โดย admin | ต.ค. 26, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, หลักธรรมที่สำคัญ
หลักธรรมแห่งความสำเร็จในการจะปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น คือ อิทธิบาท 4 ซึ่งสำหรับผู้ที่ปฏิบัติแล้วการทำอิทธิสี่นำมาร่วมพิจารณาในการปฏิบัติธรรม เพราะหลักธรรมนี้จัดได้ว่า เป็นหลักธรรมหนทางแห่งความสำเร็จ หรือกล่าวง่าย ๆ ว่า หลักแห่งหนทางนำประสู่ความสำเร็จ ยังมีหลักธรรมอื่นอีกที่นำมาควบคู่ในการปฏิบัติด้วย เช่น พละ5 หรือกำลังทั้ง 5
หลักธรรม พละ 5 คืออะไร (อ่านเพิ่มเติม)
สำหรับผู้ที่ปฏิบัติย่อมเกิดการท้อถอย หรือ เกิดความท้อในการปฏิบัติ เป็นเรื่องที่เกิดได้ง่าย หรือ สำหรับผู้ดำรงชีวิตประจำวันที่จะต้องทำงาน ให้ประสบความสำเร็จให้ได้ ก็สามารถนำหลักธรรมมาร่วมพิจารณาในการปฏิบัติในการทำงานและดำรงชีวิตให้ผ่านอุปสรรค
อิทธิบาท 4 คืออะไร
หมายถึงหรือ คือ หนทางสู่ความสำเร็จ บรรลุเป้าหมาย เครื่องให้ถึงไปสู่ความสำเร็จ หรือ ทางแห่งความสำเร็จ หลักธรรม หลักแห่งคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ มี 4 ประการ ดังนี้
ฉันทะ (ความพอใจ)
คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีการความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ อิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่าฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรม จิตใจให้สว่างอยู่.
วิริยะ (ความเพียร)
คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิถานะยะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป … ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้ สว่างอยู่.
จิตตะ (ความคิด)
คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า จิตของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป … ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง)
คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไป ภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉัน นั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมี ใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
การนำหลักธรรมอิทธิบาท4นี้ไปใช้อย่างไรในชีวิตประจำวัน
การนำหลักอิทธิบาทที่นำมาปรับไว้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างที่พบได้มาก คือ การดำเนินชีวิตด้วยการงานเพื่อเลี้ยงชีวิตให้ผ่านพ้นอุปสรรค
ฉ้นทะ คือความพึงพอใจในงานที่ปฏิบัติให้ลุล่วงไปด้วยดี เป็นการทำความเข้าใจในเนื้องานว่างานที่ทำนั้นจะต้องมีเป้าหมายอย่างไร
วิริยะ คือ ความไม่ท้อถอยต่อปัญหาอุปสรรคในการทำงาน
จิตตะ คือ การไม่ฟุ้งซ่าน ไม่นำจิตออกไปจากงานในขณะที่ทำอย่างตั้งใจ เช่น ขณะทำงานให้มีสมาธิจิตจดจ่อที่การกระทำ ไม่ฟุ้งซ่านใจลอยออกไป เพื่อทำงานไม่เกิดความผิดพลาด
วิมังสา คือ การหาสาเหตุของอุปสรรคนั้นของการทำงาน วางแผน เพื่อนำไปเป็นการหาหนทางและวางแผนแก้ไข อย่างเป็นระบบ
โดย admin | ต.ค. 10, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ, บทความน่าสนใจ
โคตรภูญาณ ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร คือ การเห็นทุกข์ที่มันเกิด และทำอย่างไรที่จะทำให้ออกจากวัฏสงสารได้ คนที่ได้โครตภูญาณ คือ คนที่ได้ พระรัตน เป็นที่พึ่งเท่านั้น ไม่พึ่งอย่างอื่นใดอีกเลย ไม่มีความเห็นว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมาดลบรรดาลใจสิ่งใด ๆ มาให้มีเงินทองไม่สนใจ ไม่มีฤกษ์งามยามดีใด เห็นชัดในภัยวัฏสงสาร และ มีแต่พึ่งตนเองในการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ลักษณะของจิตที่เกิดกับ โคตรภูญาณ
