โดย admin | ม.ค. 9, 2025 | บทความน่าสนใจ, หลักธรรมที่สำคัญ
ปฏิจจสมุปบาท หลักธรรมแสดงขั้นตอนชองปัจจัยการเกิดเริ่มตั้งแต่การไม่รู้(ไม่รู้แจ้งเห็นจริงตามเหตุปัจจัย) หรือที่เรียกว่า อวิชชา จนไปถึง ชรา มรณะ หลักธรรมนี้แสดงให้เห็นถึงวงล้อของภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นอีกหลักธรรมที่เหมาะกับผู้ปฏิบัติภาวนา อย่างมาก โดยเฉาพะผู้ที่กำลังเกิดความรู้สึกว่าโลกนี้เกิดมาแล้วต้องตาย เห็นทุกข์จากตามความเป็นจริงใน อริยสัจ4 หาหนทางดับทุกข์
อริยสัจ 4 คืออะไร ความจริงอันประเสริฐ หลักธรรมแห่งการพ้นทุกข์ คลิกอ่านเพิ่มเติม
ปฏิจจสมุปบาท มีความหมายหรือแปลว่าอะไร
ปฏิจจ แปลว่า อาศัยกันและกัน ,สมุปบาท แปลว่า เกิดร่วมกัน ,ปฏิจจสมุปบาท จึงแปลว่า อาศัยกันและกันเกิดขึ้นร่วมกัน ปฏิจจสมุปบาทเป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ
ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นโดยปราศจากสิ่งอื่น ทุกสิ่งต่างอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้นหรือปรากฎลักษณะขึ้น ,
ปฏิจจสมุปบาท มีอะไรบ้าง
- เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี
- เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
- เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
- เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ หรือ อายตนะ จึงมี
- เพราะสฬายตนะ หรือ อายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
- เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
- เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
- เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
- เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
- เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
- เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี.
เครดิตเพจ https://th.wikipedia.org/wiki/
หลักปฏิจจสมุปบาท (ปัจจยาการแห่งธรรม)
เป็นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาที่อธิบายถึงกระบวนการของการเกิดขึ้นและดับไปของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวโยงถึงความทุกข์และเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความทุกข์ โดยแสดงให้เห็นว่า ทุกสิ่งมีเหตุและปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
หลักปฏิจจสมุปบาทในรูปแบบ 12 ห่วงโซ่ (ปัจจยาการ 12 ประการ)
1. อวิชชา (ความไม่รู้) → เป็นเหตุให้เกิด
2. สังขาร (การปรุงแต่งทางจิตใจ) → เป็นเหตุให้เกิด
3. วิญญาณ (จิตที่รับรู้อารมณ์) → เป็นเหตุให้เกิด
4. นามรูป (รูปและนาม) → เป็นเหตุให้เกิด
5. สฬายตนะ (อายตนะทั้ง 6: ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) → เป็นเหตุให้เกิด
6. ผัสสะ (การกระทบของอายตนะ) → เป็นเหตุให้เกิด
7. เวทนา (ความรู้สึก สุข ทุกข์ เฉย ๆ) → เป็นเหตุให้เกิด
8. ตัณหา (ความอยาก) → เป็นเหตุให้เกิด
9. อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) → เป็นเหตุให้เกิด
10. ภพ (ภาวะหรือการดำรงอยู่) → เป็นเหตุให้เกิด
11. ชาติ (การเกิด) → เป็นเหตุให้เกิด
12. ชรามรณะ (ความแก่ ความตาย ความทุกข์อื่น ๆ)
หลักการสำคัญ
1. อิทัปปัจจยตา สิ่งใดเกิดขึ้นต้องอาศัยเหตุและปัจจัย
2. ธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง ไม่มีสิ่งใดคงอยู่ถาวร ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง
3. การดับทุกข์ห ากตัดวงจรของเหตุปัจจัยนี้โดยเฉพาะที่ “อวิชชา” ความทุกข์ก็จะดับไป
ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักสำคัญในการศึกษาพระธรรมของพระพุทธศาสนา และยังเป็นแนวทางในการเข้าใจธรรมชาติของชีวิตเพื่อการพ้นทุกข์.
