โดย admin | ม.ค. 9, 2025 | บทความน่าสนใจ, หลักธรรมที่สำคัญ
ปฏิจจสมุปบาท หลักธรรมแสดงขั้นตอนชองปัจจัยการเกิดเริ่มตั้งแต่การไม่รู้(ไม่รู้แจ้งเห็นจริงตามเหตุปัจจัย) หรือที่เรียกว่า อวิชชา จนไปถึง ชรา มรณะ หลักธรรมนี้แสดงให้เห็นถึงวงล้อของภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นอีกหลักธรรมที่เหมาะกับผู้ปฏิบัติภาวนา อย่างมาก โดยเฉาพะผู้ที่กำลังเกิดความรู้สึกว่าโลกนี้เกิดมาแล้วต้องตาย เห็นทุกข์จากตามความเป็นจริงใน อริยสัจ4 หาหนทางดับทุกข์
อริยสัจ 4 คืออะไร ความจริงอันประเสริฐ หลักธรรมแห่งการพ้นทุกข์ คลิกอ่านเพิ่มเติม
ปฏิจจสมุปบาท มีความหมายหรือแปลว่าอะไร
ปฏิจจ แปลว่า อาศัยกันและกัน ,สมุปบาท แปลว่า เกิดร่วมกัน ,ปฏิจจสมุปบาท จึงแปลว่า อาศัยกันและกันเกิดขึ้นร่วมกัน ปฏิจจสมุปบาทเป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ
ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นโดยปราศจากสิ่งอื่น ทุกสิ่งต่างอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้นหรือปรากฎลักษณะขึ้น ,
ปฏิจจสมุปบาท มีอะไรบ้าง
- เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี
- เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
- เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
- เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ หรือ อายตนะ จึงมี
- เพราะสฬายตนะ หรือ อายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
- เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
- เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
- เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
- เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
- เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
- เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี.
เครดิตเพจ https://th.wikipedia.org/wiki/
หลักปฏิจจสมุปบาท (ปัจจยาการแห่งธรรม)
เป็นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาที่อธิบายถึงกระบวนการของการเกิดขึ้นและดับไปของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวโยงถึงความทุกข์และเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความทุกข์ โดยแสดงให้เห็นว่า ทุกสิ่งมีเหตุและปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
หลักปฏิจจสมุปบาทในรูปแบบ 12 ห่วงโซ่ (ปัจจยาการ 12 ประการ)
1. อวิชชา (ความไม่รู้) → เป็นเหตุให้เกิด
2. สังขาร (การปรุงแต่งทางจิตใจ) → เป็นเหตุให้เกิด
3. วิญญาณ (จิตที่รับรู้อารมณ์) → เป็นเหตุให้เกิด
4. นามรูป (รูปและนาม) → เป็นเหตุให้เกิด
5. สฬายตนะ (อายตนะทั้ง 6: ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) → เป็นเหตุให้เกิด
6. ผัสสะ (การกระทบของอายตนะ) → เป็นเหตุให้เกิด
7. เวทนา (ความรู้สึก สุข ทุกข์ เฉย ๆ) → เป็นเหตุให้เกิด
8. ตัณหา (ความอยาก) → เป็นเหตุให้เกิด
9. อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) → เป็นเหตุให้เกิด
10. ภพ (ภาวะหรือการดำรงอยู่) → เป็นเหตุให้เกิด
11. ชาติ (การเกิด) → เป็นเหตุให้เกิด
12. ชรามรณะ (ความแก่ ความตาย ความทุกข์อื่น ๆ)
หลักการสำคัญ
1. อิทัปปัจจยตา สิ่งใดเกิดขึ้นต้องอาศัยเหตุและปัจจัย
2. ธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง ไม่มีสิ่งใดคงอยู่ถาวร ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง
3. การดับทุกข์ห ากตัดวงจรของเหตุปัจจัยนี้โดยเฉพาะที่ “อวิชชา” ความทุกข์ก็จะดับไป
ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักสำคัญในการศึกษาพระธรรมของพระพุทธศาสนา และยังเป็นแนวทางในการเข้าใจธรรมชาติของชีวิตเพื่อการพ้นทุกข์.