จิตนี้พยายามดิ้นรน หาทางออกจากทางโลก ที่เห็นความเกิดมาเพื่อมารองรับโรคต่าง ๆ มีความหิวโหย ดิ้นรนความอยากคือ ตัณหา แต่ยังมีความอาลัยกับสิ่งหนึ่งที่ยังผูกพัน เหมือนคนยืน เท้าหนึ่งยืนบนบก เท้าหนึ่งยืนในน้ำ จะออกจากโลกก็ห่วงบุคคลที่รัก แต่ก็อยากออกจากวัฏสงสาร
โครตภูญาณ จะเห็นภัยต่าง ๆ
- ร่างกายเป็นที่รองรับโรคต่าง ๆ
เรื่อง “โคตรภูญาณ จุดระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ”
(คติธรรม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
อธิบาย โคตรภูญาณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
โครตภูญาณ จิตมันอยู่ระหว่าง โลกีย์ กับ โลกุตตระ คือ ความเป็นคนกับความเป็นพระอริยเจ้า ท่านเปรียบเหมือนกับ ลำรางเล็ก ๆ น่ะ คือ ขาหนึ่งยืนอยู่นี่ อีกขาหนึ่งฝ่ายโลกีย์ ยังยกไม่ขึ้น ทีนี้อารมณ์ของโคตรภู เราต้องรู้ว่า ขณะใด เราเข้าถึงโคตรภู ไอ้พูด ตามตำรานี่ มันพูดได้ ไม่ยากหรอก แต่ตัวเข้าถึงนี่ซี ถ้าเราเป็นฝ่ายวิชชาสามนะ มันเห็นชัด คือ เวลาที่เราถอดจิตขึ้นไป ตามปกติเราจะท่อง เที่ยวแต่เฉพาะในส่วนของโลกีย์ใช่ไหม จะเป็นเมืองมนุษย์ก็ดี อบายภูมิก็ดี เทวดา พรหมก็ดี แต่ส่วนโลกุตตระเราจะเข้าไม่ได้ ไม่สามารถจะเห็น แต่ถ้าอารมณ์ของจิตเข้าถึงโคตรภู เราจะเห็นพระนิพพานชัด
ถ้าพูดถึงอารมณ์ อันดับแรก อารมณ์มันจะยึดตัว “ธรรมดา” คือ ใครด่า เขาด่าก็ว่าเป็นธรรมดา เกิดมาต้องมีคนเขาด่าว่า อันที่จริงก็โมโหเหมือนกันนะ แต่โมโหแล้วมันปล่อยไม่เกาะอยู่ ถ้ายังไม่ได้ อนาคามี อย่านึกว่า ไม่มีโมโห โทโส มีโกรธ เหมือนกัน โกรธเดี๋ยวเดียว แต่ไม่ไปอาฆาต ไม่ไปทำร้ายเขาแล้วมัน ก็หายไป เห็นอะไรๆ มันก็ธรรมดา ถ้าไปเจอะคน ตายมันก็วาบหวิวไปนิดหนึ่ง ประเดี๋ยวตัว “ธรรมดา” มันก็ปรากฏ
ถ้าอารมณ์เข้มขึ้น มันก็ยัน “ธรรมดา” อยู่เสมอ แต่ก็ยังมีสะท้านอยู่บ้าง ในขณะเดียวกัน ก็มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นที่สุด ใครจะพูดเรื่องอะไร ก็ฟังได้ แต่ฉันไม่เอาด้วย ฉันจะไปนิพพาน นี่สำหรับพวกมี วิชชาสาม ส่วนพวกสุกขวิปัสสโก ก็ต้องสังเกตอารมณ์ เอาว่ายึด “ธรรมดา” และรักพระนิพพานเพียงใด ถ้ารักมากก็ชื่อว่าเข้าถึง โคตรภู ต้องสังเกตตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเราไปแกล้ง “ธรรมดา” นะ ต้อง “ธรรมดา” นะ ของมันเป็นปกติ จิตจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์จริง ๆ แต่ถ้าไปนิพพานไม่ได้อย่างอื่นก็ต้องการ คือ จะไปพักสวรรค์พักพรหมโลก พักเพื่อหวังนิพพาน จะทำอะไรก็ตามไม่หวังผลตอบแทนฉันหวังจะไปนิพพาน นี่คือ อารณ์โคตรภู ถึงโคตรภูแล้วสงสัยว่าเราจะเป็น พระโสดาบัน ก็มานั่งไล่เบี้ย สังโยชน์สาม ดูว่า สักกายทิฏฐิ เราเป็นอย่างไร เรารู้หรือเปล่าว่า ร่างกายมันจะพัง ตัวของเรา ตัวของคนอื่นน่ะ รู้หรือเปล่าว่ามันจะพัง มันจะตาย รู้ว่าจะตาย ความจริงก็มีจิตห่วงนั่นห่วงนี่บ้าง พระโสดาบันนี่ยังห่วง แต่ว่าห่วงไม่มาก ถ้ามันจะตายจริงๆก็ เอวังกิ่ม ฉันจะไปนิพพานนะ
สังโยชน์ที่สอง วิจิกิจฉา เราไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า “ไม่สงสัย” นี่ไม่ใช่ว่านึกเอา นะต้องปฏิบัติด้วย ต้องแน่ใจว่า เกิดแก่เจ็บตายนี่เป็นของมีจริงใช่ไหม เชื่อเหลือเกินว่า เราเกิดมานี่ต้องแก่ ไอ้การป่วยไข้ไม่สบายนี่ มันต้องมีแน่ ถ้ามันมีขึ้นมา เราก็ไม่ตกใจ การรักษาพยาบาล ถือเป็นของธรรมดา เพราะถือเป็นการระงับเวทนา แม้พระพุทธเจ้า แม้พระอรหันต์ทุกองค์ท่านก็ต้องรักษา แต่ในระหว่างรักษาตัว ก็นึกว่า จะระงับได้หรือไม่ได้ จะทรงอยู่ได้ หรือไม่ได้ก็ตามใจมัน ถ้าเกิดทุกเวทนามาก รักษาพยาบาลแล้ว อาการมันไม่ลด ก็ตามใจมันซี ฉันจะทนให้แกทรมาน ประเดี๋ยวเดียว แล้วฉันก็จะไปนิพพาน อารมณ์มันตัดตรงนี้นะ