โดย admin | พ.ย. 13, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความน่าสนใจ, สมาธิ
อภิญญา ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนาสมาธิ หรือ วิปัสนากรรมฐาน ด้วยความปฏิบัติดีและปฏิบัติชอบ หรือที่เราเรียกว่าพระอริยะ (อริยสงฆ์) หรือที่แปลว่าผู้ประเสริฐ เมื่อปฏิบัติสมาธิและภาวนาด้วยถึงจิตอันสงบสู่อัปปนาสมาธิ และเข้าสู่ ฌาน จะเกิดความรู้สู่จิตอันพิเศษ
สมาธิคืออะไร มีวิธีนั่งสมาธิอย่างไร
ฌาน 4 คืออะไร
อภิญญา คืออะไร (หมายถึง)
อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน
อภิญญา หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากความสามารถพิเศษทางจิต กล่าวคือจิตสามารถรับรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้าต่างๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัย ประสาทสัมผัสใด ๆ เช่น สามารถเห็นเหตุการณ์ที่อยู่ในสถานที่ที่ห่างไกลได้ หรือ เห็นเหตุการณ์ในอนาคต เป็นต้น( https://e-port.mbu.ac.th/file/profiles31/2761_1626920898.pdf)
อภิญญามีอะไรบ้าง
- อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
- ทิพพโสต มีหูทิพย์
- เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
- ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
- ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
- อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป
เครดิต
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2
อภิญญา เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้างจากการปฏิบัติสมาธิภาวนา
เมื่อนั่งสมาธิตามลำดับหลังจากที่ได้ฝึกปฏิบัติจนแน่ว และมาตามลำดับตั้งแต่
- ขณิกสมาธิ การนั่งสมาธิที่เริ่มต้น จิตเริ่มเป็นสมาธิ แต่ก็ตั้งได้เดี๋ยวเดียวก็ จะนึึกถึงอย่างอื่น ๆ แต่ก็จะกลับมารู้สึกตัวได้ง่าย ลักษณะจิตเหมือน เด็กที่กำลังตั้งไข่
- อุปปจารสมาธิ มีอารมณ์กับความแน่วแน่มาขึ้น เริ่มเฉียด ๆ ฌาน เปรียบเหมือน เด็กนั้นเริ่มเดินได้คล่องแคล่ว หลังจากที่พ้นจากวัยตั้งไข่ แต่ยังวิ่งไม่คล่อง
- อัปปณาสมาธิ มีอารมณ์ที่ลงร่วมเพ่งในความสงบเป็นที่ตั้งและเกิด ฌาน
หลังจากได้หรือปฏิบัติจนถึง อัปปณาสมาธิ ก็จะทำให้จิตมีความสงบเป็นอารมณ์นิ่ง ที่เรียกว่า เข้าสู่ ฌาน 4 และ ฌาน 8 (รูปฌาน4 อรูปฌาน4)
ฌาณ 4 มีดังนี้
1) ฌาน 1 ปฐมฌาน (วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยใช้คำภาวนาและพิจารณาในขันธ์ 5 หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตทรงตัว
2) ฌาน 2 ทุติยฌาน (ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยคำภาวนาจะหายหรือหยุดไปเอง ไม่มีวิตกวิจาร แต่จะมีจิตใจชุ่มชื่น ลมหายใจเบาสบาย มีแต่ปีติ และเอกัคตารมณ์ คือ มีอารมณ์เป็นหนึ่งและทรงตัวมากขึ้น
3) ฌาน 3 ตติยฌาน (สุข เอกัคคตา) ลมหายใจจะเบามากและความอิ่มเอิบหายไป เหลือแต่ความสุขเยือกเย็น โดยจิตทรงตัวมาก อารมณ์ไม่เคลื่อนไหว ได้ยินเสียงภายนอกเบาลง และการทรงตัวแน่นสนิท