โดย admin | พ.ย. 27, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, หลักธรรมที่สำคัญ
การที่เราทุกข์นั้น เราจะได้ยินคำสอนหนึ่งที่เรียก อุปาทาน 4 หรือ การที่เราไม่ปล่อยวาง เข้าไปยึดมั่นถือมั่นไว้ ทำให้เกิดความสงสัยว่าเหตุใดจิตเข้าไปยึดนั่้นมีอะไรทีทำให้เรานั้นถือกองทุกข์เหล่านั้นไว้ แล้วทำให้สัตว์โลกทั้งหลาย ต้องเวียนว่ายตายเกิดกันมากมาย ซึ่งกองทุกข์ที่ว่านั้นก็คือ ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สังขาร สัญญา วิญญาณ
ขันธ์ 5 คืออะไร กองทุกข์ของการเกิดดับ ยึดมั่น ถือมั่น อ่านเพิ่มเติมในเรื่องกองขันธ์ 5
ขันธ์ 5 คืออะไร และ มีอะไรบ้าง
ขันธ์ แปลว่า ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด ในทางพุทธศาสนาหมายถึงส่วนหนึ่งๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ได้แก่
รูป เป็นสภาพไม่รู้ มีทั้งหมด 28 รูป แบ่งเป็น อุปาทยรูป 24 รูป และมหาภูตรูป 4 รูป
เวทนา เป็นความรู้สึก มีทั้งหมด 5 เวทนา คือ สุขกาย สุขใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ อุเบกขาทางใจ
สัญญา เป็นความจำได้ ความรู้จำสิ่งที่ปรากฏได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และความรู้สึกได้ทางใจ คือ เวทนา สัญญา สังขาร
สังขาร เป็นการปรุงแต่งจิตให้จิตมีอารมณ์และกิริยาหลากหลาย มีทั้งหมด 50 สังขาร
วิญญาณ เป็นสภาพรับรู้ มีทั้งหมด 6 ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
อุปาทาน 4 คืออะไร มีความหมายอย่างไร
อุปาทาน หมายถึง การยึดมั่นถือมั่น
ในจูฬสีหนาทสูตร พระโคตมพุทธเจ้าตรัสว่าอุปาทานมี 4 อย่าง ได้แก่
- กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม
- ความยึดมั่นติดอยู่ในกาม คือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์
- ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทิฏฐิ
- มีความยึดติดในความคิดเห็นของตัวเอง ว่าความเห็นว่าเรานั้นถูก คนอื่นคิดผิด ไม่มองเหตุปัจจัยอะไร
- สีลัพพัตตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและวัตร
- ความลังเลสงสัยในวัตรปฏิบัติ
- อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา
- ความยึดถือ ยึดมั่นในความเป็นตัวตน ว่านี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา เช่น ของที่เราซื้อ ที่มีในบ้าน เป็นของเรา ที่ดิน นั้นเป็นของเรา ไม่เข้าใจในการสมมุติที่ปรุงเเต่ง เพราะในความเป็นจริงนั้น ที่ดินก็คือดินไม่ได้เป็นของใคร แต่เราไปสมมุติในโลกกัน่วาอันนี้ของฉันของเรา
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
อุปาทานมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักคำสอนอื่นๆ ที่สำคัญในพระพุทธศาสนา
อุปาทานมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักคำสอนอื่นๆ ที่สำคัญในพระพุทธศาสนาในฐานะที่ต้องเป็นไปตามกฎสัจธรรม เช่น สัมพันธ์กับ หลักปฏิจจสมุปบาท ในฐานะที่ต้องเป็นไปตามกฎของเหตุปัจจัย เป็นเหตุและผลต่อกัน อาศัยกันและกันเกิดขึ้นเป็นไป สัมพันธ์กับกฎไตรลักษณ์ ในฐานะที่ต้องเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เพราะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัมพันธ์กับหลักอริสัจ 4 ในฐานะที่เป็นสมุทัยให้ทุกข์ทั้งปวงเกิด สัมพันธ์กับหลักขันธ์ 5 ในฐานะที่เป็นที่ยึดมั่นของอุปาทานทำให้เข้าใจผิดยึดมั่นว่าขันธ์ทั้ง 5 เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ในทัศนะของปราชญ์พุทธ อุปาทานก่อให้เกิดโทษทั้งในปัจจุบันและในอนาคตแก่บุคคลผู้ที่ยึดมั่นถือมั่น และมีผล กระทบต่อสังคมพุทธในหลายด้าน เช่น ผลกระทบด้านความเชื่อ ผลกระทบด้านการศึกษา ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการเมือง ผลกระทบด้านวิถีชีวิตและระบบนิเวศ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในสังคม อุบายวิธีในการเรียนรู้เพื่อละอุปาทาน ต้องเจริญตามอริยมรรคมีองค์ 8 และ สติปัฏฐาน 4 การเจริญขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ 8 มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการคือ 1.