ตัดกรรม คืออะไร ตัดได้จริงหรือไม่ คำสอนของพระพุทธเจ้าตัดกรรมได้หรือไม่

ตัดกรรม คืออะไร ตัดได้จริงหรือไม่ คำสอนของพระพุทธเจ้าตัดกรรมได้หรือไม่

ในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอนให้คนทำบุญแล้วกรรมที่เคยทำน้ันจะหาย หรือ ไปทำพิธีตัดกรรมใด ๆ แล้วจะทำให้ชีวิตดีขึ้น มาจากการทำพิธีนั้น ๆ  แต่จุดมุ่งหมายของศาสนาพุทธ คือ การให้เข้าถึงปัญญาของการหลุดพ้น และ เห็นการเป็นไปของ ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องขนทุกข์ออกจากใจของสัตว์โลก เมื่อปฏิบัติตามคำสั่งสอนแล้ว จะทำให้เกิดปัญญา เห็นการตัดกรรมที่แท้จริงในคำสั่งสอน ด้วย หัวใจคำสอน คือ องค์มรรค8 หรือ ที่เราเรียกกัน บ่อย ๆ ว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา

แต่การเร่ิมต้น ตัดกรรม นั้นมักจะมาจากการ ทำบุญ ทำทาน เพื่อละความโลก ซึ่งนำมาสู่ขั้นตอนต่อไปคือ ถือศีล เพื่อรักษาความดีนั้นไว้และรักษาไม่ให้ใจทำความชั่ว  จากนั้นจิตที่มีพื้นฐานที่ต้องสร้างให้เห็นถูกต้องนั้น มีความเข้าใจต่อการเป็นไปของกฏแห่งกรรม ซึ่งไม่มีใครจะหนีพ้นได้  จึงต้องอาศัยการภาวนา และ สร้างสติ เพื่อให้ใจนั้นเข้าไปน้อมถึง กฏ ไตรลักษณ์ เห็นว่า โลกนี้สุดท้ายแล้ว ไม่มีใครจะเป็นอมตะและหนีการตายไม่พ้น จุดนี้คือ การตัดกรรม ที่แท้จริงที่คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นท่านได้ประทานเอาไว้ให้กับชาวโลก

ตัดกรรมคืออะไร และมีความหมายอย่างไร

ขอบคุณที่มาข้อมูล จากเพจ https://dharayath.com/การ-ตัดกรรม/

การ ตัดกรรม คือ การหยุดทำความชั่วหยุดทำบาป ส่วนการตัดเวร คือ การหยุดการพยาบาทอาฆาตจองเวรซึ่งกันและกัน คือไม่แก้แค้นซึ่งกัน และกันรู้จักคำว่าให้อภัยซึ่งกันและกัน และผู้ที่ทำผิดก็ให้รู้จักคำว่าขอโทษ ผู้ที่ถูกขอโทษก็รู้จักคำว่าให้อภัย อันนี้เป็นอุบายตัดกรรมตัดเวร

กรรมคืออะไร ข้อมูลจาก (https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_(%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98)

ในพระพุทธศาสนา กรรม (สันสกฤตकर्म กรฺม, บาลีกมฺม) แปลว่า “การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา” ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม

กรรม มีอะไรบ้าง

กรรม 2 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม – Kamma: action; deed) 

  1. อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ – Akusala-kamma: unwholesome action; evil deed; bad deed) เป็นบาป กรรมชั่ว ความชั่วร้าย ความเสียหาย ความไม่ถูกต้อง ซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรเว้น การกระทำบาป กระทำความชั่ว เรียกว่าทำอกุศลกรรม เรียกย่อว่า ทำอกุศล หรือเรียกว่า ทำบาปอกุศล อกุศลกรรมเกิดมาจากอกุศลมูลอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างคือ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะเมื่อเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุชักนำใจให้คิดทำอกุศลกรรม เช่นเมื่อโลภะเกิดขึ้นก็เป็นเหตุให้คิดอยากได้ เมื่ออยากได้ก็แสวงหา เมื่อไม่ได้ตามต้องการด้วยวิธีสุจริต ก็เป็นเหตุให้ทำอกุศลกรรมอื่นต่อไป เช่น ลักขโมย ปล้น จี้ ฉ้อโกง เป็นต้น
  2. กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คืออโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ -Kusala-kamma: wholesome action; good deed) เป็นบุญ ความดี ความถูกต้อง ซึ่งให้ผลเป็นความสุขโดยส่วนเดียว การทำบุญ การทำความดี เรียกว่า ทำกุศลกรรม หรือเรียกย่อว่าทำกุศล กุศลกรรมที่ควรทำเป็นประจำได้แก่ ให้ทาน เสียสละ รักษาศีล อบรมจิตใจ เจริญภาวนา เรียกย่อว่าบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา ซึ่งสามารถทำได้โดยบรรเทาความโลภ ความโกรธ ความหลงให้น้อยลง เพราะถ้ายังมีความโลภ ความโกรธ ความหลงเต็มจิตอยู่ ก็ไม่สามารถทำกุศลกรรมอะไรได้

ทางตัดกรรม หรือที่ เรียกว่า หนทางดับทุกข์ ที่แท้จริง คือ องค์มรรค 8

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.tewfree.com/%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%848/

 

มรรค 8 หมายถึง หนทางสู่การดับทุกข์ ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิได้รวบรวมสรุปมรรค 8 พร้อมความหมายของแต่ละประการ

มรรค 8 คือหนทางสู่การดับทุกข์ และ ตัดกรรม ให้พ้นทุกข์

มรรค คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งใน อริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น

ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4
สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า โจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม
สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ การละเว้นจากอาชีพฆ่าสัตว์ อาชีพที่เบียดเบียนผู้อื่น
สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน 4 คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4
สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง ฌาน 4

https://dhamma.watchmekorat.com/teaching-and-dhamma/#%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B8%A3

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คำสอนสำคัญ อื่น ๆ https://dhamma.watchmekorat.com/teaching-from-buddha/

Pin It on Pinterest