ทำบุญ คืออะไร หลายคำตอบและหลายท่านยังมีความลังเล สงสัย ทำไมต้องทำบุญ ทำแล้วได้อะไร อย่างไร แล้วพระพุทธเจ้าท่านให้หลักธรรมทำบุญไว้อย่างไร ถึงจะทำแล้วไม่งมงายและมีสติ

ซึ่งโดยเบื้องต้นแล้ว จุดมุ่งหมายของศาสนาคือ การให้คนพ้นทุกข์ ด้วยการเดินตามทางสายกลางคือ องค์มรรคแปดประการ หรือ ย่ออย่างง่ายเบื้องต้นคือ ทาน ศีล สมาธิ และ สุดท้ายคือมี ปัญญา เพื่อเห็นทางพ้นทุกข์ และจุดมุ่งหมายแรกคือ ก่อนไปในถึงความเข้าใจในขั้นอื่น ๆ นั้น ต้องมี ทาน และ ศีล เป็นที่สมบูรณ์อย่างมีสติ และ เหตุผล ไม่งมงาย  การให้ทาน ก็คือ การให้เพื่อไม่ให้เห็นแก่ตัว และ ละความโลภที่มีในตน กล่าวง่าย ๆ อีกแบบคือ การทำบุญทำทาน

ทำบุญ คืออะไร

การทำบุญ หมายถึง การประกอบให้ความดีเกิดขึ้น ซึ่งมาจากคำว่า “บุญ” (บาลี: ปุญฺญ) หรือ บุณย์ (สันสกฤต: ปุณฺย) ที่หมายถึง ความดี ตรงกันข้ามกับคำว่า บาป (บาลี: อปุญฺญ)

เครดิต https://www.wreathnawat.com/merit-making-in-buddhism/

ทำบุญ ที่จะให้ได้ผลบุญมากหรือน้อยนั้น มีหลักเกณฑ์อยู่ 3 ประการคือ

1.ผู้รับ จะต้องเป็นผู้มีศีล มีคุณธรรมความดี แต่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นพระสงฆ์ หรือนักบวช จะเป็นคนทั่วไปก็ได้ ถ้าผู้รับดี ผู้ทำก็ได้บุญมาก หากผู้รับไม่ดี ก็อาจจะทำให้เราได้บุญน้อย เพราะเขาอาจอาศัยผลบุญของเรา ไปทำชั่วได้ เช่น ให้เงินช่วยเหลือเพื่อนๆ กลับเอาไปปล่อยกู้ สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เป็นต้น

2.วัตถุสิ่งของที่ให้ต้องบริสุทธิ์หรือได้มาโดยสุจริต เป็นของที่เหมาะและมีประโยชน์ต่อผู้รับ เช่น ให้เสื้อผ้าของเล่นแก่เด็กกำพร้า เป็นต้น ของที่ให้ดีผู้ทำก็ได้บุญมาก หากได้มาโดยทุจริต แม้จะเอาไปทำบุญก็ได้บุญน้อย

3.ผู้ให้ ต้องมีศีลมีธรรมและมีเจตนาที่เป็นบุญกุศลในการทำ จึงจะได้บุญมาก นอกจากนี้ เจตนาหรือจิตใจในขณะทำบุญ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญกล่าวคือ ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ หากผู้ให้มีความตั้งใจดี ตั้งใจทำ เมื่อทำแล้วก็เบิกบานใจ คิดถึงบุญกุศลที่ได้ทำเมื่อใด จิตใจก็ผ่องใสเมื่อนั้น เช่นนี้ก็จะทำให้ผู้ทำได้บุญมาก ถ้าไม่รู้สึกเช่นนั้น บุญก็ลดน้อยถอยลงตามเจตนา

เครดิตเพจ https://www.thaihealth.or.th

การทำบุญนั้น มีหลักธรรมอันสำคัญคือ บุญกิริยา 10 ประการที่กล่าวได้ว่าไม่เสียเงินทองเลย ซึ่งมีข้อเดียวที่เสียวัตถุ คือ ทานมัย ที่เหลือ 9 ข้อไม่มีการเสียวัตถุในการทำบุญ ซึ่งกล่าวได้ว่า ใช้ศรัทธาและปัญญาอย่างมีสติในการทำบุญ ที่มุ่งเน้นการละความโลภมิใช่การนำมาอวดว่ามีบุญมากกว่าสูงกว่า แต่มีคุณธรรม กุศลจิตที่เข้าสู่ในจิตใจ และนำไปสู่การปฏิบัติ ศีล สมาธิ ภาวนาได้ สงบ ปราศจากการกกังวลใด ๆ ต่ออำนาจของกิเลส

บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ

บุญกิริยาวัตถุ แปลว่า หลักแห่งการบำเพ็ญบุญ หรือทางมาแห่งบุญ ๑๐ ประการ คือ

๑. ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน
๒. สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อม ถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. ไวยยาวัจมัย บุญเกิดจากการขวนขวาย ในกิจที่ชอบ
๖. ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการอุทิศส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญเกิดจากการทำความเห็นให้ตรง

Pin It on Pinterest

Share This

Share This

Share this post with your friends!