ปรโตโฆสะ 2.โยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลได้ศึกษาพิจารณาด้วยปัญญาและเข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมละคลายจากอุปาทาน ความยึดมั่น ถือมั่น ที่เป็นต้นเหตุของโทษทุกข์ทั้งปวงได้ความทุกข์และปัญหาต่างๆก็ลดลงตามลำดับจนสามารถละอุปาทานได้ในที่สุดจนกระทั่งบรรลุนิพพานซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
ขอบคุณและเครดิตจากเพจ https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/2661
โดย admin | พ.ย. 3, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, สมาธิ, หลักธรรมที่สำคัญ
เมื่อจิตเพ่งสมาธิ จนสงบสู่ ในอัปปณาสมาธิแล้ว จะมีความสงบตามลำดับ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติสมาธิ จะเริ่มเห็นตามลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติ ของ ฌาน 4 ซึ่งจัดได้อยู่ในรูปฌาน ซึ่งบางครั้งหลายท่านได้อ่านมาก็จะมี ฌาน 8 ด้วย ซึ่งเป็นการแบ่งของฌาน
ฌาน คืออะไร คลิกอ่าน
ฌาณ คืออะไร
ลักษณะภาวะของจิต ที่สงบจากการปฏิบัติสมาธิ ภาวนา เพ่งจิตสมาธิจนเป็น อัปปณาสมาธิ
อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป
อัปปะนาสมาธิของปฐมฌาน เปรียบดังเด็กที่วิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว
เมื่อนั่งสมาธิตามลำดับหลังจากที่ได้ฝึกปฏิบัติจนแน่ว และมาตามลำดับตั้งแต่
- ขณิกสมาธิ การนั่งสมาธิที่เริ่มต้น จิตเริ่มเป็นสมาธิ แต่ก็ตั้งได้เดี๋ยวเดียวก็ จะนึึกถึงอย่างอื่น ๆ แต่ก็จะกลับมารู้สึกตัวได้ง่าย ลักษณะจิตเหมือน เด็กที่กำลังตั้งไข่
- อุปปจารสมาธิ มีอารมณ์กับความแน่วแน่มาขึ้น เริ่มเฉียด ๆ ฌาน เปรียบเหมือน เด็กนั้นเริ่มเดินได้คล่องแคล่ว หลังจากที่พ้นจากวัยตั้งไข่ แต่ยังวิ่งไม่คล่อง
- อัปปณาสมาธิ มีอารมณ์ที่ลงร่วมเพ่งในความสงบเป็นที่ตั้งและเกิด ฌาน
หลังจากได้หรือปฏิบัติจนถึง อัปปณาสมาธิ ก็จะทำให้จิตมีความสงบเป็นอารมณ์นิ่ง ที่เรียกว่า เข้าสู่ ฌาน ซึ่งมีดังต่อไปนี้
ฌาณ 4 คืออะไร
1) ฌาน 1 ปฐมฌาน (วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยใช้คำภาวนาและพิจารณาในขันธ์ 5 หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตทรงตัว
2) ฌาน 2 ทุติยฌาน (ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยคำภาวนาจะหายหรือหยุดไปเอง ไม่มีวิตกวิจาร แต่จะมีจิตใจชุ่มชื่น ลมหายใจเบาสบาย มีแต่ปีติ และเอกัคตารมณ์ คือ มีอารมณ์เป็นหนึ่งและทรงตัวมากขึ้น
3) ฌาน 3 ตติยฌาน (สุข เอกัคคตา) ลมหายใจจะเบามากและความอิ่มเอิบหายไป เหลือแต่ความสุขเยือกเย็น โดยจิตทรงตัวมาก อารมณ์ไม่เคลื่อนไหว ได้ยินเสียงภายนอกเบาลง และการทรงตัวแน่นสนิท
4) ฌาน 4 จตุตถฌาน (อุเบกขา เอกัคคตา) คือการตัดสุขได้ ไม่รับการสัมผัสทางจิตใจไม่มีความรู้สึก ทั้งจากเสียง ลม ยุ่งกัด เหลือแต่เอกัคตาพร้อมด้วยอุเบกขา ซึ่งฌานขั้นนี้เป็นอาการทางจิตที่ทรงตัวสมาธิดี มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความสว่างไสวในจิต หากสามารถฝึกให้จิตทรงตัวอยู่ตลอดเวลา ก็จะนำไปสู่การเกิด “ทิพจักขุญาณ” ตามมาได้โดยง่าย
