หลักธรรมแห่งการพ้นทุกข์ ที่จะทำให้ทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลก คือ อริยสัจ 4 แก่นธรรมะที่ทำให้เห็นทางพ้นทุกข์ โดยผู้ผฏิบัติธรรมจะต้องมีอยู่ในใจทุกท่าน หลักความจริงอันประเสริฐที่เป็นทางที่นำพาไปสู่การพบทุกข์ และการดับทุกข์
ซึ่งหลักธรรมนี้ เป็นทางสายกลางแห่งการฏิบัติ “เพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์หลัก คือ ขนทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลก นั้นคือ นิพพาน”
หลักธรรมนี้ เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ เมื่อครั้นหลังจากที่บรรลุธรรมใต้ต้นโพธิและได้มาแสดงธรรมให้แก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่เราเรียกว่าวันอาสาฬหบูชา ซึ่งเป็นหลักธรรมไว้ในบทสวดมนต์ ธัมมจักกัปวัตนสูตร ทำให้กงล้อแห่งธรรมหมุนเป็นครั้งแรก เพราะมี พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์
และยังนับได้ว่าเป็นปฐมเทศนาครั้งแรก คือ เทศนากัณฑ์แรก พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่พระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
อริยสัจ 4 คืออะไร
หลักธรรมนี้ พระพุทธเจ้าที่มาทรงค้นพบด้วยพระองค์ โดยเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะต้องบรระลุและเข้าถึงในอริยสัจ ถึงจะบรรุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น หลักธรรมนี่จึงเป็นที่นับได้ว่าเป็นแก่นของคำสั่งสอนอย่างแท้จริง
อริยสัจ คือ หลักธรรมที่สำคัญจัดได้ได้เป็นแก่นธรรมของหลักคำสอน และ ถือเป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
(เครดิต https://www.mcot.net/view/IJvzfpTd)
- แนะนำอ่าน โคตรภูญาณ ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ และ เพื่อนิพพาน เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ
ขอบคุณเครดิตเพจ https://th.wikipedia.org/
ประกอบไปด้วย สี่ ประการดังนี้
1. ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
สภาวทุกข์ หมายถึง ทุกข์ประจำ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ปกิณณกทุกข์ หมายถึง ทุกข์จร การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และความไม่สมปรารถนา
2. สมุทัย สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความอยาก คือ
กามตัณหา คือ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น
ภวตัณหา คือ ความอยากให้คงอยู่
วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
3. นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์
คือ การละตัณหา 3 ประการดังกล่าว
4. มรรค หมายถึง วิธีดับทุกข์ เป็นแนวทางปฏิบัติต้นเหตุของทุกข์
มี 8 ประการดังนี้
องค์มรรค 8
สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา คือ วาจาชอบ
เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูด เพ้อเจ้อ ไร้สาระ
สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ
การงดเว้นจากกายทุจริต คือ
การไม่ฆ่าสัตว์
ไม่ลักทรัพย์
ไม่ประพฤติผิดในกาม
สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีวิตชอบ ได้แก่
การประกอบอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ ได้แก่
เพียรขจัดความชั่ว
เพียรสร้างความดี
เพียรรักษาความดี
สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ
การกำหนดรู้จิต ระลึกได้ตลอดเวลาว่า ตนเองกำลังคิดอะไร ทำอะไร
สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจชอบ
การตั้งจิตให้ควบคุมอารมณ์ได้
(เครดิตเพจ https://dharayath.com/)