พละ 5 หรือกำลังทั้ง 5 ที่สนับสนุนให้มีกำลังต่อจิตใจให้นำพาไปสู่ความสำเร็จ นับว่าเป็นหลักธรรมหนึ่งซึ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะที่ปฏิบัติภาวนาสมาธิ เพราะการปฏิบัติให้ได้เกิดความสงบจากสมถะนั้น เป็นเรื่องที่ต้องเผชิญกับความวุ่นวายมากมายของจิต เพราะจิคดั้งเดิมนั้น จิตจะชอบท่องเที่ยว

ดังนั้น ผู้ที่ตั้งใจจะนั่งสมาธิและปฏิบัติภาวนาที่เพิ่งเร่ิมต้น ต้องอาศัยกำลังใจพละ 5 อย่างมาก เมื่อนั่งสมาธิใหม่แล้วจะเผชิญความปรุงแต่ง ไม่นิ่ง เกิดความท้อ ง่วง สับสน ลังเลว่า นั่งหลับตาไปทำไม ไม่เห็นมีอะไร  จนเกิดการเลิกก็มาก

หลักธรรมอันนี้จึงเป็นหลักทำที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างกำลังและพลังใจในการปฏิบัติ รวมถึงนำมาต่อสู้กับนิวรณ์ ในการนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติธรรม และเป็นหลักธรรมที่เป็นปกปักษ์กับ นิวรณ์ 5 ที่เป็นเครื่องกั้นและปิดขวางไม่ให้บรรลุความดีไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรม รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รู้สึกหดหู่ไม่อยากทำอะไร ท้อแท้ หมดหวัง  แต่ถ้าเราเข้าถึงหลักธรรม พละ5 จะทำให้มีความต่อสู้ทำให้เกิดความเพียร ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้

พละ 5 คืออะไร
  • Facebook
  • Twitter
  • Google+
  • Pinterest
  • Gmail
  • Blogger

พละ 5 คืออะไร

คือ กำลังห้าประการ  ได้แก่

1. ศรัทธาพละ  ความเชื่อ กำลังแห่งความเชื่อ ความศรัทธา เป็นศรัทธาที่มีสติในความเชื่อ และไม่งมงาย อธิบายตามหลักเหตุผล เข่น เชื่อในความขยันและอดทน ย่อมผ่านอุปสรรคและนำพาไปสู่ความสำเร็จ

2.วิริยะพละ ความเพียร กำลังแห่งความเพียรพยายาม ไม่ท้อถอย ทำให้ลดความหดหู่ลงไป มีกำลังใจให้กับตัวเอง เมื่อเห็นสภาวะเเห่งเหตุผลและความเป็นจริง ส่งผลให้มีความศรัทธาที่มีความเพียร เช่นไม่ท้อในการทำความดีเเละละความชั่ว ไม่ท้อ

3. สติพละ ความระลึกได้ กำลังแห่งสติ ระลึกรู้ รู้ตัวเองว่าทำอะไร ไม่สามารถทำให้ความโกรธ ราคะ เข้ามาครอบงำจิตใจ เพราะการรู้ตัวว่าเหตุเหล่านี้จากนิวรณ์นำมาสู่ความเดือนร้อนในภายหลังมากมาย ตั้งสติด้วยอารมณ์แห่งวิปัสนากรรมฐาน รู้ ทุกอย่างต้องดับ จากกันไปเป็นตามธรรมดา เห็นการปรุงแต่งจากสังขารเหล่านั้นก็ไม่เที่ยง

4.สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังแห่งใจที่ตั้งมั่น ความตั้งมั่นเหมือนรักษาความดี ไม่ให้ความดีนั้นหายไปจากสติ แต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในความดีนั้น

5.ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังแห่งความรู้ที่เกิดจากปัญญาญาณ จิตคือตัวรู้ที่ได้ปัญญา ความรอบรู้ ที่มีสติและสมาธิเป็นฐานเพื่อส่งเสริมให้เห็นปัญญา โลกุตตระ แห่งสัจธรรม

ธรรมอันเป็นปกปักษ์นิวรณ์ทั้ง 5 ข้อ

1.ศรัทธา แก้วิจิกิจฉา ความเชื่ออันมีปัญญาและเหตุผลตามธรรมะ นำมาสู่การแก้ความสงสัยลังเล เช่น ลังเลสังสัยในนิพาน
2.วิริยะ แก้ถีนมิทธะ ความเพียร พยายาม ไม่ลังเล นำพามาสู่ความอดทน แก้ความหดหู่ ซึมเศร้า
3.สติ แก้พยาบาท
4.สมาธิ แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
5.ปัญญา แก้กามฉันทะ

ขอบคุณเครดิตเพจ

 

Pin It on Pinterest

Share This

Share This

Share this post with your friends!