การอุทิศส่วนกุศล ให้กับผู้ล่วงลับสามารถทำได้ตลอดปี หรือ ทำบุญครบ 100 วัน หรือ ทำบุญครบ 1ปี โดยทั่วไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลนั้น ก็มักจะเลือกถวายสังฆทาน อาจจะเพราะด้วยเหตุการปัจจุบันที่ไม่ค่อยมีเวลา จึงต้องเน้นความสะดวก แต่หลายท่านอาจจะไม่แน่ใจว่า ทำถูกต้องหรือถูกวิธีหรือไม่ และต้องเริ่มต้นอย่างไรในการ ถวายสังฆทานเพื่ออุทิศให้กับผู้ล่วงลับ
อ่านเพิ่มเติมเเนะนำอโหสิกรรม เพื่อขอขมาผู้ล่วงลับ ลดกรรมได้จริงหรือไม่
การอุทิศส่วนกุศล คืออะไร
การทำบุญอุทิศคือ ทำบุญอุทิศแจกส่งส่วนบุญให้ถึงดวงวิญญาณของญาติ ผู้ตายไปแล้ว เพื่อให้ผู้ตายได้รับผลบุญกุศลสนับสนุนให้ไปเกิดในภพหน้าที่ดี
เครดิตเพจ https://so06.tci-thaijo.org/index.php
ขั้นตอนการถวายสังฆทานใน การอุทิศส่วนกุศล มีดังนี้
ในพิธีการถวาย ต้องจุดธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม (ด้านซ้ายและขวาของ พระพุทธรูป หรือด้านขวาและซ้ายมือของเรา)
จากนั้น…..กล่าวคำบูชาพระรัตนะตรัยพร้อมกัน และกราบพระอีกครั้งว่า
“อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวังตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมังนะมะสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ” (กราบ)
จากนั้น…..แล้วอาราธนาศีล ว่า
“มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ”
เสร็จแล้ว พระจะให้ศีล เราพนมมือกล่าวรับศีลจากพระ รับศีลจบแล้วตั้งนะโม…เพื่อเป็นการเคารพนบนอบต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า
“นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ” 3 จบ
จากนั้น…..กล่าวคำถวายสังฆทานโดยกล่าวดังนี้
“อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุ สังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”
โดยกล่าวคำแปลต่อ โดยกล่าวว่า
“ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ”
เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จ พระจะกล่าวพร้อมกันว่า “สาธุ” แล้วเราเข้าไปถวายสังฆทาน ซึ่งจะนำมาวางอยู่ต่อหน้าพระสงฆ์ก่อนแล้ว เวลาประเคนถ้าประเคน 2 คน ก็จับเครื่องไทยธรรมนั้น ๆ ทั้ง 2 คน ยกให้สูงจากพื้นที่วางของ แล้วประเคนให้พระสงฆ์รับ หลังจากนั้นพระสงฆ์จะอนุโมทนา ตอนนี้เป็นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำบุญเพื่ออุทิศให้กับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต้องมีสมาธิมีเจตนาแน่วแน่ในการทำบุญอุทิศ ซึ่งจะทำให้ได้อานิสงส์แรง พระจะสวดเป็นภาษาบาลีว่า
“ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา”
พอพระเริ่มกล่าวคำว่า ยะถา วะริวะหา… เราก็เริ่มกรวดน้ำทันที (ให้รินน้ำลงในที่รองรับช้า ๆ เป็นสายน้ำอย่าให้ขาดสายจะดี) พร้อมกับกล่าวคำอุทิศส่วนบุญที่เราได้ทำในครั้งนี้ไปให้กับ บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา ครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่ทุกข์ก็ให้พ้นทุกข์ ที่มีสุข ก็ให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น หรือกล่าวคำกรวดน้ำเป็นภาษาบาลีอย่างย่อก็ได้ว่า
“อิทังเม ญาติณังโหตุ สุขิตาโหตุ ญาตะโญ”
แปลว่า “ขอให้บุญนี้จงสำเร็จแก่บิดามารดา และญาติพี่น้องของข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอให้มีความสุขกายสุขใจ” ถ้าว่าไม่ได้หรือจำไม่ได้ ก็ให้กล่าวเป็นภาษาไทยอย่างเดียวก็ได้ แต่ต้องตั้งจิตอธิษฐานด้วยใจ อย่ากล่าวแต่ปากโดยใจมิได้จดจ่อกับสิ่งที่กล่าว
