ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ 9 ขันธ์ ต่างกันอย่างไร และเลือกสำหรับงานบวชอย่างไร

ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ 9 ขันธ์ ต่างกันอย่างไร และเลือกสำหรับงานบวชอย่างไร

ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตร สำหรับเตรียมตัวจัดงานบวชน้ัน หลายท่านจะมีความสับสนการเลือกและไม่เข้าใจว่า ทำไมบางครั้งที่ร้านขายผ้าไตรจะถามเราว่า เอาแบบ 5 ขันธ์หรือ 9 ขันธ์ บทความนี้จะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกผ้าไตรสำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อผ้าไตรสำหรับเตรียมในงานบวชให้กับลูกหลาน หรือ จัดหาเพื่อถวายผ้าไตรแด่พระภิกษุ

ผ้าไตรจีวร คืออะไร

ผ้าไตร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร

คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง

ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย

  1. ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์
  2. ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก
  3. สังฆาฏิ หรือ ผ้าซ้อน/ผ้าพาดบ่า

ผ้าไตร ส่วนใหญ่มักนิยมเรียกย่อๆ ว่า ไตร ไตรเต็ม หรือ ไตรแบ่ง

ไตรเต็ม คือ ผ้าไตรที่จัดรวมกันไว้เป็นชุดครบทั้ง 3 ผืน เหมือนผ้าไตรที่นิยมวายกันโดยทั่วไป บางโอกาสอาจจะเพิ่ม กายพันธน์ ผ้าอังสะ  ผ้ารัดอก และผ้ากราบ

  • กายพันธน์ คือ ผ้าประคดรัดเอว (รัดประคด)
  • ผ้าอังสะ คือ ผ้าที่มีลักษณะคล้ายเสื้อใช้คล้องไหล่เฉียงบ่าปิดไหล่ซ้าย พระจะใช้เมื่อเวลาอยู่ที่วัดตามลำพัง (ไม่ต้องห่มจีวรคลุมร่างทั้งผืน)
  • ผ้ารัดอก ใช้สำหรับรัดจีวรเมื่อเวลาห่มดอง
  • ผ้ากราบ ใช้สำหรับรองเมื่อเวลากราบและใช้ปูรับของเมื่อเวลาผู้หญิงประเคนของถวาย

ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ ผ้าไตรจีวร 9 ขันธ์

ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกันเช่น ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็เยอะตาม)

  • สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์ 

 

  • สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวาย ผ้าไตร 9 ขัณฑ์

ชุดเครื่องบวชพระภิกษุสงฆ์ ประกอบไปด้วย

  • ไตรครอง ประกอบด้วยอัฐบขาล 7 อย่าง
  • ไตรอาศัย (สบง, จีวร, อังสะ)
  • ไตรคู่สวด – อุปัชฌาย์
  • ชุดนาค (เสื้อครุยนาค, สบงขาว, ผ้าสไบ)
  • บาตรครบชุด
  • ตาลปัตร
  • ย่าม
  • อาสนะ
  • ต้นเทียนถวายพระอุปัชฌาย์ – พระคู่สวด 3 ใบ
  • กรวยขมา ถวายพระอุปัชฌาย์ – พระคู่สวด 3 ใบ
  • ธูป เทียน แพ พาน
  • เสื่อ
  • ที่นอนพระ
  • หมอน
  • มุ้ง
  • ผ้าเช็ดตัว – ผ้าเช็ดหน้า
  • ผ้าห่ม
  • ปิ่นโต
  • กระโถน
  • จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ
  • รองเท้าแตะ

พิธีการบวช

1. ตอนเย็นก่อนบวชจะมีพิธีโกนหัวนาค ณ โรงพิธีประชุมวงฆ์ นาคทั้งหลายจะรับศีล อาราธนาพระปริตรพระสงฆ์พรมน้ำมนต์และสระผมนาค ผู้ที่โกนหัวอาจเป็นพระสงฆ์หรือพ่อแม่ จากนั้นญาติผู้ใหญ่จะโกนด้วยเล็กน้อย

2. หลังจากนั้นอาบน้ำ เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวนุ่งขาว ห่มขาว เรียกว่า “เจ้านาค”

3. กลางคืนจัดให้มีพิธีสงฆ์เรียกว่า “การสวดผ้า” เจ้านาคต้องมีไตรจีวร และจะมีการทำขวัญนาคด้วยในคืนนี้

4. จะมีการแห่นาคในวันบวชวันรุ่งขึ้น แห่รอบโบสถ์ 3 รอบ เป็นการบูชาพระพุทธศาสนา ขณะที่แห่จะมีการว่าเพลง “คำตัก”

5. เมื่อครบ 3 รอบ นาคจะจุดธูปเทียน บูชาพัทธสีมา มีการกรวดน้ำ

6. หลังจากนั้นญาติจะช่วยกันอุ้มนาคเข้าอุโบสถ ห้ามเหยียบธรณีประตู พ่อแม่นาคส่งไตรครองให้นาค เพื่อถวายพระอุปัชฌาย์ ถวายพระกรรมวาจาจารย์ (พระคู่สวด) และพระอนุสาวนาจารย์ ท่านละ 3 กรวย จากนั้นกล่าวคำขอบรรพชา รับศีล 10 พระอุปัชฌาย์คล้องบาตรสะพาย พระคู่สวดจะประกาศว่าผู้ชื่อนั้นๆ ได้มาขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วตั้งคำถามเป็นข้อๆ เรียกว่า “ขานนาค”