เครดิต https://www.moe.go.th/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99-4/
การแบ่งประเภทของฌาน
เมื่อเราศึกษาตามตำราจะพบกับคำว่า ฌาน 8 บ้าง หรือ ฌาน 4 บ้าง อาจจะทำให้กังวลและสับสน(จากตัวนิวรณ์ได้ คือ ความสงสัย)
ประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
- ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
- ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
- ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
- จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
อรูปฌาน ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
- อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาสไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
- วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
- อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
- เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99
โดย admin | ต.ค. 31, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, หลักธรรมที่สำคัญ
ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีจิตพื้นฐานจากกิเลส และ กรรมมาเป็นของดั้งเดิม โลกธรรม 8 เป็นอีกหนึ่งหลักธรรมที่อธิบายให้รู้ถึงความเป็นธรรมดาของโลกกับมนุษย์ที่มีนิสัยติดตัวมา เมื่อเรารับรู้แล้ว ก็ทำความเข้าใจเพื่อให้ปล่อยวางและปล่อยให้มันเป็นไป จะได้จากโลกนี้ไปโดยไม่ต้องติดค้างหรือเข้าไปยึดให้จิตทุกข์
โลกธรรม 8 คืออะไร
โลกธรรมทั้ง8นั้น หมายถึง ธรรมดาของโลก เรื่องของ ธรรมชาติของโลกที่ครอบงำสัตว์โลก และต้องเป็นไปตามนี้ โดยมี 8 ประการอันประกอบด้วย
โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ พอใจของมนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา
- ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้มาซึ่งทรัพย์
- ยศ หมายความว่า ได้รับฐานันดรสูงขึ้น ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
- สรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกย่อง เป็นที่น่าพอใจ
- สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ความเบิกบาน บันเทิงใจเริงใจ
โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา
- เสื่อมลาภ หมายความว่า เสียลาภไป ไม่อาจดำรงอยู่ได้
- เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดอำนาจความเป็นใหญ่
- นินทาว่าร้าย หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกติฉินนินทา หรือถูกกล่าวร้ายให้เสียหาย
- ทุกข์ คือ ได้รับความทุกขเวทนา ทรมานกาย ทรมานใจ
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
คลิกอ่าน ธรรมะ ดีๆ จาก ท่านเจ้าคุณนร เรื่อง โลกธรรมทั้ง 8
“…คนเราเมื่อมีลาภ ก็เสื่อมลาภ
เมื่อมียศ ก็มีเสื่อมยศ
เมื่อมีสรรเสริญ ก็มีนินทา
เป็นของคู่กันมาเช่นนี้
จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์
ถึงจะดีแสนดี … มันก็ติ
ถึงจะชั่วแสนชั่ว… มันก็ชม
นับประสาอะไร
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศยิ่งกว่ามนุษย์ เทวดา
ยังมีมารผจญ ยังมีคนนินทาติเตียน
ปุถุชนอย่างเราจะรอดพ้นจากโลกะธรรม
ดังกล่าวแล้วไม่ได้
ต้องคิดเสียว่า
เขาจะติ .. ก็ช่าง
เขาจะชม..ก็ช่าง
เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ
ก่อนที่เราจะทำอะไร
เราคิดแล้วว่าไม่เดือดร้อนแก่ตัวเรา
และคนอื่น .. เราจึงทำ
เขาจะนินทา.. ว่าร้าย อย่างไร ก็ช่างเขา
บุญเราทำ กรรมเราไม่สร้าง
พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ
ใยจะต้องไปกังวล กลัวใครจะติเตียนทำไม
ม่เห็นมีประโยชน์
เปลืองความคิดเปล่า ๆ..”