4) ฌาน 4 จตุตถฌาน (อุเบกขา เอกัคคตา) คือการตัดสุขได้ ไม่รับการสัมผัสทางจิตใจไม่มีความรู้สึก ทั้งจากเสียง ลม ยุ่งกัด เหลือแต่เอกัคตาพร้อมด้วยอุเบกขา ซึ่งฌานขั้นนี้เป็นอาการทางจิตที่ทรงตัวสมาธิดี มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความสว่างไสวในจิต หากสามารถฝึกให้จิตทรงตัวอยู่ตลอดเวลา ก็จะนำไปสู่การเกิด “ทิพจักขุญาณ” ตามมาได้โดยง่าย
เครดิต https://www.moe.go.th/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99-4/
โดย admin | ต.ค. 23, 2024 | บทความน่าสนใจ
ผ้าไตร สีราชนิยม หรือ ผ้าไตรสีพระราชทาน เป็นสีที่มีความเป็นกลางเพราะสามารถนำไปใช้ได้กับพระสงฆ์ที่สังกัดในนิกายธรรมยุตและ มหานิกาย ดังนั้นการเลือกสีผ้าไตรจีงสำคัญ เพราะเมื่อผู้ที่ต้องการนำผ้าไตรจีวรไปถวายเพื่อทำบุญนั้น จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าพระสงฆ์นั้นท่านสังกัดนิกายอะไร จะได้จัดซื้อได้ตรงกับความต้องการ และสีได้อย่างถูกต้อง สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปทำบุญถวายพระและอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ หรือ แก้กรรมตามความเชื่อ
ผ้าไตร สีราชนิยม มีลักษณะอย่างไร
ในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย นุ่งห่มจีวรสีต่างกัน มีหลักๆ คือ
ผ้าไตรจีวร ในปัจจุบันมีหลายสีด้วยกัน แต่ละวัดก็ใช้สีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละวัด ปัจจุบันสีที่นิยม และพบได้มาก ประกอบก้วย 6 สี ได้แก่
- สีทอง หรือ สีเหลือส้ม ปัจจุบันเป็นสีเนื้อผ้าที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ตามวัดต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
- สีพระราชทาน หรือ สีพระราชนิยม ส่วนมากเป็นสีที่พบมากและส่วนมากพระจะนิยมครองผ้าสีนี้ในงานพิธีต่างๆ
- สีแก่นบวช เป็นสีที่พบมากเช่นเดียวกันในหมุ๋ซํโ)ษ?ฒ๊๕ซษฒฌ๕ณ๋.๕ณํโ
- สีแก่นขนุน เป็นสีที่พบในวัดสำคัญๆ เช่น วัดบวร วัดสังฆทาน วัดหนองป่าพง และสายวัดป่า เป็นต้น
- สีกรัก หรือสีอันโกโซน/สีน้ำหมาก ซึ่งพบเห็นได้ตามวัดป่า พระที่ครองสีนี้ เช่น ฟลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร เจ้าอาวาสวัดศรีนวลธรรมวิมล เป็นต้น
- สีกวักพิเศษ หรือสีครูบา เป็นสีที่สามารถพบเห็นได้น้อย และใชช้กันแฉพาะบางวัดเท่านั้น โดยส่วนมากแล้ว
เครดิตเพจ https://dharayath.com/
โดย admin | ต.ค. 18, 2024 | บทความน่าสนใจ
หลายท่านประสบความยากลำบากต่อการดำเนินชีวิตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นโควิด หรือ ภาวะการเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องสร้างความเข้มเเข็งคือ จิต(ใจ) เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาตลอดปี ที่มีทั้งดีและร้าย สิ่งเหล่านี้เรามักจะนึกถึงเจ้ากรรมนายเวรที่เราล่วงเกินแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ การ ถวายผ้าไตรจีวร แก้กรรม เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แนะนำ สำหรับครอบครัวชาวไทยที่นิยมทำบุญในวันสำคัญ ช่วงสิ้นปี และ เข้าปีใหม่พร้อมกับคนรักหรือครอบครัว และมักจะชวนกันไปทำบุญที่วัด ถวายสังฆทาน ถวายผ้าไตรจีวร และปล่อยสัตว์ทำทาน เพื่อสร้างกำลังใจ ให้รู้สึกสดชื่น และที่สำคัญคือ การขออโหสิกรรมกับเจ้ากรรมนายเวร เพื่อการเร่ิมต้นปีใหม่ให้มีความราบรื่นผ่านอุปสรรคไปได้ด้วยดี
