดอยู่ในกาม คือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์
  2. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทิฏฐิ
    • มีความยึดติดในความคิดเห็นของตัวเอง ว่าความเห็นว่าเรานั้นถูก คนอื่นคิดผิด ไม่มองเหตุปัจจัยอะไร
  3. สีลัพพัตตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและวัตร
    • ความลังเลสงสัยในวัตรปฏิบัติ
  4. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา
    • ความยึดถือ ยึดมั่นในความเป็นตัวตน ว่านี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา เช่น ของที่เราซื้อ ที่มีในบ้าน เป็นของเรา ที่ดิน นั้นเป็นของเรา ไม่เข้าใจในการสมมุติที่ปรุงเเต่ง เพราะในความเป็นจริงนั้น ที่ดินก็คือดินไม่ได้เป็นของใคร แต่เราไปสมมุติในโลกกัน่วาอันนี้ของฉันของเรา

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/

อุปาทานมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักคำสอนอื่นๆ ที่สำคัญในพระพุทธศาสนา

อุปาทานมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักคำสอนอื่นๆ ที่สำคัญในพระพุทธศาสนาในฐานะที่ต้องเป็นไปตามกฎสัจธรรม เช่น สัมพันธ์กับ หลักปฏิจจสมุปบาท ในฐานะที่ต้องเป็นไปตามกฎของเหตุปัจจัย เป็นเหตุและผลต่อกัน อาศัยกันและกันเกิดขึ้นเป็นไป สัมพันธ์กับกฎไตรลักษณ์ ในฐานะที่ต้องเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เพราะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัมพันธ์กับหลักอริสัจ 4 ในฐานะที่เป็นสมุทัยให้ทุกข์ทั้งปวงเกิด สัมพันธ์กับหลักขันธ์ 5 ในฐานะที่เป็นที่ยึดมั่นของอุปาทานทำให้เข้าใจผิดยึดมั่นว่าขันธ์ทั้ง 5 เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ในทัศนะของปราชญ์พุทธ อุปาทานก่อให้เกิดโทษทั้งในปัจจุบันและในอนาคตแก่บุคคลผู้ที่ยึดมั่นถือมั่น และมีผล กระทบต่อสังคมพุทธในหลายด้าน เช่น ผลกระทบด้านความเชื่อ ผลกระทบด้านการศึกษา ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการเมือง ผลกระทบด้านวิถีชีวิตและระบบนิเวศ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในสังคม อุบายวิธีในการเรียนรู้เพื่อละอุปาทาน ต้องเจริญตามอริยมรรคมีองค์ 8 และ สติปัฏฐาน 4 การเจริญขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ 8 มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการคือ 1.ปรโตโฆสะ 2.โยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลได้ศึกษาพิจารณาด้วยปัญญาและเข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมละคลายจากอุปาทาน ความยึดมั่น ถือมั่น ที่เป็นต้นเหตุของโทษทุกข์ทั้งปวงได้ความทุกข์และปัญหาต่างๆก็ลดลงตามลำดับจนสามารถละอุปาทานได้ในที่สุดจนกระทั่งบรรลุนิพพานซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ขอบคุณและเครดิตจากเพจ https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/2661

Pin It on Pinterest

Share This

Share This

Share this post with your friends!