(ธรรมะท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต)
วัดเทพศิรินทราวาส กทม.
โดย admin | ต.ค. 26, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, หลักธรรมที่สำคัญ
หลักธรรมแห่งความสำเร็จในการจะปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น คือ อิทธิบาท 4 ซึ่งสำหรับผู้ที่ปฏิบัติแล้วการทำอิทธิสี่นำมาร่วมพิจารณาในการปฏิบัติธรรม เพราะหลักธรรมนี้จัดได้ว่า เป็นหลักธรรมหนทางแห่งความสำเร็จ หรือกล่าวง่าย ๆ ว่า หลักแห่งหนทางนำประสู่ความสำเร็จ ยังมีหลักธรรมอื่นอีกที่นำมาควบคู่ในการปฏิบัติด้วย เช่น พละ5 หรือกำลังทั้ง 5
หลักธรรม พละ 5 คืออะไร (อ่านเพิ่มเติม)
สำหรับผู้ที่ปฏิบัติย่อมเกิดการท้อถอย หรือ เกิดความท้อในการปฏิบัติ เป็นเรื่องที่เกิดได้ง่าย หรือ สำหรับผู้ดำรงชีวิตประจำวันที่จะต้องทำงาน ให้ประสบความสำเร็จให้ได้ ก็สามารถนำหลักธรรมมาร่วมพิจารณาในการปฏิบัติในการทำงานและดำรงชีวิตให้ผ่านอุปสรรค
อิทธิบาท 4 คืออะไร
หมายถึงหรือ คือ หนทางสู่ความสำเร็จ บรรลุเป้าหมาย เครื่องให้ถึงไปสู่ความสำเร็จ หรือ ทางแห่งความสำเร็จ หลักธรรม หลักแห่งคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ มี 4 ประการ ดังนี้
ฉันทะ (ความพอใจ)
คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีการความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ อิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่าฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรม จิตใจให้สว่างอยู่.
วิริยะ (ความเพียร)
คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิถานะยะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป … ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้ สว่างอยู่.
จิตตะ (ความคิด)
คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า จิตของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป … ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง)
คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไป ภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉัน นั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมี ใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
การนำหลักธรรมอิทธิบาท4นี้ไปใช้อย่างไรในชีวิตประจำวัน
การนำหลักอิทธิบาทที่นำมาปรับไว้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างที่พบได้มาก คือ การดำเนินชีวิตด้วยการงานเพื่อเลี้ยงชีวิตให้ผ่านพ้นอุปสรรค
ฉ้นทะ คือความพึงพอใจในงานที่ปฏิบัติให้ลุล่วงไปด้วยดี เป็นการทำความเข้าใจในเนื้องานว่างานที่ทำนั้นจะต้องมีเป้าหมายอย่างไร
วิริยะ คือ ความไม่ท้อถอยต่อปัญหาอุปสรรคในการทำงาน
จิตตะ คือ การไม่ฟุ้งซ่าน ไม่นำจิตออกไปจากงานในขณะที่ทำอย่างตั้งใจ เช่น ขณะทำงานให้มีสมาธิจิตจดจ่อที่การกระทำ ไม่ฟุ้งซ่านใจลอยออกไป เพื่อทำงานไม่เกิดความผิดพลาด
วิมังสา คือ การหาสาเหตุของอุปสรรคนั้นของการทำงาน วางแผน เพื่อนำไปเป็นการหาหนทางและวางแผนแก้ไข อย่างเป็นระบบ