7. เมื่อขานนาคเสร็จ นาคขออุปสมบทต่อคณะสงฆ์ คณะสงฆ์กล่าว อนุศาสน์ (ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติขณะที่บวช)

8. เมื่อจบอนุศาสน์ พระบวชใหม่ถวายของบูชาพระคุณแก่คณะสงฆ์ จากนั้นรับของถวายเครืองไทยธรรมจากญาติ ขณะเดียวกันจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดา มารดา ญาติเป็นอันเสร็จพิธี

สีผ้าไตรจีวรมีกี่สีเราจะรู้ได้อย่างไรถวายผ้าไตรวัดไหนใช้สีอะไร

สีผ้าไตรจีวรมีกี่สีเราจะรู้ได้อย่างไรถวายผ้าไตรวัดไหนใช้สีอะไร

สีผ้าไตรจีวร มีอะไรบ้าง

ผ้าไตรจีวร

เครดิตจาก www.dharayath.com

สีพระราชนิยม (พระราชทาน)

  • เป็นสีกลางของพระสงฆ์ ทั้งมหานิกายและธรรมยุต หรือสีเดียวกันกับสีเดียวกับองค์สังฆราชครองเป็นสีที่พระราชทานโดย ในหลวงรัชกาลที่  ๙เช่น วัดราชบพิธ วัดบวร วัดเทพศิรินทร์ วัดชนะสงคราม วัดธรรมมงคล วัดพระรามเก้า วัดราชาธิวาส วัดโสมนัส วัดมงกุฏฯ วัดมเหยงคณ์ เป็นต้น

อ่านบทความเพิ่มเติม เกี่ยวกับ มหานิกายในประเทศไทย จาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหานิกาย

อ่านบทความเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ธรรมยุตนิกายในประเทศไทย จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ธรรมยุตนิกาย

สีส้มทอง

  • เป็นสีที่นิยมพระสงฆ์นิกายมหานิกาย  และเป็นสีมาตรฐานที่นิยมทั่วไปตามวัดต่าง ๆ หรือที่มักจะเรียกว่า วัดบ้าน

สีแก่นขนุน 

  • เป็นสีที่นิยมพระสงฆ์นิกายธรรมยุต เช่นวัดป่ากรรมฐานทั่วไป หรือที่เรามักเรียกว่า วัดสายพระป่า

สีแก่นบวร

  • เป็นสีที่นิยมพระวัดป่ากรรมฐาน

สีกรัก

  • เป็นสีที่นิยมพระวัดป่ากรรมฐาน แต่มักจะนิยมในแถบวัดทางภาคอีสาน

สีกรักแดง

  • เป็นสีที่นิยมพระครูบา แต่มักจะนิยมในแถบวัดทางภาคเหนือ

อ่านเพิ่มเติมและขอขอบคุณบทความดี ๆจาก  www.dharayath.com

สีผ้าไตรจีวรมีกี่สีเราจะรู้ได้อย่างไรถวายผ้าไตรวัดไหนใช้สีอะไร ธาราญามีคำตอบ

 

และความรู้เกี่ยวกับผ้าไตร

https://dharayath.com/ผ้าไตรจีวร/

 

ถวายผ้าไตรจีวรพระที่ใช้ในประเทศไทยมีกี่แบบ

ถวายผ้าไตรจีวรพระที่ใช้ในประเทศไทยมีกี่แบบ

แนะนำบทความดี  ๆ ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ผ้าไตรจีวร อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าทำไม พระแต่ละวัดใส่สีจีวรไม่เหมือนกัน แต่ก็สีใกล้เคียงกัน และรวมถึงความหนาของผ้า

ผ้าไตร คืออะไร (ข้อมูลจาก dharayath.com)

คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง

ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย

  1. ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์
  2. ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก
  3. สังฆาฏิ หรือ ผ้าซ้อน/ผ้าพาดบ่า

ผ้าไตรจีวรโดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ
1.ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย

-จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม

-สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง

-อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม

-สังฆาฏิ : เป็นผ้าผืนใหญ่เหมือนจีวร แต่พระเอามาใช้พาดบ่า

-ผ้ารัดอก : ผ้าที่ใช้รัดอก เวลาพระเอาสังฆาฏิพาดบ่า เพื่อให้ดูกระชับและเรียบร้อย

-รัดประคต : คือเชือกไว้รัดสบง หมีหน้าที่เสมือนข็มขัดของพระ

-ผ้าประเคน : เป็นผ้าที่ใช้รับสิ่งของ

2.ไตรอาศัย(ใช้ในชีวิตประจำวัน) ประกอบด้วย

-จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม

-สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง

-อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม

ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ ผ้าไตรจีวร | ผ้าไตรอาศัย มีเคล็ดลับในการเลือกซื้ออย่างไร

 

ผ้าไตร 5 ขันธ์ ผ้าไตร 9 ขันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไร ?

ผ้าไตรจีวร 5 ขัณฑ์และผ้าไตรจีวร 9 ขัณฑ์
ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกันเช่น

ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็เยอะตาม)

สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์

สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวายผ้าไตร 9 ขัณฑ์ เช่น วัดสายพระป่า  วัดป่านาคำน้อย หลวงพ่ออินทร์ถวาย

https://dhamma.watchmekorat.com/tag/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

ข่าวเกี่ยวกับหลวงพ่ออินทร์ถวาย

ขอบคุณข้อมูลจาก dharayath.com 

Pin It on Pinterest