ขออโหสิกรรม เจ้ากรรมนายเวร คืออะไร
อโหสิกรรม นั้นเป็นผลสะท้อนทางจิตใจที่ต้องการให้ผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นได้รับรู้ถึงจิตใจที่ไม่ต้องการผูกพยาบาทซึ่งกันและกัน นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการให้อภัยทานซึ่งนับได้ว่าเป็นทานอันยิ่งใหญ่ เพื่อให้กรรมที่ได้ทำไว้ลดความผูกพยาบาท จึงมักจะเร่ิมจากการขออโหสิกรรมซึ่งกันและกัน และลำดับต่อมาได้แก่ การเข้าสู่การปฏิบัติ ตามหลัก ศีล สมาธิ และปัญญา หรือองค์มรรคแปด โดยมีหลักอิทธิบาทสี่ เป็นกำลังใจ เพื่อนำพาไปสู่หนทางของนิพพาน
อ่านเพิ่มเติมเรื่อง อโหสิกรรม เพื่อขอขมาผู้ล่วงลับ ลดกรรมได้จริงหรือไม่
คำอธิษฐานอโหสิกรรม
ข้าพเจ้า…..(บอกชื่อ)…ขออโหสิกรรม กรรมใดที่ทำแก่ผู้ใด ในชาติใดๆ ก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมและนายเวร จงอโหสิกรรมให้กับข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย แม้แต่กรรมที่ใครๆ ได้ทำกับข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น และขอยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงศาคณาญาติ และผู้มีอุปการคุณของข้าพเจ้า จงมีความสุข ความเจริญ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี และสิ่งที่ชอบด้วยเทอญ
คำขอขมาโทษ (กรรมชั่ว)
กรรมชั่วอันใดที่ข้าพเจ้า…..(บอกชื่อ)…ทำไว้ ด้วยกาย วาจา ใจ ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ เพราะความไม่รู้ เพราะความหลง เพราะความงมงาย เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอจงโปรดยกโทษ ให้ข้าพเจ้าพ้นจากความทุกข์ยาก ลำบากเข็ญใจ อันตรายทั้งหลาย จงเสื่อมสูญสิ้นไป ข้าพเจ้าปรารถนาสิ่งใดที่ดี ขอให้สมปรารถนา นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ. (อธิษฐานตามที่ปรารถนา)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินบิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วยกาย วาจา ใจ
ถวายผ้าไตรจีวร แก้กรรม มีอานิสงส์อย่างไร
เพราะเหตุใด ถวายผ้าไตรแก้กรรม จึงได้อานิสงส์
การนำ ผ้าไตร มาถวายพระในทางพระพุทธศาสนานั้น มองว่าเป็นการช่วยให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย และคลายความอันตรายต่างๆได้ ดังนั้นผู้ให้จึงได้รับบุญกุศลอย่างเต็มที่ เกิดในภพหน้าจะมีหน้าตารูปร่างสวยงาม และมีผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส เป็นผู้อิ่มเอมใจ อันเกิดจากการอิ่มบุญ ขจัดพ้นจากความยากลำบาก และความยากจนแสนเข็ญ
ผู้ที่ทำบุญด้วยการถวาย ผ้าไตร แด่พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ จะเป็นผู้ที่พร้อมด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ และเครื่องประดับ มีแต่ผู้คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทุกหมู่เหล่า หากเมื่อใดก็ตามจะต้องพบกับความมีอุปสรรค อุปสรรคนั้นจะผ่านพ้นไปด้วยดี ภัยอันตรายอื่นๆ อย่างสัตว์มีพิษและของมีคมต่างๆ ก็ทำร้ายไม่ได้
อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นในชาติหน้า จะเกิดมาเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมด้วยหน้าตาที่งดงาม และสติปัญญาที่น่านับถืออย่างยิ่ง
แนะนำเพิ่มเติม วิธีทำบุญให้แก่เจ้ากรรมนายเวรให้ได้ผลเร็ว ได้แก่
- ถวายสังฆทาน มีข้าว น้ำ อาหารต่างๆ หรือจะเป็นยารักษาโรคก็ได้ การถวายสังฆทานมีผลมากมีอานิสงส์มาก ผลบุญกุศลจะทำให้เจ้ากรรมนายเวรพ้นจากความทุกข์ต่างๆเมื่อเขาได้รับบุญแล้วเขาจะได้อโหสิกรรมให้แก่เรา
- การถวายผ้าไตรจีวร เป็นอีกบุญกุศลอย่างหนึ่งที่ทำให้ เกิดอานิสงส์ยิ่งใหญ่ การถวายผ้าไตรจีวรนั้นมีอานิสงส์ทำให้เกิดความอิ่มเอิบบริบูรณ์ด้วยผิวพรรณวรรณะที่ดี หรือมีเสื้อผ้าอาภรณ์เครื่องนุ่งห่มที่สวยงาม ดังนั้นเมื่อถวายผ้าไตรจีวรแล้วจะทำให้เจ้ากรรมนายเวรคนจากความทุกข์ทั้งปวง
- การถวายพระพุทธรูป ก็จัดว่าการสร้างพระพุทธรูปนั้น เปรียบเสมือนตัวแทนพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องสักการะบูชาดังนั้นบุญการถวายพระพุทธรูปจึงให้ผลมากมีอานิสงส์มากเช่นกัน ทำให้เคราะห์กรรมบางอย่างที่นอกจากเกี่ยวกับเจ้ากรรมนายเวร พลอยหมดไปสิ้นไปได้อีกด้วย
- การไถ่ชีวิตโคกระบือ หรือการปล่อยชีวิตสัตว์ให้เป็นทานเช่นปลาหน้าเขียง ในบุญข้อนี้เหมือนให้ชีวิตสัตว์ให้เขาได้มีอายุยืนต่อไป รอดพ้นจากความตาย วันนี้ก็มีอานิสงส์มากเป็นบุญอันยิ่งใหญ่เช่นกัน มีผลทำให้เจ้ากรรมนายเวรหรือโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างค่อยๆหมดไปจากตัวเรา
ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ https://www.sanook.com/horoscope/249699/
โดย admin | ต.ค. 10, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ, บทความน่าสนใจ
โคตรภูญาณ ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร คือ การเห็นทุกข์ที่มันเกิด และทำอย่างไรที่จะทำให้ออกจากวัฏสงสารได้ คนที่ได้โครตภูญาณ คือ คนที่ได้ พระรัตน เป็นที่พึ่งเท่านั้น ไม่พึ่งอย่างอื่นใดอีกเลย ไม่มีความเห็นว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมาดลบรรดาลใจสิ่งใด ๆ มาให้มีเงินทองไม่สนใจ ไม่มีฤกษ์งามยามดีใด เห็นชัดในภัยวัฏสงสาร และ มีแต่พึ่งตนเองในการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ลักษณะของจิตที่เกิดกับ โคตรภูญาณ
จิตนี้พยายามดิ้นรน หาทางออกจากทางโลก ที่เห็นความเกิดมาเพื่อมารองรับโรคต่าง ๆ มีความหิวโหย ดิ้นรนความอยากคือ ตัณหา แต่ยังมีความอาลัยกับสิ่งหนึ่งที่ยังผูกพัน เหมือนคนยืน เท้าหนึ่งยืนบนบก เท้าหนึ่งยืนในน้ำ จะออกจากโลกก็ห่วงบุคคลที่รัก แต่ก็อยากออกจากวัฏสงสาร
โครตภูญาณ จะเห็นภัยต่าง ๆ
- ร่างกายเป็นที่รองรับโรคต่าง ๆ
เรื่อง “โคตรภูญาณ จุดระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ”
(คติธรรม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
อธิบาย โคตรภูญาณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
