อภิญญา ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนาสมาธิ หรือ วิปัสนากรรมฐาน ด้วยความปฏิบัติดีและปฏิบัติชอบ หรือที่เราเรียกว่าพระอริยะ (อริยสงฆ์) หรือที่แปลว่าผู้ประเสริฐ เมื่อปฏิบัติสมาธิและภาวนาด้วยถึงจิตอันสงบสู่อัปปนาสมาธิ และเข้าสู่ ฌาน จะเกิดความรู้สู่จิตอันพิเศษ

 

สมาธิคืออะไร มีวิธีนั่งสมาธิอย่างไร

ฌาน 4 คืออะไร

อภิญญา คืออะไร (หมายถึง)

อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน

อภิญญา หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากความสามารถพิเศษทางจิต กล่าวคือจิตสามารถรับรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้าต่างๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัย ประสาทสัมผัสใด ๆ เช่น สามารถเห็นเหตุการณ์ที่อยู่ในสถานที่ที่ห่างไกลได้ หรือ เห็นเหตุการณ์ในอนาคต เป็นต้น( https://e-port.mbu.ac.th/file/profiles31/2761_1626920898.pdf)

อภิญญามีอะไรบ้าง

  1. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
  2. ทิพพโสต มีหูทิพย์
  3. เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
  4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
  5. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
  6. อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

เครดิต

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2

อภิญญา เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้างจากการปฏิบัติสมาธิภาวนา

เมื่อนั่งสมาธิตามลำดับหลังจากที่ได้ฝึกปฏิบัติจนแน่ว และมาตามลำดับตั้งแต่

  1. ขณิกสมาธิ การนั่งสมาธิที่เริ่มต้น จิตเริ่มเป็นสมาธิ แต่ก็ตั้งได้เดี๋ยวเดียวก็ จะนึึกถึงอย่างอื่น ๆ แต่ก็จะกลับมารู้สึกตัวได้ง่าย ลักษณะจิตเหมือน เด็กที่กำลังตั้งไข่
  2. อุปปจารสมาธิ มีอารมณ์กับความแน่วแน่มาขึ้น เริ่มเฉียด ๆ ฌาน เปรียบเหมือน เด็กนั้นเริ่มเดินได้คล่องแคล่ว หลังจากที่พ้นจากวัยตั้งไข่ แต่ยังวิ่งไม่คล่อง
  3. อัปปณาสมาธิ มีอารมณ์ที่ลงร่วมเพ่งในความสงบเป็นที่ตั้งและเกิด ฌาน

หลังจากได้หรือปฏิบัติจนถึง อัปปณาสมาธิ ก็จะทำให้จิตมีความสงบเป็นอารมณ์นิ่ง  ที่เรียกว่า เข้าสู่ ฌาน 4 และ ฌาน 8 (รูปฌาน4 อรูปฌาน4)

ฌาณ 4 มีดังนี้ 

1) ฌาน 1 ปฐมฌาน (วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยใช้คำภาวนาและพิจารณาในขันธ์ 5 หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตทรงตัว

2) ฌาน 2 ทุติยฌาน (ปิติ สุข เอกัคคตา) โดยคำภาวนาจะหายหรือหยุดไปเอง ไม่มีวิตกวิจาร แต่จะมีจิตใจชุ่มชื่น ลมหายใจเบาสบาย มีแต่ปีติ และเอกัคตารมณ์ คือ มีอารมณ์เป็นหนึ่งและทรงตัวมากขึ้น

3) ฌาน 3 ตติยฌาน (สุข เอกัคคตา) ลมหายใจจะเบามากและความอิ่มเอิบหายไป เหลือแต่ความสุขเยือกเย็น โดยจิตทรงตัวมาก อารมณ์ไม่เคลื่อนไหว ได้ยินเสียงภายนอกเบาลง และการทรงตัวแน่นสนิท

4) ฌาน 4 จตุตถฌาน (อุเบกขา เอกัคคตา) คือการตัดสุขได้ ไม่รับการสัมผัสทางจิตใจไม่มีความรู้สึก ทั้งจากเสียง ลม ยุ่งกัด เหลือแต่เอกัคตาพร้อมด้วยอุเบกขา ซึ่งฌานขั้นนี้เป็นอาการทางจิตที่ทรงตัวสมาธิดี มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความสว่างไสวในจิต หากสามารถฝึกให้จิตทรงตัวอยู่ตลอดเวลา ก็จะนำไปสู่การเกิด “ทิพจักขุญาณ” ตามมาได้โดยง่าย

เครดิต https://www.moe.go.th/%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99-4/

Pin It on Pinterest

Share This

Share This

Share this post with your friends!