ขอน้อมกราบพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง
เครดิตจากเพจ https://www.facebook.com/238296179593402/photos/a.595817270507956/2252804728142527/?type=3
โดย admin | ต.ค. 8, 2024 | ข่าวสาร, ธรรมะน่าสนใจ, บทความธรรมมะ, บทความน่าสนใจ
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “สาธุ” เวลาที่พระให้พร หรือ ร่วมกันทำบุญ และบางครั้งก็จะได้ยินคำว่า อนุโมธาบุญด้วย ทำให้เริ่มสับสนว่าความแตกต่างสองคำนี้มีความหมายอย่างไร และใช้ตอนไหน เพราะบางครั้งอาจจะทำให้ไม่แน่ใจว่าใช้ถูกต้องหรือไม่
แต่ส่วนมากที่แน่ใจเห็นบ่อยก็คือ ที่เวลาเพื่อนมาบอกเราหรือคนในครอบครัวมาบอกเราว่าไปทำบุญด้วยกันไหม เราก็จะร่วมอนุโมธนาบุญด้วย เพื่อความเข้าใจให้มากขึ้นจึงได้รวบรวมความหมาย ระหว่าง สาธุ และ อนุโมธนาสาธุ
สาธุ แปลว่าอะไร
แปลว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว มาจากรากศัพท์ว่า สาธฺ (หรือ สธฺ) ในความหมายว่า สำเร็จ เมื่อเวลาที่เราได้ทำบุญใดๆ แล้วหากมีคนเห็นการกระทำดีของเราแล้วเขากล่าว “สาธุ” ด้วยความศรัทธาด้วยความปีติยินดีที่ได้เห็นเราทำบุญ เขาคนนั้นก็ได้บุญไปด้วยอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนการจุดเทียนแล้วมีคนมาขอต่อเทียนฉันใดฉันนั้น
อนุโมทนา แปลว่าอะไร
อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีตาม, ความพลอยยินดี หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ การอนุโมทนานั้นอาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่น เมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้ เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญ แล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วยเรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า “อนุโมทนากถา” เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า “อนุโมทนาบัตร หรือใบอนุโมทนา” เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า “อนุโมทนามัยบุญ” และการที่ภิกษุกล่าว สัมโมทนียกถา อันแปลว่า ถ้อย คำอันเป็นที่บันเทิงใจ ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของ ความดี ของบุญกุศล ที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆัง เป็นต้น ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บางทีเรียกว่า อนุโมทนากถา
ส่วนพิธีอย่างอื่นนอกจากนี้ควรจะอนุโมทนาต่อหน้าเสมอไปจึงจะสมควร พิธีอนุโมทนาแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ 2 หัวข้อคือ
1. สามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ไม่จำกัดงานหนึ่งงานใด ก็คงใช้คำอนุโมทนาแบบเดียวกัน
2. วิสามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาด้วยบทสวดพิเศษคือ อนุโมทนาเฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง
เครดิตเพจจาก https://dharayath.com/
แนะนำอ่านความรู้น่าสนใจสำหรับทำบุญเกี่ยวกับการเลือก ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ 9 ขันธ์ ต่างกันอย่างไร และเลือกสำหรับงานบวชอย่างไร
โดย admin | ต.ค. 2, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, สมาธิ, หลักธรรมที่สำคัญ