เมื่อพระสวดคำว่า “จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา” ก็ให้รินน้ำลงให้หมด ขณะนี้พระยังสวดต่ออีก เป็นการสวดให้พรแก่ตัวเราแล้ว ไม่ใช่การอุทิศส่วนบุญให้ผู้อื่น/สัตว์อื่น) เราก็นั่งพนมมือทำจิตใจให้อิ่มเอิบเบิกบานรับพรจากพระ เมื่อพระสวดจบก็เป็นอันเสร็จ พิธีถวายสังฆทาน อย่างสมบูรณ์
การถวายสังฆทานอุทิศให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว
การถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่ออุทิศแก่ผู้ตาย หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า มะตะกะภัต พิธีการต่าง ๆ ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการถวายสังฆทาน ผ้าไตรทั่วไป แต่จะมีความแตกต่างกัน ตรงที่ คำกล่าวถวายมีการเปลี่ยนคำบางคำไป เพื่อให้เหมาะสมและถูกต้อง ตามความตั้งใจที่ต้องการถวายสังฆทานแด่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
การอุทิศส่วนกุศลนั้นนิยมทำช่วงเวลาใดบ้าง
ในการทำบุญถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่ออุทิศให้ผู้ล่วงลับ สามารถทำได้ทุกวัน และยังมีวันพิเศษที่ควรทำบุญให้ตามความเชื่อ ได้แก่ วันพระ วันครบรอบวันตาย 7 วัน, 50 วัน, 100 วัน, และหากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ก็ยังมีการทำบุญในสถานที่เกิดอุบัติเหตุนั้นๆด้วย ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้
1. วันพระ เฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ: เป็นวันที่ยมโลกนรกหยุดทัณฑ์ทรมานให้สัตว์นรก 1 วันโลกมนุษย์ สัตว์นรกมีทุกขเวทนาเบาบางลง จึงมีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลที่ตนทำและอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ได้เต็มที่ ส่วนญาติที่เกิดเป็นเทวดาก็จะนิยมมาฟังธรรมในวันพระและตรวจดูการทำบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับผู้ที่ทำความดีในโลกนี้ เราจึงควรทำบุญตักบาตร และ ถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่ออุทิศบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ
2. วันครบรอบวันตาย 7 วัน: ในกรณีที่ผู้ตายไปแล้วเป็นผู้ที่ทำกรรมดีและชั่วไม่มากพอ บุญบาปที่ตนทำในโลกนี้ยังไม่ส่งผลในทันที ผู้ตายจะวนเวียนอยู่ 7 วันเพื่อให้มีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลได้ หากผู้ตายระลึกถึงบุญกุศลที่ตนเคยทำได้ หรือ หากญาติมิตรทำบุญอุทิศให้อย่างถูกวิธี และอนุโมทนาบุญ ผลบุญนั้นก็จะพาไปเกิดในที่ดี เราจึงควรทำบุญตักบาตร และ ถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่ออุทิศบุญแก่ผู้ล่วงลับในวันนี้แช่นกัน
3. วันครบรอบวันตาย 50 วัน: ในกรณีที่ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ยมโลกพาไปยมโลกแล้ว ช่วงระหว่างเวลา 50 วันหลังตาย คือช่วงเวลาที่ผู้ตายกำลังรอคอยลำดับคิวการพิพากษาตั้งแต่ถูกลากตัวไปจากมนุษย์โลก ผ่านประตูยมโลก อยู่หน้าลานรอขานชื่อเพื่อเข้าพบพระยายมราช
*พระยายมราช คือ เทพชั้นจาตุมหาราชิกาประเภทหนึ่งที่มีกรรมเกี่ยวพันด้านกฎหมาย ชอบตัดสินคดีความด้วยความซื่อสัตย์ตอนสมัยเป็นมนุษย์และทำบุญ หรือเมื่อทำบุญก็ตั้งความปรารถนาไว้
4. วันครบรอบวันตาย 100 วัน: ช่วงเวลาระหว่าง 51 ถึง 100 วัน คือช่วงกำลังถูกพิพากษา พระยายมราชจะซักถามความประพฤติตอนสมัยเป็นมนุษย์ และจะส่งไปเกิดเป็นอะไรต่ออะไร ช่วงนี้ถ้าญาติทำบุญตักบาตร หรือถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร และอุทิศบุญไปให้ก็ยังรับบุญได้
เครดิตจากเพจ