ปฏิจจสมุปบาท หลักธรรมแสดงขั้นตอนชองปัจจัยการเกิดเริ่มตั้งแต่การไม่รู้(ไม่รู้แจ้งเห็นจริงตามเหตุปัจจัย) หรือที่เรียกว่า อวิชชา จนไปถึง ชรา มรณะ หลักธรรมนี้แสดงให้เห็นถึงวงล้อของภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นอีกหลักธรรมที่เหมาะกับผู้ปฏิบัติภาวนา อย่างมาก โดยเฉาพะผู้ที่กำลังเกิดความรู้สึกว่าโลกนี้เกิดมาแล้วต้องตาย เห็นทุกข์จากตามความเป็นจริงใน อริยสัจ4 หาหนทางดับทุกข์

อริยสัจ 4 คืออะไร ความจริงอันประเสริฐ หลักธรรมแห่งการพ้นทุกข์ คลิกอ่านเพิ่มเติม

ปฏิจจสมุปบาท มีความหมายหรือแปลว่าอะไร

ปฏิจจ แปลว่า อาศัยกันและกัน ,สมุปบาท แปลว่า เกิดร่วมกัน ,ปฏิจจสมุปบาท จึงแปลว่า อาศัยกันและกันเกิดขึ้นร่วมกัน ปฏิจจสมุปบาทเป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ

ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นโดยปราศจากสิ่งอื่น ทุกสิ่งต่างอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้นหรือปรากฎลักษณะขึ้น ,

ปฏิจจสมุปบาท มีอะไรบ้าง

  • เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี
  • เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
  • เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
  • เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ หรือ อายตนะ จึงมี
  • เพราะสฬายตนะ หรือ อายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
  • เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
  • เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
  • เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
  • เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
  • เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
  • เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี.

ปฏิจจสมุปบาท
  • Facebook
  • Twitter
  • Google+
  • Pinterest
  • Gmail
  • Blogger

เครดิตเพจ https://th.wikipedia.org/wiki/

หลักปฏิจจสมุปบาท (ปัจจยาการแห่งธรรม)

เป็นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาที่อธิบายถึงกระบวนการของการเกิดขึ้นและดับไปของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวโยงถึงความทุกข์และเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความทุกข์ โดยแสดงให้เห็นว่า ทุกสิ่งมีเหตุและปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

หลักปฏิจจสมุปบาทในรูปแบบ 12 ห่วงโซ่ (ปัจจยาการ 12 ประการ)
1. อวิชชา (ความไม่รู้) → เป็นเหตุให้เกิด
2. สังขาร (การปรุงแต่งทางจิตใจ) → เป็นเหตุให้เกิด
3. วิญญาณ (จิตที่รับรู้อารมณ์) → เป็นเหตุให้เกิด
4. นามรูป (รูปและนาม) → เป็นเหตุให้เกิด
5. สฬายตนะ (อายตนะทั้ง 6: ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) → เป็นเหตุให้เกิด
6. ผัสสะ (การกระทบของอายตนะ) → เป็นเหตุให้เกิด
7. เวทนา (ความรู้สึก สุข ทุกข์ เฉย ๆ) → เป็นเหตุให้เกิด
8. ตัณหา (ความอยาก) → เป็นเหตุให้เกิด
9. อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) → เป็นเหตุให้เกิด
10. ภพ (ภาวะหรือการดำรงอยู่) → เป็นเหตุให้เกิด
11. ชาติ (การเกิด) → เป็นเหตุให้เกิด
12. ชรามรณะ (ความแก่ ความตาย ความทุกข์อื่น ๆ)

 

หลักการสำคัญ
1. อิทัปปัจจยตา สิ่งใดเกิดขึ้นต้องอาศัยเหตุและปัจจัย
2. ธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง ไม่มีสิ่งใดคงอยู่ถาวร ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง
3. การดับทุกข์ห ากตัดวงจรของเหตุปัจจัยนี้โดยเฉพาะที่ “อวิชชา” ความทุกข์ก็จะดับไป

ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักสำคัญในการศึกษาพระธรรมของพระพุทธศาสนา และยังเป็นแนวทางในการเข้าใจธรรมชาติของชีวิตเพื่อการพ้นทุกข์.

Pin It on Pinterest

Share This

Share This

Share this post with your friends!