พินทุผ้า ไตรจีวรหรือการอธิฐานผ้าครอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง เรียกพินทุกัปปะ กการอธิฐานผ้าครองนั้นเป็นการลงตำหนิไว้บนผ้าไตรจีวร โดยอย่างยิ่ง พระที่บวชใหม่ จะยังไม่เข้าใจกระบวนการพินทุและต้องสวดอย่างไร

ทำความเข้าใจว่าผ้าไตรของพระสงฆ์อะไรบ้าง

ไตรครอง
ผ้าไตรครบชุด (7 ชิ้น) ประกอบด้วย
ผ้าสบงขัณฑ์, ผ้าจีวร, ผ้าพาดบ่าหรือสังฆาฏิ (2 ชั้น), อังสะ, รัดประคด, ผ้ารัดอก และผ้ารับประเคนหรือผ้ากราบ
นิยมถวาย งานบวชพระ หรือพิธีมงคลพิเศษ
ไตรเต็ม
ผ้าไตรครบชุด หรือ ไตรใหญ่ (7 ชิ้น) ประกอบด้วย
ผ้าสบงขัณฑ์, ผ้าจีวร, ผ้าพาดบ่าหรือสังฆาฏิ (1ชั้น), อังสะ, รัดประคด, ผ้ารัดอก และผ้ารับประเคนหรือผ้ากราบ
นิยมถวายพระงานมงคลพิเศษ อาทิ งานบวชพระ ทำบุญบ้าน ทำบุญเพื่อบรรพบุรุษหรือญาติที่ล่วงลับไปแล้ว

ไตรอาศัย หรือ ไตรเล็ก
ผ้าไตรเล็ก หรือ ไตรแบ่ง (3 ชิ้น) เป็นผ้าที่พระสงฆ์เอาไว้ผลัดเปลี่ยน หรือสำรองไว้ใช้ ประกอบด้วย
สบงอนุวาต, จีวร และ อังสะ
นิยมถวายพระงานบุญทั่วไป ใช้ได้ในทุกโอกาส ไม่จำกัด

เครดิต https://dharayath.com

พินทุผ้า คืออะไร

การพินทุ ในทางพุทธศาสนาหมายถึง การทำจุดตำหนิลงบนบริขาร ซึ่งพระพุทธเจ้ากำหนดไว้ในพระธรรมวินัยว่า ไม่อนุญาตให้ใช้บริขารที่ปราศจากการทำจุดตำหนิ การพินทุกระทำโดยใช้ดินสอหรือปากกา เขียนเครื่องหมายเป็นจุดเรียงกันเป็นสามเหลี่ยม ∴ ลงบนบริขาร ถ้าเป็นผ้าก็จะกระทำไว้ที่มุมผ้า พร้อมบริกรรมคาถาว่า อิมํ พินฺทุกปฺปํ กโรมิ (เราทำเครื่องหมายด้วยจุดนี้) หนึ่งจุดต่อหนึ่งครั้ง บางวัดอาจเปลี่ยนคำกลางเป็น กปฺปพินฺทุ˚ ก็ได้ แล้วให้มีการทำวิกัปเกี่ยวกับจีวรและสังฆาฏิด้วย ถ้าไม่กระทำถือว่าอาบัติ มีโทษเป็นปาจิตติยกรรม

เครดิตเพจ https://th.wikipedia.org/wiki

การทำพินทุผ้า

การพินทุผ้า เริ่มด้วยการตั้งนะโมฯ ๓ จบ แล้วใช้ปากกาทำเครื่องหมายที่มุมผ้า เป็นจุดขนาดประมาณเมล็ดถั่วเขียว ๓ จุด แต่ละจุดห่างกันให้เป็นรูปสามเหลี่ยมพร้อมกับกล่าวคำทำพินทุว่า เราทำเครื่องหมายด้วยจุดนี้ เป็นภาษาบาลี

คำพินทุกัปปะ
พึงตั้งนะโม ๓ จบก่อน และเปล่งวาจาหรือผูกใจขณะที่ทำอยู่ว่า

อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ
ทุติยัมปิ อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ
ตะติยัมปิ อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ.

การอธิษฐานผ้า
อธิษฐานในทางพระวินัย คือ การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ เช่น การได้ผ้ามาผืนหนึ่ง เราก็จะต้องอธิษฐานตั้งใจว่าจะใช้เป็นผ้าอะไร เช่น เป็นสังฆาฏิ เป็นสบง หรือจีวร เป็นต้น โดยสามารถอธิษฐานได้อย่างละผืนเท่านั้น ยกเว้น ผ้าบริขารโจละ และผ้าเช็ดหน้า สามารถอธิษฐานได้มากกว่า ๑ ผืน

การอธิษฐานผ้า ทำได้โดย ตั้งนะโมฯ ๓ จบ แล้วกล่าวคำอธิษฐานผ้าพร้อมกับใช้มือลูบผ้าวนขวา ๓ ครั้ง เช่น
การอธิษฐานผ้าสังฆาฏิ ว่าดังนี้

อิมัง สังฆาฏิง อธิฏฐามิ
ทุติยัมปิ อิมัง สังฆาฏิง อธิฏฐามิ
ตะติยัมปิ อิมัง สังฆาฏิง อธิฏฐามิ.

เมื่อจะอธิษฐานบริขารอื่น ๆ ให้เปลี่ยนคำว่า สังฆาฏิง ไปตามชนิด
อุตตะราสังคัง ผ้าอุตราสงค์ (จีวร)
อันตะระวาสะกัง ผ้าอันตรวาสก (สบง)
นิสีทะนัง อาสนะ
ปัตตัง บาตร
ปะริกขาระโจลัง ผ้าบริขาร ผ้าเล็กผ้าน้อย
มุขะปุญฉะนะโจลัง ผ้าเช็ดหน้า
วัสสิกะสาฏิกัง ผ้าอาบน้ำฝน
สำหรับผ้าบริขารโจละ และผ้าเช็ดหน้า ถ้าอธิษฐานตั้งแต่สองผืนขึ้นไปให้เปลี่ยน อิมัง เป็น อิมานิ และ อัง ท้ายศัพย์ เป็น อานิ เช่น

อิมานิ ปะริกขาระโจลานิ อธิฏฐามิ
ทุติยัมปิ อิมานิ ปะริกขาระโจลานิ อธิฎฐามิ
ตะติยัมปิ อิมานิ ปะริกขาระโจลานิ อธิฏฐามิ

การถอนอธิษฐาน
ผ้าอธิษฐานเหล่านี้ถ้าจะเปลี่ยนใหม่ ให้ถอน อธิษฐาน โดยเปลี่ยนคำว่า สังฆาฏิง ไปตามชนิดของบริขารนั้นๆ) ด้วยคำว่า
อิมัง สังฆาฏิง ปัจจุทธะรามิ
ทุติ ยัมปิ อิมัง สังฆาฏิง ปัจจุทธะรามิ
ตะติยัมปิ อิมัง สังฆาฏิง ปัจจุทธะรามิ

เครดิต https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=21878

 

Pin It on Pinterest

Share This

Share This

Share this post with your friends!