โครตภูญาณ จิตมันอยู่ระหว่าง โลกีย์ กับ โลกุตตระ คือ ความเป็นคนกับความเป็นพระอริยเจ้า ท่านเปรียบเหมือนกับ ลำรางเล็ก ๆ น่ะ คือ ขาหนึ่งยืนอยู่นี่ อีกขาหนึ่งฝ่ายโลกีย์ ยังยกไม่ขึ้น ทีนี้อารมณ์ของโคตรภู เราต้องรู้ว่า ขณะใด เราเข้าถึงโคตรภู ไอ้พูด ตามตำรานี่ มันพูดได้ ไม่ยากหรอก แต่ตัวเข้าถึงนี่ซี ถ้าเราเป็นฝ่ายวิชชาสามนะ มันเห็นชัด คือ เวลาที่เราถอดจิตขึ้นไป ตามปกติเราจะท่อง เที่ยวแต่เฉพาะในส่วนของโลกีย์ใช่ไหม จะเป็นเมืองมนุษย์ก็ดี อบายภูมิก็ดี เทวดา พรหมก็ดี แต่ส่วนโลกุตตระเราจะเข้าไม่ได้ ไม่สามารถจะเห็น แต่ถ้าอารมณ์ของจิตเข้าถึงโคตรภู เราจะเห็นพระนิพพานชัด
ถ้าพูดถึงอารมณ์ อันดับแรก อารมณ์มันจะยึดตัว “ธรรมดา” คือ ใครด่า เขาด่าก็ว่าเป็นธรรมดา เกิดมาต้องมีคนเขาด่าว่า อันที่จริงก็โมโหเหมือนกันนะ แต่โมโหแล้วมันปล่อยไม่เกาะอยู่ ถ้ายังไม่ได้ อนาคามี อย่านึกว่า ไม่มีโมโห โทโส มีโกรธ เหมือนกัน โกรธเดี๋ยวเดียว แต่ไม่ไปอาฆาต ไม่ไปทำร้ายเขาแล้วมัน ก็หายไป เห็นอะไรๆ มันก็ธรรมดา ถ้าไปเจอะคน ตายมันก็วาบหวิวไปนิดหนึ่ง ประเดี๋ยวตัว “ธรรมดา” มันก็ปรากฏ
ถ้าอารมณ์เข้มขึ้น มันก็ยัน “ธรรมดา” อยู่เสมอ แต่ก็ยังมีสะท้านอยู่บ้าง ในขณะเดียวกัน ก็มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นที่สุด ใครจะพูดเรื่องอะไร ก็ฟังได้ แต่ฉันไม่เอาด้วย ฉันจะไปนิพพาน นี่สำหรับพวกมี วิชชาสาม ส่วนพวกสุกขวิปัสสโก ก็ต้องสังเกตอารมณ์ เอาว่ายึด “ธรรมดา” และรักพระนิพพานเพียงใด ถ้ารักมากก็ชื่อว่าเข้าถึง โคตรภู ต้องสังเกตตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเราไปแกล้ง “ธรรมดา” นะ ต้อง “ธรรมดา” นะ ของมันเป็นปกติ จิตจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์จริง ๆ แต่ถ้าไปนิพพานไม่ได้อย่างอื่นก็ต้องการ คือ จะไปพักสวรรค์พักพรหมโลก พักเพื่อหวังนิพพาน จะทำอะไรก็ตามไม่หวังผลตอบแทนฉันหวังจะไปนิพพาน นี่คือ อารณ์โคตรภู ถึงโคตรภูแล้วสงสัยว่าเราจะเป็น พระโสดาบัน ก็มานั่งไล่เบี้ย สังโยชน์สาม ดูว่า สักกายทิฏฐิ เราเป็นอย่างไร เรารู้หรือเปล่าว่า ร่างกายมันจะพัง ตัวของเรา ตัวของคนอื่นน่ะ รู้หรือเปล่าว่ามันจะพัง มันจะตาย รู้ว่าจะตาย ความจริงก็มีจิตห่วงนั่นห่วงนี่บ้าง พระโสดาบันนี่ยังห่วง แต่ว่าห่วงไม่มาก ถ้ามันจะตายจริงๆก็ เอวังกิ่ม ฉันจะไปนิพพานนะ
สังโยชน์ที่สอง วิจิกิจฉา เราไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า “ไม่สงสัย” นี่ไม่ใช่ว่านึกเอา นะต้องปฏิบัติด้วย ต้องแน่ใจว่า เกิดแก่เจ็บตายนี่เป็นของมีจริงใช่ไหม เชื่อเหลือเกินว่า เราเกิดมานี่ต้องแก่ ไอ้การป่วยไข้ไม่สบายนี่ มันต้องมีแน่ ถ้ามันมีขึ้นมา เราก็ไม่ตกใจ การรักษาพยาบาล ถือเป็นของธรรมดา เพราะถือเป็นการระงับเวทนา แม้พระพุทธเจ้า แม้พระอรหันต์ทุกองค์ท่านก็ต้องรักษา แต่ในระหว่างรักษาตัว ก็นึกว่า จะระงับได้หรือไม่ได้ จะทรงอยู่ได้ หรือไม่ได้ก็ตามใจมัน ถ้าเกิดทุกเวทนามาก รักษาพยาบาลแล้ว อาการมันไม่ลด ก็ตามใจมันซี ฉันจะทนให้แกทรมาน ประเดี๋ยวเดียว แล้วฉันก็จะไปนิพพาน อารมณ์มันตัดตรงนี้นะ
