อภัยทาน นับได้ว่าเป็นหนึ่งในทานที่พระพุทธเจ้าทรงให้ความยกย่องแก่บุคคลที่อโหสิกรรมแล้วยกให้เป็นทาน นับว่ามีจิตใจที่ยกสูงขึ้น เพราะต้องอาศัยความอดทน ขันติ ต่อการโกรธแค้นพยาบาท อดกั้น ต่อความเจ็บต่าง ๆ และปล่อยวางลงให้เข้าไปยึดในการปรุงแต่งของเรื่องนั้น ๆ นับว่าต้องอาศัยจิตใจที่เด็ดเดียวพอสมควร ดังนั้นผู้ที่ปล่อยวางแล้วการให้อภัยเกิดขึ้น จะนำไปสู่การปฏิบัติภาวนาพรหมวิหาร 4  ได้โดยง่าย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นำจิตสู่การเป็นพรหม นับว่ามีอานิสงส์มากมาย

อภัยทาน คืออะไร

การให้อภัยทาน คือ การสละอารมณ์โกรธเป็นทาน ให้อภัย ไม่จองเวร สละอารมณ์โกรธพยาบาทให้ขาดออกจากใจ เป็นการเจริญเมตตาพรหมวิหาร

เครดิตจากเพจ https://th.wikipedia.org/wiki/

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ได้ให้ความหมายของคำว่าอภัยทานดังนี้
อภัยทาน คือ การยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่ เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย

ความจริงนั้น ทุกคนที่สนใจบริหารจิต จะต้องสนใจอบรมจิตให้รู้จักอภัยในความผิดทั้งปวง ไม่ว่าผู้ใดจะทำแก่ตน แม้การให้อภัยจะเป็นการทำได้ไม่ง่ายนัก สำหรับบางคนที่ไม่เคยอบรมมาก่อน แต่ก็สามารถจะทำได้ด้วยการอบรมไปทีละเล็กละน้อย เริ่มแต่ที่ไม่ต้องฝืนใจมากนักไปก่อนในระยะแรก

ตัวอย่างเช่น เวลาขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารคอยขึ้นรถอยู่เป็นจำนวนมาก หากจะมีผู้เบียดแย่งขึ้นหน้า ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่ข้างหลัง ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาไม่ว่าน้อยหรือมาก ก็ให้ถือเป็นโอกาสอบรมจิตใจให้รู้จักอภัยให้เขาเสีย เพราะเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรถือโกรธกันหนักหนา เป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกินควรจะอภัยให้กันได้ แต่บางทีไม่ตั้งใจคิดเอาไว้ก็จะไม่ทันให้อภัยจะเป็นเพียงโกระแล้วจะหายโกรธ ไปเอง

โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ้งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น”

ฉะนั้น การให้อภัยทาน ก็คือ “การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู” ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ “ละโทสะกิเลส” และเป็นการเจริญ “เมตตาพรหมวิหารธรรม” จึงเป็นสิ่งที่สาธุชนทั้งหลายควรบำเพ็ญให้มีขึ้นในตน เพราะมีผลานิสงส์มาก

พุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายของอภัยทานว่า

ให้อภัย คำว่า อภัย นี้แปลว่า ไม่ต้องกลัว ให้อภัย คือเราให้ความไม่ต้องกลัวแก่บุคคลนั้น แปลว่า บุคคลนั้นไม่ต้องกลัวเรา นี่คือให้อภัย ทีนี้บางคนอาจจะคิดว่า นี้มันไม่ใช่ให้ทาน นี่มันไม่รู้ เขาพูดไปทั้งที่ไม่รู้การให้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทาน แต่เขาเรียกว่า “ การให้อภัยทาน ”เป็นสิ่งที่ให้กันได้ ให้ได้ทั้งทางกาย ให้ได้ทั้งทางวาจา ให้ได้ทั้งทางจิตใจ ทางร่างกาย เขามาขอขมาขออภัยเราก็รับ ทางวาจา บอกอโหสิกรรม ทางจิตใจ เราก็สลัดความโกรธ ความอาฆาตจองเวรอย่างนี้ก็เรียกว่า“ การให้อภัยทาน ” ทั้งนั้นมีได้ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ

 

Pin It on Pinterest

Share This

Share This

Share this post with your friends!