อีกหนึ่งบทความที่น่าสนใจที่ให้ความรู้เรื่อง ผ้าอาบน้ำฝน
ความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝน
โดยปกตินางวิสาขา จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของนางเป็นประจำ เมื่อการจัดเตรียมภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยพร้อมแล้ว ก็จะให้สาวใช้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง
วันหนึ่งสาวใช้ได้มาตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝนตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึงพากันเปลือยกายอาบน้ำฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็น นักบวชชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า”ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่”
นางวิสาขาได้ฟังคำบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์ จึงทราบเหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสำหรับใช้สอยเพียง 3 ผืน คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม ผ้าสังฆาฎิสำหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสำหรับนุ่ง ดังนั้น เมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำจึงไม่มีผ้าสำหรับผลัดอาบน้ำ ก็จำเป็นต้องเปลือยกายอาบน้ำ
นางวิสาขา จึงอาศัยเหตุนี้ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่บ้าน และเสร็จภัตกิจแล้ว นางวิสาขาจึงได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาต ตามที่ขอนั้น และนางวิสาขาก็เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์
ความหมายของ ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าอาบน้ำฝน เป็นของใช้จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับพระสงฆ์ ซึ่งคนไทยตั้งแต่อดีตมักนำไปถวายพระในเทศกาลเข้าพรรษา บางคนเรียกว่า ผ้าจำนำพรรษา กล่าวคือ เป็นผ้าที่ถวายกันประจำในเทศกาลเข้าพรรษา บางคนก็เรียกสั้นๆ ว่า ผ้าอาบ หรือถ้าเรียกเป็นศัพท์บาลีตามพระพุทธวินัยบาลี จะเรียกว่า ผ้าอุทก หรือ ผ้าอุทกสาฎก แต่ทั้งหมดนี้แปลอย่างง่ายๆ ว่า ผ้าสำหรับนุ่งไป
ผ้าอาบน้ำฝน เป็นของใช้จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับพระสงฆ์ ซึ่งคนไทยตั้งแต่อดีตมักนำไปถวายพระในเทศกาลเข้าพรรษาบางคนเรียกว่า ผ้าจำนำพรรษา กล่าวคือ เป็นผ้าที่ถวายกันประจำในเทศกาลเข้าพรรษา บางคนอาจจะเรียกสั้นๆ ว่า ผ้าอาบ หรือถ้าเรียกเป็นศัพท์บาลีตามพระพุทธวินัยบาลี จะเรียกว่า ผ้าอุทก หรือ ผ้าอุทกสาฎก แต่ทั้งหมดนี้แปลอย่างง่ายๆ ว่า ผ้าสำหรับนุ่งไปอาบน้ำ
พระสงฆ์เถรวาทมีผ้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น 7 ชิ้น เมื่อนำผ้าทั้งหมดมาตัดเย็บเสร็จจะเรียกว่า ผ้าไตร ซึ่งในผ้า 7 ชิ้นนี้มี ผ้าสบง หรือผ้านุ่ง เนื่องจากพระสงฆ์ไม่สามารถสวมกางเกง แล้วก็มีผ้าเอาไว้นุ่งไปอาบน้ำที่เรียกว่า ผ้าอาบน้ำ ซึ่งมีหน้าตาเหมือนสบงแบบหนึ่ง
ผ้าไตรจีวร ซึ่งผ้าขนาดยาวใช้เป็นผ้าห่มคลุมด้านนอก ผ้าสังฆาฏิ คือผ้าที่ใช้พาดบ่า รัดประคต เป็นเส้นเชือกเหมือนเข็มขัด ใช้สำหรับรัดเวลานุ่งสบง อังสะ คือผ้าที่ตัดเย็บเป็นเสื้อตัวยาว สำหรับใช้ทำงานบ้านกวาดลานวัด สุดท้ายคือ ผ้ากราบ ใช้เวลารับประเคนของจากสตรี
กล่าวอย่างง่ายๆ ผ้าอาบน้ำก็คือผ้าสำหรับพลัดเวลาอาบน้ำ ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้น ผ้าอาบเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะในพระวินัยบัญญัติกล่าวว่า มีผู้ไปเห็นพระภิกษุอาบน้ำตามแม่น้ำลำธารแล้วไม่นุ่งผ้า จึงไปติเตียนพระพุทธองค์ เลยมีพุทธบัญญัติว่าเวลาพระสงฆ์อาบน้ำให้นุ่งผ้าด้วย
ปัจจุบันนี้ ผ้าอาบน้ำฝนนั้นมีความจำเป็นน้อยลงอย่างมาก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องสรงน้ำในที่โล่งแจ้งแล้ว เนื่องจากในสังคมปัจจุบันได้มีห้องน้ำเป็นสัดส่วนเรียบร้อย โดยการถวายผ้าอาบน้ำฝนกลายเป็นเรื่องการถวายในพอเป็นพิธีตามที่เคยเป็นประเพณีมา ซึ่งร้านสังฆภัณฑ์บางแห่ง ยังคงจัดจำหน่ายผ้าอาบน้ำฝนในชุดถวายพระในวันเข้าพรรษา แต่เป็นผ้าขนาดเล็กนำมาพับเป็นรูปกระทงสำหรับใส่ปัจจัยถวายอื่นๆ เพื่อความสวยงาม แต่ไม่ได้คำนึงถึงการใช้งานจริง
ดังนั้น ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่จึงไม่นิยมถวายเป็นผ้าอาบแล้ว แต่จะถวายผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดตัวแทนการถวายผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้ทางพระภิษุกสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์ในอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นการปรับเปลี่ยนธรรมเนียมประเพณีไปตามสภาพแวดล้อม ตามยุคสมัย และความจำเป็นที่เปลี่ยนแปลงไป
เครดิต ที่มาจากเพจ
dharayath.com ในบทความเรื่อง ที่มาที่ไป !! ของ “ผ้าอาบน้ำฝน” ฉบับ ธาราญา
ขอขอบคุณเพจ ธาราญา www.dharayath.com อีกหนึ่งเพจมีบทความน่าสนใจหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างย่ิง ความรู้เกี่ยวกับ ผ้าไตร ซึ่งจัดได้ว่า ให้ความรู้ด้านผ้าไตรที่มีคุณภาพสูง