ฌาณ คืออะไร และ ฌาณสมาบัติ(สมาบัติ เป็นภาวะสงบประณีต)นั้นคืออะไร สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนานั้น จะได้ยินคำนี้บ่อยและเร่ิมสงสัยว่าแท้จริงนั้นคืออะไร และ แตกต่างจาก คำว่า ญาณ อย่างไร ผู้ภาวนาที่ปฏิบัติใหม่ ๆ มักจะเกิดความสับสนสองคำนี้บ่อยมา และอาการที่เกิดขึ้นกับจิตนั้น ก็จะทำให้เกิดความสงสัยค้นหาคำตอบจาก ครูอาจารย์ เพื่อให้คลายข้อสงสัยเหล่านั้น แต่ความสงสัยนี้ก็เป็นอันตราย เพราะมาจากหนึ่งใน นิวรณ์ 5 คือ ความสงสัย การที่เราปฏิบัติแล้วควบคู่กับความสงสัยแล้วจะทำให้ติดอยู่ตรงนั้น วนกับไปกับมา จึงต้องหาทางแก้ไข โดยการ ปล่อย นั้นคือ ให้รู้ว่า เราเกิดความสงสัย เกิดขึ้นมาอย่างไร แล้วหายสงสัยอย่างไร หายไปตอนไหน นั่นแหละเมื่อเราเพิ่งจิตจนนิ่งสงบและเพียงแค่ดูอาการเหล่านั้นแล้วปล่อยไป เท่านั้น เราก็จะพบว่า ไม่มีความสงสัย พบแต่ “สิ่งที่ถูกรู้ และมีผู้รู้(จิต)อยู่ต่างหาก”
ญาณ คืออะไร คลิกอ่านความรู้นี้เพิ่มเติม
ฌาณ คืออะไร
ลักษณะภาวะของจิต ที่สงบจากการปฏิบัติสมาธิ ภาวนา เพ่งจิตสมาธิจนเป็น อัปปณาสมาธิ
อัปปนาสมาธิ คือ คลิกอ่านเพิ่มเติม
อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป
ฌาณ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
แต่โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
ประเภทที่ 1 รูปฌาณ
ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
ประเภทที่ 2 อรูปฌาน
ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
อากาสานัญจายตนะ (มีความว่างเปล่าคืออากาสไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
วิญญาณัญจายตนะ (มีความว่างระดับนามธาตุคือความว่างในแบบที่อายตนะภายนอกและภายในไม่กระทบกันจนเกิดวิญญาณธาตุการรับรู้ขึ้นเป็นอารมณ์)
อากิญจัญญายตนะ (การไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์)
เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือแม้แต่อารมณ์ว่าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มี)
เครดิตจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99
ฌาณสมาบัติ คืออะไร
แท้จริงแล้วจะกล่าวได้ว่า ฌานกับสมาบัติ คือสิ่งเดียวกัน
คำว่า ฌาน คือ จิตหรือเรานั่งปฏิบัติสมาธิภาวนา การเพ่ง คือเพ่งรูปนาม ที่เราทั้งหลายปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ เราเพ่งรูปนาม ขันธ์ห้า คืออาการพองอาการยุบเป็นต้น การเพ่งอย่างนี้เรียกว่า ฌาน
คำว่า สมาบัติ แปลว่า สมบัติของผู้ได้ฌาน ซึ่งหมายถึง ท่านผู้ได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน การได้ฌานอย่างนี้เขาเรียกว่า สมาบัติ คือสมบัติของผู้ได้ฌาน
ฌาณสมาบัติมี ๒ ประเภท คือ
๑. กุศลฌานสมาบัติ เป็นการเข้าฌานของปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ผู้ได้ฌาน
๒. กิริยาสมาบัติ เป็นการเข้าฌานของ พระอรหันต์ผู้ได้ฌาน
ฌานสมาบัติยังแยกอีกเป็น ๒ ประเภทตามขั้น คือ รูปฌานสมาบัติ ๔ และอรูปฌานสมาบัติ ๔ เรียกว่า สมาบัติ ๘
เครดิต
สรุปเรื่องฌานได้ดังนี้
ฌาณ เป็นการเข้าถึงความสงบจากการปฏิบัติสมาธิ จากตั้งแต่ สมาธิขั้นต้น ได้แก่ ขณิกสมาธิ จนไปถึง อัปปมาสมาธิ ซึ่งการเข้าสู่ความสงบที่เกิดจากการเพิ่งจิตนี้ เรียกว่า ฌาณ ซึ่งสมบัติจากได้ปฏิบัตินี้ จะเรียกว่า ฌาณสมาบัติ แต่ถ้าผลที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนา จะเรียกว่า ญาณ
โดย admin | ก.ย. 28, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ, สมาธิ