โดย admin | ต.ค. 2, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, สมาธิ, หลักธรรมที่สำคัญ
ฌาณ คืออะไร และ ฌาณสมาบัติ(สมาบัติ เป็นภาวะสงบประณีต)นั้นคืออะไร สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนานั้น จะได้ยินคำนี้บ่อยและเร่ิมสงสัยว่าแท้จริงนั้นคืออะไร และ แตกต่างจาก คำว่า ญาณ อย่างไร ผู้ภาวนาที่ปฏิบัติใหม่ ๆ มักจะเกิดความสับสนสองคำนี้บ่อยมา และอาการที่เกิดขึ้นกับจิตนั้น ก็จะทำให้เกิดความสงสัยค้นหาคำตอบจาก ครูอาจารย์ เพื่อให้คลายข้อสงสัยเหล่านั้น แต่ความสงสัยนี้ก็เป็นอันตราย เพราะมาจากหนึ่งใน นิวรณ์ 5 คือ ความสงสัย การที่เราปฏิบัติแล้วควบคู่กับความสงสัยแล้วจะทำให้ติดอยู่ตรงนั้น วนกับไปกับมา จึงต้องหาทางแก้ไข โดยการ ปล่อย นั้นคือ ให้รู้ว่า เราเกิดความสงสัย เกิดขึ้นมาอย่างไร แล้วหายสงสัยอย่างไร หายไปตอนไหน นั่นแหละเมื่อเราเพิ่งจิตจนนิ่งสงบและเพียงแค่ดูอาการเหล่านั้นแล้วปล่อยไป เท่านั้น เราก็จะพบว่า ไม่มีความสงสัย พบแต่ “สิ่งที่ถูกรู้ และมีผู้รู้(จิต)อยู่ต่างหาก”
ญาณ คืออะไร คลิกอ่านความรู้นี้เพิ่มเติม
ฌาณ คืออะไร
ลักษณะภาวะของจิต ที่สงบจากการปฏิบัติสมาธิ ภาวนา เพ่งจิตสมาธิจนเป็น อัปปณาสมาธิ
อัปปนาสมาธิ คือ คลิกอ่านเพิ่มเติม
อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป
ฌาณ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
แต่โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
ประเภทที่ 1 รูปฌาณ
ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
ประเภทที่ 2 อรูปฌาน
ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาสไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)
เครดิตจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99
ฌาณสมาบัติ คืออะไร
แท้จริงแล้วจะกล่าวได้ว่า ฌานกับสมาบัติ คือสิ่งเดียวกัน
คำว่า ฌาน คือ จิตหรือเรานั่งปฏิบัติสมาธิภาวนา การเพ่ง คือเพ่งรูปนาม ที่เราทั้งหลายปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ เราเพ่งรูปนาม ขันธ์ห้า คืออาการพองอาการยุบเป็นต้น การเพ่งอย่างนี้เรียกว่า ฌาน
คำว่า สมาบัติ แปลว่า สมบัติของผู้ได้ฌาน ซึ่งหมายถึง ท่านผู้ได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน การได้ฌานอย่างนี้เขาเรียกว่า สมาบัติ คือสมบัติของผู้ได้ฌาน
ฌาณสมาบัติมี ๒ ประเภท คือ
๑. กุศลฌานสมาบัติ เป็นการเข้าฌานของปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ผู้ได้ฌาน
๒. กิริยาสมาบัติ เป็นการเข้าฌานของ พระอรหันต์ผู้ได้ฌาน
ฌานสมาบัติยังแยกอีกเป็น ๒ ประเภทตามขั้น คือ รูปฌานสมาบัติ ๔ และอรูปฌานสมาบัติ ๔ เรียกว่า สมาบัติ ๘
เครดิต
สรุปเรื่องฌานได้ดังนี้
ฌาณ เป็นการเข้าถึงความสงบจากการปฏิบัติสมาธิ จากตั้งแต่ สมาธิขั้นต้น ได้แก่ ขณิกสมาธิ จนไปถึง อัปปมาสมาธิ ซึ่งการเข้าสู่ความสงบที่เกิดจากการเพิ่งจิตนี้ เรียกว่า ฌาณ ซึ่งสมบัติจากได้ปฏิบัตินี้ จะเรียกว่า ฌาณสมาบัติ แต่ถ้าผลที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนา จะเรียกว่า ญาณ