เวลาที่เราทำบุญเรามักจะได้ยินคำว่า “อานิสงส์” ทำบุญแบบนี้แล้วอานิสงส์จะเยอะแบบโน้นแบบนี้ บทความนี้จะมาทำความรู้จักกันครับ แนะนำการถวายผ้าไตรที่ดีและมีคุณภาพนั้นย่อมส่งผลถึงอานิสงส์ที่ดีด้วยเช่นกัน
อานิสงส์หมายถึง (ที่มาจากเว็บ https://th.wikipedia.org)
อานิสงส์ หมายถึงผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ, ประโยชน์ที่เกิดจากการ ทำบุญ ใช้ว่า ผลานิสงส์ หรือผลอานิสงส์ ก็มี อานิสงส์ เป็นผลผลิตจากการประกอบความดีต่างๆ ตามคติที่ว่า ทำดีได้ดี หมายความว่าเมื่อทำความดี ความดีย่อมให้อานิสงส์เป็นคุณความดีก่อน ลำดับต่อมาคุณงามความดีนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจไหลออกมาสนองผู้ทำในรูปแบบต่างๆ ตามเหตุปัจจัยที่ทำ เปรียบเหมือนปลูกต้นมะม่วงย่อมจะได้ผลเป็นลูกมะม่วงก่อน ต่อมาลูกมะม่วงนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจต่อไปเมื่อนำไปเป็นอาหาร นำไปแลกเป็นของหรือนำไปขายเป็นเงิน
ถวายผ้าไตรจีวร
เป็นหนึ่งในจตุปัจจัย ที่เป็นเครื่องนุ่งห่ม สำหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร การนำ ผ้าไตรจีวร มาถวายพระในทางพระพุทธศาสนานั้น มองว่าเป็นการช่วยให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย และคลายความอันตรายต่างๆได้ ดังนั้นผู้ให้จึงได้รับบุญกุศล เกิดในภพหน้าจะมีหน้าตารูปร่างสวยงาม และมีผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส เป็นผู้อิ่มเอมใจ อันเกิดจากการอิ่มบุญ ขจัดพ้นจากความยากลำบาก และความยากจนแสนเข็ญ
จุดประสงค์ของการถวายผ้าไตรจีวร
เพื่อให้พระภิกษุหมดภาระในการแสวงหาผ้านุ่งห่ม ไม่ต้องกังวลใจ มีเวลาปฏิบัติธรรมอย่างเพียงพอ และเป็นการช่วยให้พระภิกษุมีผ้านุงห่ม ป้องกันเหลือบยุง บำบัดความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันไม่ให้ป่วยไข้เพราะร้อนและหนาวเกินไป และในสมัยพุทธกาลพระภิกษุจะใช้รักษาสุขภาพอนามัย คือใช้ชายจีวรกรองน้ำดื่มเมื่อถึงคราวจำเป็น
อานิสงส์ของการถวายผ้าไตรจีวร(ขอขอบคุณข้อมูลที่มาจากเว็บ dharayath.com)
ผู้ที่ถวายผ้าไตรจีวรด้วยจิตใจบริจาคที่บริสุทธิ์นั้น อานิสงส์จึงบังเกิดเป็นผลบุญยิ่งใหญ่ ดังนี้
- สามารถตัดบาปออกจากจิตใจ สามารถกำจัดกิเลส คือ ความโลภ ความตระหนี่ถี่เหนียว ให้บรรเทาเบาบางลงได้
- เวลา ยืน เดิน นั่ง เป็นสุขใจ เบิกบาน เกิดความภาคภูมิใจในบุญกุศลบังเกิดความอิ่มบุญ สุขใจ
- สามารถหลุดพ้นจากความยากจน ความลำบาก หลุดพ้นจากการขัดสนในทุกภพทุกชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปัจจัย 4 ทั้งหลาย
- หากเกิดชาติใดภพใด จะเป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ผิวพรรณผุดผ่อง แจ่มใส สง่างามน่ามอง
ผ้าไตรจีวรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
ไตรจีวร หมายถึง ผ้า 3 ผืน นับเข้าในบริขาร 8 อย่างของพระภิกษุสงฆ์ ไตรครองประกอบด้วย ผ้า 7 ชิ้น
- จีวร คือ ผ้าห่มของพระภิกษุ สามเณร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอุตราสงค์
- สบง หมายถึง ผ้านุ่ง ของพระภิกษุ สามเณร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อันตรวาสก ในพระวินัย กำหนดการนุ่งไว้คือ ด้านบนนุ่งปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก ด้านล่างปิดหัวเข่า ลงมาเพียงครึ่งแข้ง การนุ่งแบบนี้ เรียกว่า นุ่งเป็นปริมณฑล
- สังฆาฏิ คือ ผ้าซ้อนทับจีวรอีกชั้นหนึ่งป้องการความหนาว (ปัจจุบันใช้พาดบ่าเนื่องจากอากาศไม่หนาวจนเกินไป)
- อังสะ หมายถึง ผ้าขนาดประมาณ ๒ x๑ ศอก สำหรับภิกษุสามเณร ใช้คล้องเฉียงบ่า ปิดไหล่ ตามพระวินัยห้ามมิให้เปลือยกายแต่ใช้ผ้าอังสะนี้ปิดร่างกายท่อนบน
- ประคตเอว คือ เครื่องคาดเอว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รัดประคตนิยมใช้ด้ายถักเป็นแผ่นคล้ายเข็มขัด ยาวประมาณเมตรครึ่งถึง ๒ เมตร
- ผ้ารัดอก หมายถึงผ้าหนา กว้างประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ยาวประมาณเมตรครึ่งถึง ๒ เมตร ใช้สำหรับรัดอกภิกษุสามเณร
- ผ้ากราบ หมายถึงผ้าที่พระสงฆ์ใช้รับของประเคนจากสตรีตามพระวินัยระบุว่า มิให้รับของประเคนมือต่อมือจากสตรี
แนะนำสถานที่ถวาย วัดป่าเขาใหญ่ญาณสัมปันโน
ส่วนตัวผมนับถือ หลวงปู่อุทัย หรือกับพระสงฆ์ที่วัดก็ได้ครับ ถือว่าได้อานิสงส์มากครับ เมื่อทำบุญกับพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่อยู่ในศีลปฏิบัติครับ แต่ความจริงยังมีพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่อีกมาก เพียงแต่ผมเป็นคนโคราช เลยยกตัวอย่างขึ้นมาแนะนำกันครับ ขอสาธุกับผู้ที่ทำบุญทุกท่านด้วยนะครับ