ญาณ คืออะไร ซึ่งความหยั่งรู้นั้นสำหรับ ผู้ที่ฝึกภาวนาและสมาธิ จะเป็นที่กล่าวถึงสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะความรู้ของผู้ที่ฝึกภาวนา จะเร่ิมมีความสนใจในความหมาย เพราะอยากรู้ว่า ในสิ่งที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัตินั้น คืออะไร และ ลักษณะของญาณ นั้นเป็น อย่างไร ทำให้เกิดความสงสัยในคำนี้อีกทั้งยังมีคำว่า ฌาน อีกคำถ้าอ่านผิวเผินสำหรับผู้ที่ศึกษาใหม่ ๆ มักจะแยกไม่ออก เพราะเขียนคล้าย ๆกัน
ญาณ และ ฌาน นั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่ คำตอบคือ แตกต่าง
ฌาน คือ การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก หรือ เข้าใจง่าย ๆ คือ การที่เพ่งจิตจนนิ่งในสมาธิ
เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93
แต่ ญาณ เป็นตัวความหยั่งรู้ที่ปฏิบัติจากภาวนา
เพราะฉะนั้น จึงทำให้ต้องเข้าใจถึงความแตกต่าง เพราะอาจจะสับสน แต่สำหรับผู้ปฏิบัติไปถึงความเข้าใจ นั้นก็จะไม่กกังวลในความหมายหรือคำไหนกก็ตาม เพราะ จิต นั้นเป็นตัวรู้ว่า คืออะไร แตกต่างกกันอย่างไร เพียงแค่หาคำมาใส่ ให้เราได้เรียนรู้ ว่า ญาณ หรือ ฌาณ
ญาณ คืออะไร
แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง
ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง
ดังนั้น ทำความเข้าใจ ง่าย ๆ ญาณ นั้นคือ ความรู้ที่เกิดจากกการภาวนา (ในกรณีที่เราอธิบายเบื้องต้น เพราะ ความรู้ที่แท้จริง หรือ วิชชา นั้น จะเป็นความหยั่งรู้ที่ทำให้เห็นธรรมะ ดังนั้น บางท่านอาจจะตีความผิดไป เพราะอาจถูกกิเลสพาหลงผิดว่า ตัวเองนั้นได้ ญาณหยั่งรู้ ดังนั้นต้องระวังให้ดีในการปฏิบัติ)
เพราะ การที่เราอาจจะได้ญาณที่เป็นอวิชชานั้น ทำให้หลงผิดมามากมายหลายท่าน แล้วนำไปอวดกัน ไม่ได้เป็นการนำไปสู่ทางออกจากทุกข์ ติดอยู่ในฤิทธิเดชก็มี หลงอยู่ในความรู้นั้น จนเข้าใจว่าบรรลุ
ผลแห่งการปฏิบัตินั้นทำให้เกิด ญาณ 3 ได้แก่ วิชชา 3
1.บุพเพนิวาสานุสสติญาณ
กล่าวเข้าใจง่าย ๆ คือ การระลึกชาติได้ สามารถระลึกถึง อดีตชาติได้
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้างยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
(พระไตรปิฎก ไทย เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๕-๖)
2.จุตูปปาตญาณ
ในข้อนี้จะกล่าวให้เข้าใจถึงการเปรียบเหมือนมี ตาทิพย์ ที่เห็นเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ภัยพิบัติ เหตุการณ์ล่วงหน้าที่จะเกิด การเกิดดับของสัตว์โลก ที่เป็นไปตามกรรม
ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ บ้าง
3.อาสวักขยญาณ
ความรู้ในการกำจัดอาสวะให้สิ้นไป เห็นว่าจิตหลุดพ้นจากวัฏสงสาร เห็นการดำเนินของ ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ทางดับทุกข์ ปฏิบัติแห่งการดับทุกข์ อยู่เพื่อเสร็จสิ้นกิจทางขันธ์ และไม่มีหน้าที่อะไรที่จะต้องนำมาเกิดบนโลกนี้อีก
ดังนั้น สรุปได้ดังนี้ ความหยั่งรู้ที่เกิดความรู้เห็นแจ้งจริงจนเป็น วิชชา คือ เห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรม ความหยั่งรู้ที่ได้จากการปฏิบัติสมาธิและภาวนะ จนส่งผลให้เกิดความหยั่งรู้ ก็คือ ญาณ
แต่สิ่งที่สำคัญนั้นก็คือ ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เฉพาะตนที่รู้ วิญญูหิติ และไม่ใช่สิ่งที่โอ้อวด เพราะจุดมุ่งหมายของศาสนาและพระพุทธองค์นั้น คือ การขนทุกข์ออกจากใจของสัตว์โลก
อ่านบทความแนะนำ สมาธิ คืออะไร ฝึกนั่งมีวิธีใดบ้าง และ สมาธิมีกี่ประเภท
โดย admin | ก.ย. 11, 2024 | ธรรมะน่าสนใจ