ขอน้อมกราบพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง
เครดิตจากเพจ https://www.facebook.com/238296179593402/photos/a.595817270507956/2252804728142527/?type=3
โดย admin | ต.ค. 8, 2024 | ข่าวสาร, ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ, บทความน่าสนใจ
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “สาธุ” เวลาที่พระให้พร หรือ ร่วมกันทำบุญ และบางครั้งก็จะได้ยินคำว่า อนุโมธาบุญด้วย ทำให้เริ่มสับสนว่าความแตกต่างสองคำนี้มีความหมายอย่างไร และใช้ตอนไหน เพราะบางครั้งอาจจะทำให้ไม่แน่ใจว่าใช้ถูกต้องหรือไม่
แต่ส่วนมากที่แน่ใจเห็นบ่อยก็คือ ที่เวลาเพื่อนมาบอกเราหรือคนในครอบครัวมาบอกเราว่าไปทำบุญด้วยกันไหม เราก็จะร่วมอนุโมธนาบุญด้วย เพื่อความเข้าใจให้มากขึ้นจึงได้รวบรวมความหมาย ระหว่าง สาธุ และ อนุโมธนาสาธุ
สาธุ แปลว่าอะไร
แปลว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว มาจากรากศัพท์ว่า สาธฺ (หรือ สธฺ) ในความหมายว่า สำเร็จ เมื่อเวลาที่เราได้ทำบุญใดๆ แล้วหากมีคนเห็นการกระทำดีของเราแล้วเขากล่าว “สาธุ” ด้วยความศรัทธาด้วยความปีติยินดีที่ได้เห็นเราทำบุญ เขาคนนั้นก็ได้บุญไปด้วยอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนการจุดเทียนแล้วมีคนมาขอต่อเทียนฉันใดฉันนั้น
อนุโมทนา แปลว่าอะไร
อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีตาม, ความพลอยยินดี หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ การอนุโมทนานั้นอาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่น เมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้ เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญ แล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วยเรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า “อนุโมทนากถา” เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า “อนุโมทนาบัตร หรือใบอนุโมทนา” เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า “อนุโมทนามัยบุญ” และการที่ภิกษุกล่าว สัมโมทนียกถา อันแปลว่า ถ้อย คำอันเป็นที่บันเทิงใจ ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของ ความดี ของบุญกุศล ที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆัง เป็นต้น ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บางทีเรียกว่า อนุโมทนากถา
ส่วนพิธีอย่างอื่นนอกจากนี้ควรจะอนุโมทนาต่อหน้าเสมอไปจึงจะสมควร พิธีอนุโมทนาแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ 2 หัวข้อคือ
1. สามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ไม่จำกัดงานหนึ่งงานใด ก็คงใช้คำอนุโมทนาแบบเดียวกัน
2. วิสามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาด้วยบทสวดพิเศษคือ อนุโมทนาเฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง
เครดิตเพจจาก https://dharayath.com/
แนะนำอ่านความรู้น่าสนใจสำหรับทำบุญเกี่ยวกับการเลือก ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ 9 ขันธ์ ต่างกันอย่างไร และเลือกสำหรับงานบวชอย่างไร