หลักธรรมแห่งการพ้นทุกข์ ที่จะทำให้ทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลก คือ อริยสัจ 4 แก่นธรรมะที่ทำให้เห็นทางพ้นทุกข์ โดยผู้ผฏิบัติธรรมจะต้องมีอยู่ในใจทุกท่าน หลักความจริงอันประเสริฐที่เป็นทางที่นำพาไปสู่การพบทุกข์ และการดับทุกข์
ซึ่งหลักธรรมนี้ เป็นทางสายกลางแห่งการฏิบัติ “เพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์หลัก คือ ขนทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลก นั้นคือ นิพพาน”
หลักธรรมนี้ เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ เมื่อครั้นหลังจากที่บรรลุธรรมใต้ต้นโพธิและได้มาแสดงธรรมให้แก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่เราเรียกว่าวันอาสาฬหบูชา ซึ่งเป็นหลักธรรมไว้ในบทสวดมนต์ ธัมมจักกัปวัตนสูตร ทำให้กงล้อแห่งธรรมหมุนเป็นครั้งแรก เพราะมี พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์
และยังนับได้ว่าเป็นปฐมเทศนาครั้งแรก คือ เทศนากัณฑ์แรก พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่พระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
อริยสัจ 4 คืออะไร
หลักธรรมนี้ พระพุทธเจ้าที่มาทรงค้นพบด้วยพระองค์ โดยเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะต้องบรระลุและเข้าถึงในอริยสัจ ถึงจะบรรุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น หลักธรรมนี่จึงเป็นที่นับได้ว่าเป็นแก่นของคำสั่งสอนอย่างแท้จริง
อริยสัจ คือ หลักธรรมที่สำคัญจัดได้ได้เป็นแก่นธรรมของหลักคำสอน และ ถือเป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
(เครดิต https://www.mcot.net/view/IJvzfpTd)
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ และ เพื่อนิพพาน เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ
ขอบคุณเครดิตเพจ https://th.wikipedia.org/
ประกอบไปด้วย สี่ ประการดังนี้
1. ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
สภาวทุกข์ หมายถึง ทุกข์ประจำ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ปกิณณกทุกข์ หมายถึง ทุกข์จร การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และความไม่สมปรารถนา
2. สมุทัย สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความอยาก คือ
กามตัณหา คือ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น
ภวตัณหา คือ ความอยากให้คงอยู่
วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
3. นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์
คือ การละตัณหา 3 ประการดังกล่าว
4. มรรค หมายถึง วิธีดับทุกข์ เป็นแนวทางปฏิบัติต้นเหตุของทุกข์
มี 8 ประการดังนี้
องค์มรรค 8
สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา คือ วาจาชอบ
เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูด เพ้อเจ้อ ไร้สาระ
สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ
การงดเว้นจากกายทุจริต คือ
การไม่ฆ่าสัตว์
ไม่ลักทรัพย์
ไม่ประพฤติผิดในกาม
สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีวิตชอบ ได้แก่
การประกอบอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ ได้แก่
เพียรขจัดความชั่ว
เพียรสร้างความดี
เพียรรักษาความดี
สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ
การกำหนดรู้จิต ระลึกได้ตลอดเวลาว่า ตนเองกำลังคิดอะไร ทำอะไร
สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจชอบ
การตั้งจิตให้ควบคุมอารมณ์ได้
(เครดิตเพจ https://